อารยธรรมอินเดีย 9


เดินทางไปสู่จุดสูงสุดทางศาสนาคือสายปัญญา สายศรัทธา และสายปฏิบัตินั้นแล.

เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาของอารยัน

ช่วงนี้มาเล่าถึงอินเดียมีหลายเผ่าหลายศาสนามีประวัติศาสตร์มายาวนานการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาขึ้นอยู่กับผู้นำอินเดียว่าจะสนับสนุนศาสนาใดเป็นพิเศษภายหลังมีศาสนาที่ตายแล้วจากที่อื่นก็มีการนำเข้ามาฝากใว้ในธนาคารศาสนาของอินเดีย

จนมีรัฐธรรมนูญกล่าวถึงเรื่องศาสนาทำนองว่า...บุคคลพึงมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา  ลัทธิ  ได้ตามใจศรัทธา...ทุกวันนี้อินเดียจึงไม่มีศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ จะกล่าวศาสนาหลักไว้พอศึกษาดังนี้

ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูในปัจจุบัน  ผู้คนนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ มากมหาศาล  โดยเฉพาะพระพรหมผู้สร้างโลก  พระวิษณุผู้ปกป้องโลก  พระศิวะผู้ทำลายโลก และ 2 องค์หลังนี้ปัจจุบันได้รับความนิยมแซงหน้าพระพรหมไปแล้ว 

 และมีอีก 2 องค์ได้รับความนิยมตามมาติด ๆ คือพระรามและพระกฤษณะ  ซึ่งทั้ง 2 องค์หลังนี้เป็นอวตารมาจากพระวิษณุหรือพระนารายณ์

สำหรับพิธีกรรมที่กระทำบนฐานแห่งความศักดิ์สิทธิ์คือชาวฮินดูต่างถือว่าแม่น้ำคงคาไหลมาจากสวรรค์  ที่เมืองพารณสีคือแหล่งที่สายน้ำคงคาศักดิ์สิทธิ์ที่สุด จึงเป็นที่มาอาบน้ำล้างบาปกันมาก

 นอกจากนั้นยังมีที่อาบน้ำล้างบาปอันสำคัญยิ่งของชนชาวฮินดูคือเมืองฤาษีเกส  เมืองหริทวาร์ เมืองอัลลาฮาบัดที่สายน้ำนี้ไหลผ่าน ศาสนาฮินดูยังเป็นปรัชญาชีวิตของชาวฮินดูมีการสอนเรื่องอมตะของอาตมัน 

 มีเส้นทาง 3 สายที่จะเดินทางไปสู่จุดสูงสุดทางศาสนาคือสายปัญญา  สายศรัทธา  และสายปฏิบัตินั้นแล.

คำสำคัญ (Tags): #philosophy#umi
หมายเลขบันทึก: 312981เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2009 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับอินเดียที่อาจารย์เขียน

ติดตามอ่านเสมอมาคะ

สวัสดีครับ คุณทิพย์

เป็นเรื่องเล่าในสิ่งที่ผ่านภพมาเกี่ยวกับอินเดียนะครับ

เป็นความคิดเห้นส่วนตัวอาจผิดพลาดได้นะครับผม อิ อิ อิ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ที่จริง การระบุว่ามีศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ มองว่าไม่มีความสำคัญเลยค่ะ ตราบใดที่ไม่มีการปลูกฝังความรู้เกี่ยวกับศาสนาอย่างแท้จริง

ตราบใดที่ศึกษาศาสนาแบบอิงประเพณี จนทำให้ศาสนากลายเป็นพิธีรีตองไป

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไม่ใช่ว่าไม่ดีค่ะ อย่างน้อย เราก็รู้รากเง่าของเราเอง เพียงแต่มองว่ากระทรวงศึกษาให้ความสำคัญมากไปหน่อย มากกว่าอริยสัจ 4 เสียอีก (ดูจากหนังสือวิชาพุทธศาสนาของลูกน่ะค่ะ)

ลองคิดดูนะคะ แค่พุทธพจน์เกี่ยวกับอริยสัจ 4 ท่านพุทธทาสรวบรวมไว้เป็นหนังสือ 2 เล่ม หนากว่าพันหน้า แต่เด็กไทยรู้แค่ ทุกข์ คือความทุกข์ใจ สมุทัยคือเหตุให้เกิด นิโรธ คือความดับทุกข์ มรรคคือหนทางที่ทำให้ทุกข์ดับ

รู้แค่หัวข้อ แต่รายละเอียดตั้งมากมายกลับแทบไม่มีการสอนกันในโรงเรียน

แล้วจะไม่ให้คนบางกลุ่มไปไหว้กระดองเต่าได้ยังไง

ใช่มั๊ยคะ

อ้าวตาย

กลายเป็นยายแก่ขี้บ่นไปแล้ว

ขออภัยค่ะ อิอิ

สวัสดีครับ คุณณัฐรดา

อ่านแล้วให้แวบนึกถึงคำกล่าวของโสตราตีสที่ว่า...หนึ่งเดียวที่ข้าพเจ้ารู้คือข้าพเจ้าไม่รู้อะไรเลย...อิ อิ อิ

ทำนองว่า...ถ้ารู้ก้อนหินเพียงก้อนเดียวก็รู้ความเป็นไปในจักรวาลละ...อิ อิ อิ

ท่านพุทธทาสแตกฉานในธรรมแค่ทุกข์เท่านั้นที่คงอยู่ดูรู้เห็นเขียนออกมาได้หนังสือหลายเล่มนะครับผม...

จริงค่ะอาจารย์

ยิ่งศึกษา ยิ่งรู้สึกเหมือนว่า ยังไม่รู้อะไรเลย

เพราะสิ่งที่อยากศึกษา ดูจะยิ่งมากขึ้น ทุกที ทุกที

สวัสดีครับ คุณณัฐรดา

ชอบที่จะเป็นคนเหมือนแก้วน้ำที่ว่างเปล่า...จะได้รับน้ำใหม่ ๆ อยู่เสมอ...อิ อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท