Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี (68) "ผู้นำการเรียนรู้ในสถานการณ์ปัจจุบัน" ... คน ต้องมีความรู้


พอตรงนี้มันเกิดขึ้น เราก็เห็นว่า เรื่องอื่นๆ ก็ต้องใช้ทางนี้เหมือนกัน คือ ทำให้คนมีความรู้ในการจัดการเบื้องต้น แล้วไล่ไปดูว่า ปัญหามันไปติดที่ตรงไหน แล้วก็เอาแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต จนผู้ที่อยู่ในพื้นที่จนผู้ที่อำนาจในการกำหนดนโยบายนี่มาทำทิศทางร่วมกัน และสามารถนำไปใช้อย่างอื่นได้ด้วย

 

การสร้างความยอมรับสามารถจะผลักดันเป็นนโยบายได้ ครั้งหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องยางพารานี่ เราสามารถจะแก้ปัญหาการผลิตของชาวสวนยางได้ระดับหนึ่ง แต่ระดับหนึ่งไปเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐ เพราะฉะนั้นการที่จะทำข้อสรุป ให้เห็นแนวทางในการจะไปแก้ปัญหาตรงนั้น และไปใส่เป็นนโยบายของรัฐบาลได้ ก็ทำให้เราได้มีประสบการณ์ จนมาถึงปัจจุบันนี้ คิดว่า แนวทางตรงนั้นเป็นตัวอย่างที่ดี และสามารถจะไปใช้กับเรื่องอื่นได้ด้วย

คือ เรื่องยางพารานี้ แต่ก่อนคิดว่า มันเป็นเกี่ยวข้องกับตลาดโลกเป็นหลัก แต่พอเรามาพบว่า มันเป็นเกี่ยวข้องกับเรื่องตลาดโลกก็จริง แต่มันมีคนผูกขาดอยู่ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางเป็นอันดับหนึ่งของโลกตั้งแต่ปี 2534 แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา แล้วทำไมปล่อยให้ประเทศที่ไม่มียางสักต้น เป็นผู้ประกาศราคายางโครมๆ อยู่ ... ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่ง อินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตเป็นอันดับสอง มาเลเซียเป็นอันดับสาม แค่ 3 ประเทศนี้ พบว่า ปริมาณบางในตลาดโลก อยู่ในมือของ 3 ประเทศนี้ ประมาณ 80% ถ้า 3 ประเทศนี้สามารถจับมือกันได้เหมือน OPEC ที่ผลิตน้ำมัน เราก็สามารถจะกำหนดทิศทางอะไรต่ออะไรได้

พอทำแนวทางตรงนี้ และมาเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประมาณปี 2542 ตอนนั้นที่มีการจัดตั้งไทยรักไทย และชวนเรามาทำเกี่ยวกับเรื่องนโยบายในการพัฒนาชนบท ซึ่งเราก็เอาแผนการพัฒนาอย่างที่เราทำไว้ มาใส่ไว้ในนโยบายของพรรค และก็โชคดีที่เขาได้เป็นรัฐบาล ก็ไปผลักดันให้เร่งเอานโยบายออกมาใช้ ในที่สุดการจับมือกันระหว่าง 3 ประเทศนี้ และกำหนดทิศทางในการแก้ปัญหาเรื่องตลาด เรื่องราคายางก็แก้ได้ทันที

พอตรงนี้มันเกิดขึ้น เราก็เห็นว่า เรื่องอื่นๆ ก็ต้องใช้ทางนี้เหมือนกัน คือ ทำให้คนมีความรู้ในการจัดการเบื้องต้น แล้วไล่ไปดูว่า ปัญหามันไปติดที่ตรงไหน แล้วก็เอาแนวทางในการแก้ปัญหาที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต จนผู้ที่อยู่ในพื้นที่จนผู้ที่อำนาจในการกำหนดนโยบายนี่มาทำทิศทางร่วมกัน และสามารถนำไปใช้อย่างอื่นได้ด้วย

จนมาถึงครั้งหนึ่ง เราได้ทำแผนพัฒนาชุมชน ที่เราเรียกว่าแผนแม่บทชุมชน ตามแนวทางเหมือนการทำแผนพัฒนายางเหมือนกัน ในที่สุดเราทำแล้วก็เอาไปใช้กับในพื้นที่อื่นๆ ไปทดลองใช้ในพื้นที่อื่นๆ และได้ผลเหมือนกัน ไม่แตกต่างอะไรกันเลย

การทำกระบวนการเรียนรู้ ให้คนรู้จักตัวเอง รู้จักผลกระทบจากโลกภายนอก ก็เกิดการขยายผลไปครอบคลุมทั่วประเทศ ก็ประมาณปี 2542 หลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมาตรงนั้นแล้ว มีหลายหน่วยงาน หรือหลายองค์กรชุมชน ที่เข้าไปศึกษาเรื่องของชุมชนไม้เรียง เราก็เอาแผนเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ที่เอาแผนแม่บทชุมชนนี่ละ เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดตรงนี้ออกไป เขาก็เอากลับไปทำในพื้นที่ของเขา ทั่วประเทศเกิดแนวคิด เกิดแนวคิด เกิดการเตรียมความพร้อมของคนในแนวทางเดียวกัน ก็ทำให้แนวคิดตรงนี้ได้รับการยอมรับ เกิดการขยายผลกว้างขวางมากขึ้น

และพอดีปี 2542 ที่ทาง UNDP ได้มาทำเรื่องการวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศไทย คือ การวิจัยเรื่องการพัฒนาเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย มากำหนดให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ทำงานวิจัย แล้วไปจ้างมูลนิธิหมู่บ้านให้เป็นที่ปรึกษางานวิจัยชิ้นนี้ ทางมูลนิธิหมู่บ้านก็ได้ลงไป และได้ไปพูดคุยกันว่า ที่พวกผมทำกันอยู่ที่ตำบลไม้เรียง แนวทางในการทำเรื่องกระบวนการเรียนรู้ เรื่องแผนแม่บทชุมชนนี่ น่าจะเอาไปใช้ในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาขั้นอื่นๆ ในพื้นที่อื่นๆ ลองดู

ทำขั้นตอนกระบวนการที่รัดกุมมากขึ้น ที่มีระบบระเบียบมากขึ้น ก็เอาไปทดลองใช้ในพื้นที่อื่นๆ 100 กับ 1 ตำบลใน 34 จังหวัด ทุกภาคของประเทศไทย ครั้งนั้นละ ที่ทำให้ผลสรุปของทาง UNDP ได้สรุปออกมาว่า การใช้กระบวนการแผนแม่บทชุมชน ตามเรื่องกระบวนเรียนรู้ โดยใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือ การเตรียมความพร้อมของคนที่จะยอมรับงานพัฒนาหลายๆ เรื่องที่เหมาะสม และทำให้คนได้เริ่มต้นในการกำหนดทิศทางอะไรต่างๆ และก็จะทำให้หน่วยงานที่ไปเสริมหนุนเรื่องการเรียนรู้ ไปเข้ากับแนวทางที่ชาวบ้านได้กำหนดไว้แล้ว
ผลจากการประเมินของ UNDP ตรงนี้ ... ทำให้หน่วยงานต่างๆ เอาไปประยุกต์ใช้หลายหน่วยงานที่ไปเกี่ยวข้องกับชุมชน ไม่ว่าด้านการเกษตร ด้านการพัฒนาชุมชน ของ กศน. ของสาธารณสุข หรือ ของ ธกส. ที่มีปัญหาที่เราต้องสัมพันธ์ชุมชน และเอาแนวทางนี้ไปทดลองใช้ ตรงนั้นได้ขยายไป 100 กับ 1 ตำบล

แต่พอถึงปี 2543-2544 กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคมก็ได้เอาแนวทางนี้ไปขยายต่อ ประมาณ 1,700 ตำบล ในช่วงปี 2544 ก็ทำให้เกิดการขยายผลได้กว้างขวางมากขึ้น และในที่สุด พบว่า กองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละล้านที่ลงไป

หลังจาก 1 ปีที่ผ่านมา ก็ได้สรุปว่า ในช่วงที่กองทุนหมู่บ้านไปลงนี่ ตรงไหนที่ได้เริ่มต้นในการทำแผนแม่บทชุมชนแล้ว ถึงแม้บางที่ก็ไม่ได้ทำสำเร็จทุกขั้นตอนในกระบวนแผนแม่บท แต่พบว่า ทำให้ปัญหาเรื่องกองทุนหมู่บ้านละล้านนี่มันมีปัญหาน้อยมาก ... แต่ถ้าชุมชนไหน ตำบลไหน ไม่ได้เริ่มต้นในการใช้กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องแผนแม่บทชุมชนนี้เข้าไป ปัญหาจะมากกว่า ในที่สุด ทางสภาพัฒฯ ก็เห็นว่า แนวทางนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมของชุมชน ที่ทำให้ชุมชนได้มาเรียนรู้ตัวเอง ได้เตรียมความพร้อมที่จะยอมรับในการพัฒนา ได้มากขึ้น

ก็ได้ไปกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาขึ้นมาในปี 2546-2548 ที่ให้ทุกตำบลได้ทำแผนแม่บทของตัวเองให้ครบทุกตำบล ภายใน 3 ปี โดยให้ 5 หน่วยงานหลักเป็นผู้รับผิดชอบ บางจังหวัดให้เกษตรรับผิดชอบ บางจังหวัดสาธารณสุข บางจังหวัดพัฒนาชุมชน บางจังหวัด กศน. เป็นผู้รับผิดชอบ ในการที่จะไปเป็นผู้สนับสนุน ให้เกิดการทำแผนแม่บทชุมชน ตำบลชายแดนก็ประมาณ 300 กว่าตำบล ที่มีกองทัพบกเป็นผู้รับผิดชอบ

รวมเรื่อง Learn 4 Change ที่เมืองทองธานี

 

หมายเลขบันทึก: 153618เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท