ไป ลปรร. กับชมรมผู้สูงอายุ ที่ เมืองสามอ่าว (1) ก้าวที่ผ่านมา + ก้าวต่อไป ของสุขภาพผู้สูงอายุ


 

วันนี้ คุณหมอสุปราณี ได้มาเล่าสู่กันฟัง ให้ผู้เข้าร่วมประชุม อันมีตั้งแต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตบุคลากร ผู้สูงอายุ และเครือข่ายท้องถิ่น ให้ได้ทราบถึงเรื่องการดำเนินงานที่ผ่านมา ของโครงการที่เกี่ยวข้องการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ

ในภาพรวมการทำงานของกรมอนามัย มุ่งส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี มีการดูแลตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิด แม่และเด็ก วัยเรียนวัยรุ่น วัยทำงาน สุขภาพผู้สูงอายุ ชุมชนน่าอยู่ และประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ

เรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ จะมีมาตรฐานผู้สูงอายุสุขภาพดี คือ

  • มีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ร่างกายต้องแข็งเรง จิตใจมีความสุข มีสังคมเหมือน เกิดความสุข ไม่เหงา และมีคุณภาพชีวิต
  • สุขภาพจะดีได้ ต้องมีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม
  • มีดัชนีมวลกาย หรือรอบเอวปกติ คือ ไร้พุง
  • สามารถช่วยเหลือตัวเอง และผู้อื่นได้ตามอัตภาพ มีการออกกำลังกาย

วันนี้ เป็นการเติมเต็มว่า ฟันที่มีอยู่ เราสามารถที่จะดูแล และเก็บรักษาไว้ตลอดชีวิต ให้อยู่ในสภาพที่ดีกันได้อย่างไร

อาจารย์อรพิชญา บอกไว้ว่า เรื่องสุขภาพช่องปาก จะส่งผลไปถึงสุขภาพกาย และสุขภาพใจ เพราะเป็นต้นทางการมีสุขภาพดี โดยที่สุขภาพกายจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการกินอาหาร การพูด การออกเสียง เรื่องของใบหน้า และบุคลิกภาพ และส่วนสุขภาพใจ คือ เรื่องการหัวเราะ ความมั่นใจ การเข้าสังคม และความสุข ...

สำหรับสุขภาพช่องปากที่ดีที่อยากให้เป็น คือ สามารถกินข้าวได้ เคี้ยวข้าวอร่อย ไม่มีโรคในช่องปาก หรือถ้ามี ก็ควรได้รับการรักษาแล้ว และในส่วนพฤติกรรม คือ การดูแลสุขภาพช่องปากตัวเองได้ คนที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เช่น นอนอยู่กับบ้าน ก็ต้องมีผู้ดูแลสุขภาพช่องปากให้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การไปตรวจสุขภาพช่องปากทุกปี และรับบริการตามความจำเป็น

ความจริง ผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดมีการปัญหาสุขภาพช่องปาก ก็คือ

  • มีการสูญเสียฟัน โดยที่ ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันทั้งปากเลยมีประมาณ 10% (ประมาณ 700,000 คน) ในส่วนของฟันที่มี ก็คือ ฟันผุ รากฟันผุ และมีครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษา
  • ในส่วนพฤติกรรม มีการแปรงฟัน 74% และคนที่ใส่ฟันเทียม ก็มีการทำความสะอาดฟันเทียมไม่มาก และผู้สูงอายุก็ยังนิยมสูบบุหรี่ ใบจาก ยาเส้น เคี้ยวหมาก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากได้

การดูแลผู้สูงอายุในระบบรวมของกระทรวงสาธารณสุข บอกว่า

  • อยากให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการใกล้บ้าน และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เป็นแบบองค์รวม คือ การส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟู
  • ในเรื่องฟัน คือ ไม่ใช่แค่ใส่ฟัน ผู้สูงอายุต้องป้องกันตัวเองได้ด้วยว่า ทำอย่างไรจึงจะไม่สูญเสียฟัน และทำอย่างไรจึงจะมีการส่งเสริมให้สุขภาพฟันดี
  • การประสานการดูแล หมายถึง เราต้องไปเชื่อมโยงกับเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ หรือเรื่องอื่นๆ ด้วยการทำงานร่วมกัน ในเรื่องของการส่งต่อ
  • การเสริมพลังชุมชนด้วยภาคประชาชน ทำอย่างไรที่จะให้ทุกคนลุกขึ้นมาดูแล จัดการปัญหากลุ่มของตนเองได้อย่างเหมาะสม

การดูแลผู้สูงอายุที่ทำกันมีประเด็น คือ

  • ทำอย่างไร ผู้สูงอายุช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด ยาวนานที่สุด เท่าที่จะทำได้
  • การส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่บ้าน คือ การเยี่ยมบ้าน
  • การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ในเรื่อง Long term care การเข้าไปร่วมกระบวนการได้จะทำให้ทำงานได้มากขึ้น
  • ในสถานบริการ เราทำเรื่องบริการทันตกรรม แต่เพิ่มการดูแลใกล้บ้านมากขึ้น
  • การมีอาสาสมัคร หรือจิตอาสา เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ
  • การสนับสนุนงบประมาณจากภาคคีเครือข่าย เช่น อบต. อบจ. หรือภาคเอกชน

ในส่วนของภาครัฐ ในเรื่องทันตสาธารณสุข จะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องคือ

  • โครงการฟันเทียมพระราชทาน สำหรับการใส่ฟันให้ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปาก และกำลังจะมีรากฟันเทียมเข้ามาเพิ่ม
  • การส่งเสริมป้องกันในหน่วยบริการ เพื่อการป้องกันโรคในช่องปาก
  • และ สำหรับภาคประชาชน ก็คือ การส่งเสริมสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ที่พบว่า ผู้สูงอายุมีศักยภาพของ หลายท่านยังสามารถทำงานได้ มีประสบการณ์ในชีวิต มีจิตอาสา พร้อมเสียสละให้กับลูกหลาน คนในชุมชน ที่จะเป็นกลุ่มที่ สามารถจัดกิจกรรมได้ และมีหลายๆ ที่ที่ย้อนกลับไปดูแลกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่มเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเด็กในโรงเรียน

ปีนี้ วันที่ 21 ตุลา ที่เป็นวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ จะมีการรณรงค์เรื่อง การแปรงฟันในเด็กเล็ก และส่งสัญญาณ "... ให้ผู้สูงอายุไปช่วยกันดูแลเด็กเล็ก ..."

โครงการทันตสาธารณสุขในผู้สูงอายุ เริ่มมากจาก

  • ความต้องการของผู้สูงอายุที่ต้องการการใส่ฟันเทียมทั้งปาก เราจึงเริ่มจาก โครงการฟันเทียมพระราชทาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวง 80 พรรษา ต่อเนื่องไปถึงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ในปี 2554 ปัจจุบัน ดำเนินการได้แล้ว 190,000 ราย ทั่วประเทศ กิจกรรมนี้จะมีทั่วประเทศ ทุกหน่วยบริการ
  • มาถึงเรื่อง ชมรมผู้สูงอายุ ที่เน้นการดูแลอนามัยช่องปากตนเอง และสมาชิก จากจุดเริ่ม 7 จังหวัด เมื่อปี 2550 ปีนี้ (2553) มีโยบายให้มี 1 จังหวัด 1 ชมรม และปี 2554 วางเป้าหมายไว้ที่ 1 อำเภอ 1 ชมรม ... ซึ่งปีนี้ จังหวัดประจวบฯ ได้นำร่องไปแล้ว 1 อำเภอ 1 ชมรมฯ
  • และพบว่า ผู้สูงอายุจะมีโรคในช่องปาก จึงเป็นเรื่องการบริการ ที่เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ที่จะได้รับการตรวจสุขภาพ เพื่อเข้ารับบริการเชิงป้องกัน เช่น การทาฟลูออไรด์วาร์นิชป้องกันรากฟันผุ การขูดหินน้ำลายป้องกันโรคปริทันต์ เพื่อให้เกิดการให้บริการที่ครอบคลุม ตั้งแต่ การส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู

ในส่วนของภาคีเครือข่าย อาจารย์อุทัยวรรณได้กล่าวไว้ว่า ชุมชนเป็นกลุ่มประชาชน ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีผลผลิต ประเพณี วัฒนธรรม เป็นพี่เป็นน้อง การนำชุมชนมารวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมจัดงาน ร่วมจัดบริการเพื่อประชาชน จะสามารถสร้างงานในด้านของการสร้างสุขภาพได้

การทำงานเป็นเครือข่าย จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะร่วมกันดำเนินงานได้สำเร็จ ตั้งแต่ สำนักทันตฯ ศูนย์อนามัย สสจ. รพท./รพช. ตำบล คือ รพ.สต. หรือ สอ. และชมรมผู้สูงอายุ ถึง ตัวผู้สูงอายุ ที่ต้องช่วยกันรับผิดชอบกันเป็นทอดๆ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุในชมรม

นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ ปี 2554 เป็น “ปีทองแห่งการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ” เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 โดย ท่านรัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏฺ เป็นการส่งสัญญาณว่า "เราจะดูแลสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกัน"

จากกระแสพระราชดำรัสฯ ว่า “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” นำมาสู่การดำเนินงานทันตสาธารณสุขในผู้สูงอายุ ตั้งแต่โครงการฟันเทียมพระราชทาน และต่อเนื่องไปจนถึง ชมรมผู้สูงอายุ

และในปี 2554 เราจะมีเป้าหมายร่วมกัน ก็คือ

  • ฟันเทียมพระราชทาน 30,000 ราย ที่จะเป็นการจัดบริการเป็นประจำ
  • การมีชมรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 1 อำเภอ 1 ชมรม
  • การจัดมหกรรมวิชาการเพิ่มเทิดพระเกียรติ

และมีข้อมูลแนวนโยบายต่อเนื่อง ก็คือ วิสัยทัศน์ 2570 บอกว่า ต้องเตรียมพร้อมที่จะรองรับประชากรสูงอายุที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

รวมเรื่อง ไป ลปรร. กับชมรมผู้สูงอายุ ที่ เมืองสามอ่าว

 

หมายเลขบันทึก: 405152เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันที่ ๑๖-๑๗ พย. ที่ผ่านมาไปถอดบทเรียน ทีมงาน วิจัยของโรงพยาบาลอินทร์บุรี เกี่ยวกับการทำวิจัยค้นหา กระบวนการสร้างชุมชนปลอดบุหรี่ โดยดำเนินการในพื้นที่ ม. ๔ ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของทีมโรงพยาบาลที่เข้าใจกระบวนการสร้างระะบสุขภาพ ชุมชน จากจุดเริ่มต้นที่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้หรือ ที่ทำให้เกิดชุมชนปลอดบุหรี แต่ในปัจจุบัน การเรียนรู็ร่วมกันระหว่างบุคคลากร ทีมงานรพ.อินทร์บุรี ที่เป็นสหสาขา เรียนรู้ การสร้างสุขภาพในชุมชน ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่ สกว.ให้การสนับสนุน เริ่มเกิด การมีส่วนร่วม ขอย้ำว่าอย่างแท้จริงของชุมชน ส่งผลให้เกิดการเริ่มมีการเลิก ลดละ บุหรี่ของคนในชุมชน เกิดการดูแลสุขภาพกันเองในชุมชน มีกิจกรรมเชื่อมโยงการดูแลผู้สูงอายุ การดำเนินงานเรื่องสภาพแวดล้อมในชุมชน โดยเริ่มจากธนาคารขยะ ที่ส่งผลให้หมู่บ้านสอาด มีรายได้เสริมจากการการคัดแยกขยะ เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ใส่ใจดูแลสุขภาพกันเพิ่มมากขึ้น จากจุดเล้ก ๆ ของงานที่คาดหวังเรื่องบุหรี่ ขยายไปเชื่อมโยงการป้องกันโรค ต่าง ๆ ตามมาด้วย ก็เป็นบทเรียนที่อยากแบ่งปันร่วมกันครับ

  • ขอบคุณค่ะ
  • เห็นผลพวงของกิจกรรม ตามๆ กันไป ได้ดีมากเลยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท