อารยธรรมอินเดีย 4


อารยธรรมสินธุมีความเจริญรุ่งเรืองมานานเกินกว่า 3 พันปี

อารยธรรมอินเดีย 4

ช่วงนี้มีเรื่องเล่าจากตอนที่แล้วถึงภาพรวมการเปลี่ยนผ่านทางอารยธรรมอินเดียเริ่มต้นจากยุคโบราณมาจนถึงปัจจุบัน  อาจแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ ช่วงจารีต  ช่วงการรับอิทธิพลทางตะวันตก  และช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน 

ในช่วงจารีตนั้นเป็นช่วงที่มีอารยธรรมสำคัญที่สุดอาจแบ่งออกได้อีกเป็น 3 สมัยคือ  สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ  สมัยอารยัน  และสมัยมุสลิม

ในสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนั้น   ถือว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบได้ในอินเดียมีที่ตั้งของการขุดค้นทางโบราณคดีอยู่ในเขตประเทศปากีสถานแรกพบคือเมืองฮารัปปา  อยู่ในแคว้นปัญจาบ  และเมืองโมเฮ็นโจดาโร  ตั้งอยู่ในแคว้นซินว์ ( สินธุ )   เพราะช่วงนั้นเป็นดินแดนของอินเดีย 

 ผู้ทำการขุดค้นคือ เซอร์  จอห์น  มาร์แชล ( Sir  John  Marshall ) ในความเจริญของเมืองโมเฮ็นโจดาโรนี้ใช้อิฐก่อสร้างเป็นอิฐเผา เพราะบริเวณนี้ไม่มีหินมาก่อสร้างได้ การใช้อิฐเผาจะทนต่อสภาพน้ำท่วมแถบนี้ได้ด้วย

 และเป็นเมืองวางผังอย่างเป็นระบบมีถนนมีคูระบายน้ำจัดไว้อย่างเป็นระเบียบมีภาพปฏิมากรรมเป็นรูปคนดั้งเดิมเข้าใจว่าเผ่าชนมิลักขะก่อนเผ่าชนอารยันจะรุกเข้ามายึดครองอินเดียมีอักษรภาพยังคงเป็นปริศนาอยู่เพราะยังหาคนอ่านไม่ได้

เมื่อมองความเชื่อแล้วในช่วงอารยธรรมสินธุนี้เชื่อว่ามีแนวคิดการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการทำพิธีกรรมต่าง ๆ แล้วมีปฏิมากรรมบางอย่างคล้ายกันกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

จากสิ่งที่เห็นเป็นซากเมืองเหล่านี้สื่อถึงความเจริญทางด้านเศรษฐกิจด้วย  มีการทำงานฝีมืออย่าง  การทอผ้า  ปั้นหม้อ  ทำเครื่องประดับ  เครื่องชั่ง  ตวง  วัด  บ่งบอกถึงการคาขายยังต่างเมืองได้

จากหลักฐานที่ถูกค้นพบทำให้ได้ข้อเสนอว่า...อารยธรรมสินธุมีความเจริญรุ่งเรืองมานานเกินกว่า 3 พันปี  ขอบเขตของอารยธรรมสินธุกว้างไกลไปถึงที่ราบสูงในประเทศอิหร่านปัจจุบัน 

 และผู้สร้างเมืองแห่งอารยธรรมสินธุนี้คือคนดั้งเดิมหรือชนเผ่ามิลักขะหรือดราวิเดียน  และการรุกรานของชนเผาอื่นเข้ามาปกครองทำให้สิ้นสุดช่วงแห่งอารยธรรมสินธุนั้นแล

หมายเลขบันทึก: 310835เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2009 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • ได้อ่านเรื่องที่อาจารย์เล่าหลายตอน
  • อยากไปบ้างแล้วครับ
  • อาจารย์สบายดีไหมครับ

สวัสดีครับ คุณขจิต ฝอยทอง

วันนี้โดนฝนซะแล้วละ ทำท่า ๆ อยู่ อิ อิ อิ

สายฝนยังคงโปรยปรายลงมาที่ตึกข้างเขารูปช้าง ใน ม. ทักษิณ ถิ่นสงขลา

กำลังจะ ๆ ไปโรงอาหาร...หาอาหารเที่ยงวัน ยังมองฟ้าอยู่ว่าจะหยุดตกเมื่อไหร่หนอ...อิ อิ อิ

มีความสุขมาก ๆ นะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาตามต่อ

ยังกับห้องเรียนออนไลน์เลย

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์

ชอบอ่านเรื่องที่อาจารย์บันทึกมากคะ

เขียนให้อ่านง่ายๆเข้าใจง่าย น่าติดตามมากคะ

สวัสดีครับ คุณครูอ้อย แซ่เฮ

ทางปักษใต้เมืองสงขลาตอนนี้เจอฝนกำลังตกใหญ่เลยละครับ

มีความสุขมาก ๆ นะครับ

สวัสดีครับ คุณณัฐรดา

อิ อิ อิ...เอาอย่างนั้นรึครับ

เป็นห้องเรียนเกี่ยวกับอารยธรรมอินเดียนะครับผม...

สวัสดีครับ คุณKaruna Chantanom

เป็นประวัติศาสตร์ทางอารยธรรมอินเดียที่ผมเคยไปอยู่ไปดูไปรู้ไปเห็นมาครับ

เท่าที่จะนำเสนอได้...อิ อิ อิ

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายอาจารย์ค่ะ

ขอบคุณค่ะที่นำสาระดีๆมาฝาก

สวัสดีครับ

ติดตามอ่านหลายตอนแล้ว

ได้ประโยชน์มากครับ

ดั่งที่สมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับอินเดียไว้

เล่มที่ 3 ที่เผยแพร่ผที่ร้านนายอินทร์)ชื่อว่า "อัศจรรย์ทุกวัน"

อยู่อินเดียมา 2 ปีแล้ว อัศจรรย์ทุกวันจริงๆ ครับ

ประวัติศาสตร์ทำให้เรารู้จักที่มา ได้เปิดตา เปิดใจ

สวัสดีครับ คุณตุ๊กตา

ตอนนี้สายฝนยังคงโปรยปรายลงมาอย่างหนาเม็ดที่เมืองหาดใหญ่ ตกได้ตกดีจริง ๆ

คืนนี้คงนอนอุ่น ๆ มีความสุขมาก ๆ นะครับ...

สวัสดีครับ คุณพลเดช วรฉัตร

การได้อยู่อินเดียแล้วย่อมเข้าใจซึ้ง

และสัมผัสได้ของกลิ่นไอแห่งอารยธรรมอินเดียดีทีเดียวนะครับผม...อิ อิ อิ

สวัสดีครับ นาย เอกราช แก้วเขียว

ประวัติศาสตร์สมัยแต่เก่าก่อนนั้นบ่งบอกอะไรเราหลายอย่างนะครับ...อิ อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท