Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (7) "การเปลี่ยนแปลงเพื่อความสุขในการทำงาน" ... การจัดการ


การเปลี่ยนแปลงที่ตกผลึกขึ้น เพื่อที่จะนำไปความสุขในการทำงานนี่ ... คือ การเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง ที่สำคัญสุด คือ การเปลี่ยนแปลงความสำคัญของตัวเราเอง กับผู้ที่อยู่รอบข้าง

บันทึกนี้เป็นชุดสุดท้ายของ ท่านอาจารย์จรัส ค่ะ ยังคงความน่าเรียนรู้อยู่นะคะ

  • ทีนี้ งานเยอะ ทำยังไง ... ทำจนเหนื่อย ทำยังไงก็ไม่เสร็จ ... วิธีหนึ่งคือ การจัดการ ...
  • หลายคนนั่งเซ็นหนังสือวันหนึ่งกองเป็นตั้ง มันไม่มีเวลามาทำอย่างอื่น สิ่งที่จะต้องแก้คือ ลดงานตรงนั้นลงมา แต่ลดได้อย่างไร ในเมื่อเขาบอกว่าเป็นหน้าที่ของเรา ... เราก็อย่าทำคนเดียวสิ เอาคนอื่นเข้ามาเป็นผู้ช่วย และมอบให้เขาช่วย แต่ต้องเลือกคนที่เราไว้วางใจได้ ทำงานเหมือนกับเป็นคนเดียวกับเรา ไม่ต้องพูด เห็นหน้ากันก็รู้แล้วว่า หมายความว่าอย่างไร ไว้ใจได้ ถ้ามีคนอย่างนั้น ก็ลดงานเราลงไปได้ และสามารถจัดการงานบางส่วนออกไปได้
  • ตรงนี้ก็ต้องเปลี่ยนลักษณะจากการที่เป็นคุณละเอียด หรือคุณอำนาจ กลายเป็นคนที่มีความไว้วางใจคนอื่น ตรงนี้เกิดขึ้นได้นี่ หลายคนหาไม่ได้เลยนะ หาไม่เจอ
  • เรื่องความไว้วางใจคนอื่น มีประเด็นตรงนี้อยู่อันหนึ่งที่เคยพบเห็น คือ เรื่องความเกรงใจ เลขาฯ ของผม เขาจะบอกเลยว่า เขาเกรงใจไม่กล้าตาม ไม่กล้าบอก ... นั่นละตรงกันข้าม คือ ถ้าเกรงใจผม แล้วไม่บอก คิดว่าผมจะได้สบายใจ ... ถ้าผมไม่รู้ แล้วเขาจะบอกหรือเปล่ามีอะไรเกิดขึ้นนี่ แสดงว่า เขาไม่เกรงใจนะ เหมือนกับที่ รพ. มีผู้ช่วยรักษาคนไข้อยู่ ถ้าผู้ป่วยหนักขึ้นนี่ กลางดึกเขาต้องบอกผมละ เขาโทรบอก ก็แสดงว่า เกรงใจ ถ้าไม่โทรบอก แสดงว่า ไม่เกรงใจ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงในวิธีการคิดของเรา จากเรื่องของมุมหนึ่ง ไปสู่มุมตรงกันข้าม เพราะว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น มันจึงจะลดงานลงไปได้
  • เวลาทำงานในหน้าที่ต่างๆ ผมถือเป็นหลักเลย ไม่เอางานไปเซ็นที่บ้าน นอกจากจำเป็นจริงๆ เขาต้องการได้พรุ่งนี้ ไม่งั้นจะไม่ขนไป เพราะว่านั่นคือ เบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนครอบครัว เพราะฉะนั้นจะต้องไม่เบียดเบียน ไม่เอางานไปทำ แบ่งงาน การแบ่งงานแบบนี้ มอบหมายแล้ว และรู้เลยว่าเกรงใจ คือ ถ้ามีอะไรก็บอก เราก็สบาย และมอบให้ด้วยความเคารพ และเชื่อเขา เพราะฉะนั้นการที่เราจะเปลี่ยนตัวเราเอง ก็ต้องลดอัตตาของตัวเองลงไป
  • อีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องการจัดการกับเวลา ทำอย่างไร เราไม่ได้มีหน้าที่ในงานอย่างเดียว เรามีหน้าที่กับครอบครัว กับลูกของเราด้วย เพราะฉะนั้นถ้าลูกเกิดมาแล้วเรียนอุปนิสัยจากคนนี้ และคบกับใครก็ไม่รู้ โดยที่เราไม่ได้เอาใจใส่ดูแล ก็เห็นชัด สักวันก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาทีหลัง แต่ว่า จริงๆ แล้ว ไม่รู้เหมือนกัน ผมรู้สึกว่า ลูกจะดีไม่ดีอยู่กรรม ชาติเก่า แต่ว่า ก็ยอมรับว่าเมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องจัดการตรงนั้นให้ได้
  • สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการจัดการเพื่อลดความทุกข์ คือ การจัดลำดับความสำคัญ เพราะว่าของต้องทำเยอะไปหมด แต่ว่า อย่าไปทำหมดทุกอย่าง ทำให้มันเต็มที่ แต่ไม่ใช่ นี่ก็งานชั้น มันไม่จบสักที แล้วก็นอนไม่หลับ ก็จัดลำดับความสำคัญเสีย ... แล้วก็ยอมรับความเป็นปุถุชนของตนเอง ว่ามันไม่หมดหรอก ก็โยงไปถึงเรื่องของความเป็นเลิศ เป็นสิ่งที่ดี ควรจะต้องทำ แต่ว่ามันเป็นเลิศไม่ได้ด้วยความเพ้อฝัน
  • ทำอย่างไรเราถึงจะยอมไม่ใช่ Perfect เพราะว่า Perfectionist นั้นมีความทุกข์อยู่เยอะ ทำอย่างไรเราจะยอมรับความจริง ความไม่พอดี ความเป็นปุถุชนของเราเองได้ ตรงนี้เป็นอีกมุมหนึ่งของการที่ต้องมาคิด เพราะฉะนั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้น คือ การจัดการความคิดของเราเอง การจัดความเจตคติ หรือทัศนคติของเราเอง ว่า หลายคนก็ไปพูดว่า ให้มองปัญหาเป็นสิ่งท้าทาย เรามักจะมองว่า ในทุกๆ คำตอบมีปัญหา ถ้าอย่างนี้มันเป็นทุกข์ตลอดไปละ เราต้องมองว่า ในทุกๆ ปัญหามีคำตอบ และคำตอบนี่เรารับได้ นี่ก็เปลี่ยนความทุกข์ไปได้บ้าง
  • อันหนึ่งคือ การยอมรับความจริง และยอมรับเท่าที่เห็นเป็นความจริง ถ้าหลายท่านสังเกต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านเน้นเรื่องความจริงมาก ท่านไม่ค่อยเน้นทฤษฎี อะไรทั้งหลายต้องมาใช้จริงๆ ก่อนนะ ถึงจะได้ประโยชน์
  • ในบทสวดมนต์พระพุทธคุณ ยาวพอสมควร ว่าเราจะระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า และทำไมพระพุทธเจ้า บทสวดธรรมคุณมีนิดเดียว เพราะมัน Abstract มาก และเป็นของจริง เป็นภาพที่เข้าใจได้ แต่พอมาเป็นสังฆคุณ ยาวมาก เพราะว่าจริงๆ ภาคปฏิบัติหาพระสงฆ์ยาก เพราะว่ามีข้อปฏิบัติเยอะ ... เพราะฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่จะต้องทำ คือ ต้องลงมือปฏิบัติเอง
  • ผมไปพูด Science and Education ที่ประชุมเอเซียนแปซิฟิค ข้อหนึ่งที่ปรากฎ คือ ... คิดว่าเป็นหัวใจของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์มุ่งไปหาสัจธรรม แต่ไปไม่ถึงสัจธรรมหรอก มันไปแค่ Fact (คนไทยเก่งกว่าฝรั่ง แปลคำว่า Fact ว่า ข้อเท็จจริง เพราะว่ามีความเท็จอยู่ในนั้นอยู่ด้วย มันมีความจริงอยู่ส่วนหนึ่งเท่านั้น) ... เพราะฉะนั้น เราต้องยอมรับว่า เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เรามีของใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ยากที่สุดในชีวิตมนุษย์ ในการทำงานของจิตใจ ถึงสมอง ... คือ เปลี่ยนไม่ได้ คิดยังไงก็คิดอย่างนั้นตลอด เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมแล้วก็ไม่เปลี่ยน เพราะว่าสมองเปลี่ยนไม่ได้ ตรงนี้เป็นหัวใจ
  • ตรงนี้จะทำยังไง มีหลักอันหนึ่งที่ผมใช้อยู่เรื่อยๆ คือ ... ต้องพยายามในสิ่งที่เป็นไปได้ ถ้าเรายังไม่พยายาม แสดงว่าเรายังไม่ได้ตั้งใจเต็มที่ ... ขณะเดียวกันต้องยอมรับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ทำได้แค่ไหนก็ต้องยอมรับแค่นั้น ... แต่ที่ยากที่สุด คือ แยกของสองอย่างนี้ออกจากกันได้ สิ่งที่เป็นไปได้ กับสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรามักจะแยกผิดอยู่เรื่อย
  • ในการที่เราจะปรับตัวเราเอง ปรับด้วยการอยู่ตนเอง ไม่ลำบากเท่าไร ไปปรับด้วยการอยู่หลายคน ด้วยการทำงานเป็นทีม ตรงนี้ยากที่สุด ก็จะต้องลดอัตตาของตัวเอง
  • เมื่อวานนี้ ดร.มอริส นักยานอวกาศของญี่ปุ่น ที่ออกไปเป็น Astronot คนแรก บอกว่า เมื่อเขาออกไปนอกโลก เห็นภาพหนึ่งว่า โลกมันเล็กนิดเดียวแหล่ะ และบอกว่า มองดูสิ บ้านเรายังมองไม่เห็นเลย ... เพราะฉะนั้น พอออกไปอยู่ข้างนอกเห็นชัดเลยว่า คนมันนิดเดียว ไม่มีความหมายสักเท่าไรหรอก ให้ยอมรับความเล็กของเราเสีย แล้วก็เราอยู่ในโลกนี้เดี๋ยวเดียว อย่างมากใครเก่งก็ 100 ปี 120 ปี โลกมันอยู่เป็นปีแสง เป็นอสงขัย เป็นอะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น อย่าไปอหังการ์ว่าตัวเองยิ่งใหญ่ ให้ยอมรับความเล็กของตัวเอง แต่ว่า ความเล็กมันก็มีความหมาย ตรงที่ว่า ถ้าเรามองอะไร หลายๆ อย่างก็อยู่รอบๆ ตัว แต่สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวก็มีความสำคัญ
  • ผมรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า ถ้าคนไข้คนหนึ่ง พรุ่งนี้จะตายนี่ โลกมันจะแตกก็ไม่มีความหมายเลยสำหรับเขา เพราะตัวเองมีความสำคัญ เพราะฉะนั้นมันต้องโยงตั้งแต่ความไม่สำคัญเลย กับความสำคัญที่สุดที่มีอยู่ ตรงนี้คืออย่างไร ... ตรงนี้คือ ที่แปลคำว่าอัตตา ต้องอย่ากังวลที่ตนเอง และอย่ากังวลว่าคนอื่นเขาจะไม่รู้จัก เขาจะไม่ยกย่อง หลายคนเลยกังวลว่าสิ่งที่เราทำอยู่นี่ อีกหน่อยเขาก็ลืม ยอมรับเหมือนเป็นสัจจธรรม
  • เมื่อเราคิดว่าเราเล็ก เรื่องของความยึดมั่นถือมั่น เรื่องของความอาฆาตพยาบาท เรื่องของความจองเวร มันก็จะหายไปได้ เพราะฉะนั้นจะต้องปรับใจของเราเองอย่างหนึ่ง คือ การให้อภัยคนอื่น การไม่ถึงกับฆ่าใคร ตอนที่เราเปิดเรื่องของคุณภาพของ รพ. อันนี้เลยเป็นหลัก บอกว่า ใช้หลักปรัชญาไทยเถิด ปรัชญาไทยไม่เคยฆ่าใคร เพราะฉะนั้น ถ้า รพ.แห่งหนึ่งที่เขาทำผิด อย่าไปฆ่าเขา ให้โอกาสเขาในการแก้ การให้อภัย เป็นคำตอบในชีวิตของเรา
  • สุดท้ายที่ผมอยากจะเอ่ย คือ ตอนที่ไปงานเกษียณ เวลาเกษียณเหมือนจะรู้สึกว่า เราต้องหลุดไปจากอะไรๆ ของเรา แต่สิ่งหนึ่งที่รู้สึกว่าเป็นหัวใจ และเอ่ยกับคนที่เกษียณ ก็รู้สึกว่าทุกคนก็เห็นด้วย ก็อ้างมาจากท่านปยุตฯ ท่านเขียนไว้ว่า ... ให้มองตัวเอง และมองเมื่อไรทำอะไรไป ถ้าเราทำด้วยศรัทธา และทำด้วยความเสียสละ ด้วยความซื่อสัตย์ เราใช้ปัญญาในการทำ ก็เราทำกรรมดีมาตลอด ก็เรียกว่าทำดีแล้ว ... ถ้าพอใจแค่ตรงนั้น ก็พอแล้ว ถ้าเราระลึกอย่างนั้นได้ เราก็จะระลึกเลยว่า งานที่เราทำมาเป็นความสุข เพราะว่าเราได้ทำเต็มที่แล้ว
  • ในฐานะปุถุชน ผมคิดว่า การเปลี่ยนแปลงที่ตกผลึกขึ้น เพื่อที่จะนำไปความสุขในการทำงานนี่ ... คือ การเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง ที่สำคัญสุด คือ การเปลี่ยนแปลงความสำคัญของตัวเราเอง กับผู้ที่อยู่รอบข้าง ผมไม่แน่ใจว่า นี่เป็น KM หรือเปล่า แต่ฟังดูเหมือนกับเป็นวิธีหนึ่งเหมือนกัน

จบช่วงของ อาจารย์จรัส แล้วค่ะ แต่ยังไม่จบบันทึก Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี นะคะ โปรดติดตามต่อไป

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 150964เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พี่นนท์คะ

พี่ยังคงความสามารถในการบันทึกจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ได้อย่างสุดยอดเลย เก็บได้ละเอียดมากๆๆๆๆ

ขอขอบคุณแทนน้อง ๆๆๆ ทุกคนที่ได้มีโอกาสเรียนรู้จากพี่..ที่เป็นครู...

ตัวอย่างที่ดีคือการทำเป็นตัวอย่าง...

การเรียนรู้ที่ดี..คือการลงมือทำ...

ไม่เรียนไม่รู้ ไม่ทำก็ไม่รู้นะคะพี่ขา...

น้องจะพยายามค่ะ

 

สวัสดีด้วยความระลึกถึงมากค่ะ คุณหมอนนทลี 

ได้อ่านพบในบันทึกนึงของคุณหมอค่ะ  เขียนไว้ว่า "สุดยอดของการสกัดความรู้  คือการบันทึก"

แล้วก็ได้เห็นจริงในทุกบันทึกของคุณหมอ  จนมาถึงบันทึกนี้นี่แหละค่ะ  คุณหมอเก็บความละเอียดยิบเลย  โดยเฉพาะที่เป็นข้อคิด (ซึ่งผู้จดบันทึกต้องไวมาก)  ฝาแฝดของดิฉันเก่งจริงๆ 

รายงานตัวเรื่องเปลี่ยนรูปด้วยอะค่ะ   อ.มัทแซวว่าไม่ได้เป็นแฝดกันแล้ว  แต่ดิฉันว่ายังเป็น   เพราะข้างหลังคุณหมอเป็นปิระมิด  ส่วนข้างหลังดิฉันเป็นภูเขาไฟฟูจิ  ออกแนวสามเหลี่ยมเหมือนกัน   : )

เพียงแต่ดิฉันไม่ได้ทำท่าจิ้มยอดเท่ๆแบบคุณหมอนนทลีเท่านั้นอะค่ะ  อิอิอิ  : ) 

  • ความฝันหนึ่งอยู่ที่ ศูนย์ฯ 7 นี่ละคะ
  • น้องน้ำเพชรต้องช่วยสร้างฝันนี้ให้เป็นจริงนะคะ
  • จะดีใจมาก มาก เลย
  • ขอบคุณค่ะ ... ไม่ทำไม่รู้ ว่า สนุกแค่ไหน ... อิอิ
  • ชอบจังเลยค่ะ ภาพนี้
  • P
  • ดูแล้วมีความสุขค่ะ (สงสัยจะหนาวด้วยนะ)
  • ยังไงก็เป็นฝาแฝดเหมือนเดิมละค่ะ เพราะว่า background สีฟ้าเหมือนกัน และมีความสุข ความซ่าส์ เหมือนกันเลยละค่ะ
  • การบันทึกละเอียดมีเบื้องหลังค่ะ คือ ต้อง Deep listening เพื่อเก็บเกี่ยวอารมณ์ และก็บันทึกด้วย MP4 ค่ะ ... เพื่อนร่วมงานรู้ใจ มอบให้ไว้ 1 อันเลย เพื่อใช้ประโยชน์ และก็ได้ประโยชน์ ทุกครั้ง เครื่องมือนี้ยังไม่เคยเกค่ะ (ถ้าไม่ลืม charge ไฟ .. อิอิ)
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท