Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (25) ห้อง Lead & Learn - กรมราชทัณฑ์ - ค้นหา ... พัฒนา


หน้าที่ของเจ้าหน้าที่คือการค้นหาศักยภาพนี้ และเอามาพัฒนา

ท่านนัทธี จิตสว่าง ค่ะ ตอนนี้ท่านเป็นอดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และกำลังก้าวไปสู่ อธิบดีกรมคุมประพฤติ ละค่ะ

เราก็คงจะได้มาเรียนรู้เรื่องเล่าจากท่าน ทั้งเรื่อง KM ของ กรมราชทัณฑ์ และอนาคต KM กรมคุมประพฤติด้วยละค่ะ

ท่านนัทธีเล่าไว้ค่ะว่า ...

ผมทำงานอยู่ 2 กรม กรมแรกกรมราชทัณฑ์ กรมปัจจุบัน กรมคุมประพฤติ ทั้ง 2 กรมต่างกันตรงที่ กรมราชทัณฑ์รับคนที่ไม่มีใครเอาไปอยู่ ส่วนกรมคุมประพฤติกรองเอาคนดีดีมา

คนไหนที่ทำผิดร้ายแรง โหดร้าย ทารุณ ประเภทที่ทำร้ายคนอื่น และเป็นอันตรายต่อสังคม จำเป็นต้องควบคุม ต้องไปอยู่ ราชทัณฑ์ ... ส่วนคนที่ทำผิดโดยพลั้งพลาด ควรมีโอกาสที่จะแก้ไข หรือยังไม่ถลำลงไปมาก เขาจะกรองออกมาสู่ระบบคุมประพฤติ คือ ให้โอกาสที่จะกลับตัว

แต่ทั้งสองฝ่ายต้องนึกถึงโอกาสที่เขาจะมาอยู่กับสังคมข้างนอก ก็ต้องให้โอกาสในรับการแก้ไข เพียงแต่ว่าวิธีการอาจต้องแตกต่างกัน

ในส่วนของราชทัณฑ์ คนที่พลั้งเข้าไป ในการที่จะปรับเปลี่ยนในเรื่องของการจะทำยังไงถึงจะทำให้มีการเกิดการปรับเปลี่ยน

  • เดิมความคิดของราชทัณฑ์คือ ในเรื่องของการควบคุม และเน้นเรื่องการลงโทษเป็นหลัก เพราะฉะนั้น พอผมมามองแล้ว คนเหล่านี้ยังไงก็ตาม เขาต้องกลับมาสู่สังคม เพราะฉะนั้น ถ้าเราปฏิบัติกับเขาอย่างเสือ เขาก็จะออกมาอยู่กับเราอย่างเสือเหมือนเดิม และมาเป็นอันตรายต่อสังคมเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นทำยังจึงจะปรับเปลี่ยนให้เขาได้มีโอกาสที่จะได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองออกมา และก็มาปรับชีวิตให้เข้ากับสังคมข้างนอกได้
  • สิ่งสำคัญก็คือว่า การที่จะปรับเปลี่ยนสิ่งดังกล่าวได้นี้ ต้องเริ่มที่เจ้าหน้าที่ก่อน คือ มาดูที่เจ้าหน้าที่ว่าจะทำยังไง ให้เขามองคนเหล่านี้ และเริ่มที่จะให้โอกาสคนเหล่านี้ และปรับคนเหล่านี้ได้ ให้กลับไปสู่สังคม
  • เพราะฉะนั้นในช่วงแรก คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ก่อนว่า ทำยังไงจึงจะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน
  • ที่จุดนี้ ในฐานะของผู้นำองค์กร คือ จะต้องผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ในส่วนของการปรับเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ ทุกฝ่าย ให้หันมาสู่เรื่อง การอบรมแก้ไข ให้โอกาสผู้ต้องขัง ในการที่จะกลับเข้าสู่สังคม
  • เราทำยังไง ... ก็คือ เรื่องของการที่จะต้องพยายามให้เขาเกิดการ ลปรร. และเริ่มปรับทัศนคติ
  • จุดหลักคือ ต้องให้คนเหล่านี้เข้าไปดูว่า เราต้องถือว่าคนทุกคนมีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเอง หน้าที่ของคนกรมราชทัณฑ์ คือ หน้าที่ของสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ... คือทำหน้าที่ในการที่จะไปค้นหาพรสวรรค์ หรือศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเขา เอามาพัฒนา คนไหนเก่งด้านไหน เอามาพัฒนาด้านนั้น เก่งด้านกีฬาเอามาพัฒนา เก่งด้านมวย เอาไปชกมวย เพราะว่า คนเหล่านี้พอให้เข้าไปนั่งเรียนในห้องเรียน เขาจะไม่เรียน ให้นั่งอยู่ได้ไม่นาน แต่ถ้าให้ไปชกมวย ไปทำอะไรที่ใช้พลังของเขา โดยเฉพาะผู้ต้องขังวัยรุ่น เขาจะชอบมาก ก็คือ เราก็มาดูศักยภาพของเขาว่าชอบอันนี้ และก็ส่งเสริม จนเดี๋ยวนี้กลายเป็นแช้มป์โลกไปแล้ว และอีกคนก็เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปชิงแช้มป์โอลิมปิค เป็นตัวแทนชิงเหรียญทองที่นั่นแล้ว ก็จะมีอีกหลายคนที่มาเอาดีทางด้านนี้
  • บางคนเอาดีทางด้านร้องเพลง ศิลปะ
  • บางคนเก่งทางด้านคอมพิวเตอร์
  • บางคนเก่งทางด้านช่าง บางคนเก่งทางด้านทำงานบริการต่างๆ เราก็มาดูว่า
  • ใครเก่งด้านไหน ก็เอาพัฒนาด้านนั้น บางคนเรียนจบเข้ามาไม่เคยที่จะเรียนรู้ ไม่รู้หนังสือมาเลย จนกระทั่งจบปริญญาก็มี บางคนไปเรียนจบปริญญาโทที่นั่น
  • หลายคนเราเปิดโอกาสที่ให้เขาได้ใช้ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเขา
  • หน้าที่ของเจ้าหน้าที่คือการค้นหาศักยภาพนี้ และเอามาพัฒนา
  • แต่เดิมมา เราคิดกันว่า การที่จะเปลี่ยนแปลง จะพัฒนาคนนี่ก็คือการจับใส่เข้าไปในห้องฝึกอบรม จับให้เข้าไปในระบบการเรียน ไปเรียนหนังสือ จัดการอบรมหลักสูตรต่างๆ และเชิญวิทยากรมาบรรยาย แล้วเราหวังว่า เขาก็คงจะซึมซับรับเอาคำบรรยาย lecture ที่จดต่างๆ ไป และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ เปลี่ยนแปลงทัศนคติ เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานได้
  • แต่พอไปนานๆ เข้า เราพบว่า มันไม่ยั่งยืน เวลาที่เขารับไป เขาก็รับไปได้ชั่วคราว เรื่องการอบรมก็มีประโยชน์เหมือนกัน แต่เป็นประโยชน์ระยะสั้น
  • แต่สิ่งที่เราจะพัฒนาองค์กร คือ การเรียนรู้ระยะยาว จะให้การศึกษาเขา ให้การเรียนรู้เขา
  • จะทำยังไงให้เกิดการศึกษาลักษณะเช่นนี้ได้ ก็คือ ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดการ ลปรร. ให้ฝังอยู่ในตัวคน ให้ความคิดที่อยากจะ share อยากจะค้นหาความรู้ อยาก ลป ความรู้ มันเกิดขึ้นในองค์กรนั้น
  • เพราะฉะนั้น ตรงนี้เราก็พยายามปรับเปลี่ยน จากการที่เราต้องการเป้าหมาย เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ให้เกิดการอบรมแก้ไขมากขึ้น
  • เราก็มาปรับวิธีการพัฒนาบุคคลในองค์กรของเรา จากการเน้นเรื่องการฝึกอบรม มาเน้นเรื่อง KM นั่นคือ เป็นการให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง เรียนรู้จากวัฒนธรรม ที่จะไปหาความรู้ในตัวคนที่อยู่กับคนอื่น
  • ดูสิว่ามีใครบ้างที่มีความรู้ที่ซ่อนอยู่ แม้แต่คนเปิดประตูของเรือนจำ เขาก็มีความรู้อย่างหนึ่ง คนอีกคนก็จะมีความรู้อีกอย่าง คนที่ทำงานตรวจป้อม เขาก็จะมีความรู้อย่างหนึ่ง องค์ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ในงานราชทัณฑ์มีประโยชน์ทั้งนั้น แม้แต่ผู้คุมเวลาจะเดินตรวจเรือนจำ เขาก็จะเอาไม้ตะบองเดินรูดลูกกรงไป ปั๊บ ปั๊บ ปั๊บ .... แป๊ะ พอได้ยินเสียงแป๊ะ เราก็รู้แล้ว ว่าตรงนั้นถูกตัดไปแล้ว อันนี้ก็เป็นองค์ความรู้เก่าๆ ซึ่งซ่อนอยู่ในตัวคน ไม่มีใครรู้ เด็กรุ่นใหม่มาไม่มีโอกาสรู้ และไปฟังจากใน Lecture ก็ยังไม่มี
  •  สิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องเรียนรู้จากตัวคน คือ เป็น tacit knowledge ที่ฝังอยู่ในตัวคน ทำยังไงจึงเกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้
  • อันนี้ เป็นเรื่องที่ผู้นำจะต้องมีการจัดระบบ ให้มีการเรียนรู้ ให้มีการถ่ายทอดความรู้เกิดขึ้น จากวิธีการไปหาความรู้ที่ฝังอยู่ในที่ต่างๆ

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 151873เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท