เวทีระพีเสวนา : ๗ . นิทรรศการมีชีวิตของโรงเรียนเพลินพัฒนา


ข้อความต่อไปนี้นำมาจากมุมนิทรรศการมีชีวิตของโรงเรียนเพลินพัฒนา ที่มีความมุ่งหมายให้ผู้ที่เข้ามาทำกิจกรรมได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ "ไร้เนื้อหา แต่อุดมไปด้วยเนื้อหาที่เกิดจากการเรียนรู้ภายในตัวผู้เรียนเอง"

ที่ว่าไร้เนื้อหานั้นก็เพราะจัดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถจะตีความ และให้ความหมายตามประสบการณ์ที่มีอยู่ จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากนำเอาเรื่องราวที่อยู่ในตัวผู้เรียนออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแท้ๆ

ปลุกตื่น

ในบรรดาปัจจัยเกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีอยู่มากมายนั้น

ปัจจัยภายในตัวผู้เรียน คือ ปัจจัยที่สำคัญที่สุด

เพราะการเรียนรู้จะเป็นไปอย่างดีและมีประสิทธิภาพ

หากทุกคนอยู่ในภาวะพร้อมเรียนรู้

 

ภาวะพร้อมเรียนรู้

ภาวะพร้อมเรียนรู้ คือ ภาวะที่ประสาทสัมผัสตื่นตัว จิตใจสงบ

มีสมาธิ สดชื่น เบิกบาน พร้อมต่อการเผชิญปัญหา อุปสรรค

และการเรียนรู้ในทุกรูปแบบ

 

กิจกรรม Sensory Integration : SI

เป็นกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นระบบการรับรู้

รวมถึงระบบรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ และระบบการทรงตัว

เพื่อให้เกิดการตื่นตัว เรียนรู้ อยู่กับตน และสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม

 

ชื่นบานกับการเรียนรู้

การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้เอง เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความสดชื่น ตื่นตัว

จากการได้รับประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสทั้งหก  และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งต่างๆ

ที่อยู่รอบตัว  เกิดเป็นมิติของการเรียนรู้ที่ประทับเข้าไปในตัวของผู้เรียน ทั้งในอารมณ์ ความรู้สึก

และในโครงสร้างการทำงานของเซลล์สมอง

         

แสนภาษา

เป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพในการสื่อสาร

ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และสามารถรับรู้ เข้าใจความหมาย ด้วยวิธีที่หลากหลาย

ไม่ติดอยู่เพียงแค่การพูด  การเขียน หรือการอ่านเท่านั้น

เดินทางสู่การเปลี่ยนแปลง

เป้าหมายที่แท้ของการศึกษา คือ การพัฒนามนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนอย่างลึกซึ้งและต่อเนื่อง

 

การเข้าใจโลกภายใน จะทำให้เราตระหนักในคุณค่าที่มีอยู่ในตน อันจะพาให้เราเกิดปัญญา อิสรภาพ และความสุข เกิดความรักในเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ

 

การเชื่อมโยงโลกภายในสู่โลกภายนอกจะนำให้การเปลี่ยนแปลงที่ดีงามเกิดขึ้นกับสังคมและโลกได้

 

การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเพลินพัฒนา

 เพลินพัฒนาให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์  เพื่อเป็นฐานให้กับการพัฒนาสติปัญญาและการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยกระทำผ่านประสบการณ์ตรงและผัสสะทั้งมวล ผู้เรียนจะได้สร้างความรู้เอง และประยุกต์ใช้ความรู้อย่างหลากหลาย ในบรรยากาศของการยอมรับและเห็นคุณค่าในกันและกัน

 

ดังนั้น ในการเรียนรู้จึงมีการใช้ฐานกายและฐานใจ ในการปรับอารมณ์ ความรู้สึก เพื่อสร้างภาวะพร้อมเรียนรู้ แล้วจึงสร้างฐานคิดที่มีการเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปสู่ยากอย่างเป็นลำดับขั้น โดยให้เนื้อหาที่เลือกมาเรียนนั้นมีความสอดคล้องกับวัยของผู้เรียน และสัมพันธ์กับความเป็นจริงของสังคม

 

การเรียนรู้ของผู้เรียนจึงมีทั้งการ ปลุกตื่น  ชื่นบานกับการเรียนรู้ และ เดินทางสู่การเปลี่ยนแปลง ดังที่ได้กล่าวมา

 

  

หมายเลขบันทึก: 230472เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท