Train Fa & Note ที่ Squadron Officer School (6) เรื่องเล่าเคล้าคุณภาพ สู่ปัจจัยสำเร็จการฝึกภาคสนาม


ดิฉันได้ประเด็นคุณภาพมากมายที่อยากมาเล่าเก็บไว้ในที่นี้

 

จากกิจกรรมเรื่องเล่าในกลุ่ม ซึ่งดิฉันก็ได้ไปขอยืมชื่อบันทึกของ พี่เม่ย ใน Hemato หรรษา มานะคะ เธอบันทึกแรกไว้ที่นี่ ถอดบทเรียนจากเรื่องเล่าเคล้าคุณภาพ 1)ผู้ป่วยคือจุดศูนย์กลาง ... เพราะว่า ฟังไปๆ เรื่องเราของ อ.นักเรียนผู้ฝูงของเราก็มีคุณภาพเช่นเดียวกันค่ะ

ดิฉันได้ประเด็นคุณภาพมากมายที่อยากมาเล่าเก็บไว้ในที่นี้ค่ะ


"ถ้าเราฝึก นักเรียนตู้ๆ (อ. หมายความว่า นักเรียนที่ชอบอยู่ในตู้ตำราค่ะ) ทหารต่างจากกองโจร ตรงที่เป็นสุภาพบุรุษ แต่บางครั้งถ้าเป็นตู้ๆ ก็ไม่มีทางไปชนะเขาได้" ... ตรงนี้ อ. มีจุดประสงค์จะบอก นร. ว่า ผลลัพธ์ และผลการปฏิบัติต้องพอสมควร ไม่ใช่ว่าได้มานิดเดียว

การเตรียมนักเรียนก่อนที่จะเข้าฝึกภาคสนาม บอกว่า “แต่ถ้าถูกจับได้ มันก็เหมือนกับฆ่าตัวตาย” ... ตรงนี้ก็เพราะต้องการบอกว่า ต้องคิดอย่างดี ไตร่ตรองก่อนทำ แต่ไม่สนับสนุนให้โกง ผลลัพธ์ที่ได้ให้คำแนะนำกับนักเรียนนายทหารกลุ่มนี้ เขาจะเข้ามากลุ่มสุดท้ายเลย คือ เที่ยงคืนครึ่ง และเดินมาเป็นแถวเป็นแนวอย่างเรียบร้อย ร่างกายก็ดูไม่อ่อนเพลีย ยังแข็งแรงเท่าเทียมกันหมด ดูแล้วเขามีความสุข

"ไม่ประทับใจหลักสูตรไหนๆ เท่ากับหลักสูตรนี้ โดยเฉพาะความโหด ความเข้มข้นในการฝึก" เพราะว่า โหดแล้วสร้างความรักสามัคคีได้ สถานการณ์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ให้บุคคลได้เกิดการวางแผนร่วมกัน

"การที่ นร. ฝึกและได้ผลที่สุด คือ เขาไม่รู้สถานการณ์ ครูเข้าใจบทบาทนักเรียน ไม่เอาใจ นร. มากเกินไป นร. ก็ต้องเข้าใจครู ว่า ณ การฝึก ครูเป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษา แต่ในสถานการณ์ ครูเป็นข้าศึก" ทำให้ เขาก็จะพยายามแก้ปัญหา และช่วยเหลือตัวเอง

"การสร้างแรงจูงใจของครู การทำให้เขารู้เป้าหมายอย่างชัดเจน ไม่ได้เร่ง หรือแข่งเอาชนะกันจนเกินไป"

"การฝึกภาคสนามทำให้เกิดทีมงาน และพบว่า ทีมงานก็สร้างขึ้นได้ โดยกิจกรรมที่ช่วยเหลือกัน เช่น ความสนุกสนาน กีฬา รับประทานอาหารร่วมกัน ทำให้มีทีมงานที่มีคุณภาพ"

ในกิจกรรม ปจว. ก็มาดูว่าประสบความสำเร็จเพราะว่า "มีขั้นตอนหาข้อมูลจากการ survey ก่อน และให้เขาคิดดำเนินการเอง ด้วยศักยภาพของตัวเขาเอง วางแผนเอง ทำเอง" ประสบความสำเร็จ เพราะมั่นใจในศักยภาพที่เขามี


"การเฝ้าระวังวิทยุ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ เขาฟังอย่างมีความพร้อม มีส่วนร่วม" เพราะว่าถ้า นร. หายไปนาน เขาจะพิจารณา ส่งข้อมูล ทุกคนก็จะดูว่า โกงหรือเปล่า ประสบอันตรายหรือเปล่า

คนที่อ่อนแอในทีม ก็เป็นเครื่องกระตุ้นให้คนที่ท้อแท้พยายามให้สำเร็จได้ เช่น "ผู้ชายเห็นผู้หญิงที่อ่อนแอเดินภาคสนามต่อไปได้ ก็ทำให้มีแรงเดินได้จนบรรลุภารกิจ"

"ความสนใจ เอาใจใส่ จากผู้บังคับบัญชา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำลังใจ ต่อความสำเร็จได้มาก"

เรื่องการปลุกจิตสำนึก เป็นเรื่องเล่าจาก ผอ. เมื่อเป็นหัวหน้าสัมมนาในรุ่น ได้ปลุกจิตสำนึกให้กลุ่มมีความภาคภูมิใจในความเป็นทหารอากาศ "เพราะถ้าเราทำไม่ดี ภาพลักษณ์ของกองทัพอากาศจะเสีย" จนกระทั่งท่านเป็น ผอ. ก็ใช้วิธีการปลุกจิตสำนึกในวิธีการเดียวกัน

ตอนที่ฝึกภาคสนาม ต้องกินข้าวกับไข่เค็มตลอด ท่านก็เลยกลับมาค้นคว้าว่า มีประโยชน์อย่างไร ก็พบว่า "ทำให้มีแรง และมีความอดทนต่อการเดินได้นาน" ท่านก็เลยได้นำมาสอนนักเรียนให้รู้กันต่อไป

การวางแผนล่วงหน้าจากการเงิน ทำให้เบิกเงินและใช้ได้ทันเวลา โดย เขาจะทำแผนล่วงหน้า เขาจะมีการเตรียมการพร้อม เมื่อเสร็จภารกิจ ก็จะได้รับเงินทันเวลา

"ถ้ามีข้อมูลมาก ทำให้ตัดสินใจได้สมบูรณ์มากขึ้น" ครั้งที่มีการฝึกภาคสนามที่เมืองกาญจน ได้เข้าไปศึกษาพื้นที่จริงในสนาม ทำให้เวลาไปเดินป่า แล้วเกิดปัญหา ก็รู้ว่าจะต้องประสานงาน ใช้เครื่องมือสื่อสาร และช่วยได้ทันเหตุการณ์ รวมทั้งการสำรวจภาคสนามก่อนก็จะทำให้ได้รู้ว่า พื้นที่ใดอันตราย ก็วางจุดอันตรายนั้นให้ได้ทราบก่อน เพื่อไม่ให้ นศ. พลัดหลง หรือเกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้น

"การจดบันทึกสิ่งต่างๆ สำคัญมากกว่าการจำ" เหตุการณ์ต่างๆ อาจารย์ท่านหนึ่งได้มีการจดไว้ทั้งหมด และถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ และสุดท้ายลูกศิษย์ของท่านก็ได้เป็นที่ 1

การประสานงานที่ดีทำให้งานมีแนวโน้มดี "การติดต่อสื่อสารที่ดี ในคำพูดเชิงบวก ทำให้การติดต่อประสานงานก็จะราบรื่น"

มีการสร้างสร้างโปรแกรม excel ที่สามารถเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนสร้างโปรแกรมเพื่อการประเมินผลด้วย

อาจารย์เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ ตั้งแต่เริ่มต้น จนสุดท้าย สามารถช่วยเหลือ เป็นกำลังใจให้ ทำให้นักเรียนเห็นอาจารย์มีคุณค่า "การไปให้กำลัง แม้เพียงนิดเดียว ก็สามารถทำให้นักเรียนเห็นคุณค่า"

Service mind ... มีความคิดสร้างสรรค์ มองโลกในแง่บวก

ครูฝึก ... (ของทัพบก) มียศเป็นจ่า ขณะที่นักเรียนเป็นนายร้อย แต่ "เขาสามารถฝึกนักเรียนให้ทำภารกิจบรรลุเป้าหมายได้ เพราะครูให้เกียรตินักเรียน มีจิตวิทยาในการฝึก เป็นมืออาชีพ มีความทุ่มเท ไม่มีท่าทีเหน็ดเหนื่อย" ในวันจบ นักเรียนมีความซาบซึ้งกับครูฝึกทุกรุ่น

 

หมายเลขบันทึก: 87789เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2007 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • มาตามกลิ่นธูป เอ๊ย! ตามเสียงเรียกเลยค่ะ  และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเป็น "เรื่องเล่าเคล้าคุณภาพ" จริงๆค่ะ...
  • น่าสนุกนะคะ คุยกับคนในเครื่องแบบเท่ห์ๆทั้งนั้นเลย นี่ถ้าพี่เม่ยอยู่ด้วยนะต้องนั่งยิ้ม..ม.. อย่างเดียวไม่ทำอย่างอื่นแล้วค่ะ...แบบว่า...ชอบ..น่ะ
  • ขอบคุณค่ะ พี่เม่ย
  • เรื่องเล่าของท่านๆ ทั้งหลายนี้ มีเยอะมาก มาก ค่ะ เรื่องของอาจารย์กับลูกศิษย์นี่ เป็นอะไรที่ทุ่มเทมาก มาก ... ข้าราชการไม่ใกล้เคียงเลย
  • เพิ่งรู้นะคะเนี่ยะ ว่า ชอบคนในเครื่องแบบ ... อิ อิ ... ไม่งั้นชวนมาร่วมด้วยช่วยกันแล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท