อารยธรรมอินเดีย 3


อย่างราชวงศ์โมริยะ ราชวงศ์คุปตะ ราชวงศ์โมกุล เป็นต้นนั้นแล.

ช่วงนี้มีเรื่องเล่าถึงอนุทวีปอินเดีย  คือว่าเมื่อผมได้ไปเยือนถิ่นอินเดียเข้าไปอยู่ในกลิ่นไออารยธรรมอินเดียแล้วมักมีความรู้สึกอย่างหนึ่งว่าแผ่นดินนี้มีมนต์ขลังที่หลบซ่อนตัวอยู่ในแผ่นดินเอเชีย

ในแผ่นดินรูปหัวใจเหมือนคนเรานี้แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ตอนเหนือเป็นพื้นที่ขุนเขาหิมาลัยอย่างที่ผมเคยไปถึงแคว้นหิมาจัลประเทศไปเยี่ยมชมเมืองของชาวธิเบตชื่อเมืองธรรมศาลามีวังที่ประทับขององค์ดาไลลามะเปิดให้เข้าชมด้วย 

 เมื่อมองแผ่นดินตอนนี้จะมีสายน้ำอันเป็นแหล่งอารยธรรมโลกอย่างเช่น แม่น้ำสินธุ  แม่น้ำยมุนา  แม่น้ำคงคา  แม่น้ำพรหมบุตรไหลผ่านลงมาเหมือนเป็นเส้นเลือดหลอเลี้ยงชีวิตของคนเรา 

 ส่วนตอนกลางก็จะเป็นแหล่งที่ราบลุ่มใต้เทือกเขาวินธัยที่พาดขวางตอนกลางของอนุทวีปอินเดีย  มีที่ราบสูงเดคข่านเรียกตามนามของคาบสมุทร มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสายอย่าง แม่น้ำมหานที  แม่น้ำโคทาวรี  แม่น้ำกฤษณา  เป็นอาทิและมีทะเลขนาบอยู่ทั้งสองฟากคือทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก 

 ต่อมาเป็นตอนใต้ของอนุทวีปนี้คือเขตทมิฬมีขุนเขาขวางกั้นอีกเช่นกัน

เมื่อมองทางด้านภูมิศาสตร์  ก็มีผลต่อการสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดียโบราณมาก  ทางเปิดเข้าสู่อินเดียเป็นทางทิศเหนือแต่สลับวับซ้อนมีช่องเขาธรรมชาติมากที่รู้กันมีช่องเขาโบลัน  ช่องเขาไคเบอร์ อันเป็นเส้นทางสู่โลกภายนอก ก่อนจะมีเส้นทางการเดินเรือและมีเมืองท่ารอบแผ่นดินอินเดียในที่สุด 

 สำหรับแหล่งกำเนิดอารยธรรมอินเดียจะอยู่ในทางทิศเหนือที่มีเส้นทางผ่านไปสู่โลกภายนอกมักอยู่ตามลุ่มแม่น้ำสินธุแม่น้ำยมุนาและแม่น้ำคงคานับเป็นศูนย์กลางแห่งอารยธรรมก่อนจะแพร่ขยายไปทุกส่วนในอินเดีย 

 ในความเป็นดินแดนที่กว้างใหญ่อันอุดมสมบูรณ์นี้จึงมีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์มาอยู่อาศัยและเปลี่ยนกันมีอำนาจปกครองบางทีแยกกันเป็นแคว้นน้อยใหญ่  นาน ๆ จะมีผู้นำรวมอำนาจเป็นแผ่นดินอินเดียเพียงหนึ่งเดียว

อย่างราชวงศ์โมริยะ  ราชวงศ์คุปตะ  ราชวงศ์โมกุล เป็นต้นนั้นแล.

หมายเลขบันทึก: 310605เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ. ขยัน เขียนบันทึกค่ะ

สวัสดีครับ คุณberger0123

คือเตรียมข้อมูลพร้อมสอนด้วยละ...อิ อิ อิ

มาเรียนรู้เชิงลึก..ขอบคุณค่ะ..

และชวนไปเยี่ยมพิพิธภัณท์เงินตราค่ะ...

สวัสดีครับ นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

วาว ๆ เห็นภาพธรรมเมกสถูปนี้อยู่ใจกลางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่สารนาถ

ไปไหว้มาแล้วนะครับเห็นยืนเด่นเป็นสง่า...

เสียดายตรงซุ้มช่องที่มองเห็นสมัยโบราณบรรจุพระพุทธรูปทองคำ แต่สูญสิ้นไปหมด

เมื่อครั้งผมอยู่เมืองพาราณสีที่ไม่ไกลจากที่นี้เลยได้มานั่งสมาธิทุกบ่อย ๆ

ช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานะครับ...

สวัสดีค่ะอาจารย์

     ห่างหายไปหลายบันทึก

     แวะมาเรียนรู้ 

     ระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ

     อาจารย์สบายดีนะคะ

    

สวัสดีครับ คุณอิงจันทร์

ยังคงเหมือนเดิมละครับ

มีความสุขเช่นกันนะครับผม...อิ อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท