Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (67) "ผู้นำการเรียนรู้ในสถานการณ์ปัจจุบัน" ... วุ่นวายก่อน สบายทีหลัง


แต่โชคดีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมาด้วย พอเกิดวิกฤติขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น ที่อื่นเขาก็วุ่นวายกันหมด แต่เนื่องจากพวกเราได้รู้ตัวล่วงหน้า แล้วเราได้ถอยหลังไปนิดหนึ่ง เพื่อตั้งหลักใหม่ ในการที่จะทำให้เกิดทิศทางใหม่ขึ้นมา ทำให้พวกเราที่อยู่ในพื้นที่ตรงนั้น ไม่มีผลจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนั้นเลย

 

... ครั้งหนึ่งที่พวกผม รู้สึกว่า เรามีการต่อสู้ในทางความคิดกันมากพอสมควร คือ ก่อนปี 2540

เพราะผมได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนขึ้นมาเมื่อปี 2535 และศึกษาในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ... จนในที่สุดชาวบ้านได้เข้ามาร่วมกันในการคิด การวิเคราะห์ และกำหนดแนวทางตัวเองขึ้นมา

ก็พบว่า เกิดความขัดแย้งขึ้นมาทันที จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยที่เข้าใจไม่ตรงกัน ... แต่ก่อนเราก็คิดว่า เราต้องทำตามที่เราคิดบ้าง แต่พอเราตัดสินใจว่า จะทำตามที่เราคิด ก็ไปพบกับหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานที่เขารับนโยบายมา หน่วยงานที่เขารับนโยบายมา หน่วยงานที่ต้องทำตามแผนที่เขากำหนดมา และก็ต้องไปทำกับพวกเรา

ในที่สุดเราก็พบว่า ที่เรากำหนดว่าต้องทำอย่างนี้ เพื่อแก้ปัญหาอย่างนี้ แต่มันไม่ตรงกับแผนงานของหน่วยงานราชการ ไม่ตรงกับนโยบายของราชการที่กำหนดลงไป ก็เกิดการขัดแย้งกันพอสมควร

เพราะแต่ตอนนั้นพวกเราไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรว่า ที่เขากำหนดลงไปแล้ว เราต้องทำตามนั้นทั้งหมด พอเราขัดแนวทางตรงนั้น ไม่ทำเหมือนที่เขากำหนด เขาก็มีปัญหาทันทีเลย คือ ไม่สามารถจะทำให้เกิดความร่วมมือกัน และไม่สามารถจะทำให้แผนงาน หรือนโยบายที่รับลงไปจากข้างบนปฏิบัติได้ และก็เหตุผลที่เขาสามารถจะรายงานได้ เขาก็มีปัญหาเหมือนกัน แต่พวกเราก็คิดว่า ถ้าทำแล้ว และทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา และประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ตรงกับที่เราต้องการ เราก็ไม่ทำตามนั้น ปัญหาต่างๆ ตอนนั้นก็วุ่นวายพอสมควรเหมือนกัน

ครั้งหนึ่งผมนึกท้อแท้เหมือนกันว่า เราทำสิ่งที่เราคิดว่า ชาวบ้านจะช่วยตัวเองได้ ชาวบ้านอยากมีอนาคตที่ดีได้ แต่เนื่องจากไปขัดกับนโยบาย ไปขัดกับแผนงานของทางราชการ มันก็มีการขัดข้องค่อนข้างมาก ... และในที่สุดก็ถูกหาว่า ผมไปยุยงปลุกปั่นชาวบ้านให้กระด้างกระเดื่อง ต่ออำนาจรัฐครั้งหนึ่งในตอนนั้น ก่อนปี 2540 ก็ทำให้พวกผมต้องพยายามเอาตัวรอดตอนนั้น หนักพอสมควร

แต่พอหลังจาก ปี 2540 แล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ออกมาก็ทำให้เราสามารถจะอ้างอำนาจกลางในรัฐธรรมนูญว่า เราสามารถทำ และเราก็อธิบายเกี่ยวกับความขัดแย้งของหน่วยงานตรงนั้นมา ... แต่โชคดีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมาด้วย พอเกิดวิกฤติขึ้นมาตั้งแต่ตอนนั้น ที่อื่นเขาก็วุ่นวายกันหมด แต่เนื่องจากพวกเราได้รู้ตัวล่วงหน้า แล้วเราได้ถอยหลังไปนิดหนึ่ง เพื่อตั้งหลักใหม่ ในการที่จะทำให้เกิดทิศทางใหม่ขึ้นมา ทำให้พวกเราที่อยู่ในพื้นที่ตรงนั้น ไม่มีผลจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนั้นเลย

ในตรงนั้นแหล่ะที่ทำให้เรารู้สึกสบายขึ้นว่า ที่จริงไม่ใช่เพียงแต่ที่ไม้เรียงอย่างเดียว อาจจะเป็นแบบนนี้เหมือนกันทั่วประเทศ แต่เนื่องจากพวกเรารู้ตัวล่วงหน้าก่อน และถอยหลังไปตั้งหลักใหม่ เราถึงไม่มีผลกระทบ

จากนั้นมาเราก็ทำอะไรได้ปกติ ไม่มีปัญหา ก็เกิดความสนใจจากส่วนอื่นๆ ที่ไปศึกษาตรงนั้น ก็ทำให้เราสามารถจะขยายแนวคิดออกมาได้ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้ขยายผลจากแนวคิดที่เราได้ทดลองแล้ว ... ได้ข้อสรุปแล้ว แต่ที่จริงที่เราทำไม่สำเร็จก็มีเยอะ ... แต่ผมเป็นผู้ที่เสี่ยงด้วยการทดลองมาก่อน ด้วยตัวเอง ทดลองแล้ว อะไรที่ไม่สำเร็จ ผมก็เก็บไว้ ปิดไว้ไม่บอกให้ใครรู้ ... อะไรที่มันได้ผล ประสบความสำเร็จขึ้นมา ก็มาขยายผล ก็ทำให้ผู้ที่มาเริ่มต้นในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ ไม่เสียกำลังใจ ไม้ท้อแท้ เพราะอะไรที่พลาดผิด แต่ว่าผมคนเดียว ไอ้ที่เห็นเป็นประโยชน์ก็เอาไปขยายผล ให้คนอื่นได้เอาไปใช้ต่อ ให้ไปทำต่อ ก็เกิดความร่วมมือ เกิดการมีความมั่นใจ และให้การยอมรับแนวทางตรงนี้ได้มากขึ้น

ผมถึงทำให้กระบวนการเรียนรู้ที่ผมได้วางแผนในการจัดขึ้นมา ร่วมกันทำ เกิดความขยายผล เกิดความก้าวหน้าได้มากพอสมควร การขยายผลเพื่อต้องการที่จะสร้างพลังให้เกิดขึ้น ถ้าอะไรที่ทำแล้วขยายผลไปในภายนอก ... แล้วทำให้เกิดการสรุปได้ว่า ถ้าคิดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ ผลออกมาอย่างนี้ ผมทำเองได้ พอทดลองเอาไปให้คนอื่นทำ ถ้าทำแล้วมันออกมาเป็นแบบเดียวกัน ผมคิดว่า ตรงนั้นคือ ความรู้จริง

บางทีมันอาจจะแตกต่างหลักวิชาการ หลักทฤษฎีไปบ้าง แต่ถ้าเราทำซ้ำแล้วซ้ำอีก และผลออกมาแบบเดียวกัน ก็คิดว่าตรงนั้นละ เป็นของจริง เป็นเรื่องจริง

อย่างคำว่าแผนแม่บทชุมชน ผมได้ทำตั้งแต่ปี 2538-2539 พร้อมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ที่ทางสภาพัฒฯ เขา เน้นเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาคน ... ผมเห็นด้วยว่า ปัญหาต่างๆ อยู่ที่คน ถ้าเราเริ่มที่จะพัฒนา เพื่อการแก้ปัญหา พัฒนาอะไรต่างๆ ก็ต้องเริ่มที่คน ถ้าทำให้คนมีความรู้ ความสามารถ และคนจะสามารถแก้ปัญหาตัวเองได้ เมื่อทุกคนมีความสามารถในการแก้ปัญหาตัวเองได้ ปัญหาของชุมชน ปัญหาของสังคม ก็สามารถจะแก้ได้ โดยความร่วมมือกันในทุกฝ่าย แก้ปัญหาตัวเองก่อน และเวลาที่เหลือสามารถที่จะเอาไปแก้ปัญหาสังคม และชุมชนได้

การทำให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางตรงนี้ละ ที่เราใช้เครื่องมือหนึ่ง ที่เรียกว่า แผนแม่บทชุมชน เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้แบบชาวบ้าน เหมือนกับงานวิจัย มาระยะหลังที่ ดร.เสรี พงษ์พิศ ได้ไปถอดบทเรียนตรงนี้ และเอามาเขียนเป็นสารคดีอะไรมา บอกว่า นี่คือ ประชาพิจัย ที่เป็นการวิจัยแบบชาวบ้าน

พวกเราก็ภูมิใจ และตั้งหน้าตั้งตา คิดว่า ปัญหาทุกอย่าง เราจะต้องเป็นผู้ศึกษา ในเบื้องต้น และจะเอาผลการศึกษาตรงนี้ละ ไปขยายทำให้เกิดการยอมรับในวงกว้าง และก็จะร่วมมือกันทำในสิ่งที่มันใหญ่ขึ้น ในสิ่งที่มีปัญหามากขึ้น ต้องร่วมกันในวงกว้าง แบบสร้างเครือข่ายความร่วมมือกัน ก็ทำให้เราคิดเรื่องใกล้ตัว แต่ขยายผลไปในส่วนที่ไปเกี่ยวข้องในวงกว้างได้มากขึ้น

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 153617เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท