ตลาดนัดการจัดการความรู้ สู่คนไทยสุขภาพดี (21) shopping ตลาด KM ศูนย์อนามัยที่ 1


เรื่องของโรงเรียนฟันดี เป็นเรื่องการพัฒนาเครือข่ายเด็กไทยฟันดี ตอบยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยงเด็กวัยเรียนวัยรุ่น โดยงานนี้เป็นงานทันตฯ แต่มีการไปจัดการความรู้ให้

 

ศูนย์อนามัยที่ 1 ตั้งอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพมหานครนี่เองละค่ะ ศูนย์มานำเสนอ 2 เรื่อง ก็คือ การจัดการความรู้ กับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรณี "การจัดการสิ่งปฏิกูล จังหวัดอ่างทอง" และ โรงเรียนฟันดี ทั้ง 2 โครงการนี้ นำเรื่องการจัดการความรู้ไปใช้ในการทำงานค่ะ

เรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูล จังหวัดอ่างทอง นี้เขาเน้นกระบวนการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยการพัฒนาศักยภาพ สร้างกระบวนการเรียนรู้ เวทีวิชาการ เวทีประชาคม ศึกษาดูงาน และ ลปรร.

ในการ ลปรร. นั้น น้องจริยาเล่าว่า มีการ ลปรร. ในประเด็น การจัดการสิ่งปฏิกูลในชุมชน ผู้เล่าเป็นแกนนำชุมชน และมีประสบการณ์ด้านสาธารณสุข เคยเป็น อสม. / ครู และผู้เล่าแต่ละคนก็มองเห็นประโยชน์ร่วมกัน ต้องการที่จะให้ชุมชนของตนมีระบบ การจัดการสิ่งปฏิกูล ทำให้มีการ ลปรร. กันอย่างดีมาก มาก

เรื่องของโรงเรียนฟันดี เป็นเรื่องการพัฒนาเครือข่ายเด็กไทยฟันดี ตอบยุทธศาสตร์ลดปัจจัยเสี่ยงเด็กวัยเรียนวัยรุ่น โดยงานนี้เป็นงานทันตฯ แต่มีการไปจัดการความรู้ให้

คุณนริศรา KM Team ของศูนย์อนามัยที่ 1 เขามีการสำรวจเมื่อต้นปี ว่า มีการจัดการความรู้ในเรื่องใดบ้าง และใครต้องการความช่วยเหลือ เขาต้องการให้ทีม KM เข้าไปช่วยเหลือ อะไรบ้าง

ทันตฯ เขาเริ่มมาก่อน จากโครงการพัฒนาเครือข่ายเด็กไทยฟันดี ไปลงใน 3 จว. คือ อยุธยา 3 เครือข่าย ประกอบด้วยเครือข่ายละ 8 รร. เป็น 24 รร. อ่างทอง 2 เครือข่าย 16 รร. และปทุมธานี 1 เครือข่าย 8 รร. โดยดูจากความสมัครใจ เขาก็จะมีกิจกรรมของเขา ให้แต่ละ รร. คิดเอง ... พอถึงขั้นตอนที่ว่า เขาทำไปได้สักพัก เขาขอความช่วยเหลือจากทีม KM ว่า ตอนนี้ กลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม คือ ครู นักเรียน และทีมงานทันตฯ เริ่มมีความรู้ เริ่มประสบความสำเร็จ ต้องการให้จัดเวที ลปรร. เราก็เริ่มไปจัดเมื่อ กค.51

พอเขาขอความช่วยเหลือ เราก็เตรียมทีม แต่บางคนก็กลัว เพราะว่าไม่เคยรู้เรื่องงานทันตฯ เราได้พยาบาล เภสัช เทคนิคการแพทย์ เราก็บอกว่า ไม่ต้องกลัว เราถือว่าเราเป็น Mobile Fa ที่จะไปช่วยงานของคนในศูนย์ฯ ... เราเตรียมคน และ BAR ก่อนว่า ใครจะรับบทบาท Fa และ Note คนดำเนินรายการ พอไปถึงผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีเท่าไร จะแบ่งคนอย่างไร และใช้ช่วงไหน เป็นช่วงของการจัดการความรู้ แบ่งกันตามความรับผิดชอบ และทำเลย

กลับมาในรถ เราก็ทำ AAR กัน ... แต่ละคนบอกว่า ตอนมาไม่รู้เรื่องนี้ดี กลัวว่าจะไม่ได้ตามเป้า แต่พอทำเสร็จมันผิดคาด เพราะว่าเกินเป้า เหมือนได้รู้เรื่องงานทันตฯ บางคนบอกว่า จะได้เอาไปใช้กับที่บ้านได้ บางคนก็บอกว่า เหมือนได้มาฝึกปฏิบัติ เริ่มมีความมั่นใจที่จะทำบทบาท Fa หรือ Note เริ่มที่จะมองหาเวทีต่อ ณ วันนั้น

วันนั้นมีทั้งทีมงาน เด็กนักเรียน ครู ทันตฯ เพราะว่าวันนั้น เราให้ครู กับ นร. เล่ามากกว่า เพราะว่าคนเยอะ มาอีกครั้งเมื่อ สค.51 เอาเฉพาะทีมทันตฯ มา ลปรร. ว่า เขามีวิธีการจัดการอย่างไร ในแต่ละ รพช. ถึงได้ทำงานได้สำเร็จ เรากีมีตัวอย่าง Success story และ group ปัจจัยสำเร็จขึ้นมา ว่า การที่จะทำให้เครือข่ายเด็กไทยฟันดีสำเร็จได้ เราจะมี 8 ปัจจัยที่ว่า จะต้องมีสนับสนุนในสิ่งเหล่านี้ จาก ศูนย์ฯ เขต สสจ. จังหวัด โรงเรียน มีในส่วนของ รพ. ก็ต้องมีเรื่องของผู้บริหาร สมรรถนะ อบต. หรือเทคนิควิธีการ เป็นสิ่งที่ได้จากเรื่องเล่า

หลังจากนั้น งานทันตฯ ก็ได้ว่า เขาได้การบูรณาการงานทันตฯ ในกลุ่มสาระวิชานั้นๆ ของหน่วยการเรียนรู้ช่วงชั้นต่างๆ และเกิดโรงเรียนอ่อนหวาน ที่ควบคุมการบริโภคของอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นอันตราย และเกิดการพัฒนากิจกรรมและการแปรงฟันหลังอาหาร และทำให้ รร. เกิดความตระหนักในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ และเขาก็จะขยายไปยัง รร. อื่นๆ

เครือข่ายวิเศษชัยชาญ กับเครือข่าย รพ.คลองหลวง ก็มีเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง ตั้งแต่ ปัจจัยความสำเร็จของการเป็นเครือข่าย "การใช้ Walk Rally ในการทำกิจกรรม" "การใช้ความเข้มแข็งของนักเรียนเป็นตัวขับเคลื่อน" "ครั้งแรกโกรธมากไม่อยากทำ สุดท้ายไฟลุกโชนมีกำลังใจทำงาน" และตระหนักว่า "การทำงานจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน" ... นานาสาระให้เลือก shopping กันจริงๆ จ้ะ

รวมเรื่อง ตลาดนัดการจัดการความรู้ สู่คนไทยสุขภาพดี 2551

 

หมายเลขบันทึก: 207329เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท