๗๒๕.กลุ่มคนปลูกผักกินได้ : ปลูกผักแล้วได้อะไร (๑๐)


 

ผักพื้นบ้าน : คุณเพชรน้ำหนึ่งและคุณมะเดื่อ นักการเกษตร  

              

           ผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาบริโภค เป็นผักเกิดในแหล่งธรรมชาติตามป่าเขา หนองบึง ริมน้ำ หรือชาวบ้านนำมาปลุกไว้เพื่อสะดวกในการเก็บบริโภค ผักพื้นบ้านมีชื่อเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และนำไปประกอบเป็นอาหารพื้นเมืองตามกรรมวิธีเฉพาะของท้องถิ่น โดยตัวของผักพื้นบ้านเอง มีคุณค่าในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับชาวบ้านและบริโภคตามฤดูกาลชาวบ้านจะเลือกสรรพืชผักที่มีประโยชน์และตัดสิ่งที่เกิดโทษออกไป พืชผักที่เกื้อกูลสุขภาพอาจเรียกว่า สมุนไพร นอกจากนี้ลักษณะอาหารและรสชาติอาหารจะมีเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นนั้น  ผักพื้นบ้านในประเทศไทยนั้นเดิมมีถึง ๒๕๕ ชนิดhttp://www.krudang.com/sheet/pakkwammy.htm/ 

 

                คุณเพชรน้ำหนึ่งและคุณมะเดื่อ นักการเกษตรได้ค้นคว้าและนำความรู้ผักพื้นบ้านมาถ่ายทอดผ่านบันทึก  จำนวนมาก  ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและมีคุณค่าทางอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตและคุณค่าในทางสมุนไพรรักษาโรค  ได้แก่

คุณเพชรน้ำหนึ่ง   http://gotoknow.org/blog/jomduang/toc

คุณมะเดื่อ   http://gotoknow.org/blog/mad/toc

 

           บันทึกนี้ เริ่มจากผักพื้นบ้านและประสบการณ์ของฉันแบบรับรู้และได้ยินมา  การที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อถือว่าเป็นเรื่องเล่า  โดยเฉพาะคำบอกเล่าของภูมิปัญญาและบางอย่างที่เคยเห็นจริงทำจริงบ้าง แต่ขอบอกว่าฉันไร้ซึ่งความชำนาญการ  แต่มีวิญญาณของนักสมัครเล่นเสมอ

 

        “ผักปลัง” นอกจากเป็นผักที่สามารถเพาะจากเมล็ดแบบธรรมชาติแล้ว    ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้เป็นผักปลังใบใหญ่  ทั้งผักปลังใบสีเขียวและใบสีแดง  สามารถขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ดและการปักชำได้  และสามารถขึ้นได้ดีกับสภาพอากาศทุกฤดูกาล  ตอนวัยเด็กมีแววรักสวยรักงามเพื่อชดเชยความขี้เหร่  จึงเอาเม็ดผักปังมาทาเล็บ  ไม่พอทาปากอีก  เครื่องสำอางจากธรรมชาติไม่มีพิษภัย

 

         “ยอ ผักพื้นบ้าน....สมุนไพรไทย ๆ ที่ทานได้ทั้งลูกและใบ  ภาคอิสานนิยมนำลูกยออ่อนมาทำส้มตำ เคยทานแซบ ๆ เผ็ด ๆ  ภูมิปัญญาบอกว่ามีสรรพคุณฟอกเลือดสำหรับสตรี  ยกเว้นบุรุษอย่าริเลียนแบบ  จำเพศของตนเองให้ดีด้วยไม่เช่นนั้นอาจเผลอ

 

         “หวาย”  เป็นพืชทนแล้ง  ยอดอ่อนของหวายคล้ายหน่อไม้ นำมาปรุงอาหารได้ ลำต้นสามารถใช้ประโยชน์ในการจักสาน เป็นของใช้ชนิดต่าง ๆ  เคยทานแต่รสขมแบบเฝื่อน ๆ จังหวัดน่านมีการอนุรักษ์พันธุ์หวายเพื่อการส่งเสริมอาชีพผลิตภัณฑ์จากหวาย  ปัจจุบันมีการทำหวายพลาสติก  เพิ่มภาวะโลกร้อนและไม่เป็นธรรมชาติ  อีกทั้งราคาแพง

 

          "มะระขี้นกหรือเรียกว่า ผักไห่  มะไห่  มะนอย  มะห่วย ผักไซ สุพะซู  สุพะเดา และ ฯลฯ"  ตามภาษาพื้นเมืองในภาคต่าง ๆ เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ"มะระขี้นก" เป็นผักพื้นบ้านยอดนิยม

 

          "ฟักข้าว" และ "ลูกฟักข้าว" เป็นพืชผักที่ขึ้นตามป่าอย่างธรรมชาติ มีสีสันสวยงามเมื่อผลแก่ "อาหารต้านมะเร็ง" ยังไม่เคยเห็นผลจริงและไม่เคยรับประทาน

 

          "ผักหวานบ้านจากการทดลองปลูกทำให้ทราบว่าผักหวานบ้านชอบแดดจัดและที่โล่ง  ทานได้ทั้งยอดและผล  เพาะชำง่าย  ราคาแพงกว่าผักหวานป่าอีกด้วย  ประมาณขีดละ ๓๐ ถึง ๔๐ บาท

 

           "ตำลึง" เป็นผักยอดนิยม "ตำลึงตัวผู้เป็นอัรตรายทำให้ท้องเสีย  และภูมิปัญญาบอกว่าห้ามเก็บตำลึงหลังฝนตกอาจทำให้ท้องเสีย  ตอนเป็นวัยละอ่อนที่ยังไม่เอ๊าะ เคยเห็นคุณยายแกงคั่วลูกตำลึง  เป็นอาหารโปรดของคุณตา

 

          "อมด่วน" คือชื่อที่คนภาคเหนือใช้เรียก สาระแหน่  ปลูกไม่ง่ายและไม่ยาก  ชอบที่เย็นและน้ำซึมได้ดี  ต้องตัดแต่งบ่อย ๆ เพื่อให้ยอดใหม่  ภูมิปัญญาบอกว่า ต้องนั่งเก็บหากยืนจะทำให้หอมด่วนเฉาตาย  และห้ามผู้หญิงที่มีรอบเดือนเก็บอีกด้วย  ยกเว้นผู้ชายไม่ห้าม จึงขอยกหน้าที่อันยิ่งใหญ่ให้ผู้ชายมีหน้าที่เก็บสระแหน่  ตอนเป็นเด็กวัยทะลึ่ง  ไม่อยากเชื่อคำสอนของคุณยาย  แอบไปทดลองและมันก็ตายจริง ๆ (โปรดมีวิจารณญาณในการอ่านด้วยนะคะ)

 

          "เพกาหรือลิ้นฟ้า" หรือว่า"บะลิดไม้"ของคุณเพชรน้ำหนึ่งเป็นพืชผักธรรมชาติขึ้นตามป่า ท้องนา มีรสขม  ทานได้ทั้งดอก  ยอดอ่อน และฝัก  เคยทดลองทานทั้งสุกและสด  การทานสดจะมันและขมน้อยกว่า  วันก่อนไปทานข้าวกับหนานเกียรติเห็นเมนู "ยำฝักเพกา" ด้วย

 

         "แค" ใช้เปลือกต้นสด ๆ ไปต้มใส่น้ำพอท่วมเติมเกลือเล็กน้อย  เมื่อเดือดแล้วทิ้งไว้ประมาณ  ๑๕ นาที  นำน้ำต้มไปล้างแผล  แผลจะแห้ง และหายเร็ว  ภูมิปัญญาบอกว่าเปลือกแคใช้อุดฟันเวลาปวดได้  ยอดแค และดอกแคนำมาทำอาหารได้ตอนเป็นเด็กทหารที่บ้านไปขูดต้นแคฝอย ๆและนำมาสับใส่ลาบหมู  บอกว่าแก้ท้องเสีย  ความจริงทำให้ได้เยอะอีกด้วย

 

           "กระเพราควาย" นิยมใช้ใบมาแกงป่า ผัดเผ็ด และดอกกระเพราเป็นส่วนผสมของพริกแกงป่าได้ ที่บ้านเคยเพาะเมล็ดแต่ไม่ขึ้น  ที่มีอยู่ซื้อมาจากร้านต้นไม้ เขาเพาะเมล็ดมาเหมือนกัน  แล้วคนอิสานจะเรียกมันว่า..."กระเพรา...." (อิหยังน่อ)

 

           "ดอกดิน"  มีชื่อตามท้องถิ่นต่าง ๆ ว่า ซอซวย  ดอกดินแดง  ปากจระเข้  หญ้าดอกซอ  เทียนฤาษี  ข้าวก่ำนกยูง  หรือ หญ้าดอก ยังไม่เคยเห็นดอกดินจริง ๆ นอกจากขนมดอกดิน  และคุณดอกดิน กัญญามาลย์  น่าจะมีการอนุรักษ์

 

          "ผักปูนก,ผักปูลิง,ผักแค" ทางใต้ เรียก "ผักนมวา" อีสานเรียก "ผักอีเลิด" ส่วนชื่อที่เรารู้จักกันดีอยู่ที่ ภาคกลาง คือ "ใบชะพลู"  ฉันสอนโรงเรียนสองภาษาคือภาษาพื้นถิ่นคล้ายอิสานและภาษาไทย  ครูท่านหนึ่งให้นักเรียนไปเก็บใบชะพลู  กลับได้ใบพลูที่ทานกับหมากแทน  เพราะภาษาพื้นถิ่นเขาเรียกว่าผัก ชนิดนี้ว่า  E-lert  กระแดะเขียนให้สมกับเป็นโรงเรียนสองภาษา  หากจะเขียนภาษาไทยเป็นภาษาพื้นถิ่นไม่สมควร  เพราะครูสตรีท่านหนึ่งชื่อนางสาวบุญเลิศและมีชื่อเล่นว่าเลิศ

 

           "เครือเขาคำ" เป็นผัก บ้าน  บ้าน ที่ "จิ้มน้ำพริก" อร่อย ดี  เคยเห็นตอนเด็กที่แม่ริม  แต่ยังไม่เคยทาน  ชอบเอามาเล่นขายของเป็นหมี่เหลืองผัด

 

           "ผักชีดอย"  "ผักชีไทย" "ผักชีใบเลื่อย" "หอมป้อมเทศ" "ผักหอมเป"  หรือ "ผักชีฝรั่ง"  มีชื่อมากมายเลยนะคะ  วันก่อนซื้อมาปลูก  ๑๐  บาทได้เพียง ๓ ต้น  ถ้าปลูกติดแล้วจะขยายพันธุ์นำไปขายแข่งกับแม่ค้าในตลาดต้นละ ๑ บาทคงเข้าท่า

 

         "ผักแพรว" โคราช เรียก "จันทร์โฉม" อุดรเรียก "ผักแพว" อยุธยา เรียก "หอมจันทร์" ส่วนภาคเหนือ "ผักไผ่" บางคนเรียกผักไห่  ไม่น่าจะใช่ เพราะผักไห่อยู่ที่อยุธยา  ต้องไปถามชาวอยุธยาจึงจะเข้าใจ  ห้ามผู้ชายไปถามเพราะกลัวจะไปหลงไหลสาวผักไห่  ผักแพรวมีจริตจะก้านและอาการเดียวกับสระแหน่  ภูมิปัญญาว่าไว้เช่นเดียวกัน

 

         คุณมะเดื่อ  อยู่กับต้นไม้ใบหญ้า ไร้มารยา  สบายตา สบายใจ

http://gotoknow.org/blog/mad/toc  จึงทำให้การเขียนบันทึกฉบับนี้ได้สำเร็จ  ซึ่งคุณมะเดื่อได้รวบรวมประเภทของผักพื้นบ้านและการเรียกชื่อต่าง ๆกันมาให้ทราบ

 

             "มะเดื่อฝรั่ง" หรือ " มะเดื่อญี่ปุ่น" ยังไม่เคยเห็นของจริง  แต่มีผู้นำผลที่ตากแห้งแปรรูปแล้วมาฝาก  รสชาติเหมือนพุทรา  ทานแล้วไม่ติดใจจึงไม่บอกต่อใคร ๆ

 

          "ะมวง"" หรือ บางถิ่นเรียกว่า ส้มโมง  นึกถึงนักมวยที่มีชื่อเสียงในอดีต  เวลาขึ้นเวที “ร้านช่อชะม่วง” จะเป็นผู้มอบรางวัลและสปอนเซ่อร์  สนับสนุนเสมอ  ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าเป็นคนชอบดูมวยเหมือนคุณพ่อ เวทีราชดำเนิน หรือลุมพินี เกือบทุกนัดที่มีมวยดี

 

          " ผักชมจันทร์ " ดอกชมจันทร์  ดอกพระจันทร์  หรือ  ดอกไม้จีน  ยังไม่เคยรู้จักแม้ชมจากรูปภาพก็นึกไม่ออก

 

          "แสงจันทร์" คุณมะเดื่อผู้บันทึกชื่นชมว่างามอย่างมีคุณค่าสวย ใส  ไม่ไร้สาระ หากกลางคืนเดือนหงายเคยเห็นว่าสวยดี  แต่อย่างไรก็ขอหยุดร้องเพลงโปรด “แสงจันทร์” ของมาลีฮวนน่าก่อนนะคะ    

 

           "มะเขือขื่น" มะเขือแจ้ มะเขือคางกบ เขือหิน เคนรู้จักเพียง ๒ ชื่อคือมะเขือขื่นและมะเขือแจ้  ได้รับความรู้จากภูมิปัญญาที่ภาคอิสานการทำมะเขือขื่นให้น่าทาน “ผ่าเอาเมล็ดทิ้ง ขยำกับน้ำเกลือและมะขามเปียก  แล้วล้างน้ำ  นำไปแช่ในน้ำปลา” จกรอบและไม่ขื่น  ขอยืนยันเพราะไดรับกรีนการ์ดจากอิสานแล้ว

  

           "ผักเบี้ยใหญ่" หรือชะคราม  หรือ"ผักคราม" ต้องขอเวลาไปติดตามเรียนรู้  เพราะไม่ทราบจริง อีกไม่เคยได้ยินมาก่อน  นี่ขนาดเด็กบ้านนอกนะเนี่ย

 

          "โสมไทย"   เคยนำไปแกงจืดหมูสับและผัดกับน้ำมันหอย  กินกับข้าวต้มกุ๊ย  ไม่ได้ปลูกเอง  แต่มีคนปลูกแทนคือเจ้ที่ตลาด  ต้องการเท่าไรก็หากมีข้อแลกเปลี่ยนที่เต็มใจ

 

          "ผักกาดนกเขา" จัดเป็นผักพื้นบ้าน เคยรู้จักและเคยทานกับลาบเป็ด    ได้รับประกาศนียบัตรจากอิสานเช่นกัน

 

            “อยู่กับต้นไม้ใบหญ้า ไร้มารยา  สบายตา สบายใจ”  หายขี้เกียจจากการสรุปบันทึก  ไม่อยากใช้คำว่าถอดบทเรียน เพราะมือไม่ถึง จะเขย่งปลายเท้าจนข้อพับก็ไกลเกินเอื้อม   จึงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่า   ฉันถอดบทเรียน   แต่ขอร่วมกิจกรรมแบบเป็นตัวของตัวเองแบบนี้  หากไม่ใช่ไม่ถูกต้องก็ไม่เป็นไร  เพราะสองสามวันที่ผ่านมาหมกมุ่นอยู่กับเรื่องนี้  แต่ก็สนุกเฉพาะบางเวลา  การขาดอิสระนี่เป็นความทุกข์จริง ๆ   ช่วยด้วยค่ะคุณเพชรน้ำหนึ่งและคุณมะเดื่อ 

 

          ขอตอบโจทย์ว่าสิ่งที่ได้จากการปลูกผักพืชบ้าน  หรือปลูกผักแล้วได้อะไร  ฉันได้เรียนรู้ว่าแผ่นดินไทยมีความสวยสดงดงาม มีผักพื้นบ้านมากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นสรรพคุณทางสมุนไพรที่ธรรมชาติมีให้  นับว่าโลกนี้ยังน่าอยู่และน่ารื่นรมย์  หากเราช่วยกันอนุรักษ์ผักพื้นบ้าน  หันกลับมาปลูกเองบริโภคเอง  แบ่งปัน แลกเปลี่ยนกันกิน  และรู้จักปฏิเสธผักที่เป็นอันตรายเสียบ้าง  รวมทั้งช่วยกันทำตัวเป็นแบบอย่าง ให้ความรู้สร้างความตระหนักแก่เยาวชนและคนรุ่นหลัง

 

            บันทึกนี้ขอน้อมนำ  บทสวดภาวนาสำหรับพุทธศาสนิกชนร่วมสมัย "จัดดอกไม้" ของหลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ มีว่า "จัดดอกไม้นี้สหโลก  พื้นฐานแห่งจิตของข้านั้น สะอาดและสงบ"  ตามตำนานฝ่ายพุทธเอ่ยถึงสหโลก  ว่าโลกนี้เป็นพื้นพสุธาที่ยอมรับความยากลำบาก ความเจ็บป่วย  ความเกลียดชัง  ความโง่เขลา  และความตาย 

 

          สห หมายถึงมากหลาย  หมายถึงการเคลื่อนย้ายและทนทาน  เวลาเราปฏิบัติธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  เราสามารถเคลื่อนย้ายตัวเรา  เข้าสู่แดนสุขาวดีอันงดงามนั้นได้  โดยที่แดนสุขาวดีคือโลกของเรานี่เอง 

       เวลาสอนจิตใจให้สงบ  และให้แสงสว่าง  ดอกไม้ในจิตใจของเราก็เป็นดวงประทีปด้วย คนรอบข้างตัวเราก็จะได้รับรู้ถึงความงามของชีวิต  และได้รู้ว่าชีวิตนี้มีคาอย่างไร

 

ที่มา : Present  Moment Wonderful Moment  Mindfulness  Verses  for  Daily  Living

 

หมายเลขบันทึก: 434316เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2011 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

สวัสดีครัีบพี่...

แหมจะอ้วกได้ไง ออกจะเยี่ยมหยดย้อย...
เป้นตำราพรรณพืชหายากได้เลยนะเนี่ยพี่

บันทึกนี้เสียอย่างเดียวตรงที่ไม่มีส่วนท้ายเหมือนกับที่เคยมีในทุกบันทึก
แหะ แหะ เปิดบันทึกมา เลื่อนไปท้านสุดก่อนเลย ปรากฏว่ากินแห้วครับ ฮิ ฮิ... 

คนอ่อนด้อยด้านวิชาการ...แวะมาติดตามค่ะ

บอกตรง ๆ ว่า ไม่เป็นเลย "สกัดความรู้"  "ถอดบทเรียน"  เฮ้อ.........

ได้แต่ไร้สาระศาสคร์ไปวัน ๆ  ตามใจฉันไปเรื่อย ๆ 

ขอหาความรู้ ดูจากท่านอื่น ๆ  ไว้พัฒนานาสมองน้อย ๆ ก่อนนะคะ อิ..อิ..อิ...

ครูคิม ได้เรียนรู้สรรพคุณผักมากๆ ฮิๆ สำคัญ ติดใจกำว่าหอมด่วน  คำเมืองแต้ๆๆวันหลังจะอู้(พูด)ให้ที่อื่นฟัง ถ้าอยากรู้ว่าคืออะไรไปอ่านบล๊อกครูคิมเจ้า

ผักกาดนกเขา  ที่ใต้ก็มีเยอะค่ะ

ชอบขึ้นแทรกตามร่องที่ปลูกผัก

       ๕๕๕๕๕๕.... มาหัวเราะต่อค่ะ  

    สำนวนการเขียนเรียกว่า  สะบัดปากกาได้ถึงใจวัยรุ่นดีแท้....

   ได้ความรู้เรื่องผักครบถ้วน  

  และผักแคมีอีกชื่อหนึ่งที่ไม่สมควรพูดในโรงเรียนนั้น .... ^__^ 

                   

ปลูกผัก ได้ประโยชน์ กินอร่อยนะคะ

สวัสดีค่ะพี่คิม

  • น้องเพิ่งมาจากบ้านคุณหนานเกียรติค่ะ ตอนแรกตกใจมากนึกว่าใครเป็นอะไร  แหม ! ทั้งยอดทั้งเยี่ยมขนาดนี้ ขอเปลี่ยนเป็นชื่นชมแทนนะคะ

สวัสดีค่ะ

วันนี้ไปออกกำลังที่ลานกีฬาในเมือง  เพิ่งกลับมาไม่นาน  แล้วจะลงบทภาวนาให้ในตอนท้ายนะคะ  ฃกลับมาอ่านตอนดึกละกันค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์หมอ Ico24 และทุกท่านที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ✿อุ้มบุญ✿

เอายาหอม แก้คลื่นไส้ไหมน้องรัก

สวัสดีค่ะอิงจันทร์ บ้านกลอนไฉไล

แบบของพี่คิมนี่แหละคะ  สรน.ไร้สาระศาสตร์ ปราศจากสาระศิลป์ ฮา ๆ ๆ

ทำบ้า ๆ บอ ๆ ให้อ่านเวียน ๆ วิง ๆ นี่แหละพี่คิมละ

สวัสดีค่ะท้องฟ้า

พี่คิมรู้จักหอมด่วนค่ะ  ทานเป็นด้วย เพราะไปอยู่เชียงราย เชียงใหม่มาก่อนค่ะ อู้ก็ได้เจ้า  ติด ๆ ขัด ๆ ปันแต้ปันว่าเจ้า

สวัสดีค่ะnana งาน พสว.ศอ.8

ใช่ค่ะ  ผักกาดนกเขา ขึ้นเหมือนวัชรพืชเลยนะคะ  แพร่ขยายพันธุ์รวดเร็วมากค่ะ

สวัสดีค่ะKRUDALA

เวลานี้ก็รุ่นค่ะ  "วายรุ่น" ไงคะ

แคมีชื่อว่าอย่างไรหรือคะ  บอกหน่อยได๊ม๊าย

สวัสดีค่ะคุณใบบุญ

ความจริงนะคะ  ได้ประสบการณ์รื่องผักพื้นบ้านจากอิสานมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณยาย

วันนี้ต้องการอ๊วกค่ะ  เพราะอยากเช็ดซะทีค่ะ

การเช็ดอ๊วกบ้าง อาจทำให้สะอาดได้นะคะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะบันทึกนี้
  • เดิมเห็นชื่อคิดว่าเรื่องเดิม ที่ไหนได้...
  • เติมเต็มแลกเปลี่ยนผักพื้นบ้านกันอย่างมากมาย...
  • รู้งี้อ่านนานแล้ว....
  • ที่บ้านมีอีกผักค่ะ "มะตูมแขก"เก็บยอดกินกับลาบอร่อยมากหอมๆ เพื่อนให้ต้นมาจากโคราชค่ะ แต่ไม่รู้ว่าเป็นผักพื้นบ้านไทยหรือเปล่า...
  • ครูคิมรู้จักไหมคะ

สวัสดีค่ะลำดวน

มะตูมแขก  ใบเล็ก ๆ เหมือนใบมะกรูด  และมีกิ่งเป็นหนามใช่ไหมคะ

ใช้ชื่อเดียวกันค่ะ

ส่วนบันทึกที่ ๑๔ และ ๑๕ จะเปลี่ยนชื่อตาม concept ค่ะ

  • มาชื่นชม มาติดตามการสกัดความรู้ดูแบบอย่างค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูภาทิพ

พี่คิมว่าไม่น่าเป็นแบบอย่างนะคะ  เพราะพี่คิมไม่มีความรู้เกี่ยวกับ "สกัดความรู้" เลยค่ะ  โดยเฉพาะการเขียนเป็นการเป็นงาน  ได้แต่เขียนเล่น ๆ

แวะเข้าไปเรียนรู้บทกลอนมาแล้ว แต่ไม่กล้าเม้นท์ ไม่ทราบจะเม้นท์ออะไรอีกเหมือนกัน ได้แต่มอบดอกไม้ค่ะ

สวัสดีตอนดึกครับพี่...

ตามมาอ่านบทภาวนาครับ
งดงามจริง ๆ  

  • สวัสดีค่ะครูคิม
  • ขอแนะนำผักพื้นบ้านสักอย่างหนึ่ง
  • เมนูที่ตามร้านอาหารแนะนำผักพื้นบ้านให้นักท่องเที่ยวก็คือ
  • ผักกูดไฟแดง   ผักกูดเป็นพืชไม้ล้มลุกตระกูลเฟิร์น มี ๒ ชนิด
  • ผักกูดที่ยอดงอ ขมวดเข้าหาตัว สีเขียวเข้มเกือบดำ ทานแล้วลื่นลิ้น
  • ลวกจิ้มน้ำพริก หรือผัดไฟแดงอร่อยมาก หลายท่านก็ชอบแกงผักกูด  
  • อีกชนิดหนึ่งสีเขียวออกใสๆ ชนิดนี้จะไม่รู้สึกลื่นลิ้นเท่าไหร่
  •  ลวกกับน้ำพริกอย่างเดียว 
  • สวัสดีครับ ครูคิม
  • ได้รู้จักผักหลายชนิดจาก บันทึกนี้ครับ
  • ทานผักพื้นบ้าน ผักปลูกเอง ดีต่อสุขภาพครับ ปลอดภัย ไร้มลพิษ
  • ที่บ้านผมดอกแค มีมากครับ ทำแกงส้มอร่อยทีเดียว

แวะมาอ๊วกด้วยคนจ้า  ที่ผมอยากกินมากตอนนี้คือบักเขือขื่นจ้า 555

ขอบคุณค่ะ..ถอดบทเรียนยอดเยี่ยมแบบนี้..ออก e-book เรื่อง ปลูกผักกินได้ เล่มหนึ่งค่ะ..เชียร์..

 

สวัสดีค่ะหนานเกียรติ

หนังสือบทสวดภาวนาเล่มนี้อ่านง่ายค่ะ เหมาะกับทุกวัย  เด็ก ๆ ก็อ่านรู้เรื่อง  พี่คิมซื้อไปบริจาคโรงเรียนต่าง ๆด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะเอื้องแซะ

ผักกูด เป็นเมนูพิเศษยอดนิยมเชียวนะคะ  "ยำผักกูดกุ้งสด"  น่ารักน่าทานมากค่ะ เมื่อเห็นลักษณะงอสวย วางเป็นกำ ๆ

แบบนี้เขาบอกว่าปลอดสารพิษ  เพราะหากนำปุ๋ยหรือสารอะไรไปใส่ก็จะตายทันทีค่ะ

สวัสดีค่ะนาย ฐานิศวร์ ผลเจริญ

ปัจจุบันคนเรียกหาผักพื้นบ้านกันแล้วนะคะ

เราควรภาคภูมิใจที่เราอยู่บ้านนอก ต่างจังหวัดมีโอกาสรู้และได้ทานผักพื้นบ้านกันนะคะ

สวัสดีค่ะPeter p

อ้วกจนหมดแรงไหมคะ  ฮา ๆ ๆ ๆ

มะเขือขื่นหาทานยาก  นอกจากบ้านนอกต้นฉบับค่ะ

สวัสดีค่ะครูคิม

เมื่อได้อ่านผักพื้นบ้านแล้ว ก็นึกถึง "ผักหนาม"ในคูที่สวน ไม่ทราบว่าครูคิมรู้จักไหม

เป็นผักที่ชอบขึ้นริมน้ำ ลำต้นมีหนาม เมื่อแก่แล้วหนามแข็ง ตอนอ่อนหนามไม่แข็งลำต้นอวบแตกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดินคล้ายกับก้านบัวหลวง  สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่างเช่น ต้มจิ้มน้ำพริก  แกงส้ม  ดอง(เหมือนกับดองผักเสี้ยน)แล้วจิ้มน้ำพริกอร่อยดีค่ะ

เมื่อวานเพิ่งได้ทานลวกผักปลังค่ะพี่คิม อร่อยอย่าบอกใคร อิอิ

มาเมืองกรุง หาผักพื้นบ้านทานยากค่ะ...แค่หาอาหารสำเร็จรูปที่มีผักเยอะๆ ก็ยากแล้ว ถ้าวันไหนอยากทานผักเยอะๆ ต้องไปทาน MK 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท