3S กับการจัดการความรู้ ที่ วศ. (6) คุณเมฆินทร์


ในสังคมปัจจุบัน หรืออนาคตนี่ มันมีแนวโน้มที่จะไปอยู่ในทิศทางของสังคมแห่งการเรียนรู้มากขึ้น การ sharing หรือการแบ่งปันความรู้สู่สังคมมีความสำคัญ

 

ดิฉันได้รู้จักคุณเมฆินทร์ที่นี่เป็นครั้งแรก อาจเคยผ่านตาบ้างใน G2K ที่ My Library in 365 days และ บทความที่เคยอ่านแล้วทำให้...บรรณารักษ์ มีค่า และคุ้นๆ กับภาพเธอ P ... แต่ก็ได้มารู้จักตัวจริง และได้ฟังเรื่องเล่าที่ ไม่เบา จริงๆ ค่ะ

มารู้จักคุณเมฆินทร์กันสักหน่อยนะคะ ในเรื่องเล่าของ IT และ บรรณารักษ์ ... คุณเมฆินทร์มาเล่าให้ฟังว่า เดี๋ยวนี้ IT ที่จะใช้มีความก้าวหน้า ใช้ง่าย และมีความสนุกสนานเพียงใด

ปกติผมเขียนในบล็อกอย่างเดียวครับ นานๆ จะได้ออกมาบรรยายกับเขาบ้าง ครั้งนี้ก็เป็นครั้งแรก blog ของผม ก็คือ http://projectlib.wordpress.com เป็นบล็อกที่ให้ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุด IT การสื่อสาร และข่าวสังคมทั่วๆ ไป บล็อกนี้ update ทุกวัน เดือนหน้าก็จะครบปีแล้ว ตอนนี้ 380 เรื่องในบล็อก

สิ่งที่จะเอามาพูดก็คือ ในสมัยก่อน เราอาจจะคิดว่า ความรู้มีอำนาจ เงินมีอำนาจ ข้อมูลมีอำนาจ แต่ข้อมูลเหล่านี้อยู่กับตัวเอง ซึ่งไม่มา share กัน ... อย่างบางครั้ง ร้านก๋วยเตี๋ยวที่ทำอร่อยๆ กินแล้วติดใจ แต่พอคนที่ทำเขาเสียไป หรือผ่านมานานแล้ว ไม่มีคนทำต่อ เราก็อดกิน ดังนั้น ก็เลยบอกว่า ในสังคมปัจจุบัน หรืออนาคตนี่ มันมีแนวโน้มที่จะไปอยู่ในทิศทางของสังคมแห่งการเรียนรู้มากขึ้น การ sharing หรือการแบ่งปันความรู้สู่สังคมมีความสำคัญ

ประเด็นก็คือ บางทีเราอาจคิดว่า การแบ่งปันความรู้เป็นงานวิชาการ หรือเป็นอะไรที่ serious แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย ความจริงในเรื่องข่าวสารธรรมดาๆ “วันเสาร์นี้นะ มีงาน Com Mart” หรือ “อาทิตย์หน้ามีงานที่ศูนย์สิริกิติ์” อย่างนี้ก็คือ การ sharing เหมือนกัน ไม่ใช่จะ sharing ว่า กระบวนการทำงานมันเป็นอย่างนี้ๆ นะ หรือปัญหามีแค่อย่างนี้ๆ นะ คือ ถ้าเรามีการ sharing จริงๆ เรา share ได้ทุกรูปแบบ การมาสัมมนา ถ่ายรูป share ให้คนอื่นดู ก็เป็นการแบ่งปันความรู้แล้วส่วนหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อความอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียง เป็นภาพถ่ายก็ได้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวก็ได้ ทัศนคติก็ได้ นี่คือสิ่งที่สามารถ sharing ให้ทุกๆ ได้ฟัง ได้รับทราบหมด

เรื่องของการแบ่งปันความรู้ ผมก็ได้ดูแลอยู่ส่วนหนึ่ง มีหลายส่วนที่ผมนำไปใช้ในวงการบรรณารักษ์ ตัวผมลึกๆ ยังมีความเป็นบรรณารักษ์ และทำเพื่อโครงการบรรณารักษ์ด้วย ในส่วนนี้ ผมทำทั้งส่วนในบล็อก G2K เอง เป็นเรื่องของห้องสมุดใน G2K ... และมีการเปิดบล็อกพิเศษขึ้นมา เป็นบล็อก Wordpress ซึ่งใช้ฟรี ก็เลยสมัคร ... ใน Wordpress จะมีนักเขียนเยอะแยะ เช่น คุณนิ้วกลม เป็นนักเขียนอิสระ นักเขียนวรรณกรรม หรือคุณปากกา หยุ่น ก็ทำอยู่ใน Wordpress เหมือนกัน และจะมี sharing ทางด้านวรรณกรรมด้วย

สิ่งที่ผมทำอีกอย่างคือ การเปิด MSN ก็คือ เป็นโปรแกรม Chat online ผมนำกลยุทธ์ตรงนี้มาปรับปรุงการให้บริการ ผมใช้ MSN ในการตอบปัญหาบรรณารักษ์ทั่วๆ ไป บรรณารักษ์ที่ add ผมมา อยากจะถามอะไรถามได้หมด ผมพร้อมที่จะตอบได้ทุกอย่าง ผ่าน MSN ได้คำตอบสดๆ ขณะนั้นเลย ก็จะเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้

รวมถึงมีการเปิด Hi5 ซึ่งช่วงหลังมีข่าวว่า มีคนใช้ในทางไม่ถูกต้องเยอะ ผมก็เลยพิสูจน์ว่า จริงๆ แล้ว Hi5 นั้น บรรณารักษ์ก็สามารถสมัคร Hi5 และ join เป็นกลุ่มสื่อสารข่าวกันบน Hi5 ก็ได้ เพราะว่ามีประโยชน์ สามารถทำให้เป็น Social network คือ สังคมที่จะ online ตลอดเวลา

รวมถึง การ Broadcast text ซึ่งในต่างประเทศตอนนี้มีการใช้กันมาก ผมก็สามารถเข้าไปรวมกลุ่มๆ หนึ่ง ซึ่งอาจเป็นคน 200 คนนี้ก็ได้ ผมก็ส่งข่าวไปข้อความเดียว ทุกคน 200 คน ที่นั่งอยู่ที่นี่ ก็ได้รับหมดเลย พร้อมกัน โดยที่บางคนอาจจะไม่ได้ online ก็ได้ มันก็จะเข้าไปที่ e-mail หรือมือถือ นี่ก็เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์กรได้ แต่ว่าในเมืองไทยอาจจะยังไม่มีกระแสเรื่อง Broadcast text

ส่วนเรื่อง e-mail ผมก็ทำเป็น mailng list ของกลุ่มบรรณารักษ์ไว้ คนที่สมัคร MSN ก็ตาม หรือคนที่เคยคุยกับผมทางด้านบรรณารักษ์ก็ตาม ผมก็จะใช้ตรงนี้ในการที่จะส่งข้อมูลของบรรณารักษ์ update ทุกวัน

และในส่วนที่คาดว่า ในอนาคตจะทำ คือ ห้องสมุด Online ของบรรณารักษ์ จะมีการนำโปรแกรม Social Media เข้ามาใช้ เช่น Social Bookmark ให้ทุกคนส่งเรื่องเข้ามา Share กัน มาโหวตเรื่องกันว่า เรื่องไหนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องไหน เป็นเรื่องที่ดี เราก็จะช่วยกันโหวต และเรื่องที่ได้รับการโหวต บรรณารักษ์ทุกคนจะตระหนักได้เลยว่า เรื่องนี้สำคัญใช่มั๊ย ไปดูสิว่ามันมีอะไร นี่ก็เป็นเหมือนการสอดแทรกให้ผู้ใช้คนอื่นมีส่วนร่วมกับบทความของเขาด้วย

รวมถึงการประชุมกลุ่มย่อยของบรรณารักษ์นอกสถานที่ ในส่วนของที่เคยไปประชุมกับ Webmaster ของเมืองไทย เขาจะใช้กลยุทธ์ในการประชุมกลุ่มไม่เหมือนใคร ก็คือ ... ถ้าบอกว่า ประชุมกลุ่ม หรือสัมมนานี่ ทุกคนก็จะบอกว่า มันก็คงจะเป็นบรรยากาศแบบนี้ละ คือ ต้องมานั่งฟังผมพูด หรือต้องมานั่งจัดเป็นเวทีเพื่อการสนทนาวิชาการ แต่ในส่วนของ Webmaster ไม่มีแบบนี้ เขาจะมีการประชุมแบบ งานกินกาแฟ

... เจอกันที่ร้านกาแฟครับ และก็ต่างคนต่างซื้อกาแฟกันคนละแก้ว และมานั่งกินที่โต๊ะ ... จะลุกไปไหน จะเดินไปไหน ทำได้หมด คุณอยากทำอะไร ทำเลย นี่คือ บรรยากาศการประชุมของ Webmaster ซึ่งมีการ ลปรร. กันตลอดเวลาว่า ตอนนี้เราไปถึงตรงนี้ site โน้นกำลังทำตรงนี้อยู่ อันนี้เราจะทำมั๊ย นี่คือ การแลกเปลี่ยนของ Webmaster ซึ่งบรรยากาศจะทำให้รู้ว่า ไม่เครียด ... ในระดับผู้บริหารบางคนเคยทักท้วงว่า จะได้ประโยชน์จริงหรือ หรือว่าจะได้ความรู้จริงหรือ แต่ว่า ในแง่มุมของ Webmaster ทุกคน ถือว่า เป็นความรู้สึกทางใจ ... เมื่อเราเป็นเพื่อนกับเขาแล้ว เขาก็สามารถ share ทุกเรื่องให้เราฟังได้ ... คือในที่นี้ บางคนอาจไม่รู้จักผม ถ้าสนิทกับผมแล้ว ก็อาจจะรับรู้ว่า เออ ไอเดียมันดีนะ แต่สำหรับบางที่ไม่สนิท ก็อาจจะบอกว่า ก็ลองกลับไปคิดดูก่อน แต่ถ้ามีความเป็นเพื่อนกัน รู้จักกัน วงการเดียวกัน ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น หรือรู้จักกันมากขึ้นกว่าเดิม และกล้าที่จะ share กันมากขึ้นกว่าเดิม

เพราะในสังคมของเวปซต์ไทยนั้น สมัยก่อนมีการแข่งขันกันหมด ต่างคนไม่เกิดเผยว่า ตัวเองทำอะไร นี่เป็นในแง่เอกชน ... แต่ปัจจุบันไม่เหมือนกัน มีการมา share ความคิดร่วมกัน เพื่อที่จะดูแนวโน้มของอนาคตได้ อย่าอาจารย์ที่สอนผมก็จะบอกผมเสมอว่า ... ไม่ต้องกลัวเลย เรื่องเทคโนโลยี ต่อให้เขาแข่งกันเมื่อไร ภายใน 3 ชม. เขาก็สามารถทำเลียนแบบออกมาได้แล้ว เพราะฉะนั้น คุณจะกลัวทำไม จะปกปิดทำไม ... ไม่ต้องปกปิดเลย เพราะถ้าคุณเปิด product มา อีก 3 ชม. ก็จะมีคนเลียนแบบคุณ ... ถ้าคุณทำเรื่องการแบ่งปันความรู้กันตั้งแต่แรก ก็ไม่ต้องมาต่อสู้กันหรอก เรามาช่วยกันดีกว่า เพื่อที่จะพัฒนาวิชาชีพกันดีกว่า ประมาณนี้ละครับ

ในส่วนบล็อก Projectlib ที่ผมเขียนอยู่นี้ เดือนหน้าจะครบรอบ 1 ปี และตอนนี้มี 380 เรื่อง สำรวจเมื่อวาน ... และมีความคิดเห็นที่ share กัน 1,978 รวมถึงผู้เข้าชมตอนนี้ประมาณ 170,000 คน สมาชิกที่ add มาคุยกับผมส่วนตัวประมาณ 326 คน ที่เป็นกลุ่มบรรณารักษ์ และคนที่เข้ามากลุ่ม Hi5 มี 167 คน นี่เป็นการสร้างชุมชนของบรรณารักษ์ ที่ใช้ IT

ถามว่า เครื่องมือพวกนี้ ผมต้องซื้อไหม ... ไม่ต้องซื้อเลย เงินทุกบาททุกสตางค์ไม่ต้องซื้อ MSN ก็ของฟรี E-mail ก็ของฟรี Hi5 ก็ของฟรี ทุกอย่างฟรีหมด ไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายอะไรเลย

เพราะฉะนั้น ก็จะบอกว่า บางทีอาจจะเกิดความเข้าใจผิด ในเรื่องของ KM หลายๆ ที่ ว่า การทำ KM ต้องเอาโปรแกรมเข้ามาใช้ ต้องใช้เงินเยอะ จริงๆ ไม่ต้องใช้เลยครับ ของฟรีในเวปไซต์มีเยอะแยะ เพียงแต่เราจะจับสิ่งพวกนี้ออกมาใช้ ให้เข้ากับวิชาชีพของเราได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง ถ้าองค์กรไหนมีเวปไซต์ เปิดไว้ก่อน ก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้เหมือนกัน ก็ฟรีเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นข้อที่บอกว่า เหมือน concern กันเองด้วยว่า บางคนบอกว่า ต้องใช้ค่าใช้จ่าย จริงๆ ไม่ต้องใช้ ใช้แค่สมองในการคิด และการ share เท่านั้นเอง

ในการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ของผมทำไปเพื่ออะไร ... เพราะว่า

  • ผมอยากสร้างชุมชนทางด้านวิชาชีพนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนกันจริง และปัจจุบันบทบาทของห้องสมุดในเมืองไทยเองค่อนข้างต่ำลงเรื่อยๆ คนมัวแต่คิดว่า อยากได้สาระสนเทศไช่ไหม เข้า Internet Google ง่ายมาก แต่เขาลืมนึกไปอย่างหนึ่งว่า ในต่างจังหวัด หรือในชนบท สิ่งเหล่านี้มันอาจจะไปไม่ถึง ห้องสมุดผมว่ามันเป็นพื้นฐานที่จะเป็นการ sharing ในส่วนชุมชนได้ด้วย เพื่อที่กระจายความรู้ การศึกษา เพื่อลดช่องว่างของการศึกษาได้ รวมถึงปัญหาเรื่องการอ่าน คนไทยมีจำนวนของการอ่านลดลงเรื่อยๆ อ่านปีหนึ่งเขาทำสถิติเฉลี่ยมา อ่านไม่เกิน 2-3 เล่ม ... เรื่องพวกนี้ ผมอยากให้ทุกคนอ่านกันมากขึ้น เพราะว่า ยิ่งอ่านก็เหมือนยิ่งเป็นการพัฒนาสมองของเรา เริ่มความคิดของเรา อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้อง เราก็ได้ความรู้เหมือนกัน จะอ่านบันเทิง เราก็ได้ความรู้ในแง่ของบันเทิง
  • ชุมชนนี้สร้างมาเพื่อต่อยอดวิชาความรู้ในด้านบรรณารักษ์ เวลาสมาชิกทุกคนในบล็อกมีปัญหา เขาส่งมาว่า อาจารย์ยืมหนังสือแล้วไม่คืนทำยังไงดี ทุกคนก็จะบอกกันทำยังไง บางคนก็จะบอกว่า สิ่งหนึ่งเกิดจาก อาจารย์มีคุณวุฒิสูงกว่า บรรณารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ เราจะไปทวงเขาอย่างไร เพื่อไม่ให้เจ็บช้ำน้ำใจ เราก็จะมาหาแนวทางร่วมกัน สร้างวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน อันนี้เป็นการต่อยอดวิชาความรู้
  • รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาให้กับวิชาชีพด้วย รวมถึงเพื่อลบภาพบรรณารักษ์ยุกต์เก่า มีคนบอกว่า บรรณารักษ์เหรอ หนอนหนังสือ แก่ๆ ใส่แว่น นั่งทำอะไรอยู่ในห้องสมุดก็ไม่รู้ วันวัน ก็ยืมหนังสือ หยิบหนังสือให้ จบ ... แต่จริงๆ แล้ว ถ้ามาทำที่นี่จริงๆ มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย มันมีกระบวนการข้างหลังอีกเยอะแยะเลยที่เรายังไม่รู้ ก็เลยเอาบล็อกพวกนี้มาเขียน ว่าบรรณารักษ์ต้องศึกษาระดับแบบนี้ มีโปรแกรมห้องสมุดมาใช้ เราก็ต้องแก้โปรแกรมนั้นๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ให้บริการยืมหนังสือแค่นั้น
  • รวมถึงเป็นการสร้างองค์ความรู้ให้กับนอกวิชาชีพด้วย อย่างถามว่า วิชาบรรณารักษ์ไม่ใช่ตัวคนเดียว ก็ยังต้องเจอกับคนในสังคมอยู่ดี บางคนที่ add ผมว่า จบสถาปัตย์ เขาอยากจะออกแบบห้องสมุด เขาก็ต้องมาปรึกษาบรรณารักษ์ เราก็ให้ข้อคิดว่า การออกแบบห้องสมุดเราควรจะทำอย่างไร สถาปัตย์เขาก็ต้องมาขอความช่วยเหลือด้วย เขาไม่ออกแบบว่าตึกคือตึก ข้างในจะออกแบบยังไงก็ได้ มันเป็นสังคม ทุกคนต้องอยู่ในสังคมร่วมกัน จะอยู่แต่ในอาชีพใดอาชีพหนึ่งก็เป็นไปไม่ได้ครับ
  • รวมถึงการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างบรรณารักษ์ กับผู้ใช้บริการ บางครั้งผู้ใช้บริการที่เรื่องมาก ก็จะมีกลยุทธ์ เราก็จะมีกลยุทธ์ในการจัดการเขาอย่างไรบ้าง ก็จะมีวิธีบอก
  • รวมถึงประเด็นที่ผมบอก ก็คือ ผมรักวิชาชีพนี้ ถ้าคุณไม่รักวิชาชีพ ก็จะไม่เกินการแบ่งปัน ... การแบ่งปันนั้น ขอให้ทุกคนคิดว่า เราเต็มใจที่จะแบ่งปันความรู้ให้คนอื่นก่อน หรือตั้งใจที่จะแบ่งปันความรู้ หรือรักในการแบ่งปันความรู้ แล้วเราก็จะแบ่งปันความรู้ได้เอง โดยที่เราอาจจะออกมาแบบไม่รู้ตัวเลยว่า นี่ก็คือ เรากำลังแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่หรือ ... จริงๆ แล้วพวกนี้ ก็คือ การแลกเปลี่ยนความรู้แล้วครับ เพียงแต่เราไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง ว่าคือการแลกเปลี่ยน

ทำยากหรือ ... ไม่ยากหรอกครับ เครื่องมือมีเยอะแยะอย่างที่บอกไป เช่น บล็อก หลายๆ ที่คือ บล็อก มันก็คือ เครื่องมือที่ใช้ฟรีบนเวปไซต์ได้อีกแบบหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็คือ webboard ต่างๆ ถ้าองค์กรของคุณมี webboard คุณก็แลกเปลี่ยนกันไปเลย ไม่ต้องไปซื้อ หรือไปสมัครอะไรข้างนอกเลย

พวก MSN ที่เอาไว้ chat ก็เพื่อการตอบคำถาม หรือแลกกันสดๆ E-mail ก็แลกเปลี่ยนได้ ก็คือ ส่งข่าวสารให้กันบ้าง ก็เป็นการใช้เครื่องมือแบบฟรีๆ Social network, Social bookmark อย่าง Hi5 ในอเมริกา เขาบอกว่า กระแสต่างประเทศทางด้าน Social network ค่อนข้างมีความเข้มแข็ง และเขาใช้ในมุมมองที่ว่า ถูกต้อง แต่เมืองไทยคงต้องปรับทัศนคติตรงนี้อีกนิดหนึ่ง เพราะเรายังเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้ในทางที่ผิดอยู่

เราก็ต้องกันให้ความรู้เกี่ยวกับพวกนี้ มันมีประโยชน์นะ อย่าใช้ในทางที่ผิดเลย อย่าง Camfrog ในต่างประเทศเขาใช้เป็น Teleconference กัน สำหรับคนที่อยู่ไกลๆ เป็นการถ่ายทอด Video กันสดๆ หรือ Webcam กันสดๆ แต่ในเมืองไทยยังมีความเข้าใจกันในเรื่องนี้ที่ผิดๆ อยู่

ส่วน Mini-bloging ก็เป็น Broadcast text อาจจะบอกว่า ขี้เกียจเขียนบล็อก เยอะ แต่ Mini-bloging ใช้แค่ 140 ตัวอักษรเท่านั้นเอง เขียนข้อมความสั้นๆ ให้คนอื่นได้รับรู้เท่านั้นเอง เป็นการติดต่อสื่อสารกันแบบง่าย

ข้อเสนอแนะในการ sharing

  1. แบ่งปันความรู้ด้วยใจรัก และเต็มใจ ... ถ้าเราถูกบังคับ ผมเชื่อว่า ความรู้อาจจะได้ไม่เต็มที่
  2. อย่าคิดว่าเป็นเรื่องยาก หรือเป็นการเพิ่มภาระงาน ... แค่ไปสมัคร Hotmail Hi5 MSN ก็ไม่ใช่เรื่องยาก
  3. นำเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้อย่างคุ้มค่า ... ไม่ต้องซื้อ ในสังคมปัจจุบันมีวิธีเยอะแยะ การทำ KM ตรงนี้ก็ไม่ได้อยู่ในคอมพิวเตอร์อย่างเดียว การเข้าไปนัดพบปะ พูดคุยอย่างงานจิบกาแฟ งานสัมมนา สิ่งเหล่านี้คือการ share ประสบการณ์อยู่แล้ว เพียงแต่บางทีเราก็ต้องมาประมวลผลความรู้ จากการที่เราไปงานพวกนี้ว่าเราได้อะไรบ้าง มาบันทึกสั้นๆ ง่ายๆ ก็ได้
  4. การแบ่งปันความรู้มิได้เกิดจากคนๆ เดียว แต่เกิดจากชุมชน
  5. เรื่องที่แบ่งปันกัน ไม่จำเป็นต้องมีเรื่องครียดๆ อย่างเดียว ... แบ่งปันเรื่องที่มีความสุขก็ได้ แบ่งปันความรู้สึกดีดี เรื่องที่สนุกสนานก็ได้เช่นกัน แต่ว่า ไม่ควรส่งบ่อยเกินไป เพราะว่าจะเสียงานครับ
  6. การแบ่งปันความรู้ อาจจะไม่ได้เก็บผลทันที แต่อย่างน้อยก็มีผลงานทางใจต่อคนในสังคม ... อย่าไปคาดหวังว่าเขาจะได้ความรู้ทันที เพราะจะได้ความรู้ทางใจกันมากกว่า เราได้รู้จักเพื่อน คนที่เราอยากรู้จัก นี่คือสิ่งที่เป็นหัวใจหลักของการแบ่งปันความรู้ ไม่ต้องคิดว่า เขาก็ไม่ทำอยู่ดี หรือเขาต้องเอาสิ่งที่เราทำไปปฏิบัติ อย่าไปคาดหวัง

สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือ สิ่งที่เราแบ่งปันให้สังคม ทุกคนเมื่อแบ่งปันให้สังคมแล้ว จะเริ่มรู้สึกว่า ตนเองลดจากความเห็นแก่ตัว และมีอะไรดีดีให้กับสังคมบ้าง

ดร.ยุวนุช สรุปประเด็นเรื่องเล่าของคุณเมฆินทร์ ว่า

สิ่งที่คุณเมฆินทร์มา share นี้ ทำให้เราได้เห็นพลัง IT ของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาฟรี ไม่เสียสตังค์ ทำก็ไม่ยากเย็น เพียงแต่ว่ามันก็เริ่มที่ใจกันก่อน ... และสิ่งที่คุณเมฆินทร์เริ่มก็คือ รักในอาชีพของตัวเอง เมื่อรักแล้วก็อยากจะบอกว่า อยากจะเล่า เมื่อเราเห็นอะไรดีดีแล้ว ก็มีวิธีในการบอกมากมายหลายวิธี มากมายไม่จำกัด ตั้งแต่ร้านกาแฟ ในบล็อก หรืออะไรก็ตาม ที่มีวิธีการดีดี

ที่ชอบมากก็คือว่า การใช้ IT นั้นเป็นการประสาน หาความร่วมมือจากคนอื่นได้อีก เช่น การสร้างตึก ก็ประสานกับสถาปนิกต์ ไม่จำเป็นที่จะ share เฉพาะคนในอาชีพเดียวกัน และสิ่งที่ share กันนั้น ความสุขเป็นสิ่งที่เกิดตามมา อยากทำความดีบ้าง จะเกิดกำลังใจอย่างมากเลย ที่จะทำสิ่งดีดี ต่อไปในสังคม

ร่วมเสวนา กลุ่มผู้สร้างความรู้ ที่ วศ.

 

หมายเลขบันทึก: 193381เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมเองได้ทำงานทางด้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่เหมือนกันนะครับ จึงได้สร้างเว็บไซด์ตนเองชื่อ www.geocities.com/university2u และสมัครHi5 และตอบคำถามในyahooรู้รอบ ส่วนMSN ผมใช้สั่งงาน ถามงาน น้องๆที่เกี่ยวข้อง แจ้งกำหนดการ ตอบคำถามบ้าง...พอทำไปหลายปี นักศึกษาเราก็ชอบไปใช้search engineและใช้พวกHi5ไปในทางบันเทิงกันมากกว่า ..อยากให้ความเห็นว่า...จุดอ่อนของด้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้... ก็คือ ผู้ใช้กลุ่มหนึ่งมองว่า มันเอาไปเป็นเอกสารอ้างอิง แบบทำรายงานวิชาการส่งอาจารย์ ฯลฯ ไม่ได้ ตรงนี้ จึงควรให้กลุ่มครู โดยเฉพาะครูอุดมศึกษา เปิดใจกว้างอีกนิดว่า ข้อความจากแหล่งเหล่านี้ ก็อ้างอิงได้ในระดับหนึ่ง (การอ้างอิงมีหลายจุดประสงค์)...สอนพวกเขาให้เห็นคุณค่าตรงความรู้ทัน(Up date)ของแหล่งเหล่านี้ คล้ายกับ การติดต่อส่วนบุคคล(Personal contact)ซึ่งสามารถใช้อ้างอิงได้เหมือนกัน...และกล้าตอบโต้อย่างมีวุฒิภาวะ และรับผิดชอบการกระทำด้วย ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้นครับ...มีอะไรอีกเยอะ เพราะผมทำเองมาหลายปีครับ ผมสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางด้านพืช (เทคโนโลยีการผลิตพืช)..พอแค่นี้ก่อนนะครับ เอาไว้ให้ท่านอื่นๆร่วมวงก่อนนะครับ...จริงใจ... รศ.ดร.ชยพร

 

แหมๆๆๆๆ อาจารย์ขจิต มีหลักฐานมายังนี้ มัดตัวสนิทเลย

5555 แต่พักหลังก็ไม่ค่อยได้ไปลงใน siamcollective อ่าาา

แต่เนื้อหาด้านบน คุณหมอเล่นถอดความแบบนี้เยี่ยมไปเลยครับ

คนที่ไม่ได้ไป ผมส่งให้อ่านเขาบอกว่า get idea เลย

ยังไงก็ขอยืม link เหล่านี้ไปให้คนอื่นอ่านบ้างนะครับ

  • สวัสดีค่ะ รศ.ดร.ชยพร ... เดี๋ยวนี้การสื่อสารรวดเร็วมากค่ะ
  • ได้ฟังคุณเมฆินทร์ แล้ว รู้สึกได้ว่า คนทำงานรุ่นใหม่ จะทำงานกันได้ไวมากเลย ถ้าใช้การสื่อให้เป็นประโยชน์
  • เป็นเหตุจูงใจให้ถอดเรื่องเล่าของคุณเมฆินทร์ มา เพื่อ ลปรร. กันนี่ละค่ะ
  • ไม่แน่ อาจมีใครที่ทำมากมายกว่านี้อีกเยอะแยะทีเดียว
  • ขอบคุณค่ะ
  • ดีใจที่ได้รู้จัก คุณเมฆินทร์ ค่ะ อ.ขจิต ฝอยทอง  
  • ทำให้เห็นว่า ยังมีนัก IT ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์สิ่งดีดี ให้กับสังคมเมืองไทยอยู่มากเลยค่ะ
  • เพราะอีกหน่อยเราก็คงล้าสมัยแล้ว ... ได้เห็นน้องๆ พัฒนาต่อยอดก็ดีใจจริงๆ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ได้ฟังเรื่องเล่าดีดีของคุณเมฆินทร์ ... Projectlib in Gotoknow ... แล้ว
  • ถ้าไม่ถ่ายทอดจากตรงจากต้นฉบับ ก็เสียใจแย่เลย
  • มีเนื้อเรื่องมากมาย ในบันทึกนี้ ที่ใครต่อใคร ที่มา ลปรร. แล้ว น่าจะได้สาระไปขยายงานของตนเองมากมายเลยนะคะ
  • ขอบคุณนะคะ ที่เล่าเรื่องดีดี และเป็นแนวหน้า ในเรื่องของ IT
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท