ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย (29) ประสบการณ์ใช้ KM รพ.ประทาย ตอนที่ 14 แลกเปลี่ยนเรียนรู้


 

หมอลิ้มขอถามต่อ ... เราหลายๆ คน ไม่ได้อยู่ใน status ผู้บริหาร การที่จะไป activate หรือ catalyst ได้อย่างท่าน ผอ. ต้องข้ามกระไดหลายขั้นพอสมควร และจะ deploy มันลงมา ... อาจารย์ช่วยแนะนำเทคนิค ที่จะไปขับเคลื่อนบรรยากาศอย่างนี้เกิดขึ้น

ขอเล่าของที่อื่นที่ได้ไปเก็บข้อมูลมา จากการแลกเปลี่ยนในวง เขาเป็นผู้ปฏิบัติที่ไปขับเคลื่อนใน รพ.ของเขา เขาก็เล่าให้ฟังว่า ตอนแรกไป เขาก็ไปคุยกันก่อนว่า วิเคราะห์ว่า รพ. ของเขาเป็นแบบไหน บริบท สังคม สไตล์ เป็นอย่างไร ผอ. กบ. (กรรมการบริหาร) เป็นอย่างไร และเขาจะเข้าช่องทางไหนก่อน ที่หนึ่ง เขาใช้วิธีจัดวง ที่เป็นทางการก่อน เพราะว่าเห็นภาพ ระบบ ระเบียบชัด และเชิญ ผอ. เป็นประธานเปิด และให้ ผอ. ได้เล่า Fa ก็ทำกระบวนการก่อน ถามไปเรื่อยๆ พอ ผอ. เสร็จ ก็เลยบอกว่า ดีนะ ไม่เคยได้เล่าอย่างนี้เลยตั้งแต่เป็น ผอ. มา พี่ๆ ลองเล่าให้ผมฟังซิ ก็เริ่มไปถามคนข้างๆ เริ่มทำตัวเป็น Fa เอง ก็เริ่ม work

อีกที่หนึ่ง ผอ.ท่านไม่มีเวลา แต่ภรรยา ผอ. มีเวลา และมีความสามารถ รพ. นี้ก็เลยเชิญเมีย ผอ. มาเข้าวง และที่ผมได้ยินมามีหลายช่องทาง ที่เขาไปงอกเงย

แต่ตรงนี้ ผมคิดว่าใครจะเปลี่ยนวิธีคิดของ keyman ได้ก่อนกัน ของผม ทำไมดูเหมือนมันง่าย เหมือนกับตัวเองทำดี แต่เพราะว่า ผมถูก อ.หมอโกมาตร เปลี่ยนวิธีคิด และทีมนำของผม ตอนที่ไปเข้าวง SHA – Sustainable spirituality standard safety social economy health promoting hospital humanized health care appreciation accreditation

ตอนเข้าวง SHA ผมเอาทีมนำไป ตอนนั้น เป็นช่วง fade ของ KPI รายบุคคล กำลังเริ่มเครียด บรรยากาศตอนนั้น อ.หมอโกมาตรบอกว่า เราจะประเมินจากตัวชี้วัดรายบุคคลหรือ อัตราโน้น ร้อยละนี้ โดยที่ไม่รู้เลยหรือว่า เขาทำอะไร คุณค่าเขาอยู่ตรงไหน ความภาคภูมิใจอยู่ตรงไหน พอวิธีคิดตรงนี้เปลี่ยน อย่างแผนปี 53 ของผม ทำไมต้องมี Fa 30 คน เพราะว่าผมจะมา integrate กับกระบวนการประเมินรายบุคคล จะ integrate กับ internal survey ทำเป็นงานเดียว และทุกคนจะมองเลยว่า นี่ไม่ใช่เสียเวลา เพราะว่านี่คือชะตาชีวิต ที่เขาได้มาเล่าให้ฟัง คุณค่าที่เขาทำงานมา 6 เดือน ผลงานเขาเป็นอย่างไร portfolio เป็นอย่างนี้ เขาทำอะไรที่เขาภาคภูมิใจบ้าง

ถ้าเราเปลี่ยนวิธีคิดตรงนี้ได้ ของคนที่เป็น keyman ผมเชื่อว่า จะ run ได้ แต่กลไกที่จะเปลี่ยนวิธีคิดได้ ผมว่า ก็ต้องแล้วแต่บริบท

ศูนย์ฯ 7 ร่วม ลปรร. เรื่องของการทำ one page โดย น้องเก๋

... ที่ศูนย์ฯ 7 ท่าน ผอ.ดนัย ท่านเสนอการจัดการความรู้ให้เป็นธรรมชาติของเรา คือ การเขียน เหมือนทุกครั้งที่เราไปไหนมาก็จะสรุปงาน แต่ว่าเราจะสรุปให้สนุกสนาน และไม่เครียดจนเกินไป ก็คือ one page แค่หน้าเดียว แต่หน้าเดียวก็จะต้องให้ครบทุกรสชาติ มีขึ้นต้น่ เนื้อเรื่อง บทสรุป ที่ทั้งตัวเองได้ประโยชน์ และผู้อื่นอ่านแล้วเห็นภาพชัดเจน และได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน

ทุกคน ทุกงาน ที่ไม่ว่าจะไปประชุม ประเมิน หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับงาน ก็จะสรุปออกมาให้ทุกคนได้รู้เท่าเทียมกันหมอ และมี service กลาง ที่ทุกคนจะต้องป้อนงาน one page นี้เข้าไป

เดี๋ยวนี้เราปรับรูปแบบใหม่ให้กระชับมากขึ้น โดยเราทำเป็น X mind ให้สรุปได้ชัดเจนขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง อ่านปุ๊บได้หัวข้อได้ชัดเจน และมีการแนบไฟล์ที่ละเอียดมากขึ้น ตอนนี้กำลังเริ่มต้นปี 53

ศูนย์อนามัยที่ 8 มีการสร้างทีมนำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ทั้ง KM manage change และ KM ที่เป็น body ของศูนย์ฯ 8

ศูนย์ฯ 8 มีคุณหมอก้องเกียรติเป็นประธาน KM ใน idea เราจะสร้างเครือข่ายที่จะไป กระจายเกี่ยวกับงาน KM ในทุกๆ ปี เราจะไปอบรม KMB ซึ่งเรียกว่า Knowledge management builder คือ จะมีแกนนำ KM ในทุกๆ หน่วยงานที่จะไปสร้างกระบวนการ KM ในหน่วยงาน ... ทุกหน่วยงานก็จะมีการทำ CoP และจะมีตลาดนัดวิชาการ เพื่อให้มีการนำมาเผยแพร่ในศูนย์ฯ ทั้งในเวปด้วย

ศูนย์ฯ 4 ... คุณหมอวรศักดิ์เล่าเรื่อง KM ในศูนย์

ผอ. ทำงานในเรื่องของเครือข่าย และ KM ไปทำในชุมชนเข้มแข็ง ท่านมองว่า ในทุกเรื่อง ในอนาคต เรื่องของการส่งเสริมสุขภาพทั้งหมด มันจะอยู่ได้ที่กรมอนามัยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องถ่ายทอดสู่ชุมชนเข้มแข็ง ผอ.ไปทำเครือข่ายภาคตะวันตก ไปพัฒนาเรื่ององค์กรเครือข่าย และท่านก็เอา KM เข้าไป จัดอบรมวิทยากร KM และจัดการ ลปรร. โดยเอา best practice ดีดีของแต่ละเทศบาล แต่ละ อบต. และชุมชน มาจัดเวที โดยใช้เงินของเทศบาลเอง มาแลกเปลี่ยนกันทั้งภาคตะวันตก ในเวทีจะมีนวัตกรรมมากมาย

Fa มีการพัฒนาใน CoP ย่อยๆ เราก็หา และไปทำ CoP เสร็จ ได้ Core competency มา ก็สรุป สรุปมา 40-50 เรื่อง ตอนนี้จะพัฒนาต่อไปในประเด็น หัวใจมันน่าจะอยู่ที่เรื่องเล่า แก่นความรู้ของ tricks ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีการทำเวที เล่าประสบการณ์ การเป็นคนดี เขาทำอะไร บางคนก็กตัญญู บางคนก็เลี้ยงลูกดี บางคนก็มัธยัสถ์อดออม บางคนก็ใช้เศรษฐกิจพอเพียง เข้ามาเล่า และเชิญสมาชิกกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ มาฟัง หลังจากนั้นก็เก็บเรื่องเล่า เข้าไปในแก่นความรู้ของแต่ละอัน

มีการทำสัจจะออมทรัพย์ คือ แก้จนของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ใครที่หลดหนี้ได้เร็ว ปลดหนี้อย่างไร เราก็จะเชิญเขามา คุยว่า ทำอย่างไร เขาจึงปลดหนี้

อีกหลายๆ เรื่องที่ทำ คือ การพัฒนาองค์กร อาจจะมีการนำไปวัด ชมรมจริยธรรมมีการสวดมนต์ทุกอาทิตย์ มีชมรมลีลาศ ออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ทำ CoP ลดน้ำหนัก ... ตอนนี้กำลังรวมกัน share เงิน เลี้ยงเจ้าหน้าที่ศูนย์ร่วมกัน สร้างโอกาสให้มีการคุยกัน และมีการเอาของเด็กไปเยี่ยมโรงเรียนยากไร้ ไปเลี้ยงเด็ก

และกิจกรรมอีกเยอะแยะมากมายละค่ะ

คุณศรีวรรณ (แดง) ... จากศูนย์พื้นที่สูงลำปาง เล่าว่า

ศูนย์พื้นที่สูงทำในเรื่องการวิจัย ตั้งต้นที่ปัญหาคืออะไร มีวิธีแก้อย่างไร โดยได้รับการอบรมจาก ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี เรื่อง วิทยากรกระบวนการ

และนำมาใช้ในกิจกรรมของ มูลนิธิ พอ.สว. ในชุมชนชาวเขาที่หนองมูเซอ ที่เชียงใหม่ ไปดำเนินการโดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วม ที่ตำบลผาช้างน้อย อ.ปง จ.พเยา และบ้านกระเหรี่ยง ต.แม่ต้า อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

รวมเรื่อง ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย

  

หมายเลขบันทึก: 327028เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2010 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท