drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การจัดการองค์ความรู้ ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม


ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, มทร.ธัญบุรี

บล็อกนี้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี สำหรับด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ครับ กรุณาโพสต์ได้ที่นี่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #het#km#rmutt
หมายเลขบันทึก: 433288เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

พูดอย่างไรให้ไพเราะ

ประธานกลุ่ม            อาจารย์สุทธิลา  สวนาพร

เลขา                           อาจารย์วิจิตร  สนหอม

สมาชิก                       ผศ.สุวรรรณี  อาจหาญณรงค์

ผศ.พงศักดิ์  ทรงพระนาม

                                    ผศ.เกษรา  มานันตาพงษ์

                                    อาจารย์อรพินท์   สุขยศ

                                    อาจารย์เกรียงศักดิ์  สิงห์แก้ว

                                    อาจารย์วราภารณ์  วงศ์ปถัมภ์

อาจารย์วราภรณ์  นาคะศิริ

 

เทคนิคการพูดให้ไพเราะ

  1. แจ้งข้อตกลงในการพูดในชั้นเรียน
  2. พูดจาประชดประชัน  ทักท้วงโดยการย้อนคำพูดของนักศึกษาเพื่อให้ฉุดคิด
  3. ลงโทษปรับเงิน  และหักคะแนน
  4. ให้รางวัลและชมเชยสำหรับนักศึกษาที่พูดไพเราะ

ให้นักศึกษาคัดไทยคำพูดที่ไม่ไพเราะ  และคำพูดที่ไพเราะ  อย่างละ 1,000  จบ

พูดสุภาพ ไพเราะ นุ่มนวล และยิ้มให้เด็กๆก่อน ใช้ได้ผลดีเหมือนกัน

 

เรียน ท่านอาจารย์ในกลุ่มนี้ครับ อยากจะให้ท่านเจาะลึกกระบวนการที่ท่านได้ทำแล้ว และประสบผลสำเร็จ นำมาลงในบล็อกนี้ครับ หากท่านใดนำไปใช้ จะได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปนะครับ ขอบคุณครับ จาก อ.อภิชาติ

(เช่น การทำอย่างไรให้นักศึกษาพูดไพเราะ ท่านได้ทำอย่างไรบ้าง มีมาตรการหลักอะไร และมาตรการรองอะไรบ้าง จุดเด่น-จุดที่ควรพัฒนา เพื่อนำมาเผยแพร่ให้คนอื่นลองไปทำนะครับ)

เรียนอาจารย์ในกลุ่มนี้

ผมลองไปดู อ.สมเกียรติ เขียนไว้ ด้วยหลัก 3 ประการ คือ ส ว ย น่าจะใช้ได้นะครับ

http://gotoknow.org/blog/kroobangpla3/67325

เพลงพูดให้ไพเราะ : อาจารย์พุทธทาสภิกขุ/ จีวันBAND

http://www.pobbuddha.com/dontridhamma/music_detail.php?m_seq=85&m_refer=tan

"คำพูดไพเราะเพียงคำเดียวอบอุ่นไปทั้งฤดู คำพูดหยาบคายเจ็บปวดถึงหกเดือนหนาว"

http://www.ranthong.com/smf/index.php?topic=30337.0;wap2

ลองอ่านดูนะครับ การพูพจาไพเราะใคร ๆ ก็อยากทำงานด้วย อยากคบหา อยากเจรจาด้วย ดังนิทานที่ยกมาให้ลองอ่านครับ

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=21390

พูดจาไพเราะ

พูดจาไพเราะ

คอลัมน์ สดจากจิตวิทยา

นฤภัค ฤธาทิพย์/กรมสุขภาพจิต

พ่อแม่หลายคนคงรู้สึกกังวลใจกับการพูดจาของลูกที่อาจพูดจาห้วนสั้นไม่มีหางเสียงคะขา ครับผม และแม้จะสอนอย่างไรก็ยังติดคำพูดแบบเดิมๆ

การสอนลูกให้พูดจาไพเราะน่าฟังนั้นสิ่งสำคัญคือพื้นฐานของครอบครัว พฤติกรรมการพูดจาของพ่อแม่ ที่ออกมาไม่ว่าจะพูดกับลูกหรือสื่อสารระหว่างพ่อแม่ หรือพ่อแม่กับบุคคลทั่วไป ดังนั้น พ่อแม่จึงควรสังเกตว่าเราพูดจากับลูกเช่นไร หากพ่อแม่พูดห้วนออกคำสั่งตลอดเวลา ลูกก็จะทำตามและนำไปใช้กับเพื่อน ครู รวมถึงพัฒนาเป็นบุคลิกภาพติดตัวจนเติบใหญ่

หากพ่อแม่ต้องการให้ลูกพูดจาไพเราะน่าฟังพ่อแม่ควรที่จะพูดกับลูกด้วยวาจา ที่ไพเราะน่าฟังตั้งแต่ลูกยังเล็ก เช่น น้องเอครับ น้องบีขา รวมถึงรู้จักใช้คำขอบคุณ ขอโทษ กับลูกให้เป็นปกติธรรมดา เพื่อให้ลูกเรียนรู้และไม่รู้สึกเขินอายหากต้องพูดจาไพเราะกับบุคคลอื่น

การพูดจาไพเราะน่าฟังช่วยให้ลูกเป็นเด็กน่ารัก มีเสน่ห์ และพัฒนาเป็นบุคลิกภาพติดตัวจนเติบใหญ่

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=iamzeon&date=27-05-2009&group=81&gblog=47

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์

มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร

จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา

ประพฤติได้รู้สอนใจตัวเองก่อน

ฝึกขัดเกลาเผาจิตให้อ่อนล้า

ก่อนจะทำสิ่งไรตรองทุกครา

ถูกหรือไม่พิจารนาอย่าอาทร

ชำระล้างมลทินออกให้สิ้น

จงถวิลสัมมาเข้าฝึกสอน

มีปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าพังพอน

อย่านิ่งนอนล้างคราบออกจากใจ

คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์

เพื่อนผองโปรดพาชิดจิตสดใส

พูดกำกวมเพื่อนลาถอยจากไกล

มิเหลือใยเชยชื่นขื่นชะตา

เป็นมนุษย์แสวงธรรมจิตล้ำเลิศ

สุดประเสริฐสูงทรงคุณค่า

ลดทิฐิเตือนสติด้วยปัญญา

รีบเร่งใฝ่ธรรมาเกิดผลปลาย

อันคนถ่อยปัญญาเบาเจ้าอิจฉา

ชอบนินทามาดร้ายคนหนีหาย

กระทำชั่วกรรมสนองจนวันตาย

ต้องครวญคร่ำถูกควักใจในโลกา

ใครล่ะว่าอาญาฟ้าหามีไม่

ร่างใดใดต่างกันต่างกรรมหนา

บำเพ็ญศีลเบิกทางใหม่ในโลกล่า

เว้นกระทำเยี่ยงแมงมุมซุ้มชายคา

สุนทรภู่..................................

ผมอ่านข้อมูลเรื่องหนึ่งน่าสนใจมากเลยครับ เรื่องของการพูดจา ลองอ่านกันดูนะครับจะได้นำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ครับ

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) [email protected] อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

คนโบราณพูดว่า ปากเป็นเอก หมายความว่า คนจะสามัคคีปรองดองกันได้ ก็เพราะการพูด จะแตกสามัคคีกัน ก็เพราะคำพูด ทั้งการที่จะยกทรัพย์สินเงินทองให้ผู้อื่นก็ดี การจะรบราฆ่าฟันกันก็ดี การที่สามีภรรยาหย่าร้างกันก็ดี ล้วนแล้วเกิดเพราะคำพูดทั้งนั้น เพราะฉะนั้น การที่ท่านกล่าวว่า ปากเป็นเอก ก็เพื่อเตือนผู้พูดให้ระมัดระวังคำพูด ซึ่งคำพูดที่ดี ท่านเรียกว่า วาจาสุภาษิต

อันวาจาที่จะเป็นสุภาษิตได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ

1. พูดตามกาล คือพูดถูกกาละเทศะ

2. พูดแต่คำสัตย์

3. พูดแต่คำไพเราะอ่อนหวาน

4. พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์

5. พูดด้วยจิตมีเมตตา

พูด ถูกกาละเทศะ กาละ ได้แก่ เวลา เทศะ ได้แก่ สถานที่ ก่อนที่จะพูด ก็ต้องดูเวลาก่อนว่าเวลานี้เขาพูดเรื่องอะไรกัน เช่น เขาพูดเรื่องเกี่ยวกับการทำสาธารณะประโยชน์ ควรทำอย่างนี้อย่างนั้น มีประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่กลับไปพูดตรงกันข้ามเสียว่าไม่มีประโยชน์ ถ้าพูดถูกกาละเทศะก็มีประโยชน์ จัดเป็นวาจาสุภาษิต

พูดแต่คำสัตย์ คำสัตย์ตรงกันข้ามกับคำเท็จ ผู้พูดคำเท็จย่อมขาดความเชื่อถือของคนทั้งหลายส่วนคำสัตย์นั้นดี มีประโยชน์ ดังคำว่า "คำสัตย์เป็นวาจาไม่ตาย" คือคนใดพูดคำสัตย์และเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น แม้ตัวจะตาย แต่คำพูดนั้นก็ไม่ตาย

พูดไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งเป็นที่ชอบใจของคนทุกชั้น มารดาบิดาเจรจากับบุตรธิดาด้วยคำอ่อนหวาน คำนั้นย่อมจับใจของบุตรธิดา ทำให้เกิดความรัก บุตรธิดาผู้รู้จักพูด ก็ย่อมเป็นที่รักของมารดาบิดา ท่านผู้เป็นใหญ่ฉลาดในการปฏิสันถาร กล่าวคำทักทายปราศรัยโปรยปรายแก่ผู้น้อยทั่วหน้า ย่อมยังตนให้เป็นที่รักนับถือของคนทั้งหลาย อาจยังผู้น้อยให้มีแก่ใจทำงานด้วยความภักดี อันวาจาไพเราะอ่อนหวาน เปรียบดังอาหารมีโอชารส ยังผู้กินให้พอใจ ติดใจ ต้องการกินอีก

พูดคำ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ คือ เมื่อจะพูดแต่ละครั้งก็ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง เช่นพูดชี้ชวนให้ผู้ฟังมีความขยันทำงาน โดยชี้โทษของความเกียจคร้านให้ผู้ฟังเห็นว่า เป็นเหตุให้ยากจน ไม่มีคนนับถือ มีแต่ความลำบาก และชี้คุณของความขยัน อดทนทำงานโดยสุจริต คือ มีทรัพย์สมบัติ สามารถตั้งตัวได้ ไม่ลำบาก มีคนเคารพนับถือ หรือพูดแนะนำให้ผู้ฟังเกิดอุตสาหะ คือ ทำสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม และพูดแนะนำให้ผู้ฟังกลัวบาป คือ ความผิด ซึ่งมีผลตรงกันข้ามกับบุญ คือ ความดี

พูดด้วยจิตเมตตา คือผู้พูดมีเมตตาอยู่ในใจ ปรารถนาดีแก่ผู้ฟัง ไม่ใช่ปรารถนาร้าย เพราะการไม่เบียดเบียนกัน เป็นสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดังคำสอนว่า "ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก" เป็นความจริงถ้ามนุษย์เราเว้นจากการเบียดเบียนกัน มีเมตตาต่อกัน ต่างฝ่ายต่างทำมาหากินตามฐานะของตน ไม่ต้องกังวลถึงภยันตรายอันจะพึงมีเพราะความเบียดเบียน จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ก็เป็นสุข

ดังนั้น ผู้พูดแต่คำที่ดี ไพเราะ ย่อมจะทำให้ผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง เกิดความชื่นใจ สบายใจ สุขใจ ทำให้คนรักใคร่นับถือ แต่ถ้าตรงกันข้าม คือ พูดชั่ว นอกจากจะทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงแล้ว ย่อมกลับทำลายคนรอบข้างในทางอ้อมอีกด้วย ดังคำที่นักกวีท่านประพันธ์ไว้ว่า

"ถึงบางพูด พูดดี เป็นศรีศักดิ์

มีคนรัก รสถ้อย อร่อยจิต

แม้นพูดชั่ว ตัวตาย ทำลายมิตร

อันถูกผิด ในมนุษย์ เพราะพูดจา"

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdPREUxTURVMU13PT0

พูดจาให้ไพเราะ ต้องมีเสน่ห์ออกมาจากกายและใจ

การพูดจาให้ไพเราะ ควรเริ่มจากความจริงใจ ใช้สำเนียงวาจาที่สุภาพพร้อมคำลงท้ายเช่น ครับหรือค่ะ ประกอบกับรอยยิ้มที่เป็นมิตร

พูดไพเราะกับคนใกล้-ไกล

คนที่เราสนิทสนมกันมากๆแล้วเรามักพูดกันไม่ไพเราะ เพราะคุ้นเคยจนไวเนื้อเชื่อใจกัน จนบางครั้งขาดความเกรงใจกัน แต่สังเกตได้ว่ามีหลายๆครั้งที่เราจะเกรงใจคนที่ไม่สนิทสนมมากกว่าและพูดไพเราะกว่า ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ ส ว ย

ส = สร้างเสน่ห์ เมื่อเรารู้จักกันครั้งแรกการสร้างเสน่ห์ด้วยคำพูดที่ไพเราะผู้ฟังย่อมเกิดความประทับใจเป็นเบื้องต้นก่อนแล้ว

ว = วัฒนธรรม การผูกไมตรีกับเพื่อนใหม่ต้องมีวัฒนธรรมทางสังคมขั้นแรก คือ การพูดที่ผู้ฟังครั้งแรกประทับใจ

ย = ยินดี หากต้องการหาเพื่อนเพิ่มอีกคนหนึ่ง เราจะรู้ยินดีกับเพื่อนใหม่เสมอ เมื่อมีความยินดีเราก็มีความสุข ความสุขนั้นทำให้เราเปล่งวาจาด้วยความไพเราะและเป็นกัลยาณมิตรครับ

แต่ในโลกของความจริงแล้วเราต้องให้ความสำคัญกับการพูดที่ไพเราะกับคนใกล้ตัว โดยเฉพาะครอบครัวของเราครับ

อ่านแล้วถูกใจมากเลยค่ะและคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ได้นะค่ะ

โดยได้

ที่มา ..http://www.elearneasy.com/shows_news_eaw.php?news_id=1461

" เรียนรอบโลก "

ผู้เขียน : ดร.นริศ วศินานนท์ [email protected]

:: คำพูดไพเราะเพียงคำเดียวอบอุ่นไปทั้งฤดู

คำพูดหยาบคายเจ็บปวดถึงหกเดือนหนาว

"คำพูดไพเราะเพียงคำเดียวอบอุ่นไปทั้งฤดู คำพูดหยาบคายเจ็บปวดถึงหกเดือนหนาว" สำนวนนี้ในภาษาจีนออกเสียงว่า

“เหลียงเอี๋ยนอีจวี้ซานตงหน่วน เอ้ออวี่ซางเหยินลิ่วเยวี่ยหาน良言一句三冬暖,恶语伤人六月寒。

良言 เหลี่ยงเอี๋ยน แปลว่า คำพูดดีๆ คำพูดไพเราะ

一句 อีจวี้ แปลว่า หนึ่งคำ หนึ่งประโยค

三冬 ซานตง แปลว่า ฤดูหนาว

暖 หน่วน แปลว่า อบอุ่น

恶语 เอ้ออวี่ แปลว่า คำพูดร้าย ๆ คำหยาบคาย

伤人 ซางเหยิน แปลว่า ทำร้ายคน ทำร้ายผู้อื่น

六月 ลิ่วเยวี่ย แปลว่า เดือนหก

寒 หาน แปลว่า หนาว

สำนวนนี้มักใช้อธิบายถึงคำพูดที่ไพเราะ ทำให้คนฟังแล้วอบอุ่นใจ แต่ถ้าเป็นคำพูดที่หยาบคายหรือไม่ไพเราะฟังแล้วอาจจะทำร้ายคนอื่นได้ ความหมายคือ คำพูดดี ๆ คำพูดไพเราะ แม้ว่าจะเป็นหน้าหนาว ซึ่งมีอากาศหนาวเหน็บก็ตาม แต่ก็ทำให้คนเรารู้สึกอบอุ่น

ถ้าเป็นคำพูดไม่ดีหรือไม่ไพเราะ แม้ว่าอากาศจะร้อนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนหกของจีน (ซึ่งมีอากาศร้อนมาก) ผู้ที่ฟังหรือได้ยินยังรู้สึกหนาวได้

ตัวอย่างเช่น "แกพูดจาช่างยั่วยุเสียจริง ๆ เลยนะ ดังสำนวนที่ว่า คำพูดไพเราะเพียงคำเดียวอบอุ่นไปทั้งฤดู คำพูดร้าย ๆ เจ็บปวดถึงหกเดือนหนาว ถ้าแกไม่ระวังคำพูด อาจจะไปล่วงเกินคนอื่นเขาได้ ต่อไปนี้แกควรแก้ไขหรือระวังคำพูดให้มากหน่อย"

การพูดจาที่ไพเราะสุภาพ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับการศึกษาของผู้พูด ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ วลีสำนวนหรือน้ำเสียง ท่วงท่าในการพูดจา ผู้ฟังเมื่อได้ฟังแล้วฟังจะรู้สึกรื่นหู สบายใจ ถ้าคำพูดที่ไม่ดีหยาบคาย ไม่สุภาพ หรือพูดแบบมะนาวไม่มีน้ำ ผู้ฟังได้ฟังแล้วไม่รื่นหู จิตใจเหี่ยวห่อไม่สุขใจ

ในสังคมปัจจุบัน เด็กวัยรุ่นมักจะลืมตัวขาดสติในการพูดการจา โดยพูดจาไม่รู้จักกาลเทศะ พูดจาหยาบคายขึ้นหรือคำลงท้ายก็หายไปหมด แถมมีคำด่า คำหยาบโลน หรือแม้แต่บุรุษสรรพนามเก่า ๆ ก็นิยมนำมาใช้กันอย่างไม่สมควร

ถ้าหากเราทุกคนให้ความสำคัญและลองหันมาพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ ใครๆ ได้ยินได้ฟัง แล้วรื่นหู สบายใจ เฉกเช่นเดียวกับหน้าหนาว เมื่อได้ยินคำพูดเหล่านี้จะช่วยคลายหนาวไปได้เยอะเลย ใช่ไหมค่ะ

พอดีอ่านเจอบทความของ อ.กร การันตี มาค่ะ

การพูดคือส่วนหนึ่งของชีวิต การพูดมีทั้งดีและไม่ดี แต่การพูดที่ดีนั้นมีความสำคัญมาก เพราะการพูดที่ดีจะทำให้ผู้พูดมีแต่คนรัก ไม่มีคนเกลียด มีแต่คนให้ความเมตตา แม้ไม่มีเงินก็สามารถทำให้มีเงินได้ มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง มีแต่ความสำเร็จ เพราะฉะนั้นเราควรพูดแต่สิ่งที่ดีๆ ควรคิดทุกครั้งก่อนที่จะพูด เพราะถ้าพูดแล้วทั้งดีและไม่ดีแก้ไขอะไรไม่ได้ แล้วการพูดที่ดีนั้นเป็นอย่างไร? มีหลักการอย่างไร?

เทคนิคการพูดที่ดีนั้น ต้องพูดเป็น มีหลักการพูด ง่ายๆ คือ

1. พูดให้มีเนื้อหาสาระ เชิงสร้างสรรค์ น่าสนใจ พูดแล้วทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจ มีความหวัง

รู้สึกดี สดชื่น สมหวัง

2. มีความตั้งใจ จริงใจในการพูด น้ำเสียงในการพูดนั้นต้องแสดงออกถึงความจริงใจ สุภาพ

อ่อนโยน ดังชัดเจน ตั้งใจที่จะให้ความรู้ที่มีเนื้อหาสาระดี

3. มีความเข้าใจผู้ฟัง ผู้ที่เราจะพูดด้วย หากเรามีความเข้าใจผู้ฟังว่าต้องการอะไร ผู้พูดมีเจตนา

ดี การพูดนั้นก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

4. การพูดที่ดีนั้นต้องให้เกียรติผู้ฟังเสมอ กริยาท่าทาง การพูดให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นการ

สร้างความเป็นมิตร สร้างความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี

หลักการทั้ง 4 ข้อนี้เป็น หลักการการพูด ที่ดีที่ทำให้เกิดสิ่งที่ดีๆ ตามมาอย่างมากมาย ทำให้ผู้พูดมีเสน่ห์ ทำให้เกิดความสำเร็จตามที่ผู้พูดต้องการ การพูดที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในชีวิต การพูดที่ดีนั้นเป็นศิลปะที่ต้องฝึกฝน หมั่นพูดแต่เรื่องที่ดีๆ ชีวิตก็จะดีมีความสุข

ตัดมาจากส่วนหนึ่งของบทความสุขภาพจิตจากพญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ค่ะ

มารยาทในการพูดเป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่จะทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนที่มีลักษณะน่าชื่นชม เป็นคนที่น่ารัก ทำให้คนรอบข้างมีความพึงพอใจที่ได้อยู่ใกล้ชิด ก็มีความรู้สึกว่าเด็กคนนี้ได้รับการอบรม ช่วยให้เขากลายเป็นคนที่เมื่ออยู่ในสังคมวันข้างหน้า เป็นคนที่ได้รับความชื่นชมจากคนรอบข้าง

ลองใช้มาตราการนี้ดูครับ

1.ถ้าขณะที่อาจารย์สอนหรืออยู่ในชั้นเรียน แล้วนักศึกษาพูดจาไม่สุภาพไล่ออกจากห้อง

2.ใช้วิธีการมองจ้องนักศึกษาที่พูดจาไม่สุภาพโดยที่เราเฉย

3.หักคะแนนจิตรพิสัย

อาจารย์กัทลี ครับ ผมขออนุญาตแนะนำว่าข้อที่ 1 และ 2 ของอาจารย์ น่าจะไม่เป็นสุนทรียสนทนานะครับ หากพูดไม่สุภาพ อาจารย์น่าจะต้องหาเคล็ดลับ ที่ทำให้นักศึกษาตระหนักว่าการพูดไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษา และไม่ถูกกาละเทศะ (ขั้นที่ 1) ขั้นที่สองหากยังทำซ้ำซาก อาจารย์ก็ต้องหาวิธี เช่น เพื่อนเตือนเพื่อน ให้เพื่อนของเขาเตือนกันเอง ไม่ต้องให้อาจารย์ไปทำตาเขียว หรือดุ เพราะไม่มีประโยชน์อะไร เดี๋ยวนี้เด็กถูก Spoil มากๆ แค่พูดตักเตือนเค้าก็ยัง โกรธอาจารย์เลย แล้วถ้าเราฉีกหน้าเค้า อย่างรุนแรง ผมคิดว่าไม่ work ครับ รังแต่จะเป็นปัญหาในรุ่นต่อๆ ไป เพราะเด็กก็จะยุแหย่รุ่นน้องให้โกรธ หรือทำอะไรแย่ๆ กับอาจารย์นะครับ ขั้นที่สาม ผมคิดว่าถ้าเป็นผม ผมจะต้องเล่านิทาน แล้วยกให้เห็นของปัญหา และทำไมเราจึงต้องการให้พูดสุภาพ เพราะอะไร สังคมภายนอกเป็นอย่างไร หรือไม่อย่างนั้น ก็ต้องเชิญวิทยากรภายนอกมาเล่าให้ฟัง จากประสบการณ์จริง ขั้นที่สี่ ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็คงต้องเชิญผู้ปกครองมาแล้วนะครับ

สำหรับการทำ KM ครั้งที่ 3 ของกลุ่มท่านได้อะไรบ้างที่เป็นเคล็ดลับ (จริงๆ) น่าจะนำมาเผยแพร่ให้ท่านอื่นๆ ทราบครับ

ถ้าทำ KM ครั้งที่ 3 น่าจะได้ how to ดีๆ หลายอันนะครับ ถ้ายังไง ก็ช่วยสรุปลงในแบบฟอร์มนี้ด้วยครับ (แยกตามครั้งเลยครับ)

แบบฟอร์มบัญชีผู้เข้าร่วมกิจกรรม

KM https://cid-000997a500c997a5.groups.office.live.com/play.aspx/SAR%202553/%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b3%20KM.jpg?client=wnf

แบบฟอร์มรายงานการประชุม KM

https://cid-000997a500c997a5.groups.office.live.com/play.aspx/SAR%202553/%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a1%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%96%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%84%e0%b8%b3%20KM.jpg?client=wnf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท