เวทีระพีเสวนา : ๑๗ . บทส่งท้าย ศ.พิเศษ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง


วันนี้ผมได้เห็นผลสำเร็จของการศึกษาไทยในบุคลิกภาพของ ท่านอาจารย์ระพี สาคริก อาจารย์ประเวศ วะสี  อาจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ อาจารย์วิจารณ์ พานิช ได้เห็นแบบอย่างความคิด ความประพฤติ ความเป็นตัวของตัวเอง ความมีศักดิ์ศรี ที่ภาคภูมิใจได้

 

ได้เห็นการแถลงการร่วมที่น่าทึ่ง น่าเลื่อมใส เข้าใจง่าย จริงใจ มีการจุดเทียนที่เป็นสัญลักษณ์ของการส่องสว่างทางปัญญา เป็นพิธีกรรมที่เรียบง่าย น่าชื่นชม

 

คำว่า ไท ที่ใช้กันในที่นี้ หมายความถึงความเป็นอิสรชนด้วยความรู้ และคุณธรรมที่ได้พัฒนาอย่างสูง มีทั้งวิชชา ที่เป็นความรู้แจ้งในตน และวิชาที่รู้แจ้งเกี่ยวกับผู้อื่น และโลกโดยรวม

 

มีการพูดคุยกันเรื่องการพัฒนาจิตใจ พัฒนามโนสำนึก มากกว่าจะพัฒนาปัญญา (cognitive domain) เหมาะกับยุคที่เต็มไปด้วยปัญหา เฉพาะเศรษฐกิจก็ร้ายแรง สิ่งแวดล้อมก็หนักหนา เราต้องการการเรียนรู้ในทางมโนธรรมสำนึกมากทีเดียว

 

spiritual transformation หรือการพัฒนาทางจิตวิญญาณ เป็นทางเดียวที่จะทำให้มนุษย์อยู่รอด นี่เป็นเรื่องใหญ่ต่อไปอีกหลายร้อยปี มนุษย์ที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปต้องเป็นมนุษย์ที่มีการพัฒนาจิตใจอย่างดีแล้ว ซึ่งคงเหลือไม่กี่ร้อยล้านคนทั่วโลก

 

การเรียนความรู้ไม่ใช่การเรียนรู้ที่ให้ความงอกงามจากภายใน ที่ตรงกับคำว่าสิกขาหรือศึกษาในความหมายดั้งเดิม

 

การเรียนรู้นอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือกให้คำตอบในเรื่องนี้ได้มากกว่าการศึกษาในระบบ การเรียนรู้ในความหมายนี้เป็นการเรียนรู้ในความหมายกว้าง และเป็นองค์รวม และจะเป็นกระแสหลักของโลกในอนาคต

 

ต้องขอขอบคุณอาจารย์ประภาภัทร  และคณะผู้จัดงาน ตลอดจนภาคี ที่ช่วยกันทำให้มีงานนี้ขึ้นมาได้ เป็นการจุดประกายความคิดให้นำไปคิดต่อ ปฏิบัติต่อ ขยายผลต่อไป ทำให้การศึกษาเป็นไปเพื่อการพัฒนามโนธรรมสำนึก

 

  

หมายเลขบันทึก: 231452เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ พี่วิมลศรี

มาทำความรู้จัก และเป็นกำลังใจ ในการทำงานครับ

ขอบคุณมากค่ะ น้องโย่โย่งโก๊ะ แวะเข้ามาเฮกันบ่อยๆ นะคะ คนแซ่เฮ !

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท