kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน (4) : เรื่องเล่าจากจังหวัด


จากบันทึก http://gotoknow.org/blog/kongkiet/177265  มีเรื่องเล่าจากผู้ประชุมหลายเรื่อง เช่น

ในการแบ่งกลุ่มของจังหวัดทั้ง 4 จังหวัด ได้สรุปเรื่องเล่าดังนี้

 

เรื่องเล่าจากกำแพงเพชร

-          สิ่งที่ทำให้การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนเป็นไปได้ดีคือการสร้างความคุ้นเคย โดยการออกหน่วย อย่างน้อยโรงเรียนละครั้ง

-          จากความคุ้นเคยกับชาวบ้าน เนื่องจากต้องออกทำ Folder ตามบ้านอยู่แล้ว ทำให้เจ้าหน้าที่คุ้นเคยกับพื้นที่มากขึ้น

-          สร้างความสัมพันธ์กับครู เช่นการให้บริการเป็นพิเศษเมื่อมาโรงพยาบาล หรือ สอ.

-          เมื่อเกิดความคุ้นเคย จึงค่อยพูดเรื่องงานที่จะทำ

 

เรื่องเล่าจากจังหวัดพิจิตร

-          เจ้าหน้าที่เองเป็นบุคคลที่สำคัญในการทำงาน เริ่มจากต้องเป็นนักประสานงาน มีทักษะความรู้  และบุคลิกภาพที่ดี รวมถึงค้นหา Key person ให้เจอ

-          การประสานงานกับโรงเรียนต้องอาศัย

·       การสร้างความสัมพันธ์  เช่นการเป็นคนในพื้นที่ เป็นศิษย์เก่ามาก่อน

·       นักเรียนเป็นลูกหลาน คนรู้จัก เครือญาติ

·       ต้องมีการสื่อสารแบบ 2 ทาง

·       ทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน

·       อาจมีสื่อ หรืออุปกรณ์ที่โรงเรียนต้องใช้นำไปให้โรงเรียนด้วย

-          การประชาสัมพันธ์ และการติดต่อ

·       มีแผนที่ชัดเจน อย่าเข้าโรงเรียนโดยไม่บอกล่วงหน้า

·       ส่งแผนการดำเนินงานก่อนล่วงหน้า เพื่อให้ครูเตรียมการได้ทัน

·       อาจต้องมีเบอร์โทรศัพท์ เพื่อการติดต่อสะดวกยิ่งขึ้น

·       ให้คิดว่าอุปสรรค์ คือแรงส่ง

 

เรื่องเล่าจากจังหวัดนครสวรรค์

        สิ่งที่จะทำให้การทำงานกับโรงเรียนประสบความสำเร็จก็คือ

-          การวางแผนล่วงหน้า การนัดหมายที่เป็นทางการ

-          การสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว จากการต้องเข้าไปโรงเรียนบ่อย ๆ

-          บางครั้งอาจไม่ได้รับความสะดวกจากผู้บริหารโรงเรียน อาจต้องเริ่มจากครูน้อย คือครูอนามัยซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยกันอยู่แล้วก่อน

-          การให้เกียรติครู เป็นสิ่งสำคัญ

-          สิ่งสนับสนุนที่มอบให้โรงเรียนเป็นสิ่งที่จะทำให้โรงเรียนทำงานได้ดีขึ้น

-           การเข้าไปทำกิจกรรมกับโรงเรียนหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้โรงเรียนเห็นว่าได้อะไรจากการทำ  (บางครั้งโรงเรียนมองไม่เห็นผลลัพธ์ของกิจกรรม ต้องเข้าไปชี้แนะให้ก่อน)

-          สิ่งที่สำคัญที่มักละเลยคือการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญต่อการดำเนินงานต่อไปในอนาคต

 

เรื่องเล่าจากจังหวัดอุทัยธานี

                หมอมี่บอกว่า สิ่งที่ต้องทำในการเข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรียนก็คือ

-          การแจ้งเป็นหนังสือ

-          การตรงต่อเวลา

-          การประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (อาศัยความคุ้นเคยเป็นส่วนตัว)

-          จูงใจโรงเรียน  โดยดูจากความสนใจของโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นก่อน

-          บางครั้งเมื่อครูเข้าใจ และมีความต้องการที่จะทำ ครูจะมาติดต่อขอคำปรึกษาในการทำกิจกรรมเองเลย โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องไปติดต่อครู (แต่มีน้อยมาก)

-     สิ่งที่สำคัญคือคุยกันอย่างเปิดอก แสดงให้เห็นข้อดีและข้อเสีย และสิ่งที่สำคัญทุกคนได้ผลประโยชน์ร่วมกันหมด

หมายเลขบันทึก: 177381เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2008 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • อือม พอสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ในพื้นที่คงต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบด้าน
  • เพียงเท่านี้ งานก็มีชัยไปเกินครึ่งแล้วละเน๊าะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท