ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย (31) ประสบการณ์การใช้ KM ของคุณหมอพนัส ค่ะ


 

วันนี้ดีใจมาก มาก ที่ได้มาฟัง ประสบการณ์ของ อาจารย์หมอพนัส ท่านผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ค่ะ ... ท่านคร่ำหวอดกับการนำ KM ไปใช้ในหน่วยงานระดับท้องถิ่น รวมทั้งการเป็นวิทยากรกระบวนการ นำร่องการทำงานในชุมชน และวิทยากรเสริมพลัง (Empowerment)

ท่านได้มาเล่าประสบการณ์ให้ฟังค่ะ ...

อาจารย์บอกว่า ในเรื่อง KM มี ตัว K กับ M ส่วนใหญ่เราเน้นที่ M จัดกระบวนการ มีการบริหารจัดการ การวางแผน sharing การจัดกิจกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นเรื่องของ management เท่านั้นเอง ... แต่ที่ขาด คือ ตัว K (Knowledge asset) ... ตัวนี้ เราทำไปตั้งเยอะ แต่สรุปได้แต่งาน กระบวนการ คือ มีภาวะผู้นำดีดี การสนับสนุนดี และเรื่องต่างๆ

เพราะว่า ตัว K ความรู้ หรือขุมทรัพย์ความรู้นี้ ต้องเจาะประเด็น ละเอียดมาก และต้องอาศัย tacit k จากคนที่เล่าที่มีประสบการณ์ และถอดออกมาเป็น explicit k ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การบันทึก การเขียนออกมา จะเรียกว่าการบันทึกภาพ หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วก็มาเก็บเรียบเรียง รวบรวม เป็นขุมทรัพย์ เก็บแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ ต้องเรียกใช้ได้โดยสะดวก และนำไปประยุกต์ใช้ต่อ

เช่น ถ้าทำเรื่อง การทำเมนูชูสุขภาพให้อร่อย ทุกคนเป็นแม่ครัวฝีมือดีหมดเลย ... ก็ต้องเขียนรายละเอียดว่า คนๆ นี้ เขามีการทำเมนูสุขภาพ จานนี้ ประกอบด้วยเครื่องปรุงอะไร วิธีปรุงอย่างไร ใส่อะไรก่อนหลัง ใช้ไฟอ่อนไฟแก่ ต้องเขียนออกมาทั้งหมด หรือ ประสบการณ์ของคนคนนี้ในการปรุงอาหาร เช่น ไข่เจียวให้อร่อย แต่ละคนปรุงอร่อยไม่เหมือนกัน และทำน้ำพริกให้อร่อยก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ฝีมือใครก็ฝีมือคนนั้น เขามีสูตร วิธีการทำอย่างไร ตรงนี้ละครับ คือ knowledge asset ที่เราไม่ได้บันทึกออกมา

และเวลาที่เล่าเรื่องในกลุ่มทั้ง 10 คน เราให้เวลาคนเล่าเรื่องน้อยเกินไป เพราะว่า ถ้าเล่านาน คนอื่นไม่ได้เล่า ก็ไม่จบสักที 3-5 นาทีที่เล่าแต่ละครั้ง ไม่เพียงพอ เมื่อไม่เพียงพอ ก็จำเป็นที่จะต้องให้ผู้เล่ากลับไปเขียน เรียบเรียงเพิ่มเติม อาจจะเป็น one page, two page ก็แล้วแต่ ... ตรงนี้ก็จะช่วยได้

จากประสบการณ์ของราชบุรี เราใช้วิธีเล่าเรื่องมาก่อน เสร็จแล้ว ก็พบว่า Note taker ของเราก็ไม่สามารถบันทึกได้ทั้งหมด ตอนแรกก็สับสน ตำราบอกว่า Note taker บันทึกประเด็นสำคัญ มันก็ขาดรายละเอียด ... ตอนหลังบอกว่า ไม่ได้หรอก Note taker ยังไงก็บันทึกไม่ได้ทั้งหมด จะได้ความละเอียดพอสมควร เป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อน แต่สุดท้ายก็ต้องมีกระดาษ หัวข้อ ให้คนเล่ากลับไปเขียนกลับมา ประกอบกับ Note taker จดด้วย เราก็มีโอกาสมาเรียบเรียง edit ทำเป็นบรรณาธิกร ได้เนื้อเรื่องที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์พอสมควร ตรงนี้ก็จะเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง

ผมกับทีมที่ไปทำในชุมชน ใน เทศบาล อบต. เราก็ทำหลายๆ แบบ ทั้งเรื่องเล่าเรื่องการจัดสัมมนาวิชาการ โดย powerpoint การนำเสนอต่างๆ ตรงนี้สามารถสรุปประเด็นออกมา โดยที่ให้เขาเขียนมาอีก 1 หน้ากระดาษ ... พอได้ออกมา เราเห็นว่ามีประโยชน์ ตัว knowledge asset ตอนนี้เล่าเรื่อง และ Note taker บันทึกทั้งหมด เราบอกว่า ตรงนี้คือ เกล็ดความรู้ เกล็ด คือ รายละเอียด หรือสาระที่เป็นรายละเอียด ส่วนตัวแก่นความรู้ เราเรียกว่า สาระสำคัญ หรือ แก่นความรู้ ตัวแก่นความรู้ส่วนมากเป็นเรื่องของการบริหารจัดการ หรือ competency

พอทำไปเยอะๆ ก็เห็นว่า วิธีการครั้งแรกสุด มันลัดขั้นตอน คือ กลุ่มขาดกระบวนเรียนรู้ ใช้เล่าเรื่อง note taker บันทึก และมาวิเคราะห์ เป็นปัจจัยความสำเร็จ แยกกลุ่มไปวิเคราะห์ จากปัจจัยความสำเร็จไปทำ competency แก่นความรู้ พอได้แก่นความรู้ เอามาให้แต่ละกลุ่มประเมินตนเอง ก็ไปใส่ในคอมพิวเตอร์ และปัจจุบันและอนาคต เอามาทำ river diagram ทำเป็นคอมพิวเตอร์หมด แล้วฉาย OK รวดเร็ว แต่คนที่เข้าประชุมไม่ได้ผ่านการเรียนรู้ในขั้นตอนต่างๆ

ครั้งที่สอง เราก็เลยมาปรับกระบวนการ โดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ ทุกขั้นตอนทำด้วยมือ และใช้กระดาษ flipchart ทั้งหมด ก็ทำให้ participants ของเราที่มาจากชาวบ้านในชุมชน อปท. ได้เรียนรู้ไปด้วย และสนุกสนานไปด้วย

และสุดท้ายเราทำหลักสูตร การอบรม facilitator สำหรับการจัดการความรู้ ก็ทำไปได้หลายรุ่น

ประสบการณ์นี้ คือ การทำงานโดยเอา KM เข้ามาในเนื้องานตามปกติทุกงาน ไม่ได้เอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาเป็นพิเศษ บางครั้งเพื่อการเรียนรู้ ใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เรื่อง จริยธรรม ความสำเร็จในการเลี้ยงลูก พอเข้ามาเล่ากัน ก็จะเป็นการฝึกปฏิบัติให้รู้จัก KM ก่อน พอรู้จักแล้ว ก็เอาไปใช้ในการทำงานปกติ

เพราะฉะนั้น งานของเราจะใช้หมด ไม่ว่า งานของโรงพยาบาล งานตามยุทธศาสตร์ ทุกเรื่อง ใช้ KM แต่ที่ขาด คือ เรื่องการบันทึก และทำเอกสารออกมา และล่าสุด เราใช้กระบวนการ KM ในการทำวิจัย ก็คือ เป็นการทำวิจัยประเมินผลแบบมีส่วนร่วม งานที่เอาไปทำเป็นการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ...

  • เราสามารถใช้กระบวนการนี้ ให้เขาได้เรียนรู้ว่า การทำงานของเขาในประเด็นนั้นๆ มันมีหัวข้อ มีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง
  • ให้คิดรวมกันหลายๆ แห่ง และมาสร้างเครื่องมือด้วยกัน คือ การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม
  • เป็นวิธีการที่ผู้วิจัย และผู้ถูกวิจัย ร่วมเรียนรู้ด้วยกันตลอดเวลา ตั้งแต่ว่าจะทำอะไร ในขั้นตอนการทำอะไร ต้องมีการเก็บข้อมูลอะไรบ้าง
  • และมาทำแบบวิธีการเก็บข้อมูล แบบฟอร์ม เครื่องมือในการเก็บข้อมูล
  • พอทำด้วยกันเสร็จแล้วก็ลงไปเก็บข้อมูล มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูลออกมา
  • แต่บางพื้นที่จะต่างออกไป เพราะว่าผู้วิจัยวิเคราะห์เอง
  • สุดท้ายคือ ผลการศึกษาเป็นอย่างไร จะเรียนรู้ด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง ใช้ KM ไปจับในส่วนของการสร้างเครื่องมือไปถึงขั้นตอนที่เรียกว่า ประเมินตัวเอง ณ ปัจจุบัน

ที่ทำนี้ เป็นการใช้เครื่องมือ KM ทำ แต่ประเมินผลโดยการมีส่วนร่วม และเปรียบเทียบการประเมินผลด้วย KM กับการทำ Focus group ของคนในพื้นที่ ซึ่งปรากฎว่า ออกมา 2 วิธีไม่ต่างกันเลย แต่การทำ KM จะง่าย และสะดวกกว่า

อาจารย์พนัส แนะนำเรื่องการจัดการความรู้ไว้ว่า

ถ้าเป็นการเรียนรู้ในองค์กร เราอยากเอา tacit k จากทุกคนออกมา ในงานทำอยู่ และส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ขององค์กร อันนี้ก็จะ list ไปว่า knowledge ส่งผลสู่ competency และผลสัมฤทธิ์ขององค์กร

บางครั้งเราเริ่มต้น ก็ไม่รู้จะเอาอะไร ถ้าค้นคว้ามาเป็นเรื่องของ explicit to explicit ไม่ใช่ tacit to explicit ก็ไม่เป็นไร ถือเป็นการ review มาเล่าสู่กันฟัง เหมือน journal club ก็ได้ แต่ถ้าเราอาศัยประสบการณ์การทำงานของเราเอง เปลี่ยนจาก explicit เป็น tacit k ก็จะเกิดองค์ความรู้ที่เป็นขององค์กรจริงๆ

รวมเรื่อง ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย

  

หมายเลขบันทึก: 327600เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2010 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แม่หมอ สุดยอดของนักจดบันทึกค่ะ

  • P
  • ขอบคุณคร้าบ
  • ดีใจ แม่ลูกสาวชม ... จะสกัดแบบแม่ลูกสาว ก็ไม่มีเวลามากมายขนาดนั้นจริงๆ เลยนะค๊า ... เอาแบบนี้ไปก่อน และก็ใช้วิธีไปสกัดนอกรอบค่ะ อิอิ
  • อยากไปร่วมเรียนรู้กิจกรรมแม่ลูกสาวมั่งจัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท