drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การจัดการองค์ความรู้ ด้านงานบริการวิชาการ


ด้านงานบริการวิชาการ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มทร.ธัญบุรี

บล็อกนี้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี สำหรับด้านงานบริการวิชาการ ครับ กรุณาโพสต์ได้ที่นี่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #het#km#rmutt
หมายเลขบันทึก: 433280เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

กลุ่มบริการวิชาการ

Fa: ผศ. อรัญญา วรชาติอุดมพงศ์

Note: ผศ. สาคร ชลสาคร

กลยุทธ์ในการบริการวิชาการให้ประสบความสำเร็จ

1. หลักสูตรในการให้บริการวิชาการ

1.1 สำรวจความต้องการของผู้เข้ารับบริการวิชาการ

1.2 เป็นเรื่องที่ทันสมัย เข้าใจง่าย

1.3 ผลิตง่าย รวดเร็ว มีคุณภาพและเป็นสากล

ยกตัวอย่าง หลักสูตรการบริการวิชาการเรื่อง การทำกระดาษจากใยหม่อน ซึ่งเป็น

หลักสูตรที่สำนักงานการปฎิรูปที่ดินสำรวจมาจากความต้องการของชาวบ้านในจังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจากในท้องถิ่นมีกิ่งหม่อนที่เหลือใช้เป็นจำนวนมาก

2. กระบวนการ

2.1 เตรียมความพร้อมของวัตถุดิบ วัสดุและอุปกรณ์

2.2 จัดเตรียมสถานที่ให้เหมาะสมกับกิจกรรม

2.3 จัดเตรียมสื่อการสอน และจัดบรรยากาศให้เหมาะสม

2.4 มีการติดต่อสื่อสารในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจน ถูกต้อง

2.5 ครบถ้วนตามหลัก PDCA

ยกตัวอย่าง มีการจัดเตรียมกิ่งหม่อนที่เหลือใช้โดยการนำมาลอกและขูดเปลือกออก

จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ในการทำกระดาษ พร้อมกับนัดกลุ่มชาวบ้านเพื่อมารับการถ่ายทอดความรู้บริการวิชาการ

3. วิทยากร

3.1 เตรียมความความรู้ ขั้นตอนและสื่อการสอน

3.2 มีความตรงต่อเวลา

3.3 มีจิตวิญญาณในการถ่ายทอดความรู้

3.4 มีสุนทรียสนทนาในการถ่ายทอดความรู้

ยกตัวอย่าง อาจารย์และนักศึกษาจัดเตรียมเนื้อหาให้ครบถ้วน ทบทวนการฝึกทักษะใน

การปฎิบัติให้ชำนาญ

4. การเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์

4.1 การคิดราคาต้นทุน

4.2 บรรจุภัณฑ์

4.3 ตลาดจัดจำหน่าย

ยกตัวอย่าง ชาวบ้านได้กระดาษใยหม่อนที่เป็นการเพิ่มมูลค่ากระดาษจากกิ่งหม่อน การคิดต้นทุนกระดาษราคาแผ่นละ 8 บาท มีตลาดรองรับในการจัดจำหน่ายตามร้านเครื่องเขียน

5. ความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ

5.1 สินค้ามีคุณภาพ

5.2 คิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่

ยกตัวอย่าง ปัจจุบันชาวบ้านกลุ่มบึงกะสังข์ จังหวัดบุรีรัมย์ใช้กระดาษหม่อนทำเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่ผ้าไหมจำหน่ายซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

สรุป กลยุทธ์ในการบริการวิชาการให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลัก 5 ด้าน คือ หลักสูตร (Input) กระบวนการและวิทยากร (Process) และ การเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ (Output) และความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ (Outcome)

กลุ่มของท่าน เช่น

1.1 สำรวจความต้องการของผู้เข้ารับบริการวิชาการ

ท่านควรเขียนวิธีการที่ท่านได้ทำ เพื่อสำรวจความต้องการของผู้เข้ารับบริการวิชาการ

อ.อภิชาติ ขอเสนอว่า

1.1.1 ประเมินโดยการใช้แบบสำรวจความพึงพอใจของการบริการวิชาการ ในหัวข้อสุดท้าย ท่านควรจะเพิ่มเติมว่า "ผู้เข้าร่วมสัมมนาต้องการเสนอแนะให้มีการบริการวิชาการด้านใดเพิ่มเติม กรุณาเขียนแนะนำได้ที่นี่ค่ะ" เมื่อผู้เข้าร่วมสัมมนาเสนอแนะมา ทางคณะกรรมการบริการวิชาการของคณะฯ ก็จะนำมาประชุมหาหัวข้อที่เหมาะสม เพื่อนำไปเขียนโครงการถัดไป และถ้าเป็นไปได้ ควรจะโทรศัพท์ อีเมล์ หรือติดต่อทางจดหมาย เชิญชวนให้ผู้ที่เคยเข้าร่วมสัมมนาท่านอื่นๆ มาร่วมโครงการที่ 2, 3, 4..... (อย่างนี้ ท่านจะมั่นใจได้ว่าเมื่อท่านเปิดหลักสูตรอบรมใหม่ ก็จะการันตีว่ามีคนมาอบรมกับท่านแน่ๆ เป็นต้น)

1.1.2 โดยปกติ ทางเราจะเป็นผู้กำหนดหัวข้อ (คิดเองทำเอง) ทำไมไม่ลองเปลี่ยนเป็น (ถามใจเค้าดูก่อน ว่าอยากได้อะไร แล้วนำมาเขียนหลักสูตร) วิธีการ

- ส่งนักศึกษาคณะคหกรรมศาสตร์ พร้อมอาจารย์ 1 ท่าน เข้าไปชุมชน หากนักศึกษาของท่านเป็นคนในชุมชนนั้น ยิ่งดี เพราะเขาจะพาเข้าไปได้ ทุกซอกทุกมุม สอบถามความเห็นคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา (อันนี้เรียกว่า Direct Sales)

- โทรศัพท์ไปสอบถาม (วิธีที่ท่านจะได้เบอร์โทรศัพท์ และวิธีที่ท่านจะสอบถามเค้าทำอย่างไร นี่ก็คือ KM ได้ครับ ---> เหมือนที่เค้าทำบทสนทนา ที่หลอกให้เหยื่อโอนเงินเข้าบัญชีแก้งค์ต้มตุ่นนะครับ แต่เราคงไม่ใช้แบบนั้น แต่ต้องคิดว่าผู้ที่เราสอบถาม คงไม่มีเวลาจะมาตอบคำถามนาน จะทำอย่างไรที่ท่านจะสอบถามอย่างรวดเร็ว ตรงจุดตรงประเด็น ถามแล้วได้ข้อมูล ฯลฯ อันนี้ก็เป็น KM เช่นกัน)

- อาศัยอาจารย์ หรือนักศึกษาที่เคยไปนิเทศงาน หรือฝึกงาน สอบถามความต้องการหรือไม่?

ลองดูนะครับ จาก อ.อภิชาติ

การให้บริการวิชาการแก่สังคม

1.หลักสูตรวิทยากรมืออาชีพ

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร

1.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพูดของวิทยากรตามหลักสากล

2.ความหมายของวิทยากร

3.ความสำคัญของวิทยากร

4.บทบาทภาวะการเป็นผู้นำของวิทยากรที่ดีมีประสิทธิภาพ

5.คุณสมบัติของวิทยากรที่ดีมีประสิทธิภาพ

6.เทคนิคการเตรียมตัวที่ดีของวิทยากร

7.ยุทธวิธี เทคนิคการนำเสนอให้เป็นที่น่าสนใจ

8.ภาพรวมของวิทยากรที่ดีมีประสิทธิภาพ

9.จรรยาบรรณและข้อพึงระวังของวิทยากร

10. ฝึกปฏิบัติ การเป็นวิทยากรมืออาชีพ

2.หลักสูตรศิลปะการพูดเพื่อการสร้างแรงจูงใจ

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร

1.ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพูด

2.หลักการพูดที่ถูกต้องตามหลักสากล

3.พัฒนาการพูดด้านน้ำเสียง ภาษา สายตา ท่าทาง เวลา

4.โครงสร้างการพูดที่ถูกต้องตามลำดับขั้นตอน

5.การวางแผนเพื่อการถ่ายทอดและการนำเสนอลำดับขั้นตอนการพูดอย่างมีประสิทธิภาพ

6.การสร้างความมั่นใจ ระงับความประหม่า สร้างพลังงานความเชื่อมั่น เพื่อให้การถ่ายทอด

7.การสร้างจูงใจให้เห็นประโยชน์ เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นประโยชน์หรือคุณค่าในสิ่งที่ถ่าย

8.การจูงใจให้เห็นประโยชน์ เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นประโยชน์หรือคุณค่าในสิ่งที่ถ่ายทอด

9.ฝึกปฏิบัติเข้มในการพูดรูปแบบต่าง ๆ พร้อมให้คำแนะนำแก้ไขข้อบกพร่องทันที

- พูดเพื่อให้ข้อมูล ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจได้ง่าย

- พูดแบบใช้ไหวพริบปฎิญาณ

- พูดเพื่อชี้ชวน หรือชักนำให้เกิดความเชื่อถือ

- พูดเพื่อจูงใจ หรือแนวโน้มทำให้คนทำตาม

10.ประเมินผลการพูดทุกหัวข้อมีเอกสารประกอบเพื่อพัฒนาการพูดได้ดีขึ้น

11.จรรยาบรรณของการพูดต่อสาธารณชน

3.หลักสูตรพลังศักยภาพกับความสำเร็จ(Mind Management)

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร

ภาคทฤษฎี

1.แผนพัฒนา 5 ขั้น สู่ความสำเร็จ

2.แววของผู้ประสบความสำเร็จ 7 ประการ

3.ธรรมชาติของมนุษย์

4.กระบวนการทำงานระบบสมองและจิตใจ

5.ความสัมพันธ์ระหว่างจิตทั้ง 2 ดวง

6.สาเหตุที่ทำให้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว

7.การปลูกฝังทัศนคติต้นเหตุแห่งความสำเร็จ

8.เทคนิคการดึงพลังศักยภาพไปใช้เพื่อบรรลุเป้าหมาย

9.เป้าหมาย ความฝัน ความปรารถนา คือความสำเร็จของชีวิต

4.หลักสูตรเทคนิคการเป็นพิธีกร

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร

1.ความรู้ ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพูดตามหลักสากลของพิธีกร

2.เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ในหัวข้อต่าง ๆ เกี่ยวกับการเป็นพิธีกร ดังนี้

2.1 รูปแบบของพิธีกรดำเนินรายการ

2.2.องค์ประกอบสำคัญในการจัดงานอบรม - สัมมนา

2.3.ความหมายของพิธีกร

2.4.ความสำคัญของพิธีกร

2.5.คุณสมบัติทักษะพื้นฐานการเป็นพิธีกร

2.6.บทบาทหน้าที่ของพิธีกร

2.7.ขั้นตอนการเป็นพิธีกร

3.ฝึกปฏิบัติ การเป็นพิธีกรในรูปแบบต่าง ๆ

4.สอบการเป็นพิธีกรทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

5.หลักสูตรเทคนิคการหยั่งรู้พฤติกรรม (ใจเขา - ใจเรา)

รายละเอียดเนื้อหาของหลักสูตร

1.กระบวนการทำงานระบบสมองทั้ง 2 ซีก

2.ความสัมพันธ์ระหว่างสมองทั้ง 2 ซีก

3.พฤติกรรมการใช้สมองถูกข้าง

4.ความสำเร็จของการใช้สมองถูกข้าง

5.ความล้มเหลวจากการใช้สมองผิดข้าง

6.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ความสำเร็จ

6.หลักสูตร การศึกษาวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อพัฒนาองค์กร

ระยะเวลาในการฝึกอบรม 1 วัน (6 ชั่วโมง)

วิทยากร ผศ.พงษ์ศักดิ์ ศิริพงษ์

หลักการและเหตุผล

“หากรู้เขาและรู้เรา ให้รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ” เป็นหนึ่งประเด็นด้านกลยุทธ์ด้านการศึกษาของจีน

ในสมัยโบราณ กล่าวไว้เพื่อแสดงถึงผลการวิเคราะห์เพื่อให้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองและคู่แข่งที่จะนำมาซึ่ง

การกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการสร้างความสำเร็จในการบริหารดำเนินงาน ใด ๆ ได้ตามประสงค์ การศึกษา

วิเคราะห์ หน่วยงานหรือของตัวบุคคลเพื่อทบทวน จุดอ่อน (Weakness) จุดแข็ง (Strengths) โอกาส

(Opportunities) อุปสรรค (Threats) ในการทำงานหรือเรียกสั้น ๆ ว่า SWOT Analysis เป็นหนึ่งในเครื่องมือ

ของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขององค์กร หน่วยงาน หรือระดับบุคคล สามารถนำไปใช้

ประโยชน์ในการบริหารองค์กรได้หลากหลาย เช่น การกำหนดกลยุทธ์ในการวางแผนธุรกิจ การวางแผนการตลาด

แผนการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือขั้นต้นในการทำ Five Forceสำหรับการปรับปรุงองค์กร ใช้บริการทรัพยากรบุคคล

หรือกระทั่งการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เพื่อการพัฒนาปรุงประสิทธิภาพใน

การทำงานได้ดีขิ่งขึ้น เป็นการศึกษาเพื่อทำให้รู้ว่าอะไรเป็นปัญหาหรือโอกาสที่เราต้องแก้ไขปรับปรุง ทั้งนี้

SWOT Analysis เป็นการระดมความคิดของคนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ในหลาย ๆ มุมมองที่

จะช่วยให้การกำหนดปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นกลยุทธ์ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์ SWOT Analysis และวิธีการนำไปใช้ประโยชน์

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติงานการศึกษาวิเคราะห์ SWOT Analysis จากประเด็นที่เป็นอยู่

ขององค์กร หน่วยงานและบุคคล

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหารหรือระดับหัวหน้างาน สำหรับจัดทำ SWOT ขององค์การหรือหน่วยงาน หรือระดับพนักงานทั่วไป

(หากเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับทำ SWOT เพื่อปรับปรุงตนเอง)

หัวข้อการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อการพัฒนาองค์กร

1.ความหมายและความสำคัญ SWOT Analysis

2.การนำไป SWOT Analysis ใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาองค์กรและบุคคล

3.ประเด็นในการพิจารณาในการศึกษาวิเคราะห์และพิจารณาด้าน

- จุดอ่อน (Weakness)

- จุดแข็ง (Strengths)

- โอกาส (Opportunities)

- อุปสรรค (Threats)

4.กรณีศึกษาการทำ SWOT Analysis ขององค์กรต่าง ๆ

5.เทคนิคการระดมสมองและข้อพิจารณาในการจัดทำ SWOT Analysis

6.การประชุมเชิงปฏิบัติการ SWOT Analysis จากประเด็นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขององค์การหรือ

หน่วยงานบุคคล

7.หลักการกำหนดกลยุทธ์หรือวางแผนแนวการแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาต่าง ๆ จากผลการศึกษา

ของ SWOT Analysis

วิธีการฝึกอบรม

1.การบรรยาย

2.กรณีศึกษา

3.แบบฝึกหัดทดสอบการวิเคราะห์

4.การประชุมเชิงปฏิบัติจัดทำ SWOT ขององค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลและนำเสนอผลการศึกษา

5.การวิจารณ์และให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุง ศึกษาเพิ่มเติมในผลการวิเคราะห์

การประเมินผลที่ได้รับจากการฝึกอบรม

1.ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเข้าใจและสามารถดำเนินการจัดทำ SWOT Analysis ได้

2.มีเอกสารผลการจัดทำ SWOT Analysis หลังจากการสัมมนาเพื่อนำประโยชน์ไปใช้ต่อไป

7.หลักสูตร บริการเริงร่า ลูกค้าร่างเริง (Service cheerful Customer cheerful)

“....ปัจจุบันนี้ ธุรกิจแต่ละประเภท มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง สิ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้ไม่ไปจากองค์กร

ของท่าน คือคุณภาพของการบริการ (Service Quality) การบริการอันเป็นเลิศจากบุคลากรที่มีใจบริการ

(Service Mind) ซึ่งเกิดจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงคำว่า การบริการด้วยใจ ”

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความเข้าใจที่ถูกต้องในความหมายของการให้บริการ

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงเหตุและผลที่ถูกต้องในการสร้างจิตสำนึกในการบริการ

3.เพื่อให้ผู้เข้าใจธรรมชาติและความคาดหวังของผู้บริการและตอบสนองต่อความต้องการนั้น ๆ อย่างตรงจุด

4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีจิตสำนึก ทัศนคติที่ดีและมีความภาคภูมิใจในการเป็นผู้ให้บริการ

5.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาแนวความคิดในการบริการที่ดี และปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพให้เหมาะสม

กับงานบริการ เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นเลิศในคุณภาพงานบริการอย่างยั่งยืน

หัวข้อในการฝึกอบรม

- บริการเริงร่า ลูกค้าร่าเริง

- องค์ประกอบของความสำเร็จที่ซ่อนอยู่ในคำว่า “ บริการ (Service) ”

- ลักษณะเฉพาะของ “งานบริการ”

- ลูกค้าคือ “ คนสำคัญ ”

- การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship Management)

- จิตวิทยาในการผูกสัมพันธ์กับลูกค้า

- พลังแห่งความประทับใจ (The Power of impression)

- การสร้างความประทับ (The great way make an outstanding First impression)

- งานบริการวัดได้ด้วย “ ความรู้สึก ”

- ความคาดหวังของ “ ลูกค้า ”

- พฤติกรรมบริการ

- บุคลิกภาพที่เยี่ยมยอดในการบริการ

- เทคนิคในการสื่อสารกับผู้รับบริการ การรับมือกับปัญหา ข้อร้องเรียน และชื่นชมในงานบริการ

เพื่อการบริการอันเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

- หลักสูตรการฝึกอบรมมี 3 โปรแกรม คือ โปรแกรม 4 ชั่วโมง / 6 ชั่วโมง และหลักสูตร 2 วัน (12 ชั่วโมง)

8.หลักสูตร การสร้างทีม (Team Building)

ไม่มีใครเก่งทุกอย่าง ประโยคนี้เป็นความจริงในโลกนี้ ดังนั้นการทำงานในองค์กรทุก ๆ องค์กร

ที่จะพบว่าการที่จะทำให้พนักงานทุกคนรักกัน ร่วมมือกัน ที่จะทำให้องค์กรมีกำไร อยู่รอด เติบโต จนสุดท้าย

เป็นเลิศนั้นยากมากการทำงานเป็นทีม เป็นคำกล่าวที่ฟังดูแล้วง่ายมาก แต่ใครล่ะ ที่จะสามารถทำให้ทุกคนใน

องค์กรสามารถเข้าใจ เปิดใจจนถึงรู้สึกได้ถึงคำว่า “Team Building”

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้สึกและเห็นความสำคัญของคำว่า “Team Building” ตลอดจนสามารถ

นำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้

หัวข้อในการฝึกอบรม

1.ธรรมชาติและเรื่องทั่วไปของมนุษย์

2.ความหมายและความสำคัญของการสร้างทีม

3.ความรู้และความเข้าใจ ภาวะผู้นำ (Leadership) และการสร้างทีม (Team Building)

4.อิทธิพลของผู้นำทีมที่มีผลกระทบต่อสมาชิกในทีม

5.องค์ประกอบของทีมและบทบาทของสมาชิกในทีม

6.สาเหตุที่ทำให้ทีมล้มเหลว หรือประสบความสำเร็จ

7.การสนับสนุนให้สมาชิกกล้าแสดงความคิดเห็น

8.แนวทางการส่งเสริมให้ลูกน้องอยากมีส่วนร่วมในการทำงาน

9.ความรู้และความเข้าใจอย่างแท้จริง “การสร้างแรงจูงใจ”

10.วิธีการสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิกในทีมงาน

11.สรุปหลักกากรพัฒนาทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

http://stp.cru.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=68&Itemid=86

การบริหารงานบริการวิชาการและสัมพันธภาพต่อชุมชน

รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา คณบดีคณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้

น่าอ่านมาครับ 28 หน้า มุมมองการบริหารงานบริการวิชาการที่เราพูดกันแต่ไม่ได้เจาะรายละเอียดนะครับ

http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cache:H8srTOBf7T0J:personnel.mju.ac.th/itm-admin/uploads/12811.doc+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%88&hl=th&gl=th&pid=bl&srcid=ADGEESitFVJCyIuOM_u2YpT4rgU5mp0uVJpIHE3CqnM2UBp-KBiuiKGshODyNMEJp6gOKLFmgthseMdgufC2xXy8J0gwCa3sSQvX9gCguxSxLJFTJncDU2xgAQyImQzYXz_Up0BZSF-6&sig=AHIEtbQRrTER3iiXcvimsdw4MiBvfhVNAA

กลยุทธ์ในการบริการวิชาการให้ประสบความสำเร็จ ถือเป็นเป้าหมายของการบริการวิชาการแก่สังคม ทางกลุ่มฯ จึงขอขอบคุณทุก ๆ ความคิดเห็น ซึ่งจะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป

 

สำหรับการทำ KM ครั้งที่ 3 ของกลุ่มท่าน ท่านได้อะไรบ้างที่เป็นเคล็ดลับ (จริงๆ) น่าจะนำมาเผยแพร่ให้ท่านอื่นๆ ทราบครับ

รายงานการประชุม

กลุ่มงานวิจัย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

เรื่อง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ตามแผนการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3

ณ ห้องประชุมศิลปวัฒนธรรม ชั้น 1 อาคาร 1 คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

วันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เวลา 09.00-12.00 น.

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

1. อาจารย์จีรวัฒน์ เหรียญอารีย์ ประธานกล่มงานวิจัย

2. ผศ. ศิริกาญจน์ ดุจจนุทัศน์

3. ผศ. สุรเดช ชูพินิจรอบคอบ

4. อาจารย์บุญประคอง ไม้เขียว

5. ผศ.สุชาดา งามประภาวัฒน์

6. ผศ.อภิญญา พุกสุขสกุล

7. อาจารย์เฉลียว หมัดอิ๊ว

8. ผศ.เสริมศรี สงเนียม

9. อาจารย์รัตนาภรณ์ มะโนกิจ

10. อาจารย์อรวรรณ พึ่งคำ

11. อาจารย์อรอุมา คำแดง

12. อาจารย์ชมุค พรรณดวงเนตร

13. อาจารย์ประดิษฐา ภาษาประเทศ

14. อาจารย์กิตติมา บุญยศ เลขานุการกลุ่มงานวิจัย

รายชื่อผู้ไม่เข้าร่วมประชุม

-

-2-

ระเบียบวาระการประชุม

วาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

เรื่อง แผนกลยุทธ์การพัฒนาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มงานวิจัย

ในด้านการวิจัย คณะฯ ให้ความสำคัญกับการทำงานวิจัยที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพและสนับสนุนให้นำผลงานวิจัยไปเผยแพร่แก่ชุมชน

วาระที่ 2 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การทบทวนการจัดทำ KM ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านการวิจัยของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์”

เนื่องจากคณะฯ ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ด้านงานวิจัยใหม่ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและสถานประกอบนั้น กลุ่มงานวิจัยจึงควรมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยของคณะฯ หรือข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัย เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานวิจัย

หัวข้องานวิจัยที่บุคลากรของคณะฯ ควรนำมาพิจารณาเพื่อทำงานวิจัย คือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และการทำงานวิจัยในระดับสถาบัน นอกจากนี้ งานวิจัยที่จะจัดทำควรเป็นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นงานวิจัยที่สร้างสรรค์ และมีจรรยาบรรณในการทำงานวิจัยด้วย ทั้งนี้ตัวบ่งชี้ของคณะฯ กำหนดว่า จำนวนผลงานวิจัยของคณะ ฯ ควรเป็นงานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริงไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งกลุ่มงานวิจัยมีความคิดเห็นว่า หากบุคลากรของคณะฯ ตระหนักถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแล้วจะสามารถทำงานวิจัยที่ได้มาตรฐานอย่างแน่นอนผนวกกับการทำงานวิจัยในหัวข้อที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์แล้ว เมื่อเขียนของบประมาณจะมีโอกาสได้รับการพิจารณาให้ได้รับงบประมาณในการจัดทำงานวิจัยมากขึ้นได้

วาระที่ 3 ตัวอย่างการเขียนงบประมาณงานวิจัย (ภาคผนวก 6 สวพ.มทร.ธัญบุรี)

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยสมาชิกกลุ่มงานวิจัย (คนกันเอง...ทั้งน๊าน) และที่ปรึกษาประจำกลุ่ม คือ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัตินั้น กลุ่มงานวิจัยมีความคิดเห็นตรงกันว่า การให้บุคลากรของคณะฯ ได้ทราบรายละเอียดหัวข้อที่จำเป็นต้องเขียนเสนอของบประมาณเป็นเรื่องสำคัญ กลุ่มงานวิจัยจึงนำเสนอตัวอย่างรายละเอียดงบประมาณดังนี้

-3-

รายละเอียดงบประมาณการวิจัยของข้อเสนอการวิจัย จำแนกตามงบประเภทต่าง ๆ (ปีงบประมาณที่เสนอขอ)

รายการ จำนวนเงิน

1. งบบุคลากร

ค่าจ้างชั่วคราว

ฯลฯ

2. งบดำเนินงาน

2.1 ค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ

2.1.1 ค่าตอบแทน เช่น ค่าอาหารทำการนอกเวลา ค่าตอบแทน

ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ฯลฯ

2.1.2 ค่าใช้สอย เช่น

1) ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ

2) ค่าซ่อมแซมยานพาหนะและขนส่ง

3) ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์

4) ค่าจ้างเหมาบริการ

5) ค่าใช้จ่ายในการสัมมนาและฝึกอบรม

6) ค่ารับรองและพิธีการ

7) ค่าเงินประกันสังคม

8) ค่าใช้สอยอื่น ๆ

ฯลฯ

2.1.3 ค่าวัสดุ เช่น

1) วัสดุสำนักงาน

2) วัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น

3) วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ

4) วัสดุโฆษณาและเผยแพร่

5) วัสดุหนังสือ วารสารและตำรา

6) วัสดุคอมพิวเตอร์

7) วัสดุอื่น ๆ

ฯลฯ

2.2 ค่าสาธารณูปโภค เช่น

ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าไปรษณีย์

ค่าบริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคม

3. งบลงทุน

ค่าครุภัณฑ์

ฯลฯ

รวมงบประมาณที่เสนอขอ

-4-

ประวัตินักวิจัย

หัวหน้าโครงการ

- วุฒิการศึกษา ดร. , ผศ. , รศ. , รศ.ดร. 

- ประสบการณ์ที่ผ่านมา : แผนงานวิจัยที่ระบุ ควรเกี่ยวข้องกับงานที่กำลังเสนอขอ หรือได้ทุนจากหน่วยงานภายนอกให้มากไว้ด้วย

นักวิจัยร่วม

- วุฒิการศึกษา

- ประสบการณ์ที่ผ่านมา : งานที่ระบุไม่ตรงก็ได้ หากเคยได้ทุนจากภายนอก ให้นำมาแสดงไว้ด้วย

วาระที่ 4 การวางแผนของกลุ่มงานวิจัยในปี 2554 (หากมีโอกาสนำเสนอในคราวต่อไป)

สมาชิกในกลุ่มงานวิจัยมีความคิดเห็นร่วมกันว่า ในโอกาสต่อไปควรเชิญวิทยากรจากภายนอกที่เป็นคณะกรรมการตัดสินการให้ทุนวิจัยมาบรรยาย เพื่อประโยชน์ในการทำงานวิจัย ซึ่งกรอบในการให้ความรู้ควรเกี่ยวข้องกับหัวข้อต่อไปนี้

- ลักษณะของแบบฟอร์มการให้คะแนน

- เกณฑ์การพิจารณา

- วิธีหรือขั้นตอนการพิจารณา

- กลยุทธ์ในการเขียนเพื่อเสนอขอทุน

- กลยุทธ์ในการเขียนเพื่อให้งานวิจัยมีคุณภาพดี

ปิดการประชุมเวลา 12.00 น.

นางสาวกิตติมา บุญยศ

ผู้จดบันทึกรายงานการประชุม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท