การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:103


การสร้างภาพในใจ

     การสร้างมโนทัศน์

      ในการอบรมและการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามักจะได้รับการถ่ายทอดความรู้มากมายจากท่านวิทยากร และผู้ทรงวุฒิต่างๆ แล้วทำให้เราเกิดแนวคิด มุมมองใหม่ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรถ้าเราเปิดใจรับและเรียนรู้กับสิ่งนั้นโดยไม่คิดว่าเรารู้แล้ว และทำอยู่แล้ว


       วันเสาร์-อาทิตย์ ที่26-27 มีนาคมที่ผ่านมาทางโรงเรียนบ่อไร่วิทยาคมของเราได้รับเกียรติและโอกาสจากบริษัท ปตท.จำักัด (มหาชน) ให้เข้าร่วมเรียนรู้กับคณะครู 3โรงเรียนของจังหวัดระยองที่อยู่ในเขตพื้นที่การทำงานของบริษัท ปตท.จำักัด (มหาชน) ได้แก่ โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคม โรงเรียนระยองวิทยาคม นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง และโรงเรียนในฝันของปตท. อีก 2 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จังหวัดตราดและโรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา  จังหวัดลำปางที่โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง
    

      โดยบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน)  ร่วมกับกลุ่มเพื่อนชุมชน (SCG GLOW BLCP DOW  SYS)ได้จัดทำโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาต้นแบบในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง ให้เป็นโรงเรียนที่สามารถจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โครงการพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพเป็นโครงการย่อยโครงการหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาหลักแก่ครูโดยใช้กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการมุ่งผลสัมฤทธิ์

    ในช่วงเช้าของวันแรก เป็นการบรรยายโดย รศ. ดร. ทิศนา แขมมณีในเรื่องการจัดการเรียนการสอนตามพ.ร.บการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และบ่ายของวันแรกถึงวันที่สองเป็นการแยกเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยการสอนวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.พิมพันธ์เดชะคุปต์ และ รศ.พเยาว์  ยินดีสุข การสอนภาษาอังกฤษ พันตรี ดร.ราเชน มีศรีารสอนคณิตศาสตร์ อาจารย์วิชัยเสวกนาม การสอนภาษาไทยรศ.ประดับ จันทร์สุขศรี และ การสอนสังคมศึกษา อาจารย์ศรัณย์พร ยินดีสุขทั้งนี้โดยมี ท่านผศ.ดร.ชนาธิป พรกุล ผศ. เพ็ญจันทร์ กู้ประเสริฐและทีมงานเป็นผู้บริหารหลักสูตรการเรียนรู้
    ผมเองได้รับโอกาสให้เข้าร่วมในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โดยท่านวิทยากรอาจารย์ศรัณย์พร ยินดีสุขจากโรงเรียนสาธิต จุฬาฯ ฝ่ายมัธยมทราบว่าท่านกำลังจะสำเร็จปริญญาเอกอยู่ไม่กี่เพลานี้

      อาจารย์ศรัณย์พร ยินดีสุข ท่านคงรู้สึกเครียด และเกร็ง (เผลอๆ เมื่อคืนอาจนอนไม่เต็มอิ่มแล้วฝันว่าเป็นวิทยากรทั้งคืน) เพราะจากการสังเกตสีหน้าและท่าทางในชั่วโมงแรกๆ ท่านมีแววตาที่กังวลอยู่ว่าจะสอนอย่างไรถ่ายทอดอย่างไร กับนักเรียนโข่งกลุ่มนี้ ซึ่งตัวท่านอาจารย์เองอายุคงประมาณว่าคราวลูกของนักเรียนบางคน

     แต่อาจารย์ศรัณย์พร ยินดีสุขก็สามารถนำพาพวกเราเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีเยี่ยม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์จากการสอนของโรงเรียนท่านที่สอนมาได้ชัดเจนทำให้เรามองเห็นมุมมองใหม่ ๆได้อย่างน่าทึ่งมาก

      ที่สำคัญผมค้นพบบทเรียนอย่างหนึ่งของ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ คือการที่ท่านอาจารย์สอนให้พวกเราสร้างมโนทัศน์ของเรื่องที่เราจะสอนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าไม่เคยได้รับความรู้มาแต่ครั้งนี้มันพบเทคนิดการสร้างนโนทัศน์ผมมองว่าประเด็นนี้เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งเพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ของเราในเรื่องนั้นๆ

       มโนทัศน์ มันจึงควรเป็นภาพรวมขององค์ความรู้ที่เกิดขึ้นแ่ก่ผู้เรียนที่เขาสามารถอธิบาย และยกตัวอย่างได้ ซึ่งอาจต้องอาศัยความรู้ประสบการณ์มากๆ แต่ถ้ารู้ผิดมโนทัศน์ก็จะผิดไปด้วย

       การที่ครูจะสร้างมโนทัศน์ได้นั้น จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่นักเรียนต้องรู้ทั้งหมดเสียก่อนเพื่อนำมากำหนดมโนทัศน์เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในลำดับต่อไป การที่เราจะสร้างมโนทัศน์ใดๆนั้น จะต้องมีการรับรู้สิ่งต่างๆ อาจจะเป็นประสบการณ์เดิม ความรู้เดิมบวกกับการแสวงความความรู้ใหม่ นำมาผสมผสานกันซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นความรู้ที่ตนเองค้นพบเองมโนทัศน์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งที่นักเรียนเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ

       การสอนเพื่อสร้างมโนทัศน์ของผู้เรียนเป็นวิธีการสอนที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์สามารถจับหลักการ หรือประเด็นสำคัญได้ด้วยตนเองทำให้เกิดการเรียนรู้หลักการ  แนวคิด หรือข้อความต่างๆอย่างเข้าใจด้วยตนเอง อาจเรียกได้ว่า เป็นความคิดรวบยอดของนักเรียนในเรื่องนั้นๆ

 

หมายเลขบันทึก: 433597เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2011 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2017 04:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

ดีใจและรู้สึกโชคดีที่ได้มาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

การสร้าง "มโนทัศน์" ก่อน น่าจะเป็นการมองไปที่เป้าหมายสุดท้าย
เมื่อเห็นภาพรวมและเป้าหมายแล้วการกำหนดวิธีการที่จะจัดการเรียนรู้ก็ทำไ้ด้ง่ายขึ้นค่ะ และยังเป็นการสร้างความคิดรวบยอดขึ้นในที่สุดด้วย

ขอบคุณมากค่ะที่แบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ค่ะ

สวัสดีครับIco48

การสร้าง "มโนทัศน์"ถือว่าเป็นการสร้างภาพรวมของสาระที่เราจะเรียนรู้ โดยการสรุปตามความเข้าใจของเราเอง เป็นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

ขอบคุณที่มาเยือนครับ

 

ความคิดรวบยอด ถูกใจค่ะ ยังทำงานหนักเหมือนเดิม คุณครูคมสัน แต่คุณครูพูดเก่งขึ้นเยอะเลยค่ะ ตอนที่หนูนั่งพิมพ์งานและก็แอบฟังไปด้วย น้องที่มาช่วยงานคุณครูสุลัคน์ ถามหนูว่า พี่จะมาเป็นครูที่บ่อไร่วิทฯหรือเปล่า แล้วก็บอกว่า นักเรียนคงไม่กลัวพี่เพราะพี่ หนูก็ว่างั๊น แล้วจะหาเวลาไปช่วยทำงานบ่อยๆ ค่ะ

รักและเคารพเสมอ

อัญชนก 

สวัสดีค่ะ

ชอบบทสรุปนี้มากค่ะ จะขอนำไปใช้ค่ะ

" .....การสอนเพื่อสร้างมโนทัศน์ของผู้เรียน เป็นวิธีการสอนที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถจับหลักการ หรือประเด็นสำคัญได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้หลักการ แนวคิด หรือข้อความต่างๆ อย่างเข้าใจด้วยตนเอง อาจเรียกได้ว่า เป็นความคิดรวบยอดของนักเรียนในเรื่องนั้น ๆ......."

ขอบคุณมาๆค่ะ

สวัสดีครับคุณอัญชนกและคุณลำดวน

ขอบคุณมากครับที่มาเยือนพร้อมให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท