Coaching RM ครั้งที่ 3 ที่ สวรส. (5) convening skill ในเรื่อง ผู้จัดการชุดโครงการผู้สูงอายุ


เนื้อในคือ ตัวสาระ และเนื้อในที่สุด คือ ตัววิญญาณ value ตัวคุณค่าของการประชุมนั้น และมองว่า การประชุมนั้นเนี่ยะ มันไม่ใช่ The End การประชุมนั้นไม่ใช่ตัวเป้าหมาย ตัวเป้าหมายมันยิ่งใหญ่กว่าการประชุม ซึ่งการประชุมเป็น Mean เป็นตัวเครื่องมือ เป็นตัวขับเคลื่อนไปสู่ตัวเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่

 

อีกเรื่องหนึ่งของเรื่องเล่าจาก พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ ค่ะ เป็นเรื่อง convening skill ของ อ.ลัดดา ที่มีประสบการณ์ จากการทำหน้าที่ผู้จัดการ ชุดโครงการผู้สูงอายุ ของ มสช. ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนผู้ประสานงานวิชาการ ทุก 3 เดือน จึงต้องทำเองหมด ... และการทำเอง ทำให้รู้ว่า ถ้าเราอยากให้ใคร เราหมายตาว่าใคร เป็น Key person เป็น Key Informance ที่จะทำให้การประชุมของเราไปสู่เป้าหมายได้ ต้องเอาตัวมาให้ได้ คือ ต้อง map ก่อนว่า ในคนที่เชิญ 30 คน ต้อง map ก่อนว่า ใครเป็น Key actor ที่จะทำให้ Key informance นี้เคลื่อนไปข้างหน้าได้ เพราะว่าส่วนใหญ่ที่จัดประชุม จะเป็นการจัดประชุม stakeholder forum คือ เป็นเวทีของผู้มีส่วนได้เสีย เพราะฉะนั้น ถ้าเราคิดว่า เราจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ เราก็ต้องรู้ว่าใครอยู่ในเวทีนั้น เป็นตัวจุดพลิกคานงัด ที่จะทำให้เรื่องนั้นเดินหน้าไปได้ ก็ต้องเอาตัวมาให้ได้

และเมื่อมาถึงแล้ว เราก็เห็นว่า ถ้าคนๆ นั้นมา การทำให้เวทีที่เราออกแบบสามารถเคลื่อนตัวไปสู่เป้าหมายได้ ถึงแม้จะมีความเห็นที่หลากหลายก็ตาม ก็จะไป input ให้เข้าสู่ Key actor ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนเรื่องตรงนั้นได้ จาก Process เหล่านี้ เช่น ตอนที่เราทำการขับเคลื่อนเรื่อง ศูนย์เอนกประสงค์ จากที่เราเห็นว่า แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ 20 ปี เขียนเอาไว้อย่างครบถ้วน บูรณาการหมด ขาดแต่การกระทำที่จะนำไปสู่ action

เราให้นักวิชาการ จัดเวทีหลายครั้ง ได้เรื่องว่า เรื่องศูนย์เอนกประสงค์ที่เขียนเอาในแผนผู้สูงอายุแห่งชาตินี้ มันจะขับเคลื่อนได้ ต้องด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ไม่ใช่ Top - down เพราะที่ผ่านมา เราสรุปบทเรียนจากเวทีเหล่านี้ว่า รัฐจัดให้หลายรอบแล้ว ล้มเหลวหมด เพราะว่า 200 แห่ง หายสาบสูญ กลายเป็นอสงขัย เพราะว่า มันเป็นลักษณะ Top - down รัฐจะไปจัดให้ เอาเครื่องมือไปให้ ก็เก็บใส่กุญแจ ขึ้นสนิม ใช้ไม่ได้ จากเวทีเหล่านี้ทำให้ได้ข้อคิดว่า การที่จะขับเคลื่อนศูนย์เอนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุนี้ จะต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ต้องมาจากความต้องการของประชาชน เขาก็จะจัดตั้งขึ้นเอง แล้วมันก็จะอยู่อย่างยั่งยืน

จากงานวิชาการอันนี้ ทำให้เราคิดว่า ถ้าเราต้องการทำให้เรื่องนี้ establish ขึ้นมาใน เมืองไทยได้ และยั่งยืน เราจะต้องทำให้เป็นนโยบายสาธารณะ

เราก็เลยคิดว่า เราจะต้องจัดเวทีนโยบายสาธารณะ เวทีนี้หมายถึง สิ่งที่เรายกประเด็นนั้นขึ้นมา ประเด็นนั้นเป็นประเด็นที่จะมีผลกับทุกผู้คน ประชาชนทุกคนที่อยู่ในชุมชนนั้น เพราะฉะนั้นเขาจะต้องมีส่วนร่วม มีส่วนออกความคิดเห็น ทั้งคนเล็กคนน้อยในสังคม จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ในนโยบายนั้น ซึ่งที่ผ่านมาในภาครัฐไม่ค่อยมี เป็นลักษณะ Top down เสียส่วนใหญ่ เราก็เลยออกแบบเวทีนโยบายสาธารณะ ว่าด้วยเรื่องศูนย์เอนกประสงค์ขึ้นมา ก็จัดการวางแผนในกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มนักวิชาการ

จากการที่เราได้จัด convene skill กลุ่มเล็กๆ มาตั้งแต่ต้น ทำให้เราได้ภาคีที่แนบแน่นมาอยู่จำนวนหนึ่ง ที่เป็นเพื่อนเราอยู่เสมอ เป็นนักวิชาการ คนทำงานในกระทรวง ทบวง กรม กระทรวงพัฒนาสังคม ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับเราตลอด มาร่วมหัวจมท้ายกับเราตลอด กลุ่มนี้เดี๋ยวนี้ เราก็ยังทำงานด้วยกัน

จากการออกแบบเวที ก็คิดว่า เราจะต้องจัดเวที สร้างการมีส่วนร่วมอยู่ 3 ระดับ ระดับแรกคือ ระดับผู้กำหนดนโยบาย ระดับที่สอง คือ ระดับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และระดับสุดท้าย คือ ภาคประชาชน

และมาคิดว่า ทั้งหมดแล้ว ถ้าเราทำให้นโยบายสาธารณะอันนี้ ว่าด้วยศูนย์ผู้สูงอายุเอนกประสงค์เคลื่อนไปได้ในระดับพื้นที่ มันต้องอาศัยลักษณะที่เป็น Policy เพราะว่า จากเวทีเล็กๆ ท้องถิ่นเขาจะบอกเลยว่า เขาจะทำก็ได้ แต่ต้องมีนโยบายด้วย ถ้านโยบายจากส่วนบนลงมา เป็นนโยบายกว้างๆ เราจึงคิดว่า เราต้องมา establish นโยบายขึ้นมาในเวทีสาธารณะนี้ด้วย

เลยคิดกันว่า ต้องให้ผู้กำหนดนโยบายสูงสุดของประเทศมาเป็นประธานคณะกรรมการ OK งั้นเอาคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมาเป็นประธานเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษด้วย ซึ่งขณะนั้น รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก็ไปจองวันมา 2 เดือนล่วงหน้า ไปจองวันกับเลขาฯ รองนายกฯ

พอใกล้ๆ วันงาน

  • ... สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องเตรียม document ให้พร้อม
  • เรามี proporsal มีโครงการทั้งหมด มีรายละเอียด มีรายชื่อ participant ทั้งหมด ว่าเป็นใครบ้าง กลุ่มไหน แต่ละกลุ่มมีใครมาจากไหนบ้าง ภาคประชาชนมาจากจังหวัดไหน หน่วยไหนบ้าง ขาดแต่ชื่อเท่านั้นเอง ว่าเป็นชื่อใคร
  • รายละเอียดเหล่านี้เราส่งให้รองนายกฯ ก่อนประมาณเกือบเดือน ก็ต้องเตรียมแผนสำรองถ้าท่านไม่มาไว้ ก็ต้องขอเชิญ อ.บรรลุ ผู้อาวุโสสุด ซึ่งตอนนั้นท่านเป็นประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ซึ่งคิดว่า อย่างน้อยก็เป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดให้คนอื่นๆ อยากจะเข้ามาร่วมประชุมกับเราด้วย โดยเฉพาะภาคประชาชน
  • แต่เลขาฯ ท่านรองนายกฯ ก็โทรมาถาม ขอรายชื่อทั้งหมดว่า ผู้เข้าร่วมประชุมมีเท่าไร ตอนก่อนจัดงาน 2 อาทิตย์ เป็นใคร จะมีทั้งภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นายก อบต. นายก อบจ. อบต. อบจ. บางแห่ง และสันนิบาตเทศบาล
  • บุคคลเหล่านี้ ไม่ได้แค่ส่งหนังสือเชิญ แต่ต้องโทรไปคุยว่า เราอยากเห็นอะไรที่เกิดขึ้น เราอยากเห็นท่านมีส่วนร่วมในการที่จะสร้างนโยบายสาธารณะนี้ขึ้นมา จากความเห็นของท่าน และเราเห็นผลงานของท่านว่า ท่านมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ว่าสามารถที่จะ contribute ให้งานของเขาสำเร็จได้ โทรคุญเอง เพราะผู้ประสานงานเปลี่ยน จนไม่สามารถที่จะให้เขาทำงานต่อได้
  • ก็ประสบความสำเร็จในการที่จะให้เขามา เราส่งรายชื่อไปให้รองนายก รองนายกก็บอกว่าจะมา
  • เขียน draft ปาฐกถาให้เสร็จ แต่ว่าท่านไปเขียนใหม่ และส่งมาให้เรา
  • อันนี้คือ ในระดับนโยบาย เราก็ convince ให้ผู้บริหารในระดับสูงสุดของ Board มา

ในระดับผู้ปฏิบัติงาน

  • เราก็แบ่งเป็นกลุ่ม ในเวทีนี้นโยบายสาธารณะนี้ มี 200 คน ตามเป้าหมาย ระดับ Policy ประมาณ 40-50 คน
  • ประกอบด้วยทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายเหล่านี้ ผู้ปฏิบัติก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ อาจเป็นตัวแทนของประชาคม เช่น นายก อบต. ตัวแทน อบจ. สันนิบาตเทศบาล
  • เราจับไปอยู่ในกลุ่มภาคปฏิบัติ และกลุ่มภาคประชาสังคม แบ่งกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มละ 10-15 คน เพื่อที่ให้เขา sharing ให้ความเห็นอย่างเต็มที่
  • เรากำหนดประเด็นให้เขาคุยเลยว่า เราอยากทราบความเห็นของเขา เราไม่ต้องใส่เยอะ อย่างมากก็ 2 หรือ 3 ประเด็นในแต่ละกลุ่ม
  • ให้เขาคัดออกมาให้ได้ว่า ประเด็นเหล่านี้แขาเห็นอะไร เขาอยากให้เป็นอะไรในแต่ละกลุ่ม และสรุปให้ฟังในที่ประชุม

หลังจากการประชุมครั้งนั้นเสร็จ เราก็ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น คือ ทุกภาคส่วนมีความเห็นที่หลากหลาย แต่เห็นพ้องต้องกันในลักษณะที่เป็น Commitment เป็น consensus ร่วมกัน ต้องทำให้เกิดนโยบายสาธารณะอย่างนี้ เกิดขึ้นให้ได้ โดยการที่คนที่ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนเข้ามา เขาเกิดความรู้สึกอยากจะมีสิ่งเหล่านี้ในพื้นที่ ในชุมชนของเขา ว่า อันนี้เป็นสิ่งที่ดี ทำให้เกิด Quality of life ของผู้สูงอายุ

และหลังการประชุม เราก็คิดว่า จะทำการสรุปการประชุม ทำ proceeding ส่งไปที่หน่วยงานต่างๆ และที่ประชุม เราคิดว่าตรงนั้นน่าจะจบ และก็ไปตามเรื่องเอง ที่กระทรวงพัฒนาสังคม

ปรากฎว่า ผลตอบรับได้มากกว่านั้น เลขาฯ รองนายกฯ โทรมาขอสรุปรายงานการประชุมทั้งหมด เพื่อเข้าประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ในสัปดาห์ถัดไป เราก็นั่งปั่น เพราะว่า PC ลาออก ทำจนเสร็จ และส่งไปที่กรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติมีมติให้ทำโครงการนำร่องไปเลย ให้มีศูนย์เอนกประสงค์ 8 แห่ง โดยให้กระทรวง พม. เป็นเจ้าภาพ และจัดสรรงบประมาณ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการ

อันนี้ถือว่า เป็นความสำเร็จชิ้นแรกของการทำงานในชีวิตของผู้จัดการ ที่ทำงานผู้สูงอายุ ที่ทำให้มันเคลื่อนจากแผนฯ มาสู่ action ได้ โดยตอนนั้นไม่รู้ว่าฟลุ๊กหรือเปล่า เราก็คิดว่า ทิศทางการทำงานนี้ จะเป็นทิศทางที่น่าจะถูก และยึดเป็นแนวทางในการทำงานต่อ

อ.วิจารณ์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า

อันหนึ่งคือ การที่จะได้รองนายกมีหลายปัจจัย ต้องเข้าใจว่า รองนายกเป็นนักการเมือง ต้องมีความคิดแบบฐานการเมือง พอบอกว่า มีนายก อบต. มาเยอะแยะ มีชื่อคนนั้นคนนี้ เขาพลาดไม่ได้แน่ๆ และผมคิดว่า หลักในชีวิตอันหนึ่ง คือ ทุกคนต้องก็ต้องการผลงาน อันนี้ไม่เว้นใคร และถ้าเราจัดประชุม และทำให้คนที่มาร่วมงานทุกคน ต่างก็ได้ผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งบางคนก็ไม่อยากได้ผลงานไปอวดใครหรอก แต่ว่า อยากเรียนรู้ ก็ได้ มันเป็น win-win

แต่จะเห็นจากทั้งสองคนเล่าที่เล่ามาแล้ว การจัดการประชุมนั้นเป็นศาสตร์ และศิลป์ เป็นเรื่องของรายละเอียดปลีกย่อย คนจะไม่ค่อยเข้าใจว่า การประชุมย่อมต้องการกติกาเยอะ คิดว่า การประชุมก็มีการออกหนังสือเชิญออกมา เตรียมของว่าง อะไรทำนองนี้ ... มันกลายเป็นไปเอาใจใส่ที่จริต แต่เนื้อในคือ ตัวสาระ และเนื้อในที่สุด คือ ตัววิญญาณ value ตัวคุณค่าของการประชุมนั้น และมองว่า การประชุมนั้นเนี่ยะ มันไม่ใช่ The End การประชุมนั้นไม่ใช่ตัวเป้าหมาย ตัวเป้าหมายมันยิ่งใหญ่กว่าการประชุม ซึ่งการประชุมเป็น Mean เป็นตัวเครื่องมือ เป็นตัวขับเคลื่อนไปสู่ตัวเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่

เรื่องนี้ ถ้าเรามีระบบดูแลผู้สูงอายุที่ดี สังคมเราดี ตัว value อยู่ที่สังคม และ value ถัดมาก็จะเป็นการที่ว่า เรามีระบบที่จะดูแล เกิดมีกฎหมาย หรืออะไรก็ว่ากันไป แต่รองนายกฯ ต้องการว่า ลงท้ายเขาก็มีผลงานในเรื่องของสวัสดิการผู้สูงอายุ บอกได้ว่า เขาเอาใจใส่ผู้สูงอายุ แต่ว่าในที่สุด คือ การประชุม ก็ต้องการการจัดการที่ลงรายละเอียด ลงลึกลงไปในตัว ให้มันทำหน้าที่เป็นพลังขับเคลื่อน เป็น part of the whole ในการขับเคลื่อนต่อไปข้างหน้า

ที่ผมพยายามชี้ให้เห็น เป็นผลจากที่ผมอยู่ สกว. และตอนหลัง คน สกว. ก็จะพูดกันว่า การประชุมจริงๆ นั้น เรากินกำไรหลายต่อ เพราะว่า เราประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ ด้วยโจทย์วิจัยเท่านั้นเท่านี้ แต่ที่จริงเราได้นักวิจัยมา 30 คน เรารู้เลยว่า คนนี้เข้าท่าเรื่องนี้ คนนี้เข้าเรื่องนี้ คนนี้ทำงานเก่ง ทำนองนี้ เราก็ได้ และโดย attitude ของเรา ที่ผมได้พูดถึงเรื่อง แต่งงานตลอดชีวิตน่ะ เป็นระยะสั้น ระยะยาว กับทุกเรื่อง และมันจะทำให้ความสัมพันธ์ดี และต่อไปเราจะชวนให้ใครมาทำงานกับเราก็ได้

รวมเรื่อง Coaching RM ครั้งที่ 3 ที่ สวรส.

 

หมายเลขบันทึก: 212315เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

โครงการผู้สูงอายุ ครับ ไม่ใช่สื่อมนุษย์

วิจารณ์

  • หลังจากตั้งอกตั้งใจอ่าน
  • แล้วรู้เลยว่า การจัดการประชุมนั้นเป็นศาสตร์ และศิลป์
  • เนื้อในคือ ตัวสาระ และเนื้อในที่สุด คือ ตัววิญญาณ value ตัวคุณค่าของการประชุมนั้น และมองว่า การประชุมนั้นเนี่ยะ มันไม่ใช่ The End การประชุมนั้นไม่ใช่ตัวเป้าหมาย ตัวเป้าหมายมันยิ่งใหญ่กว่าการประชุม ซึ่งการประชุมเป็น Mean เป็นตัวเครื่องมือ เป็นตัวขับเคลื่อนไปสู่ตัวเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่
  • การประชุมจริงๆ นั้น เรากินกำไรหลายต่อ
  • แบบนี้ เรียก  win  win  win  win  win........n....n

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ก็คิดว่ามันแปลกๆ อยู่ค่ะ

- เจ๊เขี้ยวเรา เขาเรียกว่า "แฟนพันธุ์แท้จริงๆ" น่าจะอยู่ใกล้ๆ กทม. นะเนี่ยะ จะได้จับเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิดซะเลย

(- วันนี้แย่จัง เมนูจัดข้อความเรียกเท่าไรก็ไม่ขึ้นจ้ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท