ภาคีเครือข่าย + ชมรมผู้สูงอายุ กับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ตอนที่ 7 สถานการณ์ทันตฯ ของภาคเหนือตอนบน


ปัจจัยหลักๆ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากที่ดี อันดับที่หนึ่งก็คือ เรื่องการบริโภคอาหาร กินอะไร เสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากหรือไม่ ดูแลได้ถูกต้อง ถูกวิธี มีการปฏิบัติเป็นประจำหรือไม่อย่างไร

 

คุณหมออ๊อด ... ทพ.สมศักดิ์ แห่งศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ มาเล่าถึงสถานการณ์ทันตสุขภาพ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนให้ฟัง ว่า มีการสำรวจข้อมูลมาอย่างไร และส่งผลต่อการวางแผนทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากกันอย่างไรได้บ้าง เพื่อที่จะให้พื้นที่ได้รู้ และคิดเพื่อการวางแผนทำกิจกรรมกันต่อ

ในส่วนของผู้สูงอายุ

มองไปที่เกณฑ์ผู้สูงอายุมีฟันแท้ใช้งานได้ 20 ซี่ขึ้นไป ซึ่งเป็นตัววัดความสามารถในการบดเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุค่ะ

จากข้อมูลปี 2553 พบว่า ค่าเฉลี่ยผู้สูงอายุที่มีฟันใช้งานได้ 20 ซี่ ในภาพรวมของประเทศ คือ ร้อยละ 33.9 ภาคเหนือมีสถานการณ์ดีมาตลอดเมื่อย้อนหลังไป 10 ปี แต่แนวโน้มไม่ค่อยดี ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา เพราะว่าผู้สูงอายุมีฟัน 20 ซี่ในช่องปาก แนวโน้มเริ่มลดลง แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ … เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ สำหรับชมรมผู้สูงอายุที่จะไปคิดทำกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีฟันดีละค่ะ

ถ้าดูเฉพาะฟันแท้ ดูที่ฟันคู่สบ เป็นฟันหลัง 4 คู่ขึ้นไป เป็นเรื่องของการเคี้ยวอาหาร เพราะว่าถ้าไม่มีฟันเคี้ยว เวลาทานอาหารจะลำบาก พบว่า เชียงรายมีตัวเลขค่อนข้างดี ผู้สูงอายุมีฟัน 4 คู่สบ ร้อยละ 82 แต่จังหวัดอื่นๆจะประมาณ 40 กว่า – 50 ต้นๆ

ปัจจัยหลักๆ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากที่ดี อันดับที่หนึ่งก็คือ เรื่องการบริโภคอาหาร กินอะไร เสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากหรือไม่ ดูแลได้ถูกต้อง ถูกวิธี มีการปฏิบัติเป็นประจำหรือไม่อย่างไร

เรื่องของการแปรงฟันก่อนนอนทุกวันโดยผู้สูงอายุเอง หรือผู้ดูแล จากค่าเฉลี่ยของประเทศ ร้อยละ 71.6 พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี

ส่วนผู้สูงอายุจะดูแลตนเองได้อย่างไร ... คงจะต้องไปดูที่เครื่องมือทำความสะอาดช่องปาก ได้แก่ แปรงสีฟัน ที่อาจต้องไปประยุกต์ใช้ หรือเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า การทำด้ามแปรงเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถแปรงฟันตามปกตินำไปใช้ได้ โดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป และรับคำแนะนำจากทันตบุคลากร

ความเชื่อมโยงของชมรมผู้สูงอายุ กับเด็ก ลูกหลาน ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน ... มีข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพของเด็กให้ดูก็คือ

พบร้อยละของเด็กอายุที่มีประสบการณ์การเป็นโรคฟันผุ โดยที่เด็กมีทั้งฟันที่เคยอุดฟัน มีฟันอยู่ในปาก หรือเคยถูกถอนฟันมาแล้ว ... ค่าเฉลี่ยของประเทศ เด็กอายุ 3 ปี อยู่ที่ร้อยละ 60 พบว่า แนวโน้มของการเกิดโรคฟันผุในเด็กภาคเหนือไม่ค่อยดี บางจังหวัดดีขึ้น คงต้องมีการเร่งรัดการดำเนินงาน รวมทั้งชมรมผู้สูงอายุ ถ้ามีโครงการอะไรลงไปในศูนย์เด็กฯ ก็จะบูรณาการไปได้

ในกลุ่มเด็กวัยเรียน อายุ 12 ปี มีประสบการณ์เป็นโรคฟันผุ พบว่า ค่าเฉลี่ยประเทศ ร้อยละ 56 จังหวัดของภาคเหนือจะต่างกันไป ที่ยังคงต้องให้ความสำคัญของการทำกิจกรรม

... การเกิดโรคฟันผุในแต่ละกลุ่มวัย 3 ปี 12 ปี ไม่ได้หมายความว่า เฉพาะในปีนั้นๆ ดูแลกันไม่ดี แต่เป็นเพราะว่า การเป็นโรคฟันผุ เหมือนเป็นประสบการณ์ เป็นวิถีชีวิตที่เขาผ่านมา ที่ต้องดูแลฟันในระยะยาวไม่ต่ำกว่า 3 ปี อาจ 5 หรือ 12 ปี และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรค ก็คือ เรื่องของการบริโภค โดยเฉพาะเด็ก จะบริโภคอาหาร / ขนม ที่นอกจากทานเยอะแล้ว ยังทานบ่อย ขณะที่เด็กยังมีการดูแลเด็กดูแลตนเองไม่ค่อยดี ... จึงสำคัญมาก ที่ผู้ปกครองต้องเอาใจใส่ ไม่ว่าพ่อแม่ หรือ ปู่ย่าตายาย ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ

เรื่องการป้องกันฟันผุ ต้องเน้นการส่งเสริมสุขภาพร่วมกัน เช่น เรื่องการแปรงฟัน การดูแลการบริโภค ความถี่ความบ่อยในการดูแลป้องกัน บทบาทสำคัญคงไม่ได้อยู่ที่ทันตบุคลากร … แต่ว่าชุมชน / ชมรมผู้สูงอายุ คงต้องมาร่วมด้วยช่วยกัน

เรื่องของความรุนแรงของโรคฟันผุ พบว่า ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของเด็กอายุ 12 ปี หมายความว่า เด็ก 12 ปี 1 คน อาจมีฟันที่ผุ อาจเคยโดนถอน หรืออุดแล้ว ค่าเฉลี่ยของประเทศ พบว่า เด็กอายุ 12 ปี มีฟันผุถอนอุดเฉลี่ย 1.7 ซี่/คน แต่ละจังกหวัดก็จะมีค่าตั้งแต่ 0.95 ถึง 2.32 ซี่/คน ซึ่งต้องมีการนำข้อมูลไปพิจารณาต่อไป

ปัจจัยเรื่องของการกิน เรื่องขนม กินถี่ กินบ่อย กินขนมที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นลูกอม ทอฟฟี่ หรือที่เหนียวติดฟัน ยิ่งกินถี่ หรือบ่อยเท่าไร ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยง ทำให้เกิดโรคฟันผุมากขึ้น พบว่า ร้อยละของเด็กอายุ 12 ปี ที่กินขนมกรุบกรอบ 4 วันขึ้นไป ต่อสัปดาห์ ถือเป็นเกณฑ์พฤติกรรมเสี่ยง พบมีความการกินตั้งแต่ ร้อยละ 19.1 ของแพร่ ถึงร้อยละ 71.9 ของน่าน

ข้อมูลทั้งหมดนี้ คุณหมออ๊อดได้นำมาเสนอ เพื่อที่แต่ละจังหวัดจะได้นำข้อมูลไปพิจารณาประกอบการทำกิจกรรมกันละค่ะ

 

รวมเรื่อง ภาคีเครือข่าย + ชมรมผู้สูงอายุ กับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

 

หมายเลขบันทึก: 431784เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2011 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท