เยี่ยมเสริมพลัง ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ (38) เก็บตก Tricks เล็กๆ จาก ลปรร. KM Team กรมฯ และศูนย์ฯ 8


จะมี Tricks เล็กๆ น้อยๆ ที่เก็บตกหล่นจากการคุยมาฝากนะคะ เพื่อที่ว่า ท่านที่สนใจ และปิ๊งแว่บ กับเรื่องราวใดๆ จะได้นำไปใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาต่อยอดกัน

 

ก่อนที่จะบ๊าย บาย จากศูนย์ฯ 8 เราได้ตั้งวงคุยกัน ก็จะมี Tricks เล็กๆ น้อยๆ ที่เก็บตกหล่นจากการคุยมาฝากนะคะ เพื่อที่ว่า ท่านที่สนใจ และปิ๊งแว่บ กับเรื่องราวใดๆ จะได้นำไปใช้ประโยชน์ หรือพัฒนาต่อยอดกัน

  • เรื่อง IC Mapping
    ... ถ้ามีการใส่สิ่งที่เกิดขึ้นเยอะๆ เข้าไปด้วย เช่น
    ... ส่วนบริการ ของ รพ. จะมีการเกิดสิ่งอะไรที่เยอะแยะมากมาย เราก็จะเขียนเข้าไปได้ เช่น
    ... แขนงของกลุ่มเด็กที่ได้เห็นนวัตกรรมอีกเยอะแยะ
    ... ก็จะเป็นส่วนที่จะสามารถใช้แสดงผลลัพธ์ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพขององค์กรได้ว่า
    ... มีการจัดการความรู้มากน้อยแค่ไหน
    ... และสามารถโชว์คนอื่นได้
    ... พสส. อาจแตกแขนงเป็นย่อยๆ ได้เลย
    ... ทั้งไทยไร้พุง หรืออื่นๆ
    ... และสามารถใส่ชื่อคนลงไปตรงนั้นอีก ว่า
    ... ภายใต้ตรงนั้นไปเจอ The Star ที่ใคร หรือว่าตรงนี้ โดยเจตนา เขาให้ใส่ชื่อตัวบุคคลไปเลย
    ... ใครที่ทำ KM ก็ใส่สีชมพู ลงไปที่ตัวบุคคลได้เลย
    ... และสามารถใส่ The Star ไปได้ด้วยในแต่ละอัน
    ... และก็สามารถจะมีเส้นโยงใยไปในแต่ละจุดได้ด้วย
    ... เพราะว่าเส้นจะแสดงความหมายได้ เส้นประเชิงความสัมพันธ์ก็จะน้อยนิดหนึ่ง แต่เส้นทึบจะแสดงว่าได้เข้าไป support เยอะมาก
    ... เครื่องมือนี้ก็จะช่วยแสดงให้เราได้รู้ว่า กลุ่มอื่นๆ ก็อาจมาเรียนรู้จากตัว รพ. ก็ได้ ที่กลุ่มวิชาการก็ได้ด้วย
  • เทคนิคการทำกลุ่ม มีรูปแบบอย่างไรที่น่าสนใจ
    ... อาจเริ่มต้นด้วยคนที่ประสบความสำเร็จเป็นคนเล่า
    ... กับสอง เท่าที่เคยทำมา ถ้าทุกคนเข้าอยู่ในวง ถ้าทำได้ ให้ทุกคนได้มีส่วนเล่า ก็จะเพิ่มประสบการณ์ให้กับเขากันเอง
    ... ไม่อย่างนั้น บางคนที่ไม่เคยเล่าก็จะไม่เล่าเลย
    ... และภายใต้สิ่งที่คิดว่ามันไม่สำเร็จ หรือไม่มีอะไร แต่ถ้าเขาเล่าออกมา Fa จะสามารถทำให้เขาได้รู้สึกว่า เขาก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีเรื่องเล่าดีดี
  • หัวปลาจะเป็นเรื่องของปัญหาก็ได้ใช่ไหม ???
    ... ไม่ว่าจะตั้งด้วยอะไรก็ตาม ก็เล่าได้
    ... แต่ว่ามันก็ไม่ควรจะจมอยู่ในปัญหา
    ... เงื่อนไขอย่างหนึ่ง คือ ภายใต้สิ่งที่ว่าเป็นปัญหา คุณผ่านมาแล้วสำเร็จด้วยวิธีการอย่างไร ให้หักมุมกลับมาที่ success
    ... ถ้าพูดถึงปัญหา จะเป็นความยากที่จะแก้ปัญหา ถ้า Fa ไม่เก่งพอ อาจจะหลงทาง ไปชี้ตัวคนผิด หรือหาคนที่แปลกแยกออกมา
    ... แต่ถ้าเรานำเขาว่า เขาผ่านตัวปัญหาไปสู่ความสำเร็จได้อย่างไร ถ้าจะยอมให้เล่า คือ แตะปัญหาได้หน่อยหนึ่ง
    ... แต่ถ้าไม่เริ่มด้วยปัญหาได้ก็จะดี
    ... แต่ว่าเราจะห้ามไม่ให้เขาพูดเลยก็ไม่พูดเลยก็ไม่ได้ มันอึดอัด
    ... แต่ว่า คุณผ่านปัญหามาได้อย่างไร ตรงนี้สำคัญที่สุด เราต้องหักเข้าสู่มุมนี้ให้ได้
  • และเรื่องที่บอกว่า ให้มาเล่าปัจจัยความสำเร็จ อันนี้คือ โจทย์ที่เป็นปัญหาทุกครั้ง คือ
    ... ทุกคนพยายามหาปัจจัยความสำเร็จมาก่อนเริ่มต้น แต่ไม่ได้เล่า story
    ... ก็จะหาปัจจัยออกมาว่า อันที่ 1 ปัจจัยอะไร ก็จะพยายาม code ลงไปที่ตัวปัจจัย
    ... คือ ควรจะเน้นเล่าไปเลยว่า วิธีการที่คุณทำสำเร็จ แล้วปัจจัยก็จะกลับมาด้วยคนฟังเอง
  • การเตรียมการก่อนเล่าเรื่อง
    ... ถามว่าเทคนิคที่จะทำให้ ให้ทำได้ดี ก็คือ ต้อง BAR เยอะมาก
    ... คือ ต้องรู้การบ้านก่อน อาจจะรู้ไม่เยอะ แต่รู้ว่าแต่ละคนมีลักษณะแบบไหน เขามีดีในเรื่องอะไร
    ... เวลาโยนกลับก็จะเนียน ใช้ทักษะอย่างเดียว คือ ฟังจากเรื่องเล่า และ How to ไป และชวนคนอื่นคุย ตามลักษณะของเขาที่ชำนาญ
    ... แต่ว่าถ้าตั้งโจทย์มากไป จะกลายเป็น In depth interview ที่ไม่ใช่เรื่องตรงๆ
    ... ฟังจากเขา และเราพร้อมที่ยืดหยุ่น จะต้องเนียนในเนื้อเรื่องเล่าของเขา
    ... ถ้าเราตั้งของเราแข็ง ก็จะเป็นการตั้งโจทย์แบบ In depth interview แล้ว Fa จะทำหน้าที่ถามเพื่อหาคำตอบตัวนั้นตัวเดียว
    ... กลายเป็นว่า เราไม่ได้ฟังจากเขาไง แต่เรากลับเตรียมโจทย์ไว้ในใจ ตามที่เราตีกรอบเอาไว้
  • เทคนิคที่ดีที่สุด ของการสรุป
    ... อย่าเพิ่งสรุปเอง
    ... โยนกลับไป ... "แล้วคิดว่าอย่างไรคะๆ" ...
    ... และทุกคนก็จะมีมุมของตัวเองต่างกัน
    ... บางทีเราก็จะมีส่งที่เราสรุปอยู่ในใจแล้ว
    ... แต่บางทีเขามีมากกว่า
    ... การโยนกลับให้เจ้าของเรื่อง คือ การ confirm
    ... เป็นการทดสอบ test listening ของคนฟัง และคนฟัง capture ได้ไหม
    ... ลักษณะเดียวกัน จะทำให้คนเล่าได้รับเกียรติ
    ... เพราะว่าทุกคนฟัง บอกว่า "โอ้โห ใช่เลย"
    ... เจอของคนนี้กำลังเล่า ได้แทคติคเสริมแรงไปเลย ว่า "ฉันเล่า แบบไม่รู้เรื่องเลย แต่ว่ามีคนจับของฉันได้นะ" ... มีคนมาชื่นชม มันก็เพิ่มเทคนิค เพิ่มพลัง
    ... แสดงว่า เล่า 1 คน Fa ก็ควรถามกลุ่มก่อน Fa ไม่ใช่ผู้สรุป แต่ให้กลุ่มได้สรุป
  • เวลาจะสรุป การโยนกลับให้กลุ่ม หรือบางทีเรื่องที่กำลังจะสรุปนี้ ก็ชวนให้มีการต่อยอด
    ... ประเด็นเคยเจอไหมคะ และเจอแบบไหน
    ... ประเด็นนี้ก็จะถูก share เข้าไปในวงอีกว่า
    ... ฉันก็เคยมีเหมือนกัน ประสบการณ์นี้ แต่แก้แบบนี้ๆ เจออีกมุมหนึ่ง
    ... เพราะฉะนั้น หัวปลาไม่ต้องใหญ่
    ... แต่มันจะลึกไปในแทคติค
    ... พอ KA ที่จะสรุป ก็จะสรุปได้แบบคนมีส่วนร่วม และ Fa ไม่ได้ยัดเยียด อย่างที่ตัวเองเป็นคนสรุปเอง
  • AI ผุดบังเกิด ก็คือ Appreciative Inquiry
    ... มันจะเกิด AI มากๆ
    ... เพราะว่า มันจะเกิดความรู้สึกว่า ไม่น่าเชื่อเลย ว่าฉันพูดอย่างนี้ และเพื่อนฟังได้เยอะแยะเท่านี้เลยหรือ
  • เติม explicit knowledge
    ...ถ้ามีจังหวัดที่ดี เติมเต็ม explicit knowledge ให้ได้
    ... เราก็จะเติมเต็มไปเลย ว่า ภายใต้แบบนี้ออกมาเป็นอย่างไร ก็จะเป็นการต่อยอดให้กับในทีมด้วย
  • กติกา สำคัญ ต้องรับรู้ร่วมกัน
    ... เพราะเวลาที่เรา share บางเรื่อง ถ้า share tacit ไม่มีปัญหา
    ... แต่ถ้า share ความรู้สึก กับความคิดเห็นก็ต้องช่วย
    ... เราต้อง clear กติกาให้ได้ เราต้องช่วย เพราะบางทีจะมีปัญหา ว่า สมาชิกจะรู้สึกอึดอัด และขาดความมั่นใจในตัว Fa
    ... เพราะว่า Fa ไม่สามารถจัดการกับกลุ่มได้
    ... วิธีการของศรีวิภา คือ เริ่มต้นตั้งแต่ share & learn ก่อน ต้องมีการ clear กติกา
    ... การถามระหว่างการพูด ถ้าไม่ขัดขวาง เช่น ถ้าความคิดเขาไม่ถูกต้อง แล้วไปขวางการพูด แต่ถ้าเกิดว่า เราต้องการที่จะ clear ปัญหาที่ยังไม่ครบถ้วน เราก็ให้เขาได้
    ... ตามกฎของการถาม ได้แก่ ที่พูดมาเมื่อกี้ยังไม่ครบ อยากให้พูดเสริมอีกนิดหนึ่งจะได้ไหม แต่ต้องไม่เป็นการขัดจังหวะการพูดของเขา ไม่ทำให้เขาสะดุด และถ้ามีจังหวะที่ดี เราก็พูดถามได้
  • วิธีการ How to
    ... จะพูดเป็นกติกาไว้เลยว่า จะขอแทรก คือ
    ... ขออนุญาตเพื่อที่จะช่วยขยายประเด็น
    ... อาจจะบอกว่า ขออนุญาตช่วยเล่าเพิ่มอีกนิดหนึ่ง
    ... ต้องบอกทั้งหมดเลยว่า ถ้าเราจะทำแบบนี้ บอกให้รู้ตั้งแต่ต้นเลยว่า ขอให้สมาชิกมีส่วนร่วมอยากรู้ในประเด็น ก็ถามระหว่างนั้น
    ... แต่ก็ไม่ไปขัดจังหวะ เพราะจะทำให้คนเล่าสะดุด เราจะวางเป็นกติกากันก่อน
    ... เพราะฉะนั้น ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เขาก็จะรับได้ แต่ถ้าไม่พูดก่อนก็จะมีปัญหา
    ... เราต้องอาศัยบุคลิก ท่าทาง น้ำเสียง และสายตา ที่สื่อถึงความอยากรู้
    ... มันจะสื่อให้คนเล่า เขาอยากเล่า และมีความสุข
  • AAR ... เครื่องมือต่อยอด
    ... กระบวนการที่เราให้ Fa หรือ KMB ทำไปแล้วสักระยะหนึ่ง การ AAR หลังทำจะสำคัญมาก
    ... เพื่อจะได้รู้ว่า Fa / KMB คิดอย่างไร ถึงได้ทำอย่างนั้น
    ... และจะสามารถก่อให้เกิดความรู้ / ทักษะ เพิ่มเติม

นี่ละคะ มุมหนึ่งของศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ ... และยังมีมุมที่เรายังไม่เห็นอีกมากมายละค่ะ

รวมเรื่อง เยี่ยมเสริมพลัง ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์

 

หมายเลขบันทึก: 191744เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2008 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมว่าเราต้องแยกให้ออกด้วยนะครับว่าอะไรคือข้อมูล อะไรคือสารสนเทศ และอะไรคือความรู้
  • สารสนสนเทศคือข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว แต่ความรู้คือสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้
  • ส่วนกระบวนการที่จะจัดการความรู้ ก็แล้วแต่ท่าน  ๆ ครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท