ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย (45) จัดการความรู้ ... ทำไม อะไร (1) เราอยากเห็นคนทำงานเป็นอย่างไร


 

ช่วงที่ทุกคนรอคอยค่ะ ... คุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ วันนี้ ท่านมาเสริมพลังในวง KM กรมอนามัย มีหลายเรื่องเล่าที่ประทับใจค่ะ

อาจารย์บอกว่า กรมอนามัยเริ่มทำ KM กันเมื่อปี 2547

... จะพบว่า ผมพยายามตลอดเวลาที่จะทำให้สิ่งที่เรียกว่า การทำงาน KM ในกรมอนามัย มีสิ่งที่เรียกว่า การเปลี่ยนแปลง แต่ถึงกระนั้นก็ดี ก็จะถูกบ่นเสมอๆ ว่า ทำไมมีแต่เรื่อง ลปรร. ไม่มีแบบอื่นเลยหรือ ???

ผมก็ค่อยสะสมความกล้ามากขึ้น ที่จะพาพวกเราคุยเรื่องที่ยากๆ มากขึ้น ผมอยากทำให้พวกเราทำ KM อย่างมีความสุข เพราะว่า เรื่องนี้ไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูก ... ในทางกลับกัน ก็อยากให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่า เราทำงานนี้ เพราะว่า เป็นประโยชน์กับพวกเรา ต่อตัวเรา ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อองค์กร และต่องาน

วันนี้ พวกเรามาทำกิจกรรมกันที่ดีมากๆ ตรงที่เราก็ไม่ได้อยู่กับที่ และน่าสนใจ เรื่องแผน KM เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง

... ถ้าย้อนประวัติศาสตร์ไป แผน KM ชุดแรกของกรมอนามัย สำนักงาน KM สั่งลงไป ว่าให้ทำแผน KM ของหน่วยงานย่อยหน่อย โดยที่ให้ทำกิจกรรม 6 อย่างต่อไปนี้ 1 2 3 ... ตอนนั้นเราก็คิดว่า เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะให้คนรู้จักสิ่งที่เรียกว่า กิจกรรม KM แปลว่า อะไร พยายามตีความที่ง่ายที่สุด ในแง่ที่ว่า กิจกรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรมที่เป็นการทำให้เกิดการเรียนรู้ของคนในองค์กร ที่ไม่ใช่เรื่องฝึกอบรม

ยุคแรกๆ เจอคำถามอยู่เรื่อยว่า KM ต่างจากการฝึกอบรมตรงไหน การเรียนรู้ กับการฝึกอบรม ต่างกันตรงไหน ก็บอกว่าไม่ต่างกันเท่าไร แต่ที่ต่างกันแน่ๆ คือ มันพูดกันคนละมุม อบรมก็คือ คนอื่นมาสอนเรา KM คือ ให้เราเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

หลังจากที่เราสั่งไป 6 กิจกรรม ก็มีคน response ดีมาก ยกตัวอย่างกิจกรรม เช่น ถอดบทเรียนคนเกษียณ ทำสิ่งที่เรียกว่า FAQ งานอะไรที่ถูกทำบ่อยๆ ให้เป็นเรื่องเป็นราว

แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น เราก็ Shift มาที่สิ่งที่เรียกว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พอเราสั่งไป และมี response กลับมา ไม่นาน ก็ชวนพวกเรามาคุยเรื่อง ลปรร. เพราะว่า อ.วิจารณ์พบโมเดล ลปรร. ที่น่าสนใจ คือ (1) ง่าย (2) มี value อยู่ในนั้นเยอะมาก พวกเราคุยกันในเรื่องใจ เรื่องของคุณค่าของงาน

ตอนที่เราทำ ลปรร. กันใหม่ๆ ... อ.หมอวิจารณ์ ได้โมเดลนี้มาจากคนที่ทำเรื่อง HIV เขาทำที่บริษัท BP (British Petroleum) ของอังกฤษ เขาทำในสิ่งที่เรียกว่า การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในองค์กรมานานมาก ทาง UNAIDS จะทำเรื่อง HIV Control อยากจะส่งเสริมเรื่องการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม จึงนำเขามาร่วมคิด ได้โมเดลขึ้นมา และเขียนหนังสือเรื่อง Learning How to Fly

ตอนนั้น เรื่อง KM (Knowledge Management) เกิดขึ้นมาในโลกนี้ เป็นเวลา 10-20 ปี แล้ว ยุดแรกๆ เป็นยุคที่เน้นเรื่อง Explicit knowledge และคนญี่ปุ่นมาบอกว่า ไม่ใช่หรอกมันต้อง Tacit knowledge ... จาก Learning How to Fly ที่เน้นเรื่องกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม ก็บอกว่า สิ่งที่ต้องเรียนรู้มากๆ ก็คือ เรื่อง Tacit knowledge ของคนทำงาน เพราะเวลาคนทำงานจริงๆ สิ่งที่เรียกว่า What มักจะรู้ สิ่งที่เรียกว่า How มักจะนึกไม่ออก เขาก็เน้นเรื่อง How เพราะว่า เป็น tacit knowledge มากๆ เพราะว่าทุกคนต่างก็ลอง How ไม่เหมือนกัน ภายใต้ What เดียวกัน มันมีหลาย How บาง How ก็ไม่ work บาง How ก็ work

... เรียกว่า เวลาก็เหมาะที่เมืองไทยก็น่าจะส่งเสริมเรื่องการจัดการความรู้ ที่เน้นเรือง tacit knowledge เสีย ให้เป็นเรื่องเป็นราว

กระบวนการ หัวปลา พุงปลา หางปลา ที่อาจารย์ประพนธ์ และ อ.วิจารณ์ ช่วยกันคิด ก็ได้ถูกนำมาเผยแพร่ ก้างปลา แผนภูมิ River diagram และอื่นๆ ... ในที่สุดเราก็ พบว่า กระบวนการการ ลปรร. อย่างเดียว แล้วก็พยายามรวบรวมความรู้ให้เป็นระบบ ก็จะเป็นแกน

หลายคนทำมาอย่างต่อเนื่อง ทำไปสักพักหนึ่ง พวกเราจำนวนไม่น้อยเป็นนักวิชาการก็ชอบ และก็ไปติดว่า การจัดการความรู้ คือ เรื่องการจัดการความรู้ หมายความว่า เราเน้นเรื่องความรู้เยอะ

ผมพยายามตอบคำถามเป็นระยะๆ ว่า เราทำ KM ไปอย่างไร ... ผมบอกว่า เราทำ KM ไป เพื่อที่จะให้คนของเรา เป็นนักเรียนรู้ ก็จะขึ้นอยู่กับว่า "เราอยากเห็นคนทำงานของเราเป็นอย่างไร" นี่คือ คุณสมบัติสำคัญที่เราอยากให้คนทำงานที่ว่า เมื่อทำ KM แล้ว จะได้ของอย่างนี้ ก็คือ คนทำงานมีความรู้ แต่มากกว่านั้น คือ เรียนรู้เป็น สองคำนี้ไม่เหมือนกันนะครับ คนมีความรู้ เรียนรู้ไม่เป็นก็เยอะมาก ที่ดีกว่านั้น คือ เรียนรู้ตลอดเวลา แต่มากกว่านั้น คือ เราไม่ต้องการให้เรามีแค่เรียนรู้ แต่ต้องเอาความรู้มาใช้ด้วย

ความจริง คนเรียนรู้เป็น เขาน่าจะใช้ความรู้เป็น ที่สนุกกว่านั้นก็คือ เราต้องให้เขาสร้างความรู้จากการทำงานของเขาด้วย และไม่ได้แค่สร้างความรู้ แต่รู้จากงานที่ทำด้วย บางคนสรุปประสบการณ์ได้เก่งมาก แต่ที่ร้ายคือ ไม่เคยเอาไปใช้เลย สรุปแค่ให้คนอื่นฟัง

ทั้งหมดนี้ สรุปว่า คนเราปกติถ้าเรียนรู้จากการทำงานได้ จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เก่งแต่ทางความรู้ ถ้าพูดกันให้สุดๆ คนที่สามารถสรุปความรู้จากการทำงานได้ ยิ่งทำมาก ยิ่งสรุปได้มาก จะยิ่งไปได้ลึกมาก แปลว่า ไปถึงสิ่งที่เรียกว่า สัจธรรม ได้ คือ มีปัญญา ... ขอให้รู้จริง เรียนรู้จากการทำงานได้จริง มันก็ยิ่งไปลึกมาก

รวมเรื่อง ยุทธการล่าขุมทรัพย์ความรู้กรมอนามัย

   

หมายเลขบันทึก: 328993เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2010 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • P
  • สวัสดีค่ะ Mr_Jod
  • ที่ตราดอากาศดีไหมคะ กทม. ตอนนี้เริ่มหนาวเล็กน้อยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท