เวทีระพีเสวนา : ๖ . คำถามที่มีต่อการจัดการศึกษา_เอาวิชาหรือเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง (๒)


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กว่า ๖ ครั้ง ในช่วงเวลา ๒ เดือนของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนไทยไท ทั้ง ๑๒ โรง (๖ x = ๑๒) นั้น กลายเป็นช่วงเวลาของการได้กลับมาทบทวนตัวเอง และตกผลึกคำถามที่มีต่อการเรียนรู้ ต่อกระบวนการเรียนรู้ และต่อองค์ความรู้ ที่ได้รับจากประสบการณ์การจัดการศึกษาของแต่ละโรงร่วมกัน ดังต่อไปนี้

 

๑.    การเรียนรู้เกิดขึ้นกับใคร สิ่งที่เรียนรู้มากมายจะเกิดความหมายได้อย่างไร หากผู้เรียนไม่รู้จักตนเอง

๒.    การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ไหน มนุษย์ยังเรียนรู้อยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีระบบโรงเรียน

๓.    เมื่อไหร่คือเวลาแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนจะเรียนรู้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้สึกสนใจ (และผู้สอนจะสอนในสิ่งที่ตนไม่ได้รัก) ได้อย่างไร

๔.    เด็กเรียนรู้ได้อย่างไร คิดและให้ความหมายได้ด้วยตัวเอง หรือด้วยวิธีการป้อนข้อมูลกลับไปในสมองที่ว่างเปล่า

๕.    ควรเรียนอะไร อะไรที่เรียกว่า ความรู้ และอะไรที่ มิใช่ความรู้

๖.    ความรู้ที่มีอยู่ในโลกและวิธีการแก้ปัญหาล้วนเชื่อมโยงถึงกันหมด แต่เหตุใดการเรียนการสอนจึงแบ่งแยกออกเป็นวิชาอย่างตายตัว

๗.  ใครควรเป็นผู้ประเมินผลการเรียนรู้ ใครควรเป็นผู้กำหนดและตัดสินว่า มีสิ่งใดบ้างที่ได้เรียนรู้ และ มีสิ่งใดบ้างที่ยังไม่ได้เรียนรู้

 

 

คำถามเหล่านี้มีคำตอบที่แตกต่างกันออกไป ตามแนวทางการจัดการศึกษาที่แต่ละโรงนำมาใช้ เพื่อการเดินทางไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาคนให้สมบูรณ์ และนำพาสังคมไปสู่สันติสุข ดังเจตนารมณ์ที่ทุกโรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนไทยไท รวมไปถึงกลุ่มการศึกษาทางเลือกอื่นๆ ที่สนใจนำเอาตัวชีวิตเป็นประธานของการเรียนรู้มีอยู่ร่วมกัน และทุกกลุ่มต่างก็ได้สร้างสรรค์เส้นทางกันมาอย่างหลากหลาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนี้จึงมีประโยชน์ยิ่ง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 230456เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณหนุ่มกร สำหรับคำพรปีใหม่ค่ะ เรามาช่วยกันทำให้จริยธรรมนำการพัฒนากันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท