ความแตกต่างที่ไม่ต่าง (2)


พื้นฐานความคิดจากการเรียนรู้ความแตกต่างของผู้คน หรือความแตกต่างทางมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาสายตรงที่เหล่านักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่ำเรียนกันมา ที่ม.อ.ปัตตานี ทำให้วันนี้ ฉันกล้าที่จะเรียนรู้...

 

การอาบน้ำแบบเปลือยในห้องอาบน้ำสาธารณะที่ญี่ปุ่น

การกินข้าวกับมือที่มาเลเซีย

ได้ อธิบายว่าคนไทยในอดีตกินข้าวกับมือเช่นเดียวกับมาเลเซีย ไม่ใช่กินข้าวกับตะเกียบเหมือนเหมือนกับจีนหรือเวียดนาม ดังที่เพื่อนชาวเวียดนามคิด

ได้เข้าใจว่าทำไมชาวเวียดนามกับชาวจีนไม่ค่อยชอบหน้ากัน

ได้พูดว่า "อิตาดากิมัส" ก่อนกินข้าวที่ญี่ปุ่น และกล่าว "บัวนาพิตี้" ก่อนกินข้าวเหมือนกันที่ฝรั่งเศส

ได้เข้าใจว่าทำไมชาวเอเชียขี้อาย ขณะที่ฝรั่งคอเคซอยชอบพูดตรง โผงผาง บนหลักของเหตุผล

ได้เข้าใจว่าทำไมประเทศยุโรปตอนเหนือจึงใส่รองเท้าในบ้าน แม้แต่บนเตียงนอน

ได้เข้าใจว่าชาวตะวันตกชอบถามว่า "ทำไมๆๆ" ในขณะที่ชาวเอเชียชอบ "พยักหน้าฟัง" อย่างเดียว

ฯลฯ

หรือ..จะเป็นโอกาสที่เอื้ออำนวย ที่สอนให้ฉันเปิดรับตั้งแต่สมัยเรียน ส่งผลให้ฉันมีโอกาสได้เรียนรู้โลกกว้าง ได้เรียนรู้ความแตกต่างของผู้คน วัฒนธรรม ความเชื่อ ความหลากหลาย หรือศาสตร์แห่งมนุษยวิทยาที่เราถูกปลูกฝังกันมา

 

หาดใหญ่นั้นกว้าง เจริญ มีนักท่องเที่ยวมากมาย แต่ก็ยังเล็กนัก เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร แต่ก็ยังเล็กนักเมื่อเทียบกับนิวยอร์ค

นิวยอร์ค มหานครแห่งความรุ่งโรจน์ แต่ก็ยังเล็กนักเมื่อเทียบกับจีนแผ่นดินใหญ่

 

...

โลกเรากว้างใหญ่นัก แต่ก็ยังเล็กนักหากมองในมุมของอวกาศ

เราแตกต่าง เราไม่เหมือน

ไม่มีใครหน้าตาเหมือนกัน แต่เราก็ยังอาศัยอยู่ร่วมกันได้

เราก็เลือกคนที่หน้าตาไม่เหมือนกันมาเป็นคู่ชีวิต ผลิตลูกที่บางครั้งก็หน้าตาไม่เหมือนเราเอาเสียเลย แต่เรากลับรักเขาสุดหัวใจ

บนโลกนี้ไม่มีใครเหมือนใคร ทำไมจะรักกันสุดหัวใจเหมือนรักลูกเราไม่ได้ ในเมื่ออยู่บนโลกใบเดียวกัน...

หมายเลขบันทึก: 304368เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2009 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เมื่อยังมีการเปรียบเทียบ

ก็จะไม่เห็นตามจริงนะครับ

ขอบคุณครับ

ในแง่มุมหนึ่งของการเปรียบเทียบ คือ การทำให้เข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น เพราะการเปรียบเทียบจะให้ภาพที่ชัดเจนขึ้น

- การเรียนภาษาอังกฤษ อาจต้องเริ่มต้นจากการเปรียบเทียบกับภาษาไทย แต่เมื่อเมื่อเรียนไปถึงระดับหนึ่ง ก็จะทราบว่า การเปรียบเทียบนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ในเชิงความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แต่เป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

- หลายประเทศในโลกสร้างนวัตกรรมใหม่ ด้วยการเลียนแบบ การเปรียบเทียบ เช่น ญี่ปุ่น ทำความเข้าใจผู้อื่นก่อน แล้วจึงต่อยอดหรือพัฒนาสิ่งใหม่ตามความต้องการของตนเอง

- แม้แต่ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ก็เกิดจากพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ หรือเปรียบเทียบ เช่น เราหัดพูดจากการเปรียบเทียบการพูดของพ่อแม่

การลอกเลียนแบบ - การเปรียบเทียบ ทับซ้อนกันอยู่ในแง่ของการเทียบเคียง และสุดท้ายแล้ว การเรียนรู้แก่นแท้ดังเช่นที่คุณ Phornphon กล่าว เป็นเรื่องของการทำความเข้าใจในขั้นกว่าของการเปรียบเทียบขึ้นไป

เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงนั้น มีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้มากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท