ม่วนซื่นโฮแซว กับผู้สูงอายุ ที่พื้นที่เขตอุบลฯ (7) ผอ.ดนัย โหมโรงค่ะ


ในเรื่องของสุขภาพนั้น สิ่งที่จะทำในเบื้องต้นก็คือ เราเองยังคงจำเป็นที่จะทำให้กลุ่มเหล่านี้ เห็นความสำคัญว่า การที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ เราไม่ต้องการเพียงแต่จำนวนปีของการที่จะอยู่ แต่จริงๆ แล้ว เราต้องการจำนวนปีที่บวกกับคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

 

ศูนย์อนามัยที่ 7 อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีค่ะ ความจริงแล้ว ศูนย์ฯ ก็ได้มีการติดตามในส่วนงานของผู้สูงอายุ มาประมาณ 4 ปีแล้ว ในส่วนกิจกรรมของผู้สูงอายุ ที่ อำเภอพิบูลมังสารหารค่ะ ซึ่งก็นำมาเล่าให้ฟังในเวทีประชุมในวันนี้ด้วย

ภาพผู้เข้าประชุมค่ะ

ก่อนที่ ผอ.ดนัย จะโหมโรง เปิดประเด็นการคุยเรื่องผู้สูงอายุกัน ทพญ.น้ำเพชร ตั้งยิ่งยง ได้กล่าวนำเล็กน้อยค่ะ ถึงที่มาที่ไปของโครงการ

  • ปัจจุบัน ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญด้านสุขภาพ ที่ต้องเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ
  • ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ มีทั้งผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง และกลุ่มที่ต้องการผู้ดูแลช่วยเหลือ
  • การส่งเสริม พัฒนา และให้มีความร่วมมืออย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ตลอดจนผู้สูงอายุ ก็ควรเป็นผู้ที่ตระหนัก และดูแลส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองก่อนวัยสูงอายุ หรือเจ็บป่วย
  • สังคม และชุมชน ต่างก็ให้ความสำคัญต่อการดูแลผู้สูงอายุเหลานี้ได้ ด้วยการเอื้ออำนวยให้มีการจัดกิจกรรมให้บริการที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต และผู้สูงอายุดีขึ้น
  • การส่งเสริมผู้สูงอายุเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น การให้ความรู้ การเพิ่มทักษะการดูแลตนเอง การออกกำลังกาย หรือจัดกิจกรรมร่วมไปกับการรวมกลุ่มกันของกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ หรือกิจกรรมด้านศาสนา โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามามีบทบาท และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังปัญหา และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุร่วมกัน
  • การจัดประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และรูปแบบการดำเนินงาน เพื่อสร้างประสบการณ์ นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อันดีในเครือข่าย
  • ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุขในเขตพื้นที่ 8 จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชมรมผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เขตเทศบาลเมืองคง และอบต. เมืองคง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ และ อบต.ดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ วิทยากรจาก กองทันตฯ และ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

 

ผอ.ดนัย ธีวันดา ค่ะ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี โหมโรงเปิดประชุมเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคี ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มต่างๆ เริ่มตั้งแต่ผู้สูงอายุเอง องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุนี้ ในรูปแบบการสนับสนุน ให้เกิดชมรมที่มีความเข้มแข็ง มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ ... กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ก็ได้ให้ความสำคัญ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชมรมต่างๆ เหล่านี้ มาอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของผู้สูงอายุนั้น เรายังมีกลุ่มผู้สูงอายุอยู่บางกลุ่มที่อาจได้รับโอกาสเหล่านี้ไม่ได้เต็มที่นัก กลุ่มผู้สูงอายุที่รวมตัวกันในภาพของชมรม ในลักษณะของชมรมในเขตเมือง อาจจะมีภาษีดีกว่า

  • ตั้งแต่ท่านเหล่านี้ก็จะมีสถานะอยู่ในระดับที่พอช่วยเหลือตัวเอง หรืออยู่ดีมีสุขพอสมควร
  • หรือ อาจจะเป็นกลุ่มข้าราชการบำนาญ ซึ่งเป็นผู้ที่มีขีดความสามารถในการที่จะดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว
  • ซึ่งหลายท่านก็อยู่ในบทบาทของสังคมที่ดี ตรงนี้เป็นส่วนที่ก็มีความจำเป็นที่จะมาช่วยกันเหลือ และรวมกลุ่มกัน เพื่อการดูแลในภาพรวม

กระทรวงสาธารณสุข เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องเข้ามาดู ร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งกระทรวงที่ค่อนข้างจะชัดในเรื่องการดูแลในเรื่องกลุ่มผู้สูงอายุ มีหลักอยู่ 2 กระทรวง ก็คือ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพัฒนาความมั่นคง และสังคมของมนุษย์ ... ส่วนในภาพของกระทรวงมหาดไทย เป็นเรื่องของระบบการเมืองการปกครอง ที่จะให้มีการดูแลในภาพของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในเรื่องของสุขภาพนั้น สิ่งที่จะทำในเบื้องต้นก็คือ เราเองยังคงจำเป็นที่จะทำให้กลุ่มเหล่านี้ เห็นความสำคัญว่า การที่จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวอยู่ได้ เราไม่ต้องการเพียงแต่จำนวนปีของการที่จะอยู่ แต่จริงๆ แล้ว เราต้องการจำนวนปีที่บวกกับคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ... ท่านจะอายุ 80 ปี 90 ปี แต่อยู่ในสภาพไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ ... หรือมีความเจ็บไข้ได้ป่วยตรงโน้นบ้าง ลำบากลำบนในการที่จะอยู่ในสังคมในปัจจุบัน หรืออยู่ในชีวิตประจำวัน ตรงนั้นก็คงจะเป็นส่วนความลำบากของตัวท่านผู้สูงอายุเอง หรือว่าลูกหลาน

สิ่งที่เราต้องการในภาพของกระทรวงสาธารณสุขก็คือ อายุเท่าไรก็ตาม จะ 80 ปี 70 ปี หรือ 60 ปี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พึ่งพาตนเองได้ และในบางส่วนก็สามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นได้

ในลักษณะที่ว่านี้ คงไม่ได้หมายความว่า เป็นเพียงแค่เรื่องงานของแต่ละหน่วยเท่านั้น ยังคงต้องอาศัยแรง ความร่วมมือของทุกส่วน ก็คือส่วนท้องถิ่น ซึ่งก็จะมีบทบาทสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ในบาง อบต. ก็สามารถดำเนินกิจกรรมการดูแลพี่น้องประชาชนในกลุ่มต่างๆ ได้ค่อนข้างดี

ในการประชุมในวันนี้ ... จะเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพของท่านผู้สูงอายุ

  • จุดเริ่มต้นจาก ทุกคนต้องมีฟัน 32 ซี่ แน่นอนก็ต้องฟันแท้ ฟันน้ำนม 20 ซี่ไม่ต้องพูดถึงครับ เพราะว่า ลืมไปนานแล้ว ... แต่ว่าบางทีก็ลืมไปเยอะแล้ว เพราะว่าฟันเริ่มหลุดไปแล้ว
  • เรื่องของสุขภาพของฟันเป็นด่านแรกจริงๆ ในเรื่องของที่สุขภาพเราจะดีได้หรือไม่ มันอยู่ที่ปาก ที่ฟัน
  • ตัวที่จะมีผลกระทบ จะเกิดอาการได้เร็วหรือช้า ก็อยู่ที่การปฏิบัติของเราเอง และในส่วนของช่องปาก การกิน การกลืน การเคี้ยว เหงือก และอวัยวะทุกชิ้นที่อยู่ในปากก็ต้องทำหน้าที่ทั้งหมด
  • อาหารต่างๆ หรือวัตถุดิบต่างๆ เหล่านั้นก็จะส่งผลได้ดี ถ้าเรากินได้ดี ดูแลได้ดี ก็จะส่งผลได้ดี
  • สิ่งที่สำคัญก็คือว่า เราค่อนข้างที่จะละเลย หรือเกือบ 100% ค่อนข้างจะละเลย
  • อีกประการหนึ่งคือ ระบบของร่างกายในช่องปากก็มี อย่างระบบของส่งลำเลียงอาหารต่างๆ ไปหล่อเลี้ยง เรื่องของเส้นเลือด เรื่องของสิ่งที่ดีดี ที่จะมาบำรุงภายในร่างกาย มีความสมบูรณ์
  • และตรงนี้เอง เราคงจะใช้กิจกรรมหลายๆ กิจกรรมสะท้อนให้เห็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายของเรา ผ่านทางสุขภาพฟัน ทางสุขภาพช่องปาก และนำไปสู่การที่จะดูแลสุขภาพในภาพรวมต่อไป ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกอาหารที่ดี ที่เหมาะสม เกี่ยวข้องกับเรื่องวิธีการออกกำลังกาย ... อาจจะเริ่มตั้งแต่สุขภาพช่องปากของชมรมผู้สูงอายุเหล่านี้ รวมไปถึงการสนับสนุนขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือภาคราชการ หรือภาคเอกชน ที่จะมาสนับสนุนในส่วนต่างๆ เหล่านี้
  • สิ่งที่ทีมงานทันตฯ เอง หวังจะเห็นให้มากที่สุดก็คือ คนไทยทุกคนมีฟันแท้ติดตัวอยู่ได้นานเท่านาน โดยที่เป็นฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้
  • เพราะเรามีความเชื่อจากโบร่ำโบราณ หรือว่าคนทั่วไปในลักษณะที่อาจจะยังเก่าอยู่ ที่เชื่อว่า พอแก่ไป ฟันก็จะหลุดไป แต่ความเป็นจริงในเรื่องของสรีระของร่างกายนั้น ฟันจะต้องอยู่คู่กับเราจนกระทั่งเราเสียชีวิต

แต่ก็พบว่า เรื่องของการดูแลฟันแท้เป็นเรื่องที่ยากลำบาก หากเลือกอีกทางหนึ่ง ถ้ามันเป็นเหตุสุดวิสัยจริงๆ นั่นก็คือ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงรับเอาโครงการ ไว้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเทิดพระเกียรติ ในโอกาสทรงครองราชย์ 60 ปี และพระชนมมายุ 80 พรรษา ในปีนี้ ... ตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะมาช่วยให้ผู้สูงอายุในบางท่านที่เสียฟันในบางส่วนไป และไม่สามารถใช้งานได้ ได้มีโอกาสได้ใช้ฟันเหล่านี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

จากการประชุมครั้งนี้ ในเรื่องความรู้ต่างๆ ที่ได้รับ ทั้งท่านผู้สูงอายุ อบต. ทีมงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในระดับใดต่างๆ ก็จะได้รู้ และนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ... ที่จุดเริ่มต้นของชมรมต่างๆ ก็จะเป็นต้นแบบ ที่จะนำไปสู่การขยายผลในกรณีที่เราพบว่า มีความสำเร็จในท้องถิ่น หรือว่าในกรณีมีการปรับในตัวกิจกรรมบางอย่าง เพื่อที่จะได้มีการขยายผลต่อไป

 

ที่จุดลงทะเบียน

 

หมายเลขบันทึก: 81859เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราไม่ต้องการเพียงแต่จำนวนปีของการที่จะอยู่ แต่จริงๆ แล้ว เราต้องการจำนวนปีที่บวกกับคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

คะ น่าสนใจมากคะ เรื่อง คุณภาพ ....ผู้สูงอายุ เราต้องให้ความสำคัญ และหาเวที ในการที่ท่านจะได้ถ่ายทอด ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ที่บ่มเพาะมานาน

  การทำงานในชุมชน เราก็ต้องไปกราบ ผู้สูงอายุก่อน ไป แนะนำตัวฝากเป็นลูกเป็นหลาน 

  ความร่วมมือ ช่วยเหลือก็เป็นไปอย่างวีถีญาติพี่น้อง.

เกิดความสุขใจ 

ใช่แล้วค่ะ คุณดอกแก้ว เราต้องช่วยกันนะคะ ที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ + สร้างสังคมที่อบอุ่นให้กับผู้สูงอายุด้วย

... ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท