"เตหน่า" มนต์เสน่ห์แห่งขุนเขา


        ครูข้างถนน หลงใหลในมนต์เสน่ห์ของเสียง เตหน่า หรือ พิณของปากาญอ ยิ่งได้ฟังเพลงนี้ท่ามกลางขุนเขาลำเนาไพร พร้อมกับการอื่อทา บทเพลง ภูมิปัญญาของชาวปากาญอ ที่มีคติเตือนใจสอนลูกหลาน ปากาญอ ให้รักเผ่าพันธ์ รักประเพณีวัฒนาธรรม  จะมีลูกหลานของพี่น้องปากาญอไม่กี่คนที่จะเล่นได้ ครูข้างถนนเองยังเล่นไม่ได้ แต่ชอบฟังมากๆ เวลาลงพื้นที่ เห็นเครื่องดนตรีเตหน่า ที่บ้านของเด็กๆ มักจะขอให้พ่อ พี่ ของเด็กเล่นให้ฟังเสมอ เชื่อว่าถ้าท่านได้ฟังเครื่องดนตรีชนิดนี้จะหลงใหลในมนต์เสน่ห์ของเสียงเตหน่าเช่นเดียวกับครูข้างถนน

        พะ ตือโพ  ศิลปินปากาญอ ที่พี่น้องปากาญอ ให้สมญานามว่า เบิร์ดธงชัย ของคนปากาญอ มีความสามารถเล่นเตหน่า อื่อทา และอนุรักษ์เอาไว้

“เธอเป็นสิ่งงดงามบนดอย
คนบนดอยรับฟังด้วยหัวใจ
แต่ยามเธออยู่ใต้แสงไฟ
เดียวดายเหมือนฉันเดียวดาย
เธอลงดอยมุ่งมาสู่เมือง
มาบอกเรื่องราวคนปกากะญอ
เหมือนลูกจากอ้อมกอดแม่พ่อ
เสียงเธอคลอน้ำใสในดวงตา
เธออยู่ใต้แสงจันทร์
คืนวันร้องอื่อทาในหุบเขา
เสียงเธอใสกลับใจฉันในวัยเยาว์
เผ่าพันธุ์ของฉัน
ฉันคนปกากะญอ...”

ขอนำบทความจาก  http://www.salweennews.org 

บันเทิง : เตหน่า พิณกะเหรี่ยงขับบทเพลงแห่งขุนเขา
    นั่น เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงที่สุวิชานนท์ ศิลปินหนุ่มไทยที่หลงใหลเสียงพิณกะเหรี่ยงบรรยายถึงเตหน่า เครื่องดนตรีรูปร่าง คล้ายพิณของคนปกากะญอหรือชาวกะเหรี่ยง ใครที่เคยได้ฟังเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนี้ท่ามกลางขุนเขา ภายใต้แสงจันทร์จะต้องเคลิบเคลิ้มนอนหลับฝันดีกันไปเลยทีเดียว เพราะเป็นเสียงแบบอะคูสติกคือ ไม่มีไฟฟ้าส่งผ่านให้เกิดเสียงดัง-เบา หากความนุ่มไพเราะเกิดจากความละเอียดอ่อนของผู้ผลิต ซึ่งทำขึ้นทีละชิ้น
จากเนื้อไม้ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามกาลเวลา กล่าวกันว่า เตหน่าที่ทำขึ้นในคืนวันพระจันทร์เต็มดวงและทำเสร็จในชั่วข้ามคืนนั้นจะเป็นเตหน่าที่มีความไพเราะที่สุด 

เตหน่ามีลักษณะคล้ายพิณ มีสาย 5-12 สาย ความยากของการเล่นเตหน่าจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนสายที่เพิ่มมากขึ้น หากใครเล่นเตหน่าได้ 12 สายแล้วละก็ คนนั้นจะได้รับการยกย่องว่ามีฝีมือขั้นเทพเลยทีเดียว และหนึ่งในไม่กี่คนที่สามารถเล่นเตหน่าขั้นเทพ ก็คือ ตือโพ ศิลปินชาวกะเหรี่ยงผู้ปลุกกระแสฮิตเตหน่ากลับคืนสู่ชุมชนกะเหรี่ยงอีกครั้ง เขาได้รับสืบทอดวิชาทำเตหน่ามาจากพ่อ รวมทั้งบทเพลงต่างๆ ก่อนที่พ่อจะจากโลกนี้ไป  

เขามีความรู้ในการทำเตหน่าอย่างละเอียดอ่อนลึกซึ้ง  และเคยเล่าให้ฟังผ่านหนังสือ "เพลงภูเขา เสียงชนเผ่า คีตกวีแห่งโลก" ของหญ้าน้ำ ทุ่งขุนหลวง เอาไว้ว่า ไม้ที่ใช้ทำเตหน่าได้เสียงไพเราะที่สุด คือ ไม้ที่เรียกกันว่า "ไม้ซ้อ" เป็นไม้เนื้ออ่อนขนาดกลาง บริเวณที่นำมาใช้จะเป็นส่วนกลางของลำต้น ที่ไม่มีตาและเปลือกเรียบ ความยาวของไม้หนึ่งเมตรจะทำเตหน่าได้สองตัว หลังนำมาจากป่าจะต้องวางทิ้งไว้ให้แห้งสองสามอาทิตย์ แล้วจึงเก็บไว้เหนือเตาไฟเพื่อให้เนื้อไม้แห้งสนิท หลังจากนั้นจะค่อยๆ แกะไม้ออกเป็นรูปร่างคล้ายรังผึ้ง หลังจากแกะลำตัวเป็นรูปร่างที่ต้องการแล้ว ขั้นต่อไป ก็จะหารากไม้สักมาทำส่วนคอ ส่วนปลายด้านบนอาจตกแต่งเป็นรูปร่างสัตว์ต่างๆ เช่น นกสองหัว งู ไก่ เป็นต้น 
ส่วนประกอบอื่นๆ ของเตหน่า คือ ฝาปิดลำตัว เมื่อก่อนใช้หนังสัตว์ เดี๋ยวนี้ใช้ปี๊บน้ำมันพืชแทน ส่วนลูกบิดหมุนสายทำจากไม้ไผ่ที่อยู่ในวัยหนุ่มแน่น ส่วนที่เป็นสายดีดในอดีตใช้เถาวัลย์ รากกล้วย และเอ็นสัตว์ ซึ่งต้องร่ำควันไฟอยู่นานแรมปี แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายเบรกมอเตอร์ไซค์ เพราะทนทานและสะดวก ที่สำคัญ ศิลปินเตหน่าสัมผัสได้ว่าเสียงดีกว่าสายกีตาร์ ตือโพจะใช้เวลาทำเตหน่าแต่ละตัวแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่ใช้เวลา 3 วัน ถ้า
ลงรายละเอียดมากหน่อยก็ใช้เวลาเป็นอาทิตย์ ราคาแตกต่างกันตามคุณภาพเสียงและรายละเอียดของนงาน จนถึงวันนี้ ตือโพผลิตเตหน่าส่งผ่านไปให้คนอื่นได้ถ่ายทอดเสียงเพลงมากกว่า 20 ตัว เขาเปรียบเทียบราคาเตหน่าของเขาเท่ากับกะหล่ำปลีโลละ 5 บาทถึง 220 กิโล

เตหน่าของตือโพจะอยู่กับเขาได้ไม่นาน เพราะถ้าใครนึกชอบใจขอซื้อ เขาก็จะขาย บางตัวก็มอบให้คนที่ถูกใจ หรือบางตัว อาจต้อง "จำใจ" ขายเพื่อความสบายของชาวบ้าน เช่น "เตหน่ากินคน" ซึ่งเขาได้รับมรดกมาจากพ่อก่อนจากไป ชาวบ้านในหมู่บ้านของเขาเชื่อว่า มันสามารถดีดเสียงให้ตัวเองดังได้ และถ้าวันไหนได้ยินเสียงของมันจะต้องมีคนตายในหมู่บ้าน ตือโพจึงจำใจขายเตหน่าตัวนี้ให้กับฝรั่งที่สนใจพิณกะเหรี่ยงเอาไว้ประดับบ้านแทน  การเล่นเตหน่านั้นไม่มีข้อห้ามใดๆ เล่นได้ทั้งหญิงและชาย เล่นได้ในทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานแต่ง งานรื่นเริง หรือแม้แต่ยามพักผ่อน แต่ในการจะทำเตหน่ามีข้อห้ามในการทำ คือ คนทำเตหน่า ปีหนึ่งจะทำกี่ตัวก็ได้ แต่ห้ามล้มไม้เกินสามต้น ซึ่งเป็นแนวคิดการสั่งสอนต่อกันเพื่อการควบคุมในการใช้ทรัพยากรป่า เพราะคนปกากะญอเป็นชนชาติพันธุ์ที่อยู่กับป่า กับธรรมชาติและมีวิถีชีวิตที่อาศัยพึ่งพิงกับธรรมชาติ
การเล่นเตหน่า คนปกากะญอมักสอนลูกหลานเล่นเตหน่าคู่กับบททา ที่สร้างข้อคิดให้ลูกหลานอย่างทาบทนี้ที่ว่า

บ่อหว่ามี บ่อหว่ามี เพลาะถ่อ เพลาะถ่อ เลอเล
อาบ่อบลาอะปว่าอะเด อะปว่าบลาอะบ่ออะเด
กาลีแฮ ถึอลอปาเชอ
(ไผ่ซาง ไผ่ซาง ขึ้นสูง ขึ้นสูง บนหน้าผา
ต้นอ่อนเกี่ยวต้นอ่อนเอาไว้ ต้นแก่เกี่ยวต้นอ่อนเอาไว้
เมื่อพายุมา ดึงเสื้อลงมา)
ทาบทนี้หมายถึงการจะทำอะไร หรือทำสิ่งใดก็ตามเด็กต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็เช่นกันจะทำอะไรก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากเด็ก และเมื่อต่างคนต่างเชื่อฟังช่วยเหลือกันเมื่อมีอุปสรรคก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
และบททาอีกบทหนึ่งที่ถือว่าเป็นเพลงเริ่มต้นของนักหัดเล่นเตหน่า และเป็นที่นิยมของเด็กๆ คือ บททาเตหน่าโพ
เตหน่าโพเลอเยอแอ่ออ เดยือนาเลอเตหน่าโพ
เตหน่าโพเดเลอจอจือ เดตะหมื่อ เดซึอ เดซึอ
(เตหน่าโพที่ฉันรัก ดีดเตหน่าให้เธอได้ฟัง
เตหน่าโพดีดโดยมือพี่ ดีดไม่เพราะ ดีดไปปรับไป)
      สังคมปัจจุบันที่เครื่องดนตรีท้องถิ่นถูกอิทธิพลของดนตรีตะวันตกอย่างกีตาร์เข้าครอบงำ และทำให้เครื่องดนตรีพื้นถิ่น อย่างเตหน่าถูกมองว่าเป็นของล้าหลัง ส้าสมัย แต่หลังจาก ตือโพนำเตหน่ามาบรรเลงในแนวเพลงลูกทุ่ง ใส่เนื้อร้องเข้ากับยุคสมัย ทำให้บทเพลงของเขา "โดนใจ" ชาวกะเหรี่ยงตั้งแต่เด็กยันแก่ และเมื่อเขาแปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทยแทรกอยู่ในเพลง  คนไทยก็เริ่มรู้จักบทเพลงของเขามากขึ้น จนเดินทางไปที่ไหนก็มีทั้งแฟนเพลงชาวกะเหรี่ยงและชาวไทยมาฟังกันแน่นขนัด และได้ฉายาว่าเป็น "พี่เบิร์ดของชาวกะเหรี่ยง" ตัวอย่างบทเพลงดัง
ของเขา เช่นเพลง แลเตอเก (อย่าไปเลย), หนุ่มโนวา, สาวไทเกอร์ เป็นต้น และศิลปินรุ่นน้องของตือโพที่โด่งดังไม่แพ้รุ่นพี่เลยอีกคนคือ ชิ สุวิชาน ศิลปินหนุ่มแห่งมูเส่คีป่าสนวัดจันทร์ ที่โด่งดังในผลงานเพลงชุด "นกเขาป่า" ซึ่งได้ถ่ายทอดบทเพลงสอนลูกสอนหลานจากบททาของผู้เฒ่า
 
       จากความดังของศิลปินทั้งสอง ทั้งผลงานเพลง และการได้ออกโทรทัศน์จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กเยาวชนรุ่นน้องได้เห็นในเสน่ห์เครื่องดนตรีของบรรพบุรุษ และไม่มองว่าเตหน่าเป็นของไร้ค่าล้าสมัยอีก จนเกิดการรวมตัวกันของเด็กๆ บ้านมูเส่คี อ.แม่วัง เพื่อร่ำเรียนการบรรเลงและร้องบททากับเตหน่า โดยมีพ่อของศิลปิน ชิ สุวิชานเป็นผู้ถ่ายทอดวิชา ทุกวันนี้ เตหน่าจึงเริ่มกลับมาได้รับความนิยมจากเยาวชนรุ่นหลังอีกครั้งที่สานต่อวัฒนธรรมปกากะญอด้วยแรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ ไม่แน่ในอนาคตเราอาจเห็นศิลปินเตหน่ารุ่นใหม่เพิ่มขึ้น และอาจโด่งดังในระดับสากลเลยก็เป็นได้
 
หมายเลขบันทึก: 184080เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2008 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

สวัสดีค่ะ

* เข้ามาร่วมฟังเสียงเตหน่าและบทเพลงปกากะญอค่ะ

* พะ ตือ โพ..เหมือนเคยเห็นออกรายการทางทีวีนะคะ

* ส่งกำลังใจมาให้ชาวปกากะญอ...ร่วมอนุรักษ์ค่ะ

สวัสดีครับคุณครูนาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)

  • ยินดีที่เข้ามาฟัง เสียงเตหน่า มนต์เสน่ห์แห่งขุนเขา
  • ใช่ครับเคยออกรายการ คนค้นคน ทางช่อง 9 ครับ
  • เป็นกำลังใจให้นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง) แม่พิมพ์ของชาติด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ

 หวัดดีครับ...

ได้มีโอกาสไปดู ชิ สุวิชาน แสดงมินิคอนเสิร์ตที่สตูดิโอมะขามป้อม เป็นบทเพลงที่มีมนต์เสน่ห์แห่งขุนเขาจริง ๆ ครับ...

เนื้อหาของเพลงก็มีความหมายลึกซึ้งด้วยครับ...

ขอบคุณครับ...

 

ผมเคยเล่นดนตรีงานเดียวกับ อาชิ ที่งานช่วยสึนามิที่จัดที่เชียงใหม่

เครื่องดนตรีชิ้นนี้ เสียงไพเราะมากครับ สื่อถึงความเหงาก็เหงามาก สื่อถึงความสนุกก็สนุกสุดๆครับ

ผมได้ภาษาปากาญอมาด้วยครับ

อ่อเม =กินข้าว

อ่อที=กินน้ำ

สมียอ=แมว

ฉุ่ย=หมา

เถาะ=หมู

                         จำได้ตลอดครับน้ำใจจากเพื่อนชาวเขา

                                              รพี

แบบว่าเท่ม๊าก มาก ค่า  กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

หนู ช๊อบ ชอบ ค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์Mr.Direct

  • ภูมิใจที่หลายท่านชอบ เตหน่า เครื่องดนตรี ของปากาญอ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณรพี กวีข้างถนน

  • อ่อเม หวี่ หลี  : ทานข้าวหรือยัง
  • ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ขอบคุณครับ 

สวัสดีค่ะคุณครูข้างถนน

แอบมาอ่านค่ะ

ขอร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมดี ๆอีก 1 คน นะคะ

              มีความสุขกับการทำงานนะคะ

สวัสดีครับคุณหมออ๋อทิงนองนอย

  • ดีใจที่คุณหมอชอบ
  • ขอบคุณมากครับ

* สวัสดีค่ะ ครู

* ขอบคุณนะคะ สำหรับภาพงามๆ ชอบมากๆ มากที่สุด

* จำได้ว่า รู้จัก เตหน่า จากรายการคนค้นคน ชอบค่ะ

* เคยเขียนบันทึก ก็มีเตหน่า นิดหน่อย ที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/lanandaman/113577 

* ดีใจที่ครู เขียน เป็นข้อมูล ได้ความรู้

* ขอไปอ่านก่อนนะคะ จะกลับมาใหม่

* ตาบรือ ... Poo HSER HSER  ...

 

@ สิ่งเก่าก่อน  มีคุณค่ามากมาย  @

ขอชื่นชม  ในการอนุรักษ์สิ่งดีๆ  วัฒนธรรมที่มีคุณค่า  เพื่อชนรุ่นหลัง

วัฒนธรรมดนตรี แสดงถึงความมีอารยะ ครับ ... ต้องช่วยกันรักษานะครับ ... :)

เพลงเพราะดีครับ...

เตหน่า ทำให้ผมคิดถึง บ้านวัดจันทร์ คิดถึง น้องวา คิดถึงป่าสนที่นั่นครับ

 

ของดีๆ  ต้องขยายพันธุ์

ดนตรี เตหน่า ก็เช่นกัน จะขยับลงเขาได้อย่างไร?  

ถ้าผู้คนรักบ้านเกิด รักเผ่าพันธ์ของตนเองเหนียวแน่น สามัคคีก็มีพลังนะ แต่คนพื้นราบเมืองไทยวันนี้ แทบไม่เหลือสำนึกรักบ้านเกิดตัวเองซะแล้ว

... เชื่อไหมคะ ครูข้างถนน .... เมียวดี พม่า เมื่อหลายสิบปีก่อนได้มังค่ะ .. เป็นแบบสถานที่หนึ่งในฝันเลยว่า เราอยากจะไป ... เมียวดีเป็นไงอีกบ้างค่ะ ... ครูมีภาพเยอะไหม

... ฟ้าหลังฝน งามงด ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมพี่ที่ทำงานเขาจึงหลงใหลได้ปลื้ม ขนาดนี้ .. มีอยู่ช่วง เคยซิ๋งมอไซค์ เพื่อจะไปดูพระอาทิตย์ขึ้นก่อน 6 โมง ...

คือ ช่วงหน้าหนาวด้วยไงค่ะ แบบสวยจับใจ .. ทั้งหมอก แสง สี ดูกลมกลืนและได้บรรยากาศมากๆ ..

 เคยได้ยินชื่อ แห่งมูเส่คีป่าสนวัดจันทร์ .. เคยไปงานบุญกฐิน ที่แม่แจ่มค่ะ .. แต่เสียดายไม่ได้เลยไป ป่าสนวัดจันทร์ .. อีกพท. ที่โหด สวย ฮา ใช่ไหมค่ะครู

... สักวันนึง ต้องไปเยือนป่าสนวัดจันทร์ ให้ได้เลยครู เส้นทางในฝันเล้ย  ...

 

 

ยังไม่เคยฟังเลยค่ะ..

เป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจนะคะ..

คุณครูข้างถนนสุขภาพดีขึ้นแล้วใช่มั๊ยคะ..^_^

+ สวัสดีค่ะ...เข้ามาเยี่ยม

+ เป็นครูเหมือนกันค่ะ

+ แต่ความยิ่งใหญ่ของใจไม่เท่ากับของท่าน

+ ตอนออกค่ายอาสาทั้ง 4 ค่ายที่ไกลโพ้นภาคอีสานเมื่อ 10 ปีที่แล้ว..เคยคิดอยากทำงานเช่นท่าน

+ แต่ใจไม่สู้พอ...เลยมาเป็นครูใน 3 จังหวัดแดนใต้ก็พอ

+ เด็กที่นี่..ที่ที่มันห่างไกลเมืองมาก ๆ ก็เหมือนเด็กชายขอบนั่นแหละ

+ ใช้ภาษายาวี...สื่อสารลำบากมาก..เป็นเหมือนคนอีกพวกหนึ่งของสังคม

+ พอมีเหตุการณ์...ก็ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐมากขึ้น..

+ แต่ครูก็ขาดแคลนเพราะย้ายไปช่วยราชการที่อื่น..ที่ที่คิดว่าปลอดภัยกว่า หรือมีอันตรายน้อยลง

+ เด็กก็ยังคงชะเง้อคอยครู....เหมือนเดิม

+ ที่ ร.ร.ครูไม่ครบชั้น...ลำบากมาก..เวลาสอน ต้องแปลไทยเป็นยาวี...

+ เราพูดยาวีไม่เป็น...ลำบากกว่า...

+ ยังไม่คิดย้าย..ถ้าเกิดอะไรขึ้น...คิดเสียว่าถึงเวลาของเรา.

สวัสดีค่ะคุณครูข้างถนน

  • เคยได้ฟังเตหน่า..โดยพฤ ลูกชายพ่อหลวงจอนิ โอ่โดเชาเล่นให้ฟังค่ะ ไพเราะมากค่ะ
  • มาส่งกำลังใจให้ค่ะ..^_^

สวัสดีบคุณครูลิ้มศรี

  • เต็มใจให้อ่านบันทึกครูข้างถนนครับ
  • มีความสุขกับการทำงานเช่นกัน
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณpoo

  • เข้าไปเยี่ยมแล้วครับ
  • มีเพลงหนึ่งที่อยากให้ฟัง เพลงสาวริมเมย ของคุณครูซัน ครับ
  • ออเมอ โช เปอ / ตะบลึ ผะโด้ 

สวัสดีครับคุณครู@..สายธาร..@

  • ยินดีที่คุณครูมีส่วนร่วมในการอนุกรักษ์ เตหน่า ไว้ให้คนรุ่นหลังครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • กระต่ายกินแครอท

สวัสดครับอาจารย์Wasawat Deemarn

  • "น้อยก็หนึ่ง" ที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ไว้
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ป่าสน บ้านวัดจันทร์ ผมยังไม่เคยไปครับ
  • เอ!!! ชักอย่างรู้เรื่องชาวบ้านเขาแล้วหละครับว่า น้องวา คือใครครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

สวัสดีครับพ่อครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

  • ยินดี ดีใจที่พ่อครูบามาเยื่ยมครับ
  • ความฝันอีก 1 คือ อยากจะไปสวนป่า อยากเจอพ่อครูบา ครับ
  • ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณครูNONGYAO - CHAMCHOY

  • ลูกหลาน ปากาญอ กีมี ลงดอยแล้วไม่ยอมกลับขึ้นมา
  • พูดภาษาของตัวเองยังอาย ไม่ยอมใส่ชุดประจำเผ่า หาว่าเชย
  • ขอบคุณมากครับ

 

สวัสดีครับคุณคุณครูแอ๊ว

  • ผมมีคลิป วีดีโอ ที่ถ่าย ตอน พะตี้(ลุง)เล่น เตหน่า
  • แต่ผมเอาลงในบันทึกไม่เป็นครับ
  • ผมสบายดีครับ คุณครูแอ๊วคงสบายดีนะครับ
  • และคงเหนื่อยหน่อยกับการทำหน้าที่แม่พิมพ์ของชาติ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณครู แอมแปร์

  • ผมนับถือ และยกน่องคุณครูที่สอนเด็กตามชายแดนไต้ครับ
  • ได้ยินคำนี้  ยังไม่คิดย้าย..ถ้าเกิดอะไรขึ้น...คิดเสียว่าถึงเวลาของเรา. ยิ่งทำให้เลื่อมใสมากขึ้น
  • คุณครูเป็นผู้เสียสระความสุขของตัวเอง
  • เพิ่อเด็กให้มีความรู้ อ่านเขียนภาษาไทยได้ เป็นเรื่องยากเหมือนกัน
  • ขอให้ความดี บุญกุศลที่คุณครูทำ ช่วยปกป้องคุ้มครองคุณครูด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณครูวัลภา คนไม่มีราก

  • พือ จอนิ ผมเจอท่าน ครั้งหนึ่ง แต่ไม่เจอลูกชายท่านครับ
  • ขอบคุณที่คุณครูร่วมสืบสานวัฒนธรรมของปากาญอครับ
  • เป็นกำลังใจในการทำงานให้คุณครูเช่นกัน
  • ขอบคุณครับ
จอเด้ยา (เป็นปะกะยอ อ.อุ้มผาง จ. ตาก)

ผมก็เป็นปะกะยอคนหนึ่งที่อยากให้พี่น้องปะกะยอทุกท่านสามัคคีกันครับ

กลับมาอยู่บนขุนเขาด้วยกันครับให้ดุ พี่ตือโพ เป็นตัวอย่างครับ.

ผมกำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ความฝันที่ผม

ใฝ่ฝันอยากทำเมื่อจบการศึกษา คือ กลับไปฟื้อฟูประเพณีปะกะยอที่

อ.อุ้มผาง นั่นก็คือบ้านเกิดของผมนั่นเองครับ.

สุดท้ายก็อยากบอกว่า ผมจะสู้และป็นกำลังใจให้ พี่ตือโพตลอดไปครับ.

ผมก็เป็นแฟนคลับของ ตือโพครับ ชอบตั้งแต่เด็กแล้วครับ

ทุกวันนี้ผมยังชอบครับ

แต่ไม่เคยเจอตัวจริง

บ้านเกิดอยู่บนดอยครับ

ก็ขอเป็นกำลังให้ตือโพต่อไปครับ

หัฏฐกร กิจอารีสุข (ดิ๊สุ)

สวัสดีเพื่อนๆทุกคนครับ ปกติผมก็เป็นคนที่ชอบฟังเพลงอยู่แล้ว ฟังเพลงทุกเพลงของจอตือโพกับพี่ชิแล้วมีความหมายกับชีวิตของคนปกาเกอะญอ โดนใจจริงๆ ขอเป็นกำลังใจให้กับจอตือโพ พี่ชิ และศิลปินปกาเกอะญอรุ่นใหม่ทุกคนครับ

สวัสดีครับพี่ๆน้องๆชาวปกาญอ ตลอดเวลาผมชอบฟังเพลงของตือโพอยู่เเล้วครับ เพราะว่าตือโพเป็นฮีโรของผมอยู่เเล้ว

ผมฟังเพลงของท่านอยู่ตลอดวลา เพลงของลึกซึ้งและมีความหมาย ตอนนี้ผมศึกษาอยู่ในร.รแห่งหนึ่งในจ.ขอนเเก่นผมยังฟังอยู่เลย ผมคิดถึงเเละห่วงใยชาวปกาญอทุกๆคนเสมอครับ

โอ หนุ่มพเนจรจากเเม่ฮ่องสอน อ.สบเมย

ปกาญอทุกคน สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ครับ

หวัดดีคับพี่น้องชาวปากาญอทุกท่าน ผมก็อีกคนที่ชอบ หมู่บ้านโละโคะผมเวลามีงานได้เชิญ

พี่ตือโพไปร่วมร้องเพลงตลอด แม้ว่าเส้นทางบ้านโละโคะลำบากแค่ไหน

พี่ตือโพก็ยังไปร้องไห้พวกเราชาวปากาญอบ้านโละโคะฟัง ชอบพี่ตือโพคับ เรียกเสียงเฮอาดีคับ หวังว่าปีหน้าจะได้เจอพี่ตือโพอีกนะคับ ผม จอเบื้อหลานตะแจ่ คับผม

ตอนนี้ทำงานอยู่ กรุงเทพคับผมทำงานก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย เพื่อนๆคนไหนอยากมาทำงานกรุงเทพ ติดต่อได้นะคับ[email protected] ผมอยากเห็นปากาญอเรามีชิวิตที่ดี เพื่อนคนไหนมีเมล์แอดน์เป็นเพื่อนด้วยนะคับ

ฝนตกทุกวันเลยกรุงเทพ ไม่รู้ว่าบนดอยเป็นไงบ้างหนอพี่น้องคงอยู่สุขสบายดีนะคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท