สนุกกับเสียง เพลินสำเนียงคำ


ถ้าคิดแบบเด็กชั้นประถม ๒ ที่ไม่เอา text เป็นตัวตั้ง การรู้จักกับไตรยางศ์จะไม่ตั้งต้นจากตัวรูปพยัญชนะที่เห็น แต่จะตั้งต้นจากเสียงที่ได้ยินกับหู

 

 

จะทำอย่างไรให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้อักษรสามหมู่  ถ้าคิดกันโดยอาศัยนิยาม ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด

คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน : อ้างจากวิกิพีเดีย

ถ้าคิดแบบผู้ใหญ่อักษรสามหมู่หรือที่เรียกว่า ไตรยางศ์ ก็คือการจำแนกตัวพยัญชนะออกเป็นสามกลุ่มตามระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ แต่ถ้าคิดแบบเด็กชั้นประถม ๒ ที่ไม่เอา text เป็นตัวตั้ง การรู้จักกับไตรยางศ์จะไม่ตั้งต้นจากตัวรูปพยัญชนะที่เห็น แต่จะตั้งต้นจากเสียงที่ได้ยินกับหู

คุณครูหนึ่ง - ศรัณธร แก้วคูณ จึงได้คิดวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้อักษรสามหมู่กลายเป็นเรื่องหมูๆ สำหรับเด็กประถม ๒ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 

สร้างภาวะพร้อมเรียนรู้สู่ความเข้าใจเรื่องเสียงพยัญชนะ

 ๑.  ท่อง ก -  ประกอบจังหวะและการเคลื่อนไหว  เมื่อครูเดินตีกลองเป็นจังหวะไปที่ใครให้คนนั้นลุก

     ขึ้นเดินตามครูพร้อมท่อง กฮ ทำเช่นนี้ไปจนครบทุกคน

๒.  ครูพานักเรียนเดินท่อง ก ฮ มานั่งรวมกันวงกลมเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่บทเรียน 

 

เริ่มต้นบทเรียนด้วยเกม   ภาพคำนำสู่เสียงอักษร

๑. ครูนำภาพสัตว์ให้เด็กดูรอบวงแบบเร็ว ๆ  ภาพ

๒. ให้ผู้เรียนยกมือทาย  คน ว่าภาพที่  -  คือภาพอะไร เมื่อเด็กทายถูกให้นำรูปไปติดที่กระดานตาม

     แนวนอน  แล้วเขียนชื่อสัตว์ใต้ภาพนั้น

๓. ให้ผู้เรียนบอกพยัญชนะต้นของแต่ละคำ ออกเสียง สังเกตระดับเสียงที่ได้ยิน แล้วออกเสียงดังๆ พร้อม

    ทั้งทำท่าทางประกอบ  เช่น  

  • ภาพเสือ   ทำตัวสูงพร้อมยกมือสูง ออกเสียงซ้ำกัน   ครั้งว่า  สอ  สอ  สอ
  • ภาพกา    ส่ายเอวพร้อมกับไกวมือที่ระดับเอว  ออกเสียง  กอ   กอ  กอ
  • ภาพช้าง  นั่งยอง ๆ มือส่ายระดับพื้น   ออกเสียง  ชอ  ชอ  ชอ

๔. ครูชูภาพให้ดู  ผู้เรียนทั้งห้องเคลื่อนไหวร่างกายตามระดับเสียง พร้อมทั้งออกเสียง (ไม่เรียงสูง กลาง  

     ต่ำ)  ตามภาพที่เห็นไปเรื่อยๆ

๕. ครูนำรูปบันได ๓ ขั้นเสียงมาวางตรงกลางห้อง ให้ผู้เรียนช่วยกันนำพยัญชนะต้นมาใส่เสียงตามระดับ

     เสียง       

 ๖. สนุกกับเกมทบทวนความรู้  ชื่อสัตว์พารู้จักเสียงอักษร ๓ หมู่

          -  ครูบอกกติกา

          -  แจกภาพกลุ่มละ   ภาพ

          -  แจกกระดาษ  บันไดเสียง

          -  ค้นหาพยัญชนะต้นของชื่อสัตว์ที่ได้มา

          -  นำพยัญชนะต้นไปวางที่บันไดเสียง

          -  แต่ละกลุ่มอ่านให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง พร้อมกับแสดงการเคลื่อนไหวท่าทางตามระดับเสียงสูง

              กลาง ต่ำ  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเสียงคำไปด้วยกัน

๗. ผู้เรียนกลับไปนั่งที่โต๊ะ  ครูนำตะกร้า ๓ ใบไปติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง โดยจัดให้ตะกร้า  ใบวางอยู่ใน

     ลักษณะเหลื่อมกันให้เห็นเป็นระดับ สูง กลาง ต่ำทางด้านขวาของกระดานมีตัวพยัญชนะทั้ง ๔๔ ตัวติด

     อยู่  

๘. ทำกิจกรรม  จัดฉันใส่ตะกร้า

          -  ผู้เรียนออกเสียงพยัญชนะไทย  ๔๔  ตัว ให้ชัดเจน 

          -  แบ่งผู้เรียนเป็น   กลุ่ม 

          -  แจกพยัญชนะทั้ง ๔๔ ตัวให้กลุ่มละชุด

          -  สมาชิกในกลุ่มช่วยกันนำพยัญชนะไปใส่ตะกร้า ๓ ใบ ให้ตรงกับระดับเสียง

          -  ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องด้วยการลองออกเสียงทบทวนอีกครั้ง

๙. ครูตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสรุปความรู้ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วร่วมกัน

๑๐.ครูนำเข้าสู่ความรู้เรื่องหลักภาษาที่ควรทราบ การแบ่งพยัญชนะตามระดับเสียงสูง กลาง  ต่ำ  เรียกว่า 

     “ไตรยางศ์  กลุ่มพยัญชนะที่มีเสียงสูง เรียกว่าว่าอักษรสูง กลุ่มพยัญชนะที่มีเสียงต่ำ เรียกว่า   

     “อักษรต่ำกลุ่มพยัญชนะที่มีเสียงกลาง เรียกว่า อักษรกลาง

๑๑.ทำแบบฝึกหัด 

๑๒.ท่องกลอนดอกสร้อยพร้อมกัน

กลอนดอกสร้อย

 

ไตรเอ๋ยไตรยางศ์

อักษรกลางมีเก้าตัว

อักษรสูงนับถ้วนทั่ว

สิบเอ็ดตัวครบพอดี

เด็กเด็กจ๋าจงจดจำ

อักษรต่ำยี่สิบสี่

รวมสามหมู่ให้เข้าที่

สี่สิบสี่พยัญชนะเอย

 

๑๓. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคนิคการจดจำอักษร   หมู่  (ไตรยางศ์)

-          ออกเสียงและสังเกตระดับเสียงว่าเป็นเสียงอะไร ไม่ต้องจำเยอะ

-          นำพยัญชนะต้นของคำ มาแต่งให้เป็นประโยคเพื่อช่วยให้จำได้ง่าย

-          จำตัวอักษรเฉพาะเสียงสูงและเสียงกลาง ส่วนเสียงต่ำไม่ต้องจำ เพราะมันเยอะ ถ้ารู้เสียงสูง  และเสียงกลาง แล้วจะรู้เองว่าอักษรต่ำเป็นตัวอะไร

-          จดจำจากบทดอกสร้อยที่ครูให้ท่องก็จะรู้ได้ว่าอักษรแต่ละหมู่มีกี่ตัว  

 ชิ้นงาน

๑.  งานเดี่ยว ทำผังมโนทัศน์คำอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ จากบทเพลง

๒.  งานกลุ่ม นำกลุ่มอักษรสูง  อักษรกลาง  อักษรต่ำ  มาแต่งให้เป็นเรื่องราวตามใจชอบเพื่อช่วยจำ

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 281539เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2009 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาชม

เหมาะสมสำหรับเด็ก ๆ นำไปสอนให้จดจำภาษาของเรานะครับ

อันนี้ส่วนหนึ่ง ที่จะลงเล่มใช่ไหมครับ?

อยากได้มาก กกกกกกกกกกกกกกกกกก

เพราะเป็น knowledge assets ท่อนหางปลาทู ที่จะเอไปเป็นตัวอย่างให้ที่อื่นดูเป็นไอเดียด้วยครับ

แต่ที่สำคัญ ครูของลูกสาวผม ต้องได้ของดีชิ้นนี้ และเอาไป create สร้างการเรียนรู้ให้ลูกสาวผมด้วย

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่วัธ และทุกท่าน

ก็ตั้งใจว่าจะพิมพ์กิจกรรมการเรียนรู้แบบเพลินๆ รวมเล่มอยู่ค่ะ ไม่ทราบว่าจะหาแหล่งทุนสนับสนุนได้ที่ไหนบ้างคะ

ช่วยกันแนะนำมาด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ครูใหม่ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท