Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (30) ห้อง Love & Learn - ม.นเรศวร - หัวหน้าต้องเป็นตัวแบบ


หัวหน้าก็ต้องเป็นตัวแบบ หัวหน้าก็ต้องหัดเหมือนกัน ทำอย่างที่ไม่เคยทำ อะไรที่ไม่เคย ก็ต้องหัด ก็คือเขียนอยู่นั่นแหล่ะ คือ เขียนจนเหมือนเขารู้จักเรามากขึ้น เขาก็รู้ว่าเราเป็นยังไง คิดยังไง

 

ดิฉันมาห้อง Love & Learn ค่ะ มาช้าไปหน่อย เพราะมัวแต่ไปฟังสัมภาษณ์คนทำจริง และไปแวะมุมเฮฮาศาสตร์ พบพลพรรคหลายท่านที่นั่น ได้เสื้อเขียว GotoKnow พร้อมกับปฏิทินเฮฮาศาสตร์ 1 อันค่ะ

ตอนมาถึงห้อง "สุขใจได้เรียนรู้" ก็เลยช้าไปหน่อย แต่ทันได้ฟังเรื่องเล่าดีดี ... อีกแล้ว ... อิอิ ... ก็มันดีจริงๆ นะคะ มาเล่าให้ฟังกันดีกว่า

บนเวทีมีคุณศุภลักษณ์ (Pเมื่ออิฉันเป็นเลขาฯ) สหายจาก รพ.บำราศฯ ค่ะ ที่วันนี้เธอมาใสปิ๊งอยู่บนเวที ทำหน้าที่ผู้ดำเนินการเล่าเรื่อง

เรื่องเล่าจาก อ.มาลินี (PNU_OfficeKM)  ละค่ะ ... ดิฉันคิดว่า ท่านเหมาะสมที่จะเป็นตัวแบบเรียนรู้จริงๆ นะคะ

เริ่มต้น KM ใหม่ๆ จำได้ว่า ท่าน อ.วิจารณ์ เคยบอกว่า เริ่มทำ KM ในมหาวิทยาลัยเป็นที่ที่ทำยาก และก็คงจะทำไม่ได้แน่นอน

แต่มีความรู้สึกว่า ตอนที่เริ่มใหม่ๆ เริ่มจากที่ที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ เป็นสถานที่ที่บุคลากรให้ค่อยให้ความสนใจมากนัก เจ้าหน้าที่ในสำนักงานก็ดูเหมือนว่า ... จะเป็นจุดเริ่มที่ดีมาก การให้บุคลากรเหล่านี้ได้มีโอกาส ได้มาร่วมกัน ได้คุยกัน

อย่างใช้เครื่องมือ KM ซึ่งตอนนั้นก็ไม่ได้บอกว่า ใช้เครื่องมือ KM ก็ทำให้เขาได้มีโอกาสมักคุ้นกัน และเขาได้แก้ปัญหาโดยวิธีนี้ได้สำเร็จ เช่น สามารถทำเรื่องการประกันคุณภาพได้ในระดับหน่วยงานของเขา ทำให้การรวมตัวของเขามีความแน่นแฟ้นมากขึ้น ทำให้เขาได้รู้ว่า ตรงไหนมีความเก่ง ในเรื่องอะไร และเขาก็สามารถที่จะแสดงออกได้มากขึ้น เมื่อตอนที่แต่ละคนกลับไปอยู่ที่คณะของตัวเอง

ทีนี้มาถึงคณะสหเวช เราทำให้บุคคลคนนั้นเหมือนพัฒนาตัวเขาไปได้ จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั้งภายใน และภายนอก ก็จะเป็นเหมือนตัวแบบ

ในการที่นำมาใช้ในระดับคณะ มันมีข้อได้เปรียบอยู่อย่างหนึ่ง คือ ตัวดิฉันนอกจากจะเป็นคนบ้า KM บ้า QA แล้ว ยังมาอยู่ในตำแหน่งคณบดีที่มีอำนาจเสียด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้ ประกอบกับมีลูกมือคู่ใจ ที่ได้ train ไว้บ้างนิดหน่อย ก่อนหน้าที่จะเป็นคณบดี คือ คุณบอย (Pสำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์) ก็เลยเป็นคู่ซี้ที่จะทำอะไรกันหลายๆ อย่าง

แรกเริ่มไม่ได้ทำอะไรมาก แค่เป็นตัวแบบ เขามีอะไรกัน เราก็เอามาใช้กันดู เช่น เครื่องมือที่เราใช้บ่อยๆ คือ AAR ทุกเรื่องในทุกสถานการณ์

และตอนนั้นเราเริ่มชุมชนสำนักงานเลขานุการ ตั้งแต่ยังไม่มี blog เมื่อชุมชนในลักษณะที่เป็น face to face ค่อนข้างเหนียวแน่นกันแล้ว แต่ไม่มีโอกาสจะได้เจอกันบ่อยๆ เราก็ได้มีโอกาสทดลองใช้เวทีที่มันเป็น blog เพราะมันเข้าจังหวะพอดี๊ พอดี เราก็เลยได้เรียนรู้เรื่องการเจอกัน คุยกันบน blog

ทีนี้อาจจะเป็นเพราะว่า บริบทของมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานในลักษณะงานของมหาวิทยาลัยเอื้อ คือ ทำงานนั่งอยู่บนโต๊ะ นั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ส่วนมากทำเรื่องการพิมพ์ การเขียน เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้ หรือได้ฝึกหัดต่อมาคือ การเขียน เราได้หัดเขียน และก็ยังเป็นการเขียนแบบสุนทรียสนทนาด้วย และก็ได้อยู่ในบรรยากาศ ของคนในเวทีที่มีแต่เรื่องดีดีเล่าสู่กันฟัง ก็เลยเป็นการพัฒนาได้อีกรูปแบบหนึ่ง ในการพัฒนาคนด้วยการเขียน ให้รู้จักคิด ก่อนเขียน

แต่ก่อนก็ไม่เคยทราบเหมือนกันว่า บุคลากรหลายๆ คนในคณะเขาคิดยังไง เขาเขียนได้ถึงขนาดนี้เชียวเหรอ ... ก็รู้สึกว่า blog นี่ก็เป็นเครื่องมือ KM ที่เข้าท่าดีเหมือนกันนะ

อย่างที่เรียนก็คือ หัวหน้าก็ต้องเป็นตัวแบบ หัวหน้าก็ต้องหัดเหมือนกัน ทำอย่างที่ไม่เคยทำ อะไรที่ไม่เคย ก็ต้องหัด ก็คือเขียนอยู่นั่นแหล่ะ คือ เขียนจนเหมือนเขารู้จักเรามากขึ้น เขาก็รู้ว่าเราเป็นยังไง คิดยังไง พอเขาเขียนมา เราก็รีบเขียนตอบทันทีว่า เรารู้สึกยังไงกับเขา ความรู้สึกที่บางที สภาพที่เจอกันต่อหน้าไม่เคยพูดอย่างนี้เลยก็มี มันเหมือนกับว่า รู้จักคนในคณะมากขึ้น แบบสื่อสารกันทาง electronic

พอทำไปๆ การใช้เครื่องมือต่างๆ ของ KM มันก็รู้สึกว่า มัน apply ได้หลายอย่างแฮะ

ตอนนั้นก็เลยคิดไปคิดมา ก็อยากให้เอามาใช้ในลักษณะการประเมินผลงานบุคลากรดู บอกว่า เออที่ผ่านมาก่อนสิ้นปี ก็ต้องมานั่งเขียน portfolio ส่งเพื่อประเมินผลงาน ของคุณทุกคนที่เขียนๆ มาก็ไม่มีอะไรเลย มีแต่คำสั่งแต่งตั้ง ทำโน่น ทำนี่ ต่อไปนี้อย่าไปเขียนอย่างนั้นเลยนะ เขียนบน blog เถอะ วันหนึ่งๆ ทำอะไร ก็เล่า เล่าอะไรก็ได้ เขียนมา และพอถึงสิ้นปีแล้ว หัวหน้าก็จะดูเองว่า ทำอะไรบ้าง ที่จริงก็เห็นทุกวันนะคะ ถ้าเขียน ตรงนั้นก็จะเป็นการที่เอามาทดแทนการเขียน portfolio ของคุณได้ มันก็ทำให้เขาจากที่บางทีเราก็ยุยงเหมือนกันน่ะแหล่ะ ให้เขียน แต่เขาไม่รู้จะเขียนอะไร ก็เริ่มเขียนอย่างมีเป้าหมายมากขึ้น เพราะรู้ว่า ที่เขียนจะเอาไปประเมิน

ทำไปทำมา ก็เกิดไอเดียปิ๊งปั๊งขึ้นมาว่า ในระบบ GotoKnow ได้พัฒนาคำสำคัญ หรือ tag มาในภายหลัง เราก็เลยคิดว่า ถ้างานของเขาที่เกี่ยวกับเรื่องการประกันคุณภาพ ใส่ tag ลงไป ทำให้เขารู้ด้วยไปในตัวด้วยว่า เขาอยู่ตรงไหนของคุณภาพของงานที่เขาต้องทำ เช่น ถ้าวันนี้ทำเรื่องอะไรสักอย่าง ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ก็ให้ใส่ของคุณภาพการเรียนการสอนลงไป พอรวบรวมไปมา ก็เลยทำรายงานตนเองในลักษณะ electronic ขึ้นมาได้ เราเรียกว่า FAR on blog (... คำตรงนี้ใช่ไหมคะ ฟังไม่ถนัด) ขึ้นมาได้ มันก็เป็นกระบวนการที่ไม่ได้คิดมาก่อน มันเหมือนกับว่า เป็นช่างไม้ แล้วใช้ฆ้อนไปเรื่อยๆ ใช้เครื่องมือ ใช้สิ่ว ใช้ขวาน ใช้ไปใช้มา ใช้คล่องเองละค่ะ ที่จะควงฆ้อนก็ได้ อะไรก็ได้แล้วค่ะ ตั้งแต่ตอนแรกที่ใช้ไม่เป็น นั่นก็คือ เรียนไป ทำไป ๆ หลายๆ อย่าง

แม้กระทั่ง AAR ถัดๆ มา ใครจะมาดูงานเรา เราก็ให้เขา AAR เรา ไหนๆ ก็มาดูเราแล้ว ก็ประเมินเราด้วยก็แล้วกันนะ ก็บอกว่า ถ้าคุณมาดูงานของเรา ที่นี่เรามีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งนะคะ ว่า ต้องบอกก่อนว่า จะมาดูอะไร นั่นก็คือ ต้องให้เขา BAR เราก่อน พอเสร็จแล้วที่นี่มีวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งนะคะ หลังจากที่เราได้บอกท่านทุกอย่างแล้ว จากที่ท่านมาดูเรา ขอให้ท่านประเมินเราด้วย ขอให้ท่านทำ บอกเราว่า ที่ท่านมาดูเรา ท่านได้มั๊ย ที่ท่านอยากดูมั๊ย (เราก็ไม่ได้บอกหรอกนะคะว่าให้ทำ AAR) และเมื่อท่านกลับไปแล้ว ท่านจะกลับไปทำอย่างที่เราเล่าหรือเปล่า ... ทุกอย่างที่เราทำในลักษณะ KM นี้จะไปทำไหม

มันก็เลยเรียกว่า ทำทุกเรื่องที่จะเป็นกิจกรรม กิจวัตรประจำวัน เหมือนตอนที่บ้า QA ก็ทำอะไรที่เป็น QA ไปหมด และตอนนี้ทำอะไรก็เห็นเป็น KM ไปหมดแล้วละค่ะ เพราะว่าเห็นอีกเหมือนกันว่า AAR นี่ใช้ได้ทุกเรื่องเลย ถ้าใช้ได้คล่องมากขึ้น

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 151940เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2007 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท