คลุกวงใน KM ศาลปกครอง (3) เกริ่นนำ


"การจัดการความรู้ ก็คือ การรวบรวม หรือการแลกเปลี่ยน ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit k) หรือความรู้ฝังแน่น (Tacit k) เอารวบรวม จัดหา จัดเก็บ เผยแพร่ และนำมาให้เกิดไหลเวียนในองค์กร และต่อยอดในการพัฒนา"

 

งานนี้คุณวิมล โรมา น้องเล็กของ KM Team เป็นผู้จัดการทีมมาในครั้งนี้ละค่ะ เธอเล่าให้กลุ่มฟังว่า ตอนที่เราทำ BAR กับทีมผู้บริหาร เป็นการเตรียมการก่อนที่จะมาทำ Workshop และก็ได้ข้อมูลพอสมควร ว่าผู้เข้าประชุมวันนี้จะอยู่ใน Field ของการอบรมเกือบทั้งนั้น เพียงแต่บทบาทจะต่างกัน ... วันนี้เราก็จะมาทำ Workshop ตามภารกิจ บทบาทของเรา

หลักการของ KM ก็มีอยู่ว่า ถ้าฟังบรรยาย KM หรืออ่านหนังสืออย่างเดียว แล้วไม่ลงมือปฏิบัติ คุณจะไม่รู้เลยว่า KM คืออะไร ... การทำ Workshop จะทำให้เห็นบรรยากาศ และเครื่องมือที่จะใช้ในวันนี้ ก็คือ การเล่าเรื่อง (Storytelling) โดย KM Team กรมอนามัย จะมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ โดยให้พวกท่านเป็น Fa, Note และผู้เล่าเรื่องเอง

วันนี้หัวปลาใหญ่ มุ่งไปที่ "การบริหารโครงการอบรม" ... ท่านก็จะได้มาเล่าเรื่องว่า มีบทบาทอะไรในการอบรมนั้นๆ ท่านประสบผลสำเร็จอะไร แค่ Microsuccess หรือแค่ว่าท่านทำแล้วประทับใจ ภูมิใจ มีความสุขกับบทบาทเล็กๆ ในการอบรม หรือบางท่านอาจเป็นผู้บริหาร Project ก็ได้

คุณอ้วน (ฉัตรลดา กาญจนสุทธิแสง) ก็ลอง serve serve ความรู้เรื่อง KM กันก่อนว่า เข้าใจในแนวทางเดียวกัน KM Team กรมอนามัย หรือไม่ ... ซึ่งก็ตรงเป๊งเลยละคะ เพราะน้องๆ ต่างก็บอกว่า KM ก็หมายถึง

"การที่ใครๆ ที่มีแนวทางการทำงาน และบรรลุเป้าประสงค์ที่ดี ก็เอามาแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้คนอื่นได้ทราบว่า เรามีแนวปฏิบัติอย่างนี้ และทำให้เราประสบความสำเร็จ ซึ่งแต่ละบุคคลก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ให้เข้ากับแนวปฏิบัติของตัวเอง"

"การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีประสบการณ์การทำงานที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน หรืออาจจะเหมือนกัน ก็อาจจะมาแลกเปลี่ยนกันโดยรวม"

สรุปก็คือ การจัดการความรู้ น่าจะเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ของแต่ละท่านซึ่งอาจจะมีประสบการณ์ในมุมมองต่างๆ ซึ่งอาจนำมาแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดประสบการณ์ที่ต่อยอดกันมากขึ้น

คำถามที่ 2 ที่ serve serve กับผู้เข้าประชุมก็คือ ถ้าเราจัดอบรม แล้วมีการเชิญวิทยากรมาบรรยาย ... ถามว่า ตรงนี้เป็นเรื่องของการจัดการความรู้มั๊ย

"คงเป็น แต่อาจเป็นอ้อมๆ เพราะการจัดการความรู้ตามความเข้าใจนั้น หมายถึง ดึงความรู้ภายในตัวบุคคล ที่เรียกว่า Tacit knowledge ออกมาให้ได้ และมาเก็บในรูปของ Explicit k ในรูปของเอกสาร สื่อต่างๆ เพราะฉะนั้น ส่วนที่วิทยากรมาให้ความรู้ก็เป็นความรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการให้ แต่ไม่ได้แลกเปลี่ยน ก็จะเป็นความรู้อ้อมๆ ไม่ได้ตรงๆ อาจไม่ใช่ Tacit k"

"จะเป็นทฤษฎีมากกว่า แนวทางในการปฏิบัติ แต่ไม่ได้เป็นรูปของการจัดการความรู้ ซึ่งเราต้องมาขย้ำ (น้องคนนี้ ต้องขย้ำเอาเลยนะคะเนี่ยะ) อีกทีหนึ่ง เราต้องเอาประสบการณ์ของแต่ละคนมาแลกกัน"

"การจัดการความรู้ ควรเป็นการ share ประสบการณ์การทำงานมากกว่า เพราะว่า ในประสบการณ์จริงที่เราสัมผัส เราก็เอาแนวทางจริงที่ประสบความสำเร็จ มาเขียนเป็นแนวทางที่สู่การปฏิบัติของเรา"

สรุปแล้วก็น่าจะเป็นว่า ... "การจัดการความรู้ ก็คือ การรวบรวม หรือการแลกเปลี่ยน ทั้งความรู้ชัดแจ้ง (Explicit k) หรือความรู้ฝังแน่น (Tacit k) เอารวบรวม จัดหา จัดเก็บ เผยแพร่ และนำมาให้เกิดไหลเวียนในองค์กร และต่อยอดในการพัฒนา" ... ในงานทุกขั้นตอนของการฝึกอบรม สามารถนำไปใช้กระบวนการจัดการความรู้ได้หมด

การเชิญวิทยากร แม้จะเป็นความรู้ชัดแจ้ง แต่ท่านก็ต้องรวบรวมความรู้ชัดแจ้งนั้น เพื่อเผยแพร่ และให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้มาร่วมรับฟังกับเรา ได้เกิดการเรียนรู้ ได้ขยายวงให้กว้างขึ้น นี่คือทำฝั่งเดียว ในฝั่งของความรู้ที่ชัดแจ้งแล้ว หรือ Explicit knowledge

และความรู้ฝังแน่นในคน ก็จะเป็นเรื่องของประสบการณ์การทำงาน พรสวรรค์ วิธีการ tactics ถ้าไม่ทำงานในเรื่องนั้นจริงๆ ก็จะมีเรื่องนี้ไม่ได้ จะต้องเป็นคนทำจริงมาเล่าให้ฟัง เป็นประสบการณ์ ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของท่าน แต่ปัญหาก็คือ มันจะอยู่ในตัวคน ถ้ายังไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ดิฉันก็ถือโอกาสแนะนำสักเล็กน้อย เพื่อที่ว่าถ้าเกิดการ ลปรร. กันแล้ว จะได้มีแหล่งของการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเวป ก็ โค-สะ-นา GotoKnow นี่เองละค่ะ

  • ก่อนอื่นก็ลองคุยกับทางผู้เข้าร่วมอบรมเรื่องการใช้งาน Internet ก็ทำให้ทราบว่า ที่นี่ก็ใช้ระบบ LAN อยู่และผู้เข้าอบรมบางท่านได้บอกว่า
  • "ที่นี่ส่วนใหญ่ ใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวก และรวดเร็ว แต่ทาง mail ก็จะเป็น One-way communication ที่ถ้าอีกฝ่ายไม่ได้ตอบรับก็จะช้าสักหน่อย ถ้า Chat สามารถตอบโต้ได้เร็ว ก็จะไว"
  • "ใช้ Internet เพื่อดูข่าวสาร ข้อมูล ข่าวต่างๆ"
  • "ใช้เวปพันธุ์ทิพย์ ตามข่าว"
  • มีบางท่านบอกว่า มีประสบการณ์การบันทึก Diary มาบ้าง ว่า
  • "2-3 วัน ก็จะบันทึก Dairy ทีหนึ่ง ... รู้สึกว่าทำให้สามารถเปิดดูได้ว่า สิ่งที่เราได้ทำผ่านมามีอะไรบ้าง ซึ่งพอมีการทบทวนก็ทำให้เราได้รู้ว่า สิ่งที่ผ่านมามีสิ่งที่เราได้รู้ในแต่ละวันเพิ่มเติม และพอวันหนึ่งเราไปอ่าน ก็เป็นการทบทวนความรู้ของเราได้เป็นอย่างดี"
  • "จะบันทึก Diary online ซึ่งให้คนอื่นได้เข้ามา share โดยการ comment ได้ด้วย เพราะตัวเองชอบบันทึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว และก็แนะนำเข้าไปด้วย ว่าไปที่ไหนทำอย่างไร เจออย่างไร สำหรับค้นที่ต้องการหาข้อมูล เราก็จะมีการ share กันได้ หรือในลักษณะ web board ก็จะมีคนที่เข้ามา share กันอยู่เรื่อยๆ"
  • เดี๋ยวนี้ก็คงไม่แตกต่างกันหรอกนะคะ การบันทึก Diary หรือ เวปบล็อก เพราะต่างก็เป็นการ share ประสบการณ์ในบางแง่บางมุมที่คนสนใจร่วมกัน
  • ในส่วนของ Gotoknow.org จะเป็นการบันทึกเรื่องราว ในกลุ่มของคนทำงาน มีตั้งแต่ข้าราชการ ครู เอกชน นักธุรกิจ บุคคลที่มีชื่อเสียง ต่างๆ ที่ต่างก็ใช้เทคนิคในการเล่าเรื่อง ทำให้ผู้ที่สนใจเข้าไปเรียนรู้ก็จะได้ทักษะอะไรมากมาย
  • การบันทึกก็จะเป็นการบันทึกเรื่องราว และสามารถต่อยอดความคิดเห็น และอาจมีการ share ประสบการณ์ร่วมกัน หรือเรื่องเดียวกันในหลายมุมมอง ซึ่งการบันทึกเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการ ลปรร. ผ่าน Internet ที่ได้
  • สนใจข่าวการ ลปรร. ของชาวกรมอนามัย ก็ click ไปดูได้ที่นี่นะคะ ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กรมอนามัย

บันทึกนี้ ก็เป็นเบื้องต้นของการนำเข้าสู่กระบวนการ KM ละค่ะ

รวมเรื่อง "คลุกวงใน KM ศาลปกครอง"

 

หมายเลขบันทึก: 170247เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2008 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท