นาฏศิลป์อินเดีย


อินเดียถือว่านาฏศิลป์เป็นทิพยกำเนิดตามคัมภีร์ภารตะนาฏยศาสตร์

นาฏศิลป์อินเดีย

 

นาฏศิลป์อินเดียมีความผูกพันอยู่กับคติความเชื่อ และศรัทธาในศาสนาฮินดู การแสดงนาฏศิลป์สะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เน้นความลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ อินเดียถือว่านาฏศิลป์เป็นทิพยกำเนิดตามคัมภีร์ภารตะนาฏยศาสตร์ ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดีย และการแสดงที่อินเดียยึดถือเป็นแบบแผน ยกย่องว่าเป็นศิลปะประจำชาติมาพอสังเขป ดังนี้

 

     ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดีย

ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์อินเดียตามคัมภีร์นาฏยศาสตร์    พระภารตะมุนีเป็นผู้รับพระราชทานนาฏลีลาจากพระพรหม และพระศิวะ ชาวฮินดูจึงยกย่องพระศิวะเป็น “นาฏราชา” หมายถึง พระราชาแห่งการฟ้อนรำ

ยุคที่อินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อินเดียได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านนาฏศิลป์ การละคร วัฒนธรรม ตะวันตกได้เข้ามาผสมผสานทำให้นาฏศิลป์ที่เป็นแบบฉบับในราชสำนักกลายเป็นสิ่งไร้ค่า ขาดการดูแลรักษา จนเกือบจะสูญ ต่อมาเมื่ออินเดียเป็นเอกราช จึงฟื้นฟูนาฏศิลป์ประจำชาติขึ้นมาใหม่ อันได้แก่ ภารตะนาฏยัม   กถักกฬิ   และมณีปุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

1     การแสดงภารตะนาฏยัม

ภารตะนาฏยัม เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีส่วนสำคัญในพิธีของศาสนาฮินดูสมัยโบราณ สตรีฮินดูจะถวายตัวรับใช้ศาสนาเป็น “เทวทาสี” ร่ายรำขับร้อง บูชาเทพในเทวาลัย ซึ่งจะเริ่มฝึกตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ศึกษาพระเวท วรรณกรรม ดนตรี การขับร้องของเทวทาสีเปรียบประดุจนางอัปสรที่ทำหน้าที่ร่ายรำบนสวรรค์  

1.  การแสดง ผู้แสดงต้องได้รับการฝึกฝนอย่างมีแบบแผน ด้วยระยะเวลายาวนานจนมีฝีมือยอดเยี่ยม สามารถเครื่องไหวร่างกายได้สอดคล้องกับจังหวะดนตรี เนื้อหาสาระของการแสดง สะท้อนสัจธรรมที่ปลูกฝังยึดมั่นในคำสอนของศาสนา แสดงได้ทุกสถานที่ ไม่เน้นเวที ฉาก เพราะความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภารตะนาฏยัม คือลีลาการเต้น และการ่ายรำ

2.  ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดง ในวงดนตรีจะมีผู้ขับร้อง 2 คน คนหนึ่งจะตีฉิ่ง คอยให้จังหวะแก่ผู้เต้น อีกคนจะเป็นผู้ขับร้องและตีกลองเป็นหัวใจสำคัญของการแสดงภารตะนาฏยัม ส่วนเครื่องดีด และเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย เป็นเพียงส่วนประกอบให้เกิดความไพเราะเท่านั้น

3.  เครื่องแต่งกาย ในยุคโบราณ จากหลักฐานที่ปรากฏตามรูปปั้น รูปแกะสลัก ไม่สวมเสื้อ สวมแต่ผ้านุ่งยาวแค่เข่า ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู กำไล ข้อมือ ข้อเท้า ต้นแขน ปละเครื่องประดับที่ศีรษะ ปัจจุบันสวมเสื้อ ยึดหลักการแต่งกายสตรีที่เป็นชุดประจำชาติของอินเดีย

 

2    การแสดงชุดกถักกฬิ

กถักกฬิ เป็นการแสดงละครที่งดงามด้วยศิลปะการ่ายรำแบบเก่าๆ ผู้แสดงจะต้องสวมหน้ากาก นับว่ากถักกฬิของอินเดียเป็นต้นเค้าของนาฏศิลป์ตะวันออก เช่น ละครโน้ะของญี่ปุ่น โขนของไทย และนาฏศิลป์อินโดนีเซีย  ส่วนพม่าจะนิยมแสดงเรื่องรามายณะ  และมหาภารตะ

1.  การแสดง ผู้แสดงเป็นชายล้วน แบ่งตัวละครออกเป็นประเภท คือ ประเภทแรกจะเป็นเทพเจ้าที่มีคุณธรรมสูง เช่น พระนารายณ์ พระอินทร์ เป็นต้น ประเภทที่สองจะเป็นมนุษย์ และวีรบุรุษ เช่น พระราม พระลักษณ์ ประเภทที่สามจะเป็นตัวละครที่มีความชั่วร้าย การแสดงชุดกถักกฬินี้จะแสดงกันตลอดทั้งคืนจึงยุติ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของวีรบุรุษ และวีรสตรี พระเจ้า และยักษ์จากมหากาพย์ของอินเดีย

จุดเด่นของการแสดงละครกถักกฬิอยู่ที่การเล่นจังหวะ กระทบเท้าอย่างรวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ และลีลาที่หมุนตัวเป็นเอกลักษณ์ของระบำกถักกฬิ

2.  ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดงที่สำคัญที่สุด คือ กลอง นอกจากนี้ยังมีเครื่องสีที่มีลักษณะคล้าย      ไวโอลีน เรียกว่า “ซารองงี” บรรเลงทำนองด้วย มีนักร้อง 1 คน

3.  เครื่องแต่งกาย ตังละครชาย นุ่งกางเกงขายาว จีบรอบเอว มีผ้าคาดเอว ไม่สวมเสื้อ ตัวละครที่แสดงเป็นผู้หญิง แต่งกายเป็นชุดประจำชาติสตรีอินเดีย ปัจจุบันปรับปรุงการแต่งกายให้งดงาม เป็นผ้าไหมขลิบทองเป็นชุดกระโปรงยาว ใส่เสื้อสวมส่าหรีทับเสื้อ สวมเครื่องประดับ

 

3    การแสดงชุดมณีปุรี

มณีปุรี เป็นการแสดงละครของชาวไทยอาหม ในรัฐอัสสัม ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาเหมือนชาวมองโกล เรียกเมืองหลวงของตนว่า “มณีปุระ” และเรียกการแสดงละครของเมืองนี้ว่า “มณีปุระ”  

1.  การแสดง ผู้แสดงจะต้องมีความสามารถ มีฝีมือ ได้รับการฝึกหัดจนเกิดทักษะในการแสดง เพราะเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงเป็นศิลปะเก่าแก่ประจำชาติ รูปแบบของการแสดงมีสองรูปแบบ คือ ระบำกับละคร   เนื้อเรื่องที่แสดงนำมาจากวรรณคดี ส่วนมากนิยมแสดงเรื่องพระกฤษณะ ตอนความรักของนางราธากับพระกฤษณะ

2.  ดนตรี ที่ใช้ประกอบการแสดงมณีปุรี ได้แก่ กลอง ขลุ่ย สังข์ แตร ฉาบ และเครื่องสายที่สร้างทำนองเพลงอันไพเราะ

3.  เครื่องแต่งกาย แต่งกายคล้ายชาวยุโรป คือ นุ่งกระโปรงบาน ที่เรียกว่า “สุ่ม” มีลวดลายสวยงามมาก เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป็นพระกฤษณะ แต่งแบบเก่าของพวกวรรณะกษัตริย์ นักรบ

ชุดเครื่องแต่งกายระบำราสลีลา ที่เรียกว่า “ภูมิล” เป็นชุดของผู้หญิง กระโปรงยาวคล้ายสุ่ม ช่วงเอวสวมผ้าอีกชิ้น คล้ายกระโปรงสั้น เหมือนร่มกางแผ่รอบเอว สวมเสื้อกำมะหยี่แขนสั้น คาดเอวด้วยผ้าปัก สวมเครื่องประดับ ใช้ผ้าโปร่งคลุมหน้า

หมายเลขบันทึก: 327091เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2010 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

                    

ได้อ่านแล้วคิดถึงตอนเป็นนักศึกษา ...พี่เรียนที่นาฏศิลป์กรุงเทพ สมัยพฤษภาทมิฬ ไม่ทราบว่าหนู เกิดทันเหตุการณ์หรือเปล่า ...จำได้ว่า นาฏศิลป์อินเดียเนี่ย อาจารย์จาตุรงค์ มนตรีศาสตร์เป็นผู้สอนค่ะ

 

ขอบคุณมากๆค่ะที่ให้ความรู้

อยากได้ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ตะวันออกอย่างละเอียดอ่ะค่ะ

แล้วก็ขอประวัตินาฏศิลป์ตะวันออกของแต่ละประเทศด้วยค่ะ

ขอบคุนนะคะ

สำหรับความร้ดีดี

นี้เปนปะโยชน์มากเลยคะ

เพาะเปนข้อสอบทั้งนั้นเลย555+

ขอบคุงจ้า

กำลังจะทำงานส่งครูพอดี๊เลย

เด็กนาฏศิลป์ไทยในพาราณสี

อ่านแล้วเป็นประโยชน์มากค่ะ ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ข้อหนึ่ง ที่อินเดียเรียกว่า ภาระนาฏยัมค่ะ

ที่เป่าแล้วมีงู...โผล่มาเขาเรียกอะไรงะครับ.....

ขอบคุงมากๆๆๆๆๆๆเลยนะคับ พอดีว่าวันนี้ทามงานส่งครูพอดีเลย

ขอขอบคุงมากนะคราบบ ผม

อยากได้รูปพร้อมข้อมูล

ขอบคุณคร้าบกำลังจะไปใช้ทำการบ้าน จะเขียนเครติดด้วยครับ

ขอบคุณมากค่ะ ให้ความรู้ -u-

อยาก รู้ เรื่อง เกี่ยว กับ การ แต่ง กาย ของ นาฏศิลป์ อินเดีย

อยากทราบในปัจจุบันการแสดงของอินเดียมีผลกระทบจากสังคมอย่างไรบ้าง ..ผู้รู้ช่วยตอบทีนะคะ

ชอบค่ะ อยากให้เขียนมาอ่านอีกเพราะหนูอยากจะรู้ให้มากกว่านี้เพื่อที่จะไปเรียนจะได้เข้าใจมันง่ายขึ้น

อยากทราบชื่อครูที่สอนเกี่ยวกับมณีปุริบ้างค่ะ

 

หารายงานอยู่พอดี

ไม่มีที่อยากรู้

อยากให้เพิ่มอิทธิพลของวัฒนธรรมที่มีผลต่อเนื้อหาการแสดงนาฏศิลป์ คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท