ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย (42) KM ครบวงจร ... เรื่องของศูนย์ฯ 3


 

KM ครบวงจร ที่ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี นำเสนอโดยคุณหมอลิ้มค่ะ

ขั้นตอนที่ 1. การบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต้องมี

ประเด็นยุทธศาสตร์ก็คือ เรื่อง วัยทำงานและผู้สูงอายุ ความรู้ที่อยากได้ คือ การจัดกระบวนการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ คือ K1 K2 เราอยากได้การเชื่อมโยงบริการ ระหว่างสถานบริการกับเครือข่ายชมรม ตัวชี้วัด คือ 1 ชมรม ต่อ 1CUP ต่อ 1 จังหวัด

กิจกรรม บ่งชี้ความรู้ ก็คือ Why ใช้เรื่องการจัดการทบทวนสถานการณ์ ปัจจัยเสี่ยงในผู้สูงอายุว่า ขณะนี้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างไร มีพฤติกรรมอย่างไร จัดการอย่างไร จากสถานการณ์ที่มาจาก survey ประจำปี หรือ rapid survey ที่เรามีตรงนี้ กับการนิเทศติดตาม

อีกอันหนึ่งที่มีปัญหา คือ K2 จากการที่ผมลงไปใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ปรากฎว่า ฝ่ายทันตฯ เป็นฝ่ายที่เชื่อมโยงไม่เป็น องค์ 5 และ องค์ 6 ว่า ตรงนี้เรายังไม่มีการเชื่อมโยงบริการ ระหว่างตัวเราเองที่ทำอยู่แล้ว กับชุมชน ก็เลยเป็นที่มาขององค์ความรู้ตรงนี้

ขั้นตอนที่ 2. การสร้างและแสวงหาความรู้

ได้แก่ การเข้าร่วม ลปรร. กับกองทันตฯ ที่ได้จัดขึ้น เป็นไอเดียให้เราเห็น และที่จุดประกาย คือ การทำกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ของชมรมผู้สูงอายุตำบลท่านัด อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี จากเขต 4 ทำให้เรารู้ว่า ความรู้ที่เขาทำมีประมาณแนวนี้

ผมจึงได้มาทำ R&D ในเขต คือ พัฒนารูปแบบกรณีศึกษาในชมรมผู้สูงอายุอำเภอแหลมงอบ จ.ตราด ทำในลักษณะเป็นเครือข่ายชมรม 5 เครือข่าย ใน 1 อำเภอ เงื่อนไขต้องมีทั้งบริการที่อยู่ในโรงพยาบาล เชื่อมโยงบริการที่เกิดในชุมชน ในลักษณะเครือข่าย มีการ ลปรร. ระหว่างเครือข่าย เพื่อสังเคราะห์วิธีการทำงานของเขาว่า ทำได้ไหม ทำอย่างไร

ตรงนี้แอบเล่า ว่า หมอลิ้มแต่ก่อนทำแต่งานเรื่อง เด็ก และวัยรุ่น เปลี่ยนมาทำกับคนแก่เพราะอะไร หัวใจก็คือ (1) โดยจี้ แกมขอร้องให้ทำ (2) มีเวลาพอจะทำได้ และ (3) พอลงไปทำกับเขา ได้รู้ศักยภาพของผู้สูงอายุ ได้เห็นความพยายาม ความสนใจของเขาที่อยากจะทำ จึงมีใจทำต่อเนื่อง ... โดย ประเด็นที่คุณหมอลิ้มจูงใจเขา ก็คือ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่ยากมาก เพราะว่าส่วนหนึ่ง ฟันของเขาไม่ค่อยมีแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องพยายามจูงใจว่า 1 ซี่ก็มีคุณค่า อย่างน้อยเก็บไว้เกี่ยวฟันปลอมก็ยังดี

เราก็ต้องทบทวนข้อมูลระบาดวิทยาพอสมควรที่จะมาจูงใจ ต้อง review ไปถึงฐานประชากรโลก และประเทศไทย ต้องเตรียมระบบรองรับ และสิ่งที่สำคัญ เราต้องเชื่อมให้เขาเห็นเลยว่า ทำไมเขาต้องส่งเสริมสุขภาพ เรามีทั้งบริการในเชิงสิทธิประโยชน์ ป้องกัน กับเรื่องของ เขาต้องทำเอง ... ป้องกัน เป็นสิทธิที่เขาควรจะได้จากเรา แต่ส่งเสริมสุขภาพ เป็นวินัยที่เขาต้องทำกับตนเอง Key word 2 คำนี้ สำคัญ

ขั้นตอนที่ 3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

เรามีการจัดหมวดหมู่ว่า สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น เห็นภาพของการทำให้เกิดชมรมนี้จะต้องมีประเด็นความรู้อะไรเกิดขึ้นบ้าง

(1) ศักยภาพในการที่เขาจะทำความสะอาดช่องปาก เกิดอนามัยช่องปากที่ดี ก็คือ การทำความสะอาด จะจัดการอย่างไรให้เกิดตรงนี้เกิดขึ้น ประการสำคัญ ในผู้สูงอายุที่กินหมาก ตรงนี้จะลดอย่างไร ทำให้คราบจุลินทรีย์ลดลง

(2) โภชนาการ เรื่องของการกินของผู้สูงอายุ ซึ่งวิถีเปลี่ยนแปลงไป

(3) อยากเห็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น นวัตกรรมของชาวบ้าน ที่ตรงนี้เกิดเยอะ เช่น ไม่น่าเชื่อว่า ละครชาตรี จะกลายมาเป็นละครชาตรีดูแลสุขภาพช่องปากได้

(4) การจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงาน เราอยากเห็น action ของ อปท. และภาคีที่เกี่ยวข้อง

(5) การเชื่อมโยงบูรณาการ ตรงนี้เป็น hi-light ว่า ระหว่าง CUP และชมรมผู้สูงอายุ ควบคู่กันไปอย่างไร จะเกิดบรรยากาศตรงนี้อย่างไร

ขั้นตอนที่ 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้

มีการนำเสนอ ในเวทีของกรม กอง และได้รับความอนุเคราะห์จาก ผู้อำนวยการกองทันตฯ (ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย) ไปเยี่ยมศึกษาดูงานด้วยตนเอง และทีมก็ไปดูงานที่ศูนย์ฯ 3 ด้วย ช่วยกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง

ขั้นตอนที่ 5. การเข้าถึงความรู้

การจัดเก็บ มีเวปไซต์ เก็บเรื่องของการทำ KM ทุกงานจะได้ขึ้นเวป รวมถึงมีทำคลังความรู้เก็บไว้ในห้องสมุด

ขั้นตอนที่ 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

ใช้ประสบการณ์ตรงนี้มาทำแล้ว ก็ไปขยาย เวลานิเทศ จะเป็นความรู้หนึ่งที่เอาไปนิเทศ 9 จังหวัด เราได้ขุมทรัพย์ไปในตัว และไป ลปรร. ระดับประเทศ รวมถึง ลปรร. ระดับเขต เพื่อให้เกิดการขยาย และพัฒนางาน จากที่เป็น setting รูปแบบหนึ่ง และขยายสู่จังหวัดอื่นๆ ซึ่งได้อาสาสมัคร 2 จังหวัด และที่ทำได้ดี คือ สมุทรปราการ ซึ่งได้มา ลปรร. ด้วยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้เห็นบริบทจังหวัด ในด้าน PCU กับตราด ที่เป็นภาพ CUP

ขั้นตอนที่ 7. การเรียนรู้

เราอยากให้เกิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง โดยเอาองค์ความรู้ที่ได้จากทั้งแหลมงอบ และสมุทรปราการ (ที่ สอ.ศีรษะจรเข้น้อย) มาเป็น input ใช้กรอบให้มาทำแผน SRM เพื่อที่จะดำเนินการต่อเนื่อง

ปลายปีเรามีการ ลปรร. 9 จังหวัดอีกครั้งหนึ่ง รวมถึง มีมาตรฐานการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ จากกองทันตฯ ก็จะใช้เป็นตัวประเมินรับรองไปด้วยควบคู่กัน ให้เกิดการเรียนรู้

โดยจะมีทั้ง การประเมิน และ SRM เป็น guideline รวมถึง การ ลปรร. ที่เราจะได้นำเสนอจัดส่งให้จังหวัดเป็น guideline ในการดำเนินการเรียนรู้ต่อไป เพื่อขยายงาน

และเราจะทำมหกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากปี 2554

Action เธอน่าดูชมใช่ย่อย ... มาดพระเอกของการประชุมครั้งนี้ละค่ะ

รวมเรื่อง ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย

  

หมายเลขบันทึก: 328881เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • action หมอลิ้มน่ารักจัง
  • ต้องชมคนถ่าย
  • จะตามไปเรียนรู้หลาย ๆ เรื่องที่เชียงใหม่เด้อ...
  • P
  • อิอิ ไม่ต้องชมมากจ้ะ เดี๋ยวลอย
  • action เธอน่าถ่ายรูปมาก ไม่รู้เข้ามาดูหรือยัง 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท