KM ~โคราชสู่อุบลราชธานี 4 CoP ธนาคารขยะศูนย์อนามัยที่ 5 การสร้างคุณค่าให้ทุกสิ่ง เรื่องนี้มีกึ๋น


ของไร้ค่านี้ทำเงินให้เราได้แล้วยังแก้ปัญหาค้างคาเรื่องการจัดการขยะได้ด้วย

ถ้ามีคนถามว่าจุดเริ่มต้นของธนาคารขยะศูนย์อนามัยที่ 5 เริ่มที่ตรงไหน ถามใครหลายๆ คนในศูนย์อนามัยที่ 5  ผมเชื่อว่าจะต้องได้รับคำตอบที่แตกต่างกัน
ถ้าถามท่านผู้อำนวยการ นายแพทย์สุเทพ  เพชรมาก ในเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM สู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ท่านบอกว่า ท่านเล็งเห็นคุณค่าในตัวคนทุกคนว่ามีเมล็ดพันธ์แห่งความดี แต่จะเพาะยังไงให้งอกงามจนเห็นความดีงามความมีศักยภาพปรากฏออกมา ขยะจากที่เรามองว่ามันไม่มีค่าอะไรก็แค่ขยะทิ้งหรือเผาไปก็จบแต่เมื่อเชื่อว่าทุกสิ่งมีค่ามีราคาก็หาวิธีสร้างคุณค่าให้มัน จากความรู้ที่ท่านได้มีประสบการณ์จากการดูงานที่ต่างประเทศท่านจึงอยากนำเรื่องนี้มาเป็นแนวทางให้พวกเราได้ดำเนินการและจึงผลักดันให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มคนงานและลูกจ้างดึงคนที่แฝงตัวเองอยู่ในองค์กรเหมือนคนไม่มีค่าอะไรให้มามีบทบาทสร้างคุณค่าให้ตนเองในเรื่องที่ตนเองทำได้ธนาคารขยะจึงเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะสร้างคุณค่าให้ขยะแล้วยังได้สร้างคุณค่าให้คนอีกต่อนึงด้วย
                ถ้าคุณเชื่อเรื่องที่ผมเล่ามาข้างต้นผมขอบอกเลยว่ามันยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าเราถามเรื่องนี้กับคุณรัชนี  บุญเรืองศรี ซึ่งเป็นทีมผู้รับผิดชอบโครงการเธอจะตอบว่า ศูนย์อนามัยรับมาตรฐานของทุกอย่างมาทำไม่จะ  ISO, HA, HPHNQA, และอีกหลายมาตรฐาน ปัญหาที่พบซ้ำซากภายในศูนย์อนามัยที่ 5 ก็คือเรื่องการจัดการขยะ ซึ่งเรามักไม่ค่อยผ่านเรื่องนี้ ก็คงมีหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งเรื่องคนงานที่เข้าออกบ่อย บริษัททำความสะอาดที่เปลี่ยนทุกปีและทำงานต่างกันด้วย ไหนจะเจ้าหน้าที่ภายในที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ก็มีขยะถังเดียวนี่ฉันจะทิ้งมันอย่างนี้....ก็แค่นั้น  แล้ววันนึงมีคนบอกว่าของไร้ค่านี้ทำเงินให้เราได้แล้วยังแก้ปัญหาค้างคาเรื่องการจัดการขยะได้ด้วย ธนาคารขยะจึงเกิดขึ้น
                เหตุผลแค่ที่กล่าวมามันยังไม่พอนะครับเพราะในมุงมองของผม ผมว่าเรื่องนี้ไม่ธรรมดา  ในกลุ่มคนงานของเรามักรู้สึกว่าตนเองต้อยต่ำถูกกดขี่ข่มเหงตลอดเวลาไม่มีอะไรที่สร้างความภูมิใจให้ตนเองได้  ทำงานก็กระจอกต่ำกว่าคนอื่นๆ รู้สึกว่ามันมีช่องว่างของเจ้านายกับคนรับใช้ มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ใจลึกๆ ก็อยากที่จะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ ในกลุ่มข้าราชการเองก็มักสนใจแต่ตนเองมากกว่ามองคนรอบข้างจะด้วยสถานการณ์ปัจจุบันหรือเพราะการปฏิรูประบบราชการคงต้องเอาตัวเองให้รอดก่อนจึงจะอยู่ได้ในสังคม ช่องว่างระหว่างความสัมพันธ์มันห่างขึ้นห่างขึ้น   และแล้วเมื่อมีคนพูดถึงธนาคารขยะ  มันจึงเป็นทางออกอีกทางที่จะสานความรักความเข้าใจในองค์กรของเรา งานนี้นักวิชาการมีส่วนในเรื่องการให้ความรู้  คนงานได้ทำและมีส่วนร่วมทุกคน ในแต่ละฝ่ายแต่ละส่วนก็ร่วมด้วยช่วยกัน เรามีกิจกรรมคัดแยกขยะที่สนุกมาก บางวันท่านผู้อำนวยการก็ลงมาคัดแยกขยะด้วยตนเองอย่างไม่ถือเจ้าถือนาย  นักวิชาการมาช่วยกรอกปุ๋ยใส่ถุง  หมอและพยาบาลยังเคยช่วยขายน้ำยา EM แม้แต่รายได้ก็ไม่เคยมีใครมีปัญหาในการแบ่งปัน งานนี้เขารู้เรื่องนี้มากกว่าเราๆ ท่านๆ เสียอีก  ก็ไม่น่าแปลกอะไรที่เราหาเวทีให้เขาได้แสดงศักยภาพ อย่างเช่น ตลาดนัดการจัดความรู้ ที่ จ.อุบลราชธานี  จะต้องบอกว่าน่าเสียดายถ้าท่านพลาดการเข้าชมบูธนี้  เพราะเราเอาเขา คนที่ทำงานตัวจริง มายืนเชิดหน้าในนามงานวิชาการของศูนย์อนามัยที่ 5 อย่างเต็มภาคภูมิ

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมkm
หมายเลขบันทึก: 206785เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดีจังค่ะ ได้มาโชว์ทั้งทีมเลย
  • ธนาคารนี้ ออกดอกออกผลดีมากเลยละค่ะ

ยอดเยี่ยมมากครับ

มีความก้าวหน้าอย่างไร เล่าสู่กันฟังอีกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท