ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย (32) 2553 เปิดศักราช KM ครบวงจร


 

วันนี้ คุณอ้วน (ฉัตรลดา) มาบอกถึง จังหวะก้าว KM กรมอนามัย ปี 2553 ค่ะ เริ่มปีแห่งการใช้ KM ครบวงจร ... สงสัยหรือ (???) โปรดอ่านต่อ :)

กรมอนามัยใช้ KM ในงานมา 5 ปี เกิดขุมทรัพย์มากมาย ตรงนี้ เราจะนำการจัดการความรู้ที่ทำมา มาใช้ประโยชน์กันแล้ว นี่คือ ความหมายย่อๆ ของ KM ครบวงจร

สคส. มีการประเมินรูปแบบการทำ KM ในหน่วยงานของประเทศไทย มี 3 รูปแบบ คือ

  • รูปแบบ ตาม กพร. กำหนด ได้แก่ ใช้ KM ตามยุทธศาสตร์ ภารกิจ ของหน่วยงาน มีหน่วยงาน 50% ใช้วิธีนี้
  • KM ปัจเจกใจ ... ทำด้วยใจ ซึ่งถ้าฟังจากคุณหมอณัฐ ก็จะเป็น KM ที่เริ่มด้วยการสร้างใจ และไหลไปสู่งาน เนียนเข้าไปในงาน KM กรมอนามัยอยู่ในโมเดลนี้ เพราะว่าตอนแรกเราเริ่ม ด้วยสิ่งที่ทุกคนภูมิใจ ประทับใจ มีความสุข ความดีความงามที่อยากจะเล่า และ
  • โมเดลที่ทำเครือข่าย คือ ใช้เครื่องมือ KM ทำงานกับภาคีเครือข่าย

กรมอนามัยปัจจุบัน ก้าวเข้าไปสู่เรื่องการทำกับภาคีเครือข่าย รวมถึงทำตามยุทธศาสตร์ด้วย ... กรมอนามัยขณะนี้ ทำทั้ง 3 โมเดล ไปพร้อมๆ กัน

เริ่มต้นการใช้ KM ของกรมอนามัย เรามีการจัดเก็บความรู้ผู้เกษียณ จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงาน ทำแบบ อะไรที่หยิบจับมาได้ เราก็นำมาทำ

เรามีทุนการใช้ KM แต่แรกก็คือ

  • 5 องค์ประกอบ แห่งตารางอิสรภาพ ที่เกิดจากเกร็ดความรู้จากเรื่องเล่า นำมากลั่นกรองเป็น 5 ระดับ คือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สรุปกันมาจากเรื่องเล่า เรานำทุนชิ้นนี้ มาประเมินและพัฒนาตนเอง
  • อีกตัวหนึ่ง ที่คิดกันเมื่อปี 2551 Roadmap ของ KM … เพื่อกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ของการใช้ KM ในงาน Goal คือ การเรียนรู้ร่วมกัน และเป้าหมายที่เราจะไปด้วยกัน เพื่อการสื่อสารที่จะขับเคลื่อนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่
    - การสร้างความรู้ความเข้าใจ ในคุณค่าของ KM
    - การสร้างสมรรถนะ สร้างใจ
    - การสร้างการเรียนรู้ให้เนียนในเนื้องาน
    - การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ... ความคิดที่จะให้เกิด Google Health ที่เพื่อเป็นสำหรับเก็บขุมทรัพย์ การเข้าถึงได้โดยง่าย และเพื่อให้เกิดการทำอย่างต่อยอด
    - เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณสุขอย่างมีส่วนร่วม

  • อีกทุนหนึ่ง คือ IC Mapping (Intellitual Capital Mapping) เป็นโมเดลของคุณหมอสมศักดิ์ ที่ต้องการให้สะท้อนการประเมินตนเองในแต่ละระดับ

KM 3 โมเดลที่เราทำมา ทั้งแบบปัจเจกใจ สนองประเด็นยุทธศาสตร์ และเรื่องของเครือข่าย ตอนนี้ ก็ถึงเวลาที่จะบอกว่า ความรู้ ของดีต่างๆ นั้น อยู่ตรงไหน

การหมุนของเกลียวความรู้ เป็นกระบวนแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่าน CoP เป็นตัวขับเคลื่อน วิธีการ face to face ก็ได้ On the job training ก็ได้ หรืออื่นๆ ก็ได้ เป็นการ ลปรร. ผ่านตัว explicit เช่น อ่านตำราต่างๆ แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกัน ก็ได้ เพราะว่า ถ้าเอาความรู้จาก explicit ไปลองใช้ ลองทำ ก็จะเกิด tacit เพราะเรานำไปใช้แล้ว ไม่มีในตำรา เราก็ไปทำอะไรมากกว่า ตรงนี้ เอามาแลกเปลี่ยนจาก tacit ของคน มากลั่น เป็น explicit อีกทีก็จะเป็นความรู้ชัดแจ้ง ว่า จากการทำในเนื้องานจริง ประสบการณ์จริง เขียนมาเป็นตำรา ก็จะเป็น explicit อีกที เป็นการหมุนเกลียว คุยกัน แลกจากคนหนึ่ง ไปกลุ่ม ไปเครือข่าย CoP ต่างๆ ออกมาเป็นความรู้ ไปใช้ ไหลเวียน นี่เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการหมุนเวียน และเกลียวความรู้แบบครบวงจร

KM ครบวงจร จึงหมายความว่า การได้ความรู้เรื่องหนึ่งๆ นั้นสามารถหามาได้ เมื่อหามาได้แล้ว ความรู้เหล่านั้น จะมีการ ลปรร. กันอย่างไร มีการฟัง การเอาไปใช้ ไปทำต่อ และมาดูกันอีก เกิดอะไรใหม่หรือไม่ ก็จะเป็นการหมุนเกลียวของการใช้ความรู้ในการทำงาน

เรามี KM Process 7 ขั้นตอน และมี Change management process 6 ขั้นตอน เป็นตัวช่วยสนับสนุน หรือขับเคลื่อน KM ให้เกิดในองค์กร เช่น ขาดขวัญกำลังใจ ก็ต้องมีระบบให้เกิดขวัญกำลังใจ มีระบบการประเมินที่มองแล้วว่า ตอนนี้เราทำถึงไหน อย่างไร มีการเรียนรู้กัน มีเครื่องมือ กระบวนการที่มาช่วยเขา มีการฝึกอบรม training ต่างๆ ก็จะช่วยทำให้เกิดการขับเคลื่อนได้

รวมเรื่อง ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย

  

หมายเลขบันทึก: 328007เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2010 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท