Coaching RM ครั้งที่ 3 ที่ สวรส. (7) convening skill เรื่อง การประชุมเพื่อสร้างความต่อยอด


 

เรื่องนี้ ท่าน ผอ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ได้มาเล่าทักษะของท่านให้เราฟัง ก็คือ

ผมใช้การประชุมสร้างความต่อยอด เพราะว่า ในฐานะของคนที่ทำงานเป็นฝ่ายคิดเมื่อก่อน ผมทำงานกับคุณหมอสงวน จะคล้ายๆ กับ TC (Technical coordinator + support) เพราะฉะนั้น โดยทั่วไป เราก็จะได้เห็นถึง ทักษะในการ convene โครงการประชุมต่างๆ ที่ทำงานกับผู้ใหญ่ ผมถือว่า กระบวนการเหล่านี้เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ ได้เป็น Fellow กับคนที่มีบุคลิกการทำงาน กับคนที่น่าเรียนรู้ เห็นลักษณะหลากหลายสไตล์ และต้องเตรียมทางด้านเทคนิค และ support หลายครั้งเหมือนกัน ก็ได้เรียนรู้ว่า ในเวทีอย่างนี้ต้อง approach อย่างนี้

เช่น ถ้าเป็นเวทีที่จะ Convince funding agency ก็คือ มีของดีดีไปขาย ว่าประเทศเรามีดีอะไรบ้าง เพื่อแสดงให้เห็นว่า ประเทศเรามีจุดแข็งอะไรบ้าง ที่เขาน่าจะมาร่วมงาน หรือเวลาผมตามหมอสงวนไป เพื่อไป convince ฝ่ายสหภาพยุโรป เพื่อจะไปขอเงินมาทำวิจัย 5 ปี ประมาณ 5 ล้านยูโร แกก็จะมีสไตล์การไป convince คน ... ในเวที convince คนนี้เป็นยังไงกันบ้าง เราจะพูดอย่างไร ถึงจะทำให้คนมีใจ และอยากมาทำงานร่วมกับเรา

ในส่วนของเราเอง ที่ทำหน้าที่เหมือนกับการเตรียมทางด้านวิชาการ ก็ต้องคอยปรับว่า ในแต่ละเวที  ผู้คนเป็นอย่างไรกันบ้าง ที่จะเข้ามาร่วมประชุม เช่น สมัยที่ทำเรื่องนโยบาย 30 บาท ตอนที่จัดประชุมกับนายก ตอนเริ่มต้นทำ paper แรกที่เสนอนายก ผมกับทีมหมอวิโรจน์ไปช่วยกันปั่น ทำการบ้านกัน ยกทีมไปประชุม และได้ draft paper มา ทำจนมีตัวเลขสุดท้ายออกมา และก็มานั่งคุยกันว่า จะนำเสนออะไรอย่างไร

ตอนนั้นเราก็รู้ว่า เรากำลังจะ convince ระดับนายกรัฐมนตรี เรามีหน้าที่เตรียม ... และประเด็นหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้ จากคุณหมอสงวนก็คือ ถ้าเป็นระดับที่อาจารย์เรียกว่า เป็นนักการเมือง 1) เราต้องเสนอในสิ่งที่คิดว่า เขาจะได้ประโยชน์ ไม่ใช่เราจะได้ประโยชน์ ต้องมานั่งดูว่า เขาจะได้ประโยชน์ในแง่ของอะไรบ้าง อันที่ 2) คุณหมอสงวนจะบอกว่า ห้ามพูดยาว สไลด์ถ้าเกิน 5 สไลด์ สอบตก เพราะฉะนั้น เวลาเตรียมสไลด์ powerpoint เยอะแยะไปหมด บอกได้เลยว่า อย่างนี้ใช้ไม่ได้ แก็จะมานั่งกรอง นั่งตัด จนกระทั่งเหลือ 5 สไดล์ และดูภาษาด้วยว่า เป็นภาษาของเรา หรือภาษาของเขา คือคนฟัง

เพราะฉะนั้น การ deal ในระดับ policy ตรงนี้จะได้เรียนรู้มาค่อนข้างมาก และที่สำคัญ คือเรียนรู้จากสิ่งที่เราเรียกว่า การจับประเด็นร่วมที่จะดึงเอาความร่วมมือออกมา และพยายามที่จะลดประเด็นความต่างของเรา ในเวทีการประชุม เพื่อประสานความร่วมมือ ไม่ใช่เพื่อชวนกันทะเลาะ ... เห็นในสิ่งที่เราเรียกว่า เป็นประเด็น compromise Issue ที่มาจากความขัดแย้งกันของผู้เข้าร่วมประชุม แล้วคนที่เป็นประธานการประชุม ก็จะเห็นว่า เขาจะเสนอประเด็นอะไรขึ้นมาใหม่ ทุกฝ่าย win win แล้วมันก็จะจบได้

ล่าสุดผมเจอปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่าย เรื่องการร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการใช้บริการทางด้านสุขภาพ ฝ่ายผู้บริโภคจะไม่เห็นด้วย ในเรื่องของการมีกลไกการไกล่เกลี่ย สองฝ่ายตั้งป้อมชนกัน ... ผมรับมอบภารกิจมาคือ ทำได้ common solution ตรงนี้ เราก็เห็นว่า มีปัญหาในเรื่องความคิดต่างกัน คือ มีอคติด้วย หน้าที่ของเราคือ หนึ่ง ต้อง take neutral position ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อันที่สอง ต้องนำไปสู่ข้อสรุปที่ทุกฝ่าย กลับไปแล้ว สบายใจ ... วันนั้นเราก็ได้ข้อสรุปอันหนึ่ง คือ 1) คงไว้อยู่ 2) คือ mechanism ที่จะทำให้สบายใจว่า กระบวนการชดเชยต่างๆ จะไม่ถูกกระทบโดยกระบวนการไกล่เกลี่ยอันนี้ เพราะว่านี่คือ main argument ของฝ่ายผู้ผลิต ก็คือ กระบวนการไกล่เกลี่ย

ในกระบวนการประชุมตรงนี้ คือ การเป็นผู้ support การเรียนรู้บทบาทของคนที่จะ share และบทบาทของการที่จะประชุม และในที่สุด นำมาสู่การที่เราต้องมาทำหน้าที่ share และ moderate การประชุมเอง ตรงนี้ทำให้ ประสบการณ์ และบทเรียนจากการดูคนอื่น นำไปสู่การสร้างความสามารถในการที่จะดำเนินการประชุมเองได้

ความยากอีกอันหนึ่งของการประชุม ก็คือ การที่มีคนประชุมหลากหลาย คือ เมื่อมีคนบางคนที่ชอบพูดเรื่องของตัวเองยาวๆ แล้วเราต้อง break เพราะเริ่มรู้สึกว่า คนส่วนใหญ่จะเริ่มเบื่อหน่าย กับการที่คนนั้นพูดแต่เรื่องของตัวเองมาก การสรุป หรือยุติการพูดคุยตรงนั้น โดยไม่ให้เสียน้ำใจกันได้อย่างไร ... บางครั้งบางคราว ก็จะใช้วิธีสร้างกติกาขึ้นมาก่อน ถ้าเรารู้ว่า เงื่อนไขตรงนั้นคืออะไร เช่น ขอเวลาสัก 5 นาทีนะ ถ้าใกล้ถึง 5 นาที เราเคาะนะ คือ การสร้างเครื่องมือ กติกาแล้ว ซึ่งเมื่อเรา intervene แล้ว ทุกคนก็จะได้ไม่มาว่าเราได้ว่า ทำไมเราต้อง intervene แล้วเราก็จะรู้ว่า Flexible ไปนิดๆ หน่อยๆ พอไป intervene เขาก็จะสรุป และเขาก็จะรีบ แต่พอบางคนก็จะมีอารยะขัดขืนอยู่ก็มี คนพวกนี้ก็จะเป็นคนที่พวกเราต้อง deal

รวมเรื่อง Coaching RM ครั้งที่ 3 ที่ สวรส.

  

หมายเลขบันทึก: 212342เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • โอโห คุณหมอนนฯละเอียด
  • มากเลยครับ
  • สงสัยต้องใช้วิธีการแบบคุณหมอบ้าง
  • อิอิๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท