ความเป็นไปของพุทธศาสนา...3


ในกาลต่อมาจึงมีชื่อต่อมาว่า...นิกายหินยาน ( เถรวาท , สถวีระ ) อีกฝ่ายเป็น...นิกายมหายาน ( อาจาริยวาท , มหาสังฆิกะ )...

การแยกชัดเจนเห็นเป็น 2 นิกายคือหินยานกับมหายานในพุทธศาสนาล่วงได้ 100 ปีมีพระภิกษุชาววัชชีมาอาศัยอยู่เมืองเวสาลีรวบรวมพวกมากได้ประกาศกฎ 10 ข้อ ขึ้นมาปฏิบัติเอง

โดยยึดตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า...ดูก่อนอานนท์ ( เลขา ฯ ) เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว  สงฆ์มีเจตนาจะเพิกถอนกฎเล็กน้อยก็ได้เลยนะ...

แต่พระเถระมีพระยสเป็นต้นพิจารณาเห็นว่าควรคงกฎที่พระพุทธองค์สั่งไว้ยืนตามหลักการที่สังคายนาครั้งแรก 

 การที่กลุ่มพระวัชชีมีพวกมากมาประกาศกฎใหม่เสียเองไม่สมควรถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ 

ด้วยปรารภเหตนี้เองฝ่ายพระยสได้รวบรวมพระสงฆ์แล้วจึงมีการทำสังคายนายืนตามมติของการทำสังคายนาครั้งแรก  ที่เมืองเวสาลีนี้เป็นครั้งที่ 2 หลังพุทธปรินิพพานได้ 100 ปี 

โดยมีพระเจ้ากาลาโศกราช  ผู้ครองกรุงปาตลีบุตรให้การอุปัฏถัมภ์ ในกาลต่อมาจึงมีชื่อต่อมาว่า...นิกายหินยาน ( เถรวาท , สถวีระ ) อีกฝ่ายเป็น...นิกายมหายาน ( อาจาริยวาท , มหาสังฆิกะ )...

 การประกาศเผยแผ่หลักพุทธธรรมนั้นนิกายหินยานมุ่งไปทางใต้ของอินเดีย เช่น ศรีลังกา , พม่า , ลาว , ไทย , เขมร เป็นต้น  แต่นิกายมหายานมุ่งไปทางเหนือเช่น ธิเบต , จีน  , เกาหลี , ยี่ปุ่น เป็นต้น

 

หมายเลขบันทึก: 187974เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2008 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท