ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย (36) เรื่องเล่าศูนย์ 10 คุณวไลมาเล่าให้ฟังค่ะ


 

ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ โดยคุณวไล มาเล่าเรื่องงานของเธอ ที่ใช้กระบวนการ KM ไปดำเนินการ คือ เรื่องของ "นมแม่" ค่ะ เรื่องนี้เคยเล่าสู่กันฟังครั้งหนึ่งแล้วที่ นี่ แกะรอย KM ศูนย์ฯ 10 (10) KM ใน แม่และเด็ก

ครั้งนี้ คุณวไล บอกว่า จากการทำงานที่ผ่านมา ก็ไม่ทราบว่า ผลสุดท้าย มันได้เข้าสู่ชุมชนได้อย่างไรเหมือนกัน

เธอบอกว่า เดิมเป็นพยาบาลปฏิบัติงาน และมารับงานคลินิกนมแม่

จากข้อมูลเดิมของเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กำหนดไว้ว่า

  • ขั้นที่ 10 ในข้อกำหนดของโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ระบุเรื่อง การส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน ...ถ้าแม่มีปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำอย่างไร จะไปปรึกษาที่ไหน ที่จะทำให้เขามีความสำเร็จเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
  • เป้าหมายของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน หลังจากนั้นก็เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามวัย จนถึง 1 ปี หรือมากกว่า เป็นแนวทางในการทำงานของคลินิกนมแม่

การทำงานของคุณวไล ตอนแรกไม่ได้คิดเรื่องของเป้าหมายหลัก หรือวิสัยทัศน์ พันธกิจ แต่ก็เพราะว่า เราอยู่ในงานของโรงพยาบาล ที่ต้องมีการพัฒนารูปแบบ เพื่อถ่ายทอดสู่หน่วยงานในความรับผิดชอบ และการทำงานก็เริ่มต้นจากการดูแลแม่ที่มารับบริการในคลินิก ซึ่งจะมีปัญหาต่างๆ เช่น เต้านมคัด หัวนมเจ็บแตก ลูกดูดนมไม่ดี เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ หรือทารกน้ำหนักน้อย

การเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ โดย อิงทฤษฎี และมีคุณหมอกรรณิการ์ เป็นผู้สอน นำมาสู่การปฏิบัติ และครูที่ดีที่สุดของพวกเราก็คือ บรรดา แม่ๆ และลูกๆ ในคลินิก ที่ทำให้เกิดการนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการบริการได้อย่าง เช่น ปัญหาทารกน้ำหนักน้อย ในบันไดขั้นที่ 5 ต้องบอกว่า ถ้าแม่กับลูกต้องแยกจากกัน แม่จะต้องรู้วิธีที่จะเอาน้ำนมให้ลูก เช่น ลูกอยู่ใน NICU เด็กตัวเล็กมากๆ 1,700 ทำอย่างไรที่จะทำให้ลูกมีน้ำนมกิน หรือ Low birth weight ที่ผ่านมา ถ้าน้ำนมแม่ไม่มีแล้ว เขาก็ต้องใช้นมผสม มีกรณีหนึ่งที่แม่คนหนึ่ง มีลูกตัวเล็กมาก อาการหนัก และ on respirator แม่เครียด ทำให้มีน้ำนมแห้ง ไม่สามารถบีบนมให้ลูกได้ แต่พอลูกดีขึ้น น้ำนมแม่ก็จะมา (... นี่เป็นสิ่งที่เราได้เรียนรู้) และพอเราไม่ได้ให้ breast feeding เราก็จะมองด้วยความช้ำใจว่า พยาบาลต้องสอนวิธีชงนม เราก็ให้สัญญากับตัวเองว่า ไม่น่าที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลของเรา

เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ทำอย่างไรที่จะ Maintain น้ำนม ทำให้น้ำนมแม่ยังคงอยู่ แม้ว่า จะอยู่ใน incubator 2 เดือน 3 เดือน จนกระทั่ง ปัจจุบัน ก็จะเกิดเป็นวิถีไปเลย ที่แม่ยังคงมีน้ำนมเต็มตู้ให้ลูก โดยไม่ต้องชงนม

เรื่องการดูแลเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่ ซึ่งเมื่อก่อน ถ้าลูกกินนมไม่ได้ คุณหมอก็จะต้องหาวิธีว่า จะต้องไปทำจุกยางอย่างไร ที่จะทำให้เด็กกินนมไม่สำลัก

ในบทบาทที่เป็น Breast feeding เด็กปากแหว่งฯ ก็ต้องกินนมได้ ต้องมีสิทธิเท่ากับเด็กปกติ รับ breast feeding ได้ กินนมแม่ได้ ก็จะเกิดรูปแบบของการให้บริการดูแล เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ปัญหาคือ พ่อแม่กลุ่มนี้เขารู้สึกแบบกระทันหัน หลาย case จะเกิดความสะเทือนใจ เช่น พ่อคนหนึ่ง เขาร้องไห้ไม่รู้ตัว เมื่อรู้ว่าลูกปากแหว่ง เกิดความสับสน ว่า ทำไมลูกเขาเป็นอย่างนี้ และสิ่งที่วนเวียนในสมองก็คือ เขาจะเลี้ยงลูกได้อย่างไร ... รายนี้ เราต้องใช้วิธี counseling เข้าไปช่วย

การทำงานของเรา พออยู่มาหลายปี ก็มีประสบการณ์มากขึ้น ทำให้เกิด Morning talk ขึ้น เพื่อที่ทุกนจะได้คุยกันในเรื่องงานประจำ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ตอนเช้าเราจะคุยกันว่า case เมื่อวานมาด้วยเรื่องอะไร และวางแผนกันต่อ ว่าวันนี้เราจะทำอย่างไร ... Morning talk ถือว่า เป็นวิถีการทำงานของพยาบาล ตั้งแต่เป็นนักเรียนพยาบาล ... ถ้าเป็น ward เราก็จะคุยกันในเรื่องส่งเวร ... ถ้าเป็นคลินิก ก็จะคุยกันในเรื่องการดูแลผู้รับบริการ

ปัจจุบันมีการถ่ายทอดความรู้ โดย ปัจจุบันมีผู้มาฝึกปฏิบัติในคลินิกนมแม่ ได้แก่ แพทย์รามาฯ คุณหมอที่สวนดอก นักศึกษาพยาบาล ทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และวิทยาลัยพยาบาล ซึ่งจะมีการพัฒนาโมเดลต่างๆ ขึ้นมาด้วย ทั้งรูปแบบการบริการ และอุปกรณ์สาธิต เช่น โมเดลนมแม่ เต้านมสาธิต

รูปแบบหนึ่งที่คิดขึ้นมาก็คือ จากคลินิกนมแม่ สู่ชุมชน ชุมชนที่ทำต่อจากชมรมนมแม่ คือชมรมสายใยรัก ซึ่งแปลงมาเป็นตอนหลัง เกิดที่ศูนย์ฯ 10 ตั้งแต่ปี 2546 และมีประธานชมรม คือ คุณชูเกียรติ และเป็นที่ศึกษาดูงานตั้งแต่ตอนนั้นมา

ชมรมฯ นี้เกิดขึ้นได้ เนื่องจาก จากที่กลุ่มในคลินิก มีพ่อแม่มานั่งคุยกันเวลาที่เขามีปัญหา เกิดความผูกพัน ดูแลกัน และเกิดความรู้สึกว่า อยากเจอกัน เขาก็เลยนัดกันว่า มาเจอกันเดือนละครั้ง และโตขึ้นมาเรื่อยๆ ... ทีมงานเป็นผู้กระตุ้นให้เกิด โดย มีการจัดการอบรมในเรื่องของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้เกิดการจุดประกายให้มีการรวมกลุ่ม และสนับสนุนให้ตั้งชมรม

จากชมรมนมแม่ ก็มีการขยายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เข้าสู่ชุมชน ได้แก่ การขยายชมรมสายใยรัก ไปที่ป่าแดด ไปที่ลำพูน ไปที่โรงเรียน และสถานประกอบการ

ในการเข้าสู่ตัวชุมชนในหมู่บ้าน ตัวหลักสำคัญ คือ อสม. เราเริ่มจาก 1 หมู่บ้าน อบรม อสม. และเรียนรู้ว่า เวลาเราจะทำกับชาวบ้าน ชาวบ้านก็ต้องรู้ด้วยว่า เราจะทำอะไร เพื่ออะไร และต้องสมัครใจเข้าโครงการ

คุณแดง สรุปปัจจัยสำเร็จ ของคุณวไล ให้ฟังค่ะ ว่า มาจาก

  • มีผู้นำที่เข้มแข็งท่านหนึ่ง ก็คือ คุณหมอกรรณิการ์
  • ทีมงานมุ่งมั่น
  • เรื่องความเชื่อ ว่า นมแม่ดีที่สุด
  • ศูนย์อนามัยที่ 10 เป็นแหล่งดูงานใหญ่ มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้น และมีกิจกรรมที่เริ่มเคลื่อนเข้าไปสู่ชุมชน
  • มีแหล่งทุนสนับสนุน

รวมเรื่อง ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย

  

หมายเลขบันทึก: 328564เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2010 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

  • ผมมาเยี่ยม มาทักทาย เพื่อรู้จักกัน
  • มารับรู้เรื่องราวดีๆมีประโยชน์
  • โชคดีมีสุขนะครับ
  • P
  • สวัสดีค่ะ ครูจ่อย
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะค๊า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท