๔๐๓.ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ : ซำลู่ ซำรู้


          เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘  ครอบครัวของคุณยายแมง  วงษ์กลาง  ได้อพยพมาจากอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย  เข้ามาในเขตอำเภอนครไทย  จังหวัดพิษณุโลก เพื่อหาที่ทำกินปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์  และได้ย้ายที่ทำกินมาเรื่อย ๆ เนื่องจากประสบกับปัญหาความแห้งแล้งและขาดน้ำเมื่อฤดูแล้ง  จนกระทั่งมาพบบริเวณนี้ที่มีแอ่งน้ำริมลำธารที่มีน้ำขังอยู่ตลอดปีไม่แห้งเหือด   เมื่อฤดูฝนน้ำป่าจะไหลหลากและเชี่ยวแรงมาก   ทำให้ต้นไม้และต้นไผ่บริเวณริมลำธารไหลลู่ไปตามความแรงของกระแสน้ำ  เมื่อน้ำลดจึงมีน้ำขังอยู่ในแอ่งเหมือนเดิมเรียกว่าน้ำซำ (น้ำซำเป็นภาษาพื้นถิ่นของนครไทย หมายความว่าแอ่งน้ำ)

            คุณยายแมงเป็นครอบครัวแรกที่ย้ายเข้ามาอยู่  และตั้งชื่อถิ่นทำมาหากินของตนเองว่า “ซำลู่” เรียกชื่อตามความหมายของธรรมชาติที่เกิดขึ้น   ที่นี่ทำให้คุณยายปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ได้ดี  ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ  ต่อมาได้มีญาติพี่น้องของคุณยายพากันย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น  จำนวนไม่กี่ครอบครัว  แต่ละครอบครัวมีอาชีพปลูกพืช  ทำไร่ เลี้ยงวัวเลี้ยงควายเหมือนกับคุณยายแมง

          เมื่อมีผู้คนย้ายถิ่นฐานเพิ่มเข้ามามากขึ้นประมาณ ๒๐ กว่าครอบครัว    จึงได้ตั้งหมู่บ้านของคนเองชื่อหมู่บ้านซำลู่  อยู่ในเขตตำบลหนองกะท้าว  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้ตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ และอยู่ในเขตการปกครองของตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อผู้ใหญ่ศรีมอญ ยศตระโคตร   เวลานั้นผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านได้มีความเห็นว่าควรจะเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านให้มีความหมายดีขึ้น  จึงสมควรเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น”หมู่บ้านซำรู้” และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ย้ายมาอยู่ในเขตการปกครองของตำบลห้วยเฮี้ย  อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 

           เนื่องจากสถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น  ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๖  ทำให้นักศึกษาจำนวนหนึ่งหนีเข้าป่า  บริเวณภูหินร่องกล้า  ทำให้ชาวบ้านมีการลักลอบขายอาหารและขายยารักษาโรคให้แก่ทหารป่า  ทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาตั้งบ้านเรือนและทำการค้ามากขึ้น  จนกลายเป็นชุมชนใหญ่โต  ส่วนมากผู้คนย้ายมาจาก  ๒๒  จังหวัดในประเทศไทยและท้องถิ่นอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดพิษณุโลก 

         ต่อมาชุมชนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วประกอบกับอิทธิพลของกองทุนเงินล้านเบ่งบาน  ทำให้หมู่บ้านซ้ำรู้ได้แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ หมู่บ้านคือหมู่บ้านซ้ำรู้(เดิม) ตั้งอยู่ฝั่งถนนด้านทิศตะวันตก  หมู่ ๔ ตำบลห้วยเฮี้ย  และหมู่บ้านใหม่ชื่อหมู่บ้านสัมพันธ์ ตั้งอยู่ฝั่งถนนด้านทิศตะวันออก หมู่ ๑๐ ตำบลห้วยเฮี้ย  อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 

         คุณยายแมง  วงษ์กลางเป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านซ้ำรู้  เด็ก ๆ และชาวบ้านต่างให้ความรักและนับถือคุณยายแมงมาก  จะนิยมเรียกกันติดปากว่า “ย่าแมง” และเป็นผู้ที่มีอายุยืนยาวถึง ๑๑๐ ปี คุณยายแมงได้เสียชีวิตด้วยโรคชราเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑  ทิ้งร่องรอยประวัติความเป็นมาและตำนานที่เล่าขาน  อันน่าสนใจศึกษาเรียนรู้ไว้มากมาย 

         ปัจจุบันแม้ว่าจะถูกแบ่งออกเป็น ๒ หมู่บ้าน แต่จะเป็นที่รู้จักในนามของ หมู่บ้านซ้ำรู้  ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ ๗๙ ทางหลวงหมายเลข ๒๐๑๓ ถนนบ้านแยงนครไทย  ส่วนคนดั้งเดิมหรือคนในพื้นถิ่นยังนิยมเรียกชื่อเดิมว่า  "ซำลู่"  ถ้าหากเป็นสำเนียงของคนซำลู่โดยแท้รู้สึกว่าไพเราะมาก

 

       ทางหลวงหมายเลข ๑๒ ถนนมิตรภาพ  กิโลเมตรที่  ๖๘ ตรงไปอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอิสาน  เลี้ยวซ้าย  ระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร ถึงหมู่บ้านซ้ำรู้และสามารถเดินทางไปอำเภอนครไทย จังหวัดเลยและภาคอิสาน

        ขากลับ  เลี้ยวซ้ายไปอำเภอหล่มสัก ๖๙ กม.

เลี้ยวขวาไปพิษณุโลก ๖๘ กม.

ที่มา : โครงงาน "นักวิจัยรุ่นเยาว์" ๒๕๔๙

หมายเลขบันทึก: 303497เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2009 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
  • น่าสนใจมากเลยคุณครูคิด
  • ครอบครัวคุณยายแมง วงษ์กลาง อพพยมา ๒๔๘๔ ใช่ไหม
  • เคยสงสัยชื่อหมู่บ้าน เลยได้รู้ความหมายคราวนี้นี่เอง
  • คงมีเรื่องราวน่ารู้ต่าง ๆ อีกมากมาย

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้าพระมหาแล

  • เขียนบันทึกแข่งกับนักเรียนเจ้าค่ะ
  • สัปดาห์นี้นักเรียน  เรียนรู้เรื่องชุมชนของฉัน
  • ขอขอบพระคุณเจ้าค่ะ
  • พระคุณเจ้ามาเยี่ยม  ยังบันทึกไม่เสร็จ

สวัสดียามดึกครับคุณครู  คุณยายเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้วนี้เอง..ผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้กับบ้านซำรู้ น่าสนใจมากครับ

 

สวัสดีครับครูคิม น่าสนใจมากครับ

ทุกสถานที่ล้วนมีที่มาของชื่อ

ขอบคุณสาระดีๆ ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

- นึกว่าสระบุรีเลี้ยวขวาเสียอีกค่ะ

555

สวัสดีค่ะพี่หนุ่ม กร~natadee

  • เรียนรู้เที่ยวนี้แข่งกับเด็ก ๆ ค่ะ
  • สัปดาห์นี้พวกเราเรียนเรื่องของชุมชนตลอดทั้ง ๕ วันเลยค่ะ
  • ถึงแม้จะเป็นหมู่บ้านเกิดใหม่  ก็มีร่องรอยน่าสนใจพอให้เรียนรู้และภาคภูมิใจค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาติดตามอ่านค่ะ
  • ท่านพี่..สบายดีนะคะ
  • น่าอิจฉามาก ๆ นึกย้อนเวลาแล้วเสียดายจังค่ะ  ที่ไม่ได้ตัดสินใจ

สวัสดีค่ะคุณBob

  • เมื่วานกับวันนี้เด็ก ๆ ช่วยกันวางแผนหลักสูตรชั้นเรียนว่าอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับอะไรบ้าง
  • วันพรุ่งนี้..ออกไปหาของจริงในชุมชนค่ะ
  • แล้วนำมาสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนกันในวันถัดไปค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะที่มาแลกเปลี่ยน
  • รอติดตามอ่านอีกนะคะ

สวัสดีค่ะน้องเพชรน้อย

  • ขาไปเลี้ยวซ้าย...ขากลับเลี้ยวขวาค่ะ  พิษณุโลกเลี้ยวขวา  คล้าย ๆสระบุรีนั่นแหละค่ะ
  • เพราะที่นี่เขามีภาษาถิ่นเป็นของตนเอง  คล้าย ๆภาษาอิสานและเรียกชุมชนของตนเองว่าเป็นลาวค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยนนะคะ
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
  • เป็นชุมชนที่มีชีวิต เด็ก ๆ คงภูมิใจและมีความสุข ภูมิใจในความเป็นลาว(ยังเหลือให้เขาภูมิใจในตนเองบ้าง เพราะขาดความมั่นใจไปเยอะแล้ว)
  • เมื่อไหร่ลูกหลานเห็นคุณค่าสังคมชุมชน
  • คนเฒ่าคนแก่ก็คงมีความสุขที่จะถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตอันทั้งสุขทั้งทุกข์มากมายให้ลูกหลานได้รับรู้
  • อาจเป็นต้นแบบเล็ก ๆ แก่ชุมชนอื่น ๆ ที่อยากทำ
  • แต่ยังไม่เห็นแนวทางรูปแบบ จะได้มีแนวทาง
  • เพราะมีคนนำร่องไปก่อน เยี่ยมเลยเนาะวิทยสัมพันธ์เนี่ย
  • ต้นทุนสังคมยังเหลืออยู่ค่อนข้างเยอะ
  • จะติดตามเรียนรู้ต่อไปนะคุณครูคิม

เจริญพร

เคยสงสัยว่า ซำรู้ มีความหมายไหม

ตอนนี้ได้ "รู้"

แล้วครับ

มาเรียนรู้ด้วยขอรับพี่ครู..

สวัสดีคะ

แวะมาเยี่ยมคุณครูคิมค่ะ

สวัสดีค่ะพี่คิม

แวะมาเที่ยวหมู่บ้านซำรู้ค่ะ

เป็นการเรียนรู้ที่ดูน่าสนุกนะคะ

ประวัติ วัฒนธรรม การก่อกำเนิดของชุมชน

หากมีผู้ศึกษา ทบทวน บันทึกไว้ ย่อมไม่สูญหาย

ชนรุ่นหลังจะได้ร่วมตระหนักและรักษาคุณค่าความดีงามของบรรพบุรุษ

เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆที่พี่สาวคนเก่งเป็นจุดกำเนิดกระตุ้น ให้เกิดขึ้น.....ปรบมือ!!!!!!!

นมัสการพระคุณเจ้าพระมหาแล

  • เป็นชุมชนที่มีชีวิต เด็ก ๆ คงภูมิใจและมีความสุข ภูมิใจในความเป็นลาว(ยังเหลือให้เขาภูมิใจในตนเองบ้าง เพราะขาดความมั่นใจไปเยอะแล้ว)
  • เด็ก ๆรุ่นก่อนเขาทำโครงงานภาษาถิ่นเจ้าค่ะ  เขียนเป็นบทกลอนน่ารักมากค่ะ
  • และอีกหลายเรื่องเช่นการอนุรักษ์ลูกอ็อด (ฮวก) มีชื่อว่า  "ฉันเป็นแค่ลูก"
  • คติชนและความเชื่ออีกมากมายหลายเรื่อง   รวมทั้งภูมิปัญญาที่เขามีอยู่
  • .............
  • สองวันนี้  ได้ช่วยกันแสดงผังความคิดในการออกไปเรียนรู้เรื่องราวของชุมชน  โดยเด็กจัดการเอง  ติดต่อภูมิปัญญาเอง  ครูเป็นผู้ร่วมเรียน
  • วันพรุ่งนี้จะออกเรียนแล้วค่ะแบ่งออกเป็น ๖ จุด  ตั้งแต่ชั้นอนุบาลเล็ก ๆ ก็ออกไปเรียนด้วยจนถึงชั้น ม.๓ ค่ะ
  • กราบขอบพระคุณอย่างสูงเจ้าค่ะ  ที่เห็นความสำคัญของบันทึกนี้

สวัสดีค่ะน้องPhornphon

  • สองวันนี้กิจกรรมของเด็ก ๆเต็มอิ่มกับการวางแผน  การจัดรูปแบบการเรียนรู้ ที่จะออกไปเรียนรู้ในชุมชน วันที่ ๗ และ ๘ นี้ค่ะ
  • ผู้ใหญ่บ้านต้องการให้มีความหมายว่า...รู้ หมายถึงความรู้นั่นเอ
  • ค่ะ
  • แต่ภาษาพื้นถิ่นยังเรียกชื่อเดิมว่า...ซำลู่
  • ขอขอบพระคุณที่มาติดตามอ่านค่ะ

นมมัสการพระคุณเจ้าท่านธรรมฐิต

  • พระคุณเจ้ากลับมาจำอยู่ที่วัด...ที่นาหม่อมแล้วสิเจ้าคะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาติดตามอ่านเจ้าค่ะ
  • พรุ่งนี้เด็ก ๆ จะได้ออกไปสัมผัสของจริงแล้ว
  • ดูท่าทางมีความสุขกันมาก

สวัสดีค่ะน้องชาดา ~natadee

  • ขอขอบพระคุณกับการมาเยี่ยม
  • เป็นกำลังใจมาก ๆค่ะ
  • ตลอดสัปดาห์นี้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชยของเราค่ะ
  • รอติดตามอ่านเรื่องเล่าต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะน้องGiant bird

  • สองวันนี้ได้เห็นเด็ก ๆ สนุกกับการออกแบบที่จะไปเรียนรู้เรื่องของชุมชน
  • คณะครูก็มีความสุขไปด้วย
  • คนในชุมชนก็สนใจที่จะให้ความรู้กับลูกหลานของเขาค่ะ
  • ที่นี่..มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย
  • ขอขอบพระคุณที่มาแลกเปลี่ยนและเป็นกำลังใจนะคะ

เข้ามาเรียนรู้บทเรียนใหม่ค่ะพี่คิม...พี่คิมสบายดีนะคะ ได้ข่าวว่าจะไปล่องใต้ ขอให้พี่คิมและน้องนัทมีความสุขกับการเดินทางท่องเที่ยว และอย่าลืมดูแลสุขภาพกายใจนะคะ ระลึกถึงเสมอค่ะ

สวัสดีครับครูคิม

OK ครับ จะรอติดตามอ่านต่อไปครับ

ครูครับ ผมขึ้นเรื่องใหม่อีกแล้ว ว่างๆ เชิญนะครับ ขอบคุณครับ

เรียนครูคิม ผมเคยชำระประวัติหมู่บ้านที่โรงเรียนบ้านดงยาง เมื่อ พ.ศ.2540 ก็เอาคนเฒ่าคนแก่มาเล่าให้ฟัง

การเคลื่อนย้ายที่อยู่จะอาศัยลุ่มน้ำเป็นหลัก การเขียนประวัติหมู่บ้านอาจจจะต้องสอบถามบ้านใกล้เคียงด้วย

ที่นี่ผมกำลังจะจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน อาศัยมีเพื่อนทำงานเป็นนักวิชาการวัฒนธรรม จึงได้รับงบประมาณสนับสนุน

ถ้าไปไม่เป็นจะถามครูคิมครับ

สวัสดีคะครูคิม เหนื่อยมากหลังจากทำผลงานเสร็จ ขอบคุณมากคะ

  • มาเยี่ยมด้วยความระลึกถึง
  • ตอนแรกนึกว่าสามแยกบ้านแขก ซะอีก  อิอิ

สวัสดีค่ะน้องVij

  • ขอขอบพระคุณในความห่วงใยค่ะ
  • แพ็คกระเป๋าพร้อมออกเดินทางแล้วค่ะ
  • ตั้งใจจะไปชาร์ทแบตเตอรี่ค่ะ
  • ตลอดสัปดาห์นี้..เด็กเรียนเรื่องชุมชนของเรา
  • และมีเวทีแลกเปลี่ยนในวันที่ ๙ ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณBob

  • วันนี้เตรียมเขียนเรื่องใหม่แล้วค่ะ
  • แต่มันเป็นเรื่องความถูกต้อง 
  • จึงต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนค่ะ จึงจะขึ้นบันทึกได้
  • จะไปติดตามอ่านเรื่องใหม่นะคะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
สวัสดีค่ะท่าน ผอ. พรชัย

เรียนครูคิม ผมเคยชำระประวัติหมู่บ้านที่โรงเรียนบ้านดงยาง เมื่อ พ.ศ.2540 ก็เอาคนเฒ่าคนแก่มาเล่าให้ฟัง

  • เคยจัดกิจกรรมแบบทดลองทำมาบ้างแล้ว
  • เป็นกิจกรรมทุกปี ๆ ละ ๒ ครั้ง
  • แต่ทั้งได้ดีและทั้งล้มเหลว  เพราะขึ้นอยู่กับการถอดบทเรียนของแต่ละครูค่ะ
  • คราวนี้...เอาจริงค่ะ

การเคลื่อนย้ายที่อยู่จะอาศัยลุ่มน้ำเป็นหลัก การเขียนประวัติหมู่บ้านอาจจะต้องสอบถามบ้านใกล้เคียงด้วย

  • ตอนแรกนั้นทดลองให้เด็ก ๆ ทำโครงงานก่อนค่ะ
  • นำความรู้ของเด็กมาสังเคราะห์
  • แต่ยังต้องเพิ่มเติม  เหมือนบันทึกนี้สรุปแล้วค่ะ

ที่นี่ผมกำลังจะจัดตั้งสภาวัฒนธรรมหมู่บ้าน อาศัยมีเพื่อนทำงานเป็นนักวิชาการวัฒนธรรม จึงได้รับงบประมาณสนับสนุน

  • ถ้าเราไม่ลงมือทำ  งานก็ไม่สำเร็จและไม่เกิดผลอะไร
  • หากลงมือแล้ว  แม้ว่าจะล้มเหลวแต่ก็ยังได้ข้อสนเทศนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

ถ้าไปไม่เป็นจะถามครูคิมครับ

  • ยินดีแลกเปลี่ยนในฐานะผู้ปฏิบัติค่ะ
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูง

สวัสดีค่ะน้องmena

  • ขอเป็นกำลังใจให้
  • และขอให้ประสบความสำเร็จนะคะ
  • จะรอรับฟังข่าวดีค่ะ

สวัสดีค่ะน้องมนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

  • ที่บ้านแขก  เป็นสี่แยกค่ะ
  • มีข้าวหมกไก่อร่อยมาก  ใกล้ ๆบ้านน้องราณีตาหวาน
  • น้อง...สบายดีนะคะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

ขออนุญาตคัดลอกข้อมูลไปเล่าให้น้องอนุบาลฟังนะคะ

เนื่องจาก เด็กๆไม่สนใจลุงผู้ใหญ่เล่า

แต่ไปสนใจเสียงจิ๊บๆจากนกน้อยที่ประตูบ้านลุงผู้ใหญ่แทน ^_^

ขออนุญาตคัดลอกข้อมูลไปเล่าให้น้องอนุบาลฟังนะคะ

เนื่องจาก เด็กๆไม่สนใจลุงผู้ใหญ่เล่า

แต่ไปสนใจเสียงจิ๊บๆจากนกน้อยที่ประตูบ้านลุงผู้ใหญ่แทน ^_^

สวัสดีครับพี่คิม ไม่ได้เข้ามานานก็ยุ่งตามเขาไปด้วยครับ สบายดีนะครับ

มาอีกทีแรกๆก็นึกเหมือนกรรมการนั้นแหละ

สวัสดีตอนเช้าครับ พี่ครูคิม

เข้ามาอ่านและทักทายครับ

สวัสดีค่ะพี่ครูคิมทำคะแนนอยู่ค่ะ..แต่ก็อยากมาเยี่ยมค่ะ..เห็นทางแล้วก็นึกออกหมดแล้วค่ะ แต่ฝนตกด้วยค่ะ..ยิ่งขากลับแวะริมทางที่ลงแพแก่งโสภา..น้ำไหลเชี่ยวน่ากลัวค่ะ..เสียดายว่าไม่ทันเตรียมตัวล่วงหน้าว่าจะไปเส้นทางนี้..บิดาครูที่โรงเรียนเสียที่บ้านกาฬสินธ์..อ. คำม่วง บ้านโพน ..แหล่งผ้าไหมแพรวา..พยายามจะลงภาพให้ชมค่ะ..มีความสุขนะคะพี่ครูคิม

  • มาเรียนรู้และ
  • มาทักทายครูคิมครับ

สวัสดีค่ะน้องแมลงไร้พิษ

  • วันนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมมาเขียนใหม่อีกแล้วนะคะ
  • น้องอนุบาล..น่ารักค่ะ

สวัสดีค่ะน้องเบดูอิน

  • ยุ่งงาน  แต่ไม่ยุ่งใจไม่เป็นไรหรอกนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ
  • จะรอรับฟังข่าวดีค่ะ
  • คิถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะน้องdid

  • น้อง..สบายดีนะคะ
  • พี่คิมยุ่งกับการพาเด็ก ๆ ไปในชุมชนค่ะ
  • ขอขอบพระคุณที่มาทักทาย

สวัสดีค่ะน้องrinda

  • ขอขอบพระคุณที่ยังนึกถึงพี่คิมค่ะ
  • ปิดเรียนแล้ว..ไปไหนบ้างคะ
  • ขอให้มีความสุข ชาร์ทแบตให้เต็มนะคะ

พี่คิมคะ

น้องมีรูปถนนไว้แล้ว

แต่ยังหาเรื่องเขียนไม่ได้

สวัสดีค่ะคุณสามสัก

  • ขอขอบพระคุณที่มาเยี่ยมค่ะ
  • รอรับถั่ว..แลปลูกกับต้นไม้ใหญ่ ๆ ที่แข็งแรงนะคะ

สวัสดีค่ะน้องลีลาวดี

  • พี่คิม...ใจหายนะคะ
  • กล่าวลา..ไปไหนคะ  ค่อยเป็นค่อยไปไม่ยุ่งยากนักหรอกนะคะ
  • เหลือเวลาอีกมากมาย
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะน้องครู ป.1

  • วันนี้ออกไปชุมชนสนุกมากค่ะ
  • ธรรมชาติของเด็ก ๆ ชอบบรรยากาศนอกห้องเรียนค่ะ
  • สักครู่จะขึ้นบันทึกใหม่ค่ะ

สวัสดีครับเรื่องราวดีๆๆเเบบนี้มีไว้เเบ่งปันจริงๆเลยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์k-kukiat

  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • ที่ติดตามอ่านเรื่องราวของชุมชนเล็ก ๆ

สวัสดีค่ะ ครูคิม แวะมาเลยเข้ามาอ่าน

เห็นภาพ ก็ยังคิดถึงนครไทยเหมือนเดิมค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย อ่านคำบรรยาย พร้อมกับดูภาพประกอบเพลินไปอีกแบบค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท