พิมพ์ใจ
นางสาว รุ่งระวี ศรีสองเมือง

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน


การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1. ความสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 เป็นการกระจายอำนาจไปยังโรงเรียนโดยให้มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรด้านวัตถุและบุคคลได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

2. ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้น เน้นที่การบริหารจัดการ และเน้นการพัฒนา

นักเรียนและครูรวมทั้งโรงเรียน และรวมทั้งระบบบนพื้นฐานข้อเท็จจริงโรงเรียน ดังนั้น

บทบาทของโรงเรียนจึงเป็นแบบริเริ่มพัฒนา ใช้กระบวนการการแก้ปัญหา สำรวจความเป็น

ไปได้ อำนวยความสะดวกสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และ

ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลซึ่งลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นมีรายละเอียดพอสรุปดังต่อไปนี้

2.1 หลักการกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจการศึกษาจากกระทรวงและ

ส่วนกลางไปยังสถานศึกษาให้มากที่สุดโดยมีความเชื่อว่าโรงเรียนเป็นหน่วยสำคัญใน

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษาของเด็ก

2.2 หลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย ในการมี

ส่วนร่วมในการบริหารตัดสินใจ และร่วมจัดการศึกษา ทั้งครู ผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน

ตัวแทนศิษย์เก่า และตัวแทนนักเรียน การที่บุคคลมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจะเกิดความรู้สึก

เป็นเจ้าของและจะรับผิดชอบในการศึกษามากขึ้น

2.3 หลักการคืนอำนาจการศึกษาให้ประชาชน ในอดีตการจัดการศึกษาจะทำกัน

หลากหลายบางแห่งก็ให้วัดหรือองค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมามีการรวบรวมการจัดการ

ศึกษาไปให้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานทางการศึกษา แต่เมื่อ

ประชากรเพิ่มขึ้น ความเจริญต่างๆ รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาโดยส่วนกลาง

เริ่มมีข้อจำกัดเกิดความล่าช้าและไม่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอย่างแท้จริง

จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนได้จัดการศึกษาเองอีกครั้ง

2.4 หลักการบริการตนเอง ในระบบการศึกษาทั่วไป มักจะกำหนดให้โรงเรียนเป็น

หน่วยปฏิบัติตามนโยบายของส่วนกลาง โรงเรียนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง สำหรับการบริหาร

โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และนโยบายของ

ส่วนรวม แต่มีความเชื่อว่าวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายนั้นทำได้หลายวิธี การที่ส่วนกลางทำ

หน้าที่เพียงกำหนดนโยบายและเป้าหมาย และปล่อยให้โรงเรียนมีระบบการบริหารด้วยตนเอง

โดยให้โรงเรียนมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งอาจดำเนินการได้

หลากหลาย ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความพร้อมและสถานการณ์ของโรงเรียน ผลที่ได้รับ

น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม ที่ทุกอย่างถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง ไม่ว่าโดยทางตรง

หรือทางอ้อม

2.5 หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุม

มาตรฐานมีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและ

มาตรฐานเป็นไปตามกำหนด และเป็นไปตามนโยบายของชาติ

สรุปว่า ลักษณะการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หมายถึง การนำ

หลักการบริหารโรงเรียนมาใช้ภายในโรงเรียน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพ ในการจัดการของ

โรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนได้รับความเชื่อมั่นว่า สามารถบริหารงานภายในโรงเรียนได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากกว่ารูปแบบการจัดการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา

3. รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานว่ามี 4 รูปแบบได้แก่

3.1 รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก ผู้บริหารเป็นประธานคณะกรรมการ

ส่วนกรรมการอื่นๆ ได้มาจากการเลือกตั้งหรือการคัดเลือกจากกลุ่มผู้ปกครอง ครู และชุมชน

คณะกรรมการมีบทบาทให้คำปรึกษา แต่อำนาจตัดสินใจยังคงอยู่ที่ผู้บริหารโรงเรียน

3.2 รูปแบบที่มีครูเป็นหลักเกิดจากแนวคิดที่ว่า ครูเป็นผู้ใกล้ชิดนักเรียนมากที่สุด

ย่อมรู้ปัญหาได้ดีกว่าและสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ตัวแทนคณะครูจะมีส่วนร่วมมากที่สุด

ในคณะกรรมการโรงเรียน ผู้บริหารยังคงเป็นประธานคณะกรรมการโรงเรียน บทบาท

ของคณะกรรมการโรงเรียนและเลขานุการ บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียน

เป็นคณะกรรมการบริหาร

3.3 รูปแบบที่มีชุมชนมีบทบาทหลัก แนวคิดสำคัญคือ การจัดการศึกษา

ควรตอบสนองความต้องการและค่านิยมของผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด ตัวแทนของผู้ปกครอง

และชุมชนจึงมีส่วนร่วมในคณะกรรมการโรงเรียนมากที่สุด ตัวแทนผู้ปกครองและชุมชนเป็น

ประธานคณะกรรมการโดยมีผู้บริหารโรงเรียนเป็นกรรมการและเลขานุการ บทบาทหน้าที่ของ

คณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหาร

3.4 รูปแบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทหลัก แนวคิดเรื่องนี้เชื่อว่า ทั้งครู และ

ผู้ปกครองต่างมีความสำคัญในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก เนื่องจากทั้งสองกลุ่มต่างอยู่ใกล้ชิด

นักเรียนมากที่สุด รับรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีที่สุดสัดส่วนของครูและผู้ปกครอง (ชุมชน)

ในคณะกรรมการโรงเรียนจะมีเท่าๆ กัน แต่มากกว่าตัวแทนกลุ่มอื่น ผู้บริหารโรงเรียนเป็น

ประธานบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียนเป็นคณะกรรมการบริหารมีการประชาสัมพันธ์

ที่ดี มีระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับรู้ข้อมูลสารสนเทศตรงกัน

 

สรุปได้ว่า เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนโดยคณะผู้ที่รับผิดชอบในโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างก็มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้สถานศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และทำให้การดำเนินมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล อันก่อให้เกิดคุณภาพกับนักเรียนเป็นมากที่สุด นอกจากนี้ในการบริหารโรงเรียนยังเป็นการบริหารที่สถานศึกษาสามารถกำหนดความต้องการของสถานศึกษาขึ้นเอง โดยกรรมการสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอำนวยการ ผู้ตรวจการบริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยมีอิสระและความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรในการแก้ปัญหาต่างมากขึ้น และทำให้กิจกรรมการศึกษาบังเกิดการพัฒนาสถานศึกษาใน

ระยะยาว

 

หมายเลขบันทึก: 326313เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2010 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

บทความดี มีประโยชน์ต่อการศึกษามาก ขอให้เผยแพร่ต่อ ๆ ไป เพื่อการศึกษาไทยจะได้ก้าวทันและรุดหน้าต่อไป

เนื้อหาดีค่ะแต่น่าจะมีบรรณานุกรมไว้สืบค้นต่อด้วยนะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท