ไปเยี่ยมน้องๆ เมืองเลย (11) กิจกรรมทันตฯ ผู้สูงอายุ ที่ปากชม


 

คุณหมอนกเล่าเรื่องกิจกรรมผู้สูงอายุที่ปากชม ไว้ว่า ... โรงพยาบาลปากชมทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ ที่ ชมรมผู้สูงอายุบ้านคอนสา/สาธร ต.ปากกลม อ.ปากชม จ.เลย ชมรมฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 มีสมาชิกชมรมจำนวน 74 คน จัดตั้งขึ้นเนื่องจาก

  • ปัญหาสุขภาพกาย-ใจ ของผู้สูงอายุนับวันจะเพิ่มขึ้น
  • ผู้สูงอายุเป็นสัดส่วนของประชากรที่นับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ปี 2548=9.2%)
  • ผู้สูงอายุมักจะถูกลูกหลานให้เฝ้าบ้าน/เลี้ยงดูบุตรหลาน (ไม่ค่อยได้พบปะเพื่อนๆ) จะถูกให้อยู่เบื้องหลังของสังคม (ทำให้ไม่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง)
  • สนองนโยบายทางราชการที่ต้องการส่งเสริมให้กลุ่มผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเอง

การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุบ้านคอนสา/สาธร มีการพัฒนาการทำกิจกรรมต่างๆ คือ

  • ปี 2549 ... เน้นด้านสุขภาพ/ออกกำลังกาย
  • ปี 2550-2551 ... เน้นด้านสุขภาพ/อาชีพ/สืบสานประเพณีวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/สวัสดิการสังคม/ออกกำลังกาย
  • ปี 2552-2553 ... เน้นให้ชมรมได้แสดงบทบาทด้านต่างๆ มากขึ้น ได้แก่ การบริหารชมรม-การมีส่วนร่วม มีสอ.คอนสา/รพ.ปากชม/อบต.เชียงกลม เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

สมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านคอนสา/สาธรมีศักยภาพ มีหมอพื้นบ้าน ได้แก่ หมอยาสมุนไพร หมอพราหมณ์/หมอสู่ขวัญ/หมอไสยศาสตร์/หมอใส่ยาม/รำผีฟ้า หมอตำแย/หมอนวด หมอกระดูก/หมองู และมีผู้นำทางศาสนา/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

รูปแบบการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ใช้หลัก 3 ก คือ

  • มีคณะกรรมการดำเนินงานที่ชัดเจน
  • มีกองทุน/แหล่งงบประมาณสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านคอนสา/สาธร อบต.เชียงกลม สถานีอนามัยบ้านคอนสา กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เชียงกลม เงินงบประมาณประตำปี/CUP ปากชม
  • มีการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุที่ต่อเนื่อง
  • (และท่าน ผอ.สุธา ได้เติม ก ที่ 4 ก็คือ มีกิจกรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง)

ผู้สูงอายุบ้านคอนสา/สาธร นัดพบปะกันทุกขึ้น 8 ค่ำของทุกเดือน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน สถานที่พบกัน ส่วนใหญ่จะเป็นวัดโนนสว่าง บ้านคอนสา หรือ สอ.คอนสา เนื่องจากการพบปะกัน ต้องมีกิจกรรมทางศาสนาด้วย ที่ทำการชมรมฯ ใช้อาคารห้องประชุมสถานีอนามัยบ้านคอนสา เป็นสถานที่ทำงานของคณะกรรมการชมรมฯ

กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุบ้านคอนสา/สาธร ได้แก่

1) กิจกรรมที่กลุ่มผู้สูงอายุกระทำด้วยกลุ่มเอง

  • รวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
  • ระดมความคิดในการกำหนดกิจกรรมที่ชมรมจะปฏิบัติร่วมกันในแต่ละเดือน
  • เยี่ยมเยือนสมาชิกที่เจ็บป่วยเรื้อรัง/ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ ได้
  • ออกกำลังกายร่วมกัน และออกอยู่ที่บ้านตนเอง
  • ทำอาชีพเสริมตามที่ได้รับการอบรม
  • ด้านศาสนา/สืบสานประเพณีท้องถิ่น
  • ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น/หมอพื้นบ้าน/ส่งเสริมการปลูก/ใช้ สมุนไพร
  • ด้านสังคมสงเคราะห์ (ช่วยสอนบุตรหลานให้ทำดอกไม้จันทน์แจกฟรีในงานศพในหมู่บ้านของตนเอง

2) กิจกรรมที่เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และหน่วยงานอื่นๆ ให้บริการ หรือทำกิจกรรมด้วย เช่น

  • ด้านสุขภาพฟัน (ให้ความรู้ ตรวจสุขภาพ เฝ้าระวังโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ)
  • ด้านส่งเสริมอาชีพ (เชิญวิทยากรมาอบรมอาชีพให้ จากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.เลย)
  • จัดกิจกรรมเนื่องในวันผู้สูงอายุแห่งชาติทุกปี ร่วมกับ อบต.เชียงกลม
  • ด้านสวัสดิการ/สังคม (จ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ โดย อบต.เชียงกลม)
  • ด้านการออกกำลังกาย (ไม้พลอง ฤาษีดัดตน สมธิบำบัด)
  • นันทนาการ / จัดอาหารให้รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน
  • จัดหาอาหารเสริม (นม) ให้รับประทานหลังออกกำลังกายทุกครั้ง
  • จัดงานวันเกิดให้ผู้สูงอายุ และฝึกสมาธิบำบัด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ได้แก่ อสม.บ้านคอนสา/สาธร สถานีอนามัยบ้านคอนสา อบต.เชียงกลม กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.เชียงกลม กองทุนหมู่บ้านคอนสา/สาธร โรงพยาบาลปากชม/CUP/สสส. ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเลย

รางวัลแห่งความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุบ้านคอนสา/สาธร

  • รางวัลชนะเลิศด้านทันตสาธารณสุข ในการประกวดชมรมผู้สูงอายุจังหวัดเลย ปี 2552
  • ได้รับเชิญให้ไปนำเสนอผลการดำเนินงานของชมรมฯ ในระดับจังหวัด
  • ได้รับเชิญให้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ณ จังหวัดนครราชสีมา
  • ได้รับเชิญให้ไปแสดงการออกกำลังกาย ท่าไม้พลอง ในการเปิดงานต่างๆ
  • ได้รับงบประมาณจาก สสส. ให้ดำเนินกิจกรรม “เพื่อนช่วยเพื่อน”

จุดแข็งของชมรมผู้สูงอายุบ้านคอนสา/สาธร

  • ความพร้อมเพียงในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
  • ให้ความสนใจในกิจกรรมของชมรม
  • ผู้สูงอายุมีความสามารถด้านภูมิปัญญาหลากหลายสาขา
  • ผู้สูงอายุเป็นผู้มีประสบการณ์ชีวิต
  • สามารถให้บริการสังคมได้ เช่น การทำดอกไม้จันทน์/เป็นวิทยากรสอนอาชีพต่างๆแก่ชุมชน/โรงเรียน
  • เป็นผู้สืบสานประเพณี/วัฒนธรรมที่ดีในท้องถิ่น

ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

  • กลุ่มผู้สูงอายุมีความคล่องตัวน้อย ทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้ช้า (ต้องอาศัยตัวช่วย)
  • กลุ่มผู้สูงอายุต้องทำหน้าที่เลี้ยงดูหลานๆ/งานบ้าน/งานครัวด้วย
  • ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีโรคประจำตัว ทำให้เข้าร่วมกิจกรรมของชมรมไม่ได้สะดวก

แนวทางการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุบ้านคอนสา / สาธร ในอนาคต

  • ส่งเสริมให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้/การดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • ส่งเสริมให้มีการเยี่ยมเยือนสมาชิกชมรมที่ป่วยเรื้อรัง/อัมพาต/ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  • ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น
    • ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (ผญา/ศิลปการแสดงออกรูปแบบต่างๆ)
    • ด้านหมอพื้นบ้าน/หมอยาสมุนไพร (รวบรวมตำรายาพื้นบ้าน/ส่งเสริมการปลูก-ใช้สมุนไพรในชุมชน)
    • ด้านสวัสดิการ/สังคม/ด้านส่งเสริมอาชีพให้ยั่งยืน
    • มีการแลกเปลี่ยนเ รียนรู้/ดูงานกับพื้นที่อื่นๆ ในโอกาสที่เหมาะสม
    • มีโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุในพื้นที่

ภาพกิจกรรม

สถานที่ทำการชมรมฯ ค่ะ

วันที่ไปเยี่ยมผู้สูงอายุ มาต้อนรับกันมากมายค่ะ

น้อง ผดส. - ผู้ดูแลสุขภาพประจำหมู่บ้าน ค่ะ

กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากให้กับผู้สูงอายุ

การฝึกปฏิบัติแปรงฟันจริง

ในนี้ หมอนก และคณะ พาทีมไปตรวจฟันให้กับผู้สูงอายุ และให้บริการเชิงรุก

 รวมเรื่อง ไปเยี่ยมน้องๆ เมืองเลย

  

หมายเลขบันทึก: 400809เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2010 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แม่หมอเห็นชื่อบันทึกว่า ไปเยี่ยมน้องๆเมืองเลย นึกว่าพบแต่น้องๆก๊าก เจอผู้สูงอายุด้วย อ้อ กิจกรรมทันตฯ สว ฮ่าๆๆ

เป็นการทำงานเชิงลุกจริงๆๆ (ลุกจากที่ทำงาน )

  • Ico32
  • มีแซวนะ อิอิ
  • ว่าแต่ เตรียมรับศึกละกันนะคะ เพราะ พอบอกว่า มีสอนภาษาอังกฤษด้วย ผู้ปกครองก็สนใจมากมายละ ... สบม. ใช่ไหม

สบายครับแม่หมอ พร้อมแล้ว ฮ่าๆๆ

คุณหมอครับ

มีโอกาสว่าจะเสนอให้กระทรวงแต่งตั้งให้คุณหมอเป็น

"ผู้เชี่ยวชาญทันตกรรมภาคประชาชน"

จะดีไหมครับ ฮิ ฮิ...

  • Ico32
  • ว๊าว เอาแค่พี่หนานตั้งให้ ก็ดีใจแล้วละค่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท