ไปเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ที่ลำปลายมาศ และบ้านเขว้า (5) ความในใจของหมอแอ๊ด


ในส่วนของผม มีใจรักอยากจะทำงาน เมื่อได้มีโอกาสไปอบรมที่ กทม. และเชียงใหม่ ของสถาบันทันตกรรม จึงมีความคิดที่อยากจะทำ ก็ต้องขอขอบคุณ สสจ. ที่ให้โอกาสมาใน ตค. ที่ผ่านมา ที่ได้รับงานนี้มา ก็เสนอตัวเพิ่มขั้นไป

 

คุณหมอเริงสิทธิ์ หรือหมอแอ๊ดค่ะ ตั้งแต่ ตค.49 เป็นต้นมา หมอแอ๊ดเธอคิดถึงแต่เรื่องการเข้าหาคนในชุมชนตลอดเวลา จนมาถึงบางอ้อประมาณต้นๆ ปี 2550 ทำไมหรือ ลองมาฟังที่คุณหมอแอ๊ดเล่าให้ฟังนะคะ

  • ผมโชคดีที่มีท่าน สสอ. คอยให้คำปรึกษา และแนะนำเรื่องเครือข่าย ในแต่ละตำบล โดยให้ดูแลเป็น Zone ลงไป
  • ในส่วนของผม มีใจรักอยากจะทำงาน เมื่อได้มีโอกาสไปอบรมที่ กทม. และเชียงใหม่ ของสถาบันทันตกรรม จึงมีความคิดที่อยากจะทำ ก็ต้องขอขอบคุณ สสจ. ที่ให้โอกาสมาใน ตค. ที่ผ่านมา ที่ได้รับงานนี้มา ก็เสนอตัวเพิ่มขั้นไป
  • ชื่อของเรื่องนี้เคยเสนอเข้าไปในเรื่อง โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพผู้สูงอายุ หมู่ 4 บ้านผักกาดหญ้า อ.ลำปลายมาศ ก็เป็นความต้องการแรกที่จะทำ
  • แต่มีแนวคิดเปลี่ยนไป จึงสังเกตว่า ชื่อโครงการก็เปลี่ยนไปตามแนวคิด
  • ถ้ามาดูที่ความคิดเริ่มต้น ที่ว่าก่อนที่จะมาถึงโครงการนโยบายฯ ก่อนนะครับ
  • ก่อนที่ผมจะลงไปหมู่ 4 ก็หารืออยู่ว่าผมจะโครงการนี้ ลงไปตรงไหน ก็บอกว่า เอาลงไปที่หมู่ 8 ดีไหม เพราะเห็นว่า กลุ่มอื่น เขาทำที่ PCU กัน
  • คิดไปคิดมา ก็คิดว่าควรอยู่ใกล้ๆ เรา เพราะว่าสะดวกที่จะเข้าไปด้วย ก็มาหารือกับฝ่ายส่งเสริมฯ ฝ่ายส่งเสริมฯ ก็ดำเนินโครงการโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ ความดันในหมู่ 4 อยู่ ก็คิดว่าจะเป็นที่เชื่อมให้เข้าไปง่ายขึ้นในกลุ่มคน
  • ความคิดอันเก่า ผมคิดแต่ว่า เราต้องเอาเฉพาะ 60 ปีขึ้นไป อายุต่ำกว่านั้นไม่จับ ไม่ยุ่ง เพราะว่าเรามาในผู้สูงอายุ
  • พอเสนอโครงการเสร็จ เราก็ยังไม่รู้จะเอายังไง รู้แต่จะยึดหมู่ 4 เท่านั้น เราก็จะไม่เปลี่ยน เพราะว่าเดี๋ยวจะเขว
  • พอเข้าไปแล้ว จริงๆ ก็ไม่เหมือนกับที่เราไปอบรมฯ ก็คิดว่าต้องเข้าทางวัด หรือทางอื่นๆ พอเข้าไปเจอพื้นที่จริงๆ พบว่า ชุมชนของหมู่ 4 เรื่องวัดค่อนข้างไม่เป็นอย่างที่เราคิด แต่วัดสวยมาก น่าเข้าไปพักผ่อน แต่แปลกที่ชาวบ้านไม่ค่อยเข้าไปในวัด นอกจากจะมีเทศกาลจริงๆ ก็จะเข้าไปเป็นช่วงๆ
  • แล้วผมจะเข้าไปทำงานยังไง จาก ตค. มาถึง มค. กพ. ก็พบว่าชาวบ้านเขาไม่ออกมาอย่างที่เราคิด รวมกลุ่มตามหอกระจายข่าว ก็ไม่ได้ตามคิด ก็มาบ้างไม่มาบ้าง บางคนก็มีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง
  • ก็เริ่มคิดว่า ถ้าเราจะให้ผู้สูงอายุทำงาน เราคนเดียวคงไม่ไหว ก็เริ่มมานึกถึง อสม. ตอนนั้นมีโครงการฟันสะอาด เหงือกแข็งแรง แปรงทั่วไทย ของจังหวัดที่มา ผมก็ไม่เคยเห็นความสำคัญของ อสม. เท่าทุกวันนี้นะครับ
  • แต่พอผมจัดประชุมขึ้นมา ก็คิดว่า อสม. น่าจะเป็นแขนต่อจากเรา ถึงจะอายุต่ำกว่า 60 ก็น่าจะมาทำงานกับเราได้ ก็เริ่มมองหาคนเก่งๆ เข้ามาช่วย
  • ที่นี้ก็เลยคิดว่า เข้าหาทาง อสม. เปลี่ยนแนวคิด อสม. ก็เริ่มเข้าใจงาน และพาเข้าไปเยี่ยมผู้สูงอายุ ผมก็เลยคิดว่า กิจกรรมนี้ไม่เหมือนใน รพ. ที่เราจะทำคนเดียวได้ ก็จะไปตรวจวินิจฉัยเท่านั้นก็จบ ก็ช่วยเราได้มากจริงๆ จนผมคิดว่า
  • เวลาที่เราไป ตามเวลาราชการ แต่คนเขาก็ไม่อยู่ให้เราตรวจ เราก็ต้องเปลี่ยนเวลา ให้เป็นเวลาที่เขาสะดวก ไม่ใช่เราสะดวก
  • และมีความคิดเดิมว่า ผู้สูงอายุต้องการฟันเทียม คือ ตามสูตร ถอนฟัน ก็ต้องจบด้วยฟันเทียม และพอเราออกไปสำรวจ  OIDP เกือบ 50% เขาไม่ต้องการการทำฟัน เพราะว่าถึงฟันเขาจะโยก เขาก็ไม่ได้เจ็บอะไร และเขากลัวหมอฟันมาก เขาจะไม่มา
  • ผมก็เลยรู้สึกว่า ไม่ใช่ จึงมาเปลี่ยนแนวคิดว่า จะให้ผู้สูงอายุทำงานก็ต้องมีประสิทธิภาพ  ให้เอาผู้ใหญ่สอนลูกหลาน + กับโครงการที่เข้ามาในช่วงนี้เยอะ คือ โครงการเด็กไทยไม่กินหวาน ที่เข้ามาในโรงเรียน
  • ผมมีความรู้สึก ผมไม่รู้จะทำอะไร ต้องมีคนนำ แล้วเราจะไปได้ดี เพราะจังหวัดต้องไปเจออะไร หรือเห็นที่อื่นมามากกว่าผม ก็ต้องได้เห็นต้นแบบนำผมได้ ก็จะพยายามทำไป และถามพี่ๆ ที่ สอ. และทำตามกันไป
  • + กับการรณรงค์ไม่กินหวานใน รร. พบว่า ที่ชุมชน ก็จะเจอปัญหาเด็กไม่กินหวานในโรงเรียนจริง แต่ในชุมชน เขาจะไปบอกพ่อแม่หาของอย่างนี้ๆ ไม่ได้
  • ผมก็คิดมาเริ่มจากชุมชน เริ่มจากชาวบ้าน และมาชะลอไว้ พอ รร.เปิด เราก็จะเริ่มเอางานนี้เข้าไปสำรวจว่า ใน รร.จันทราวาส ซึ่งเป็น รร.ที่ติดกับชุมชนหมู่ 4
  • ซึ่งเป็น รร.ที่มีการกินหวาน เป็นชุมชนเมือง อยู่ในบ้านเรานี่เอง
  • คิดดูสิครับว่า เราลองเอาชุมชนเข้าไปใน รร. ดู ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้ผมเองก็ยังไม่ทราบเหมือน และกำลังเข้าไปสำรวจใน รร. และจะเปรียบเทียบว่า เด็กที่ พ่อแม่สอนไม่ให้กินหวาน และตามเราไปตลอดโครงการ กับเด็กที่กลับไปบ้าน แล้วพ่อแม่ยังไม่รู้ ตรงจุดนี้ เด็กเขาจะต่างกันอย่างไร อันนี้เป็นแนวคิดที่กำลังดำเนินการ

 

หมอแอ๊ด และท่าน สสอ. ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 98971เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท