69.ค่ายเบาหวาน สุขแบบไม่หวานครั้งที่2/2 ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร


เล่าด้วยภาพ บรรยายด้วยใจ

การพัฒนาความคิดและการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมฐานเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมเกิดความรู้สึกสนุก ตื่นเต้น มีชีวต ชีวาขึ้นมาโดยเฉพาะกับผู้ป่วย ผู้ที่มีญาติป่วยด้วยโรคที่วงการแพทย์ให้การยอมรับว่าเป็นแล้วไม่หาย...

ก่อนหน้านี้ คำว่าเบาหวานไม่ได้ทำให้ฉันรู้สึกอะไรเลย ด้วยความเชื่อว่า

ฉันไม่เป็นแน่นอน เบาหวานนะ ห่างไกล เพราะ

1. พ่อฉันเริ่มเป็นเบาหวานหลังจากฉันเกิดมาแล้วตั้ง10กว่าปี

2.คุณปู่ของฉันอายุยืน และไม่เป็นเบาหวาน

3.แม่ฉันไม่ได้เสียชีวิตเพราะเบาหวาน

   ดังนั้นฉันไม่เป็นแน่นอน และฉันไม่ชอบทานของหวาน

แต่ฉันชอบทานข้าว ทานของทอดกรอบๆ ชอบทานขนมขบเคี๊ยว ชอบทานหนังไก่ หนังเป็ด หนังหมูทอดกรอบ กากหมูติดเนื้อน้อยๆ สุดโปรดของฉันเลยและฉันไม่ชอบออกกำลังกาย

พ่อของฉันถึงแม้จะเป็นเบาหวาน และเสียชีวิตด้วยโรคที่รุมเร้าเข้ามาทั้งโรคไต โรคหัวใจ อันเป็นผลมาจากเบาหวานทั้งสิ้น แต่พ่อก็จากไปอย่างมีสติ ก่อนจากไปด้วยความมีสติ พ่อฉันเหลือบตาดูนาฬิกา 2-3 ครั้ง เหมือนจะจดจำเวลาที่จะจากลูกๆไป และหลับตาลงเงียบๆ ก่อนหัวใจจะหยุดเต้น ประมาณ 5 นาที ภาพที่สงบเหมือนคนนอนหลับ และวางแล้วทุกสิ่ง หมดห่วง และบอกลาด้วยอาการสงบ อาจเป็นเพราะพ่อฉันปฏิบัติธรรมมาตลอด ฉันเชื่อว่าพ่อรับรู้วาระดี พ่อมีสติ นิ่ง และสงบ เย็น พ่อไปสู่สุคติทิยพ์วิมานนานแล้ว

ปัจจุบันฉันรับรู้ว่าฉันเป็นทายาทเบาหวานทีพ่อไม่ได้มอบให้ เพราะพ่อ แม่ดูแลและเอาใจใส่ลูกๆในเรื่องโภขนาการเป็นอย่างดี เน้นสุขภาพ และการออกกำลังกาย แต่เมื่อฉันมีครอบครัว ฉันเริ่มลืมเรื่องที่พ่อสั่งสอน ฉันเริ่มตามใจปาก และมีความสุขกับการกิน พอๆกับการทำงานอย่างสนุกสนาน ลืมปากท้อง และหาอะไรก็ได้ใส่ลงไปเพื่อไม่ให้ท้องมันร้อง และไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของฉัน ไม่ว่าจะเป็นขนมเด็กๆที่หาประโยขน์ไม่เจอและฉันไม่ออกกำลังกาย ....อิอิ...ฉันเริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังเมื่อเริ่มมีน้ำหนักตัวถึง 66 ก.ก.จากเดิม หนักเพียง 48 ก.ก

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเริ่มก่อตัวขึ้นเงียบๆ  และค่อยๆ ย่องเข้ามา ทีละก้าวๆ แม้ฉันจะเคยสงสัยนิดๆ แต่ด้วยเหตูผลดังกล่าวข้างต้น ก็ทำให้ฉันลืมสำรวจตัวเองอีกนั่นแหละ  ฉันมักจะตัดสินความเมื่อย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะใจสั่น คล้ายจะเป็นลม ว่ามาจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาของฉัน ดังนั้นฉันจึงให้ความสำคัญกับอาหารมื้อเย็นมากเพื่อขดเชยที่ฉันไม่มีเวลาทานมื้อกลางวัน หรือมื้อเช้า ฉันเริ่มดื่มน้ำที่มีโซดาทุกชนิด วันละ 2 ขวด นึกถึงแล้วสยอง 

และวันหนึ่ง ปีที่แล้ว ที่ทีมงานของโรงพยาบาล ออกสำรวจตรวจสุขภาพครู ฉันถึงกับตะลึง ๆ ๆ ที่ฉันมีน้ำตาลในเลือดสูง ถึง 300 ฉันไม่เชื่อ และฉันก็เถียงหมอคอเป็นเอ็นตึงๆว่า ไม่จิ๊ง ไม่จริง ฉันไม่เคยเป็นเบาหวาน เครื่องมือของหมอต้องเสื่อมสภาพแน่ๆ ...5+

เพื่อให้แน่ใจอย่างเป็นทางการ คุณหมอนัดตรวจอีกครั้งที่โรงพยาบาลในอีก 3 วันต่อมา ฉันรีบทรมานร่างกายอดอาหาร ด้วยมั่นใจว่า ฉันจะแก้ปัญหาสุขภาพได้ด้วยตัวของฉันเอง....แต่ผลการตรวจก็ยืนยันว่าฉัน เป็นเบาหวานแน่นอน ...คุณหมอยืนยัน นั่งยัน และปลอบว่าฉันจะแก้ปัญหานี้ได้ ขอเพียงให้ฉันรับทราบ และเข้าใจโรคนี้ ด้วยการเข้าค่ายเบาหวาน ที่ทางโรงพยาบาลจะจัดให้ และนี่คือที่มาของค่ายเบาหวานครั้งที่ 2 และเป็นผลจากการเรียนรู้ เข้าใจโรค เข้าใจตัวเอง ระวังรู้ทันโรคแทรกซ้อน ฉันก็สามารถควบคุมให้มันสงบลงได้ แต่ทั้งนี้ ฉันต้องเอาใจใส่ตัวเองเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารแต่พอเพียง ถูกต้องตามหลักโภขนาการให้เหมาะกับตัวเอง ออกกำลังกายทุกวันๆ 30 นาที เป็นอย่างน้อย พักผ่อนให้เพียงพอ(ข้อนี้ยังทำไม่ได้ดีเท่าที่ควร) ทำสมาธิ (อันนี้ทำอยู่แล้วเพราะรู้สึกดี สบาย และสงบ)

การเข้าค่ายเบาหวานครั้งที่ 2 ของฉัน ทำให้สมองเปิดรับรู้ และเข้าใจมากขึ้น ปฏิบัติดูแลตัวเองและผู้อยู่รอบข้างได้ดีมากขึ้น ฉันได้มีโอกาสช่วยเหลือคุณหมอในการให้กำลังใจผู้ป่วยที่สูงวัย หมดหวัง ทำให้เขาเหล่านั้นมีกำลังใจต่อสู้ เข้มแข็ง รู้และเข้าใจเบาหวาน เราร่วมกันตั้งปณิธานด้วยกันว่า เราจะเอาชนะเบาหวานด้วยการไม่ตามใจปาก และออกกำลังกายด้วยความมุ่งมั่น และเป็นสุข ทำชีวิตให้เป็นสุข ศึกษาธรรมะ เราแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างวัยกัน เรียนรู้ร่วมกัน อย่างมีความสุข

ฉันเก็บรูปกิจกรรมดี สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตมาฝาก บางกิจกรรมฉันก็ไม่ได้เก็บไว้ เพราะเกรงจะเสียรสชาติของการเรียนรู้

ฉันขอเล่าต่อด้วยภาพ บรรยายด้วยใจนะคะ

คุณป้าที่นั่งตรงกลางวัย 76 ท่านเป็นอดีตพยาบาลรุ่นสอง ของโรงพยาบาลพิษณุโลก กำลังคุยแลกเปลี่ยนกับคุณหมอกรภัทร เจ้าของโครงการ ดูซิค่ะ คุณหมอนอบน้อมเป็นกันเองกับผู้ป่วยของท่าน น่ารักมากค่ะ

ผู้ป่วยทุกคนเรียนรู้จนชำนาญสามารถ เจาะเลือดตรวจเบาหวานด้วยตนเอง ตรวจกันทั้ง ก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น และหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ทุกมื้อ เพื่อค้นให้พบว่า มีภาวะเบาหวานอย่างไร แต่ละคนกินอะไรเข้าไปเท่าไร มีผลต่อน้ำตาลในตัวเองเท่าไร  เราพบว่ากินอาหารอย่างเดียวกัน แต่อาหารที่กินเข้าไปต่างก็มีผลกับพวกเราไม่เท่ากัน เช่นฉันกินหมูแดดเดียว 5 ชิ้น มีผลทำให้ความดันสูงขึ้น ในขณะที่เพื่อนอีก 2 คน ทานคนละ 7-8 ชิ้น เขากลับไม่เป็นไร ปกติของเขา ความดันไม่ขึ้น น้ำตาลไม่ขึ้น มันจึงเป็นเรื่องสนุกที่เราแลกเปลี่ยนกัน เกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญเรื่องการกิน!

พ่อลูกคู่นี้ พ่อเป็นเบาหวาน แต่ลูกสาวไม่เป็น แต่มาเรียนรู้เพื่อจะได้ดูแลพ่อ อยู่กลุ่มเดียวกับฉัน คุณพ่อน่ารักมาก ฉันนึกถึงตัวเอง ถ้าพ่อฉันอยู่ ฉันจะพาพ่อฉันมาร่วมกิจกรรมค่ายนี้แน่นอน เราตื่นมา ตี 5  ทุกคนมีภารกิจหลักคือจากเจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง และ วัดความดันโดยมีคุณหมอเป็นพี่เลี้ยง จดบันทึกผลด้วยตัวเอง คนไหนอาวุโสมากๆ หูตามองไม่ค่อยเห็น  เด็กกว่าอย่างฉัน....อิอิ ก็จะช่วยกันดูแล ช่วยบันทึกให้ แต่ทุกคนต้องเจาะเลือดเอง  

และในขณะที่เรากำลังเจาะเลือด วัดความดัน ทีมงานของโรงพยาบาล ประกอบไปด้วยบุคลากรหลายฝ่ายเช่น ฝ่ายโภขนาการ วิสัญญี เภสัชกร ฯลฯ ก็ลงมาเตรียมกางผ้าใบปูให้เล่นโยคะ  เตรียมไม้กระบอง เตรียมยางให้เราออกกำลังกาย มันเป็นภาพที่ประทับใจ  ทำให้เรารับรู้ถึงความจริงใจ ความพยายาม ความตั้งใจของทีมงานโรงพยาบาลสมุทรสาคร ที่จะนำพา พวกเราให้มีสุขภาพแข็งแรง

บันทึกนี้ขอจบก่อน รออ่านบันทึกต่อไป ค่ายเบาหวานครั้งที่2/3 ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร

ดอกหงอนไก่บานเต็มที่ที่ เดอะเลกาซี ริเวอร์แคว กาญจนบุรึ

โปรดติดตามอ่านค่ายเบาหวานครั้งที่2/3 ของโรงพยาบาลสมุทรสาคร

Walk Rally ในค่ายเบาหวานให้อะไรผู้ป่วย



ความเห็น (28)
  • สวัสดีค่ะคุณครูต้อย
  • ที่บ้านมีเบาหวานทั้งฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวาค่ะ เฮ้อกลัวเหมือนกัน แต่ตอนนี้ตรวจยังไม่พบ อนาคตยังไม่แน่
  • ขอบคุณเรื่องดีๆ ที่ทำให้ผู้อ่านได้ประสบการณ์โดยอ้อมค่ะ
  • ตอนนี้คุณครูต้อยขับเคลื่อนความรู้ผ่านการเขียนบันทึกด้วยเกียร์ออโต้แล้วนะคะ ^^

ขอบคุณน้องดาวค่ะ

มีคนช่วยชี้แนะอย่างนี้ครูต้อยก็เบาใจ  ได้ใจมากกว่ามั๊งคะ

เรื่องราว สุขภาพ และชีวิตคน อยากทำมาก อยากให้วิญญาณของพ่อมีความสุข พ่อรักงานอนามัย งานสาธารณสุขมาก

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

น้องดาวตั้งอยู่บนความไม่ประมาทนะค่ะ

พี่ต้อยประมาท ชะล่าใจ มันถึงเป็นไงคะ

วันนี้ครบรอบวันจากไปของคุณพ่อศิลาพอดี และได้เห็นบันทึกของคุณครูต้อย

"พ่อก็จากไปอย่างมีสติ ก่อนจากไปด้วยความมีสติ พ่อฉันเหลือบตาดูนาฬิกา 2-3 ครั้ง เหมือนจะจดจำเวลาที่จะจากลูกๆไป และหลับตาลงเงียบๆ ก่อนหัวใจจะหยุดเต้น ประมาณ 5 นาที ภาพที่สงบเหมือนคนนอนหลับ และวางแล้วทุกสิ่ง หมดห่วง และบอกลาด้วยอาการสงบ อาจเป็นเพราะพ่อฉันปฏิบัติธรรมมาตลอด ฉันเชื่อว่าพ่อรับรู้วาระดี พ่อมีสติ นิ่ง และสงบ เย็น"

ก็รู้สึกว่าได้รับการยืนยันมากยิ่งขึ้นค่ะ ว่าในสังคม G2K มีกัลยาณมิตรมากมายที่เข้าใจ

ชีวิตเช่นกันค่ะ และศิลาก็จะไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตตามที่คุณครูต้อยแนะนำค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

Pสวัสดีครับ

ขอบคุณครับที่แวะไปให้กำลังใจ

P

ด้วยความยินดียิ่ง..ค่ะน้องศิลา

เป็นสิ่งที่ดีสำหรับชิวิตที่มีสติค่ะ

สังคมกัลยาณมิตรในg2k สอนให้คณูต้อยแด้รู้จักตัวเองมากขึ้น ก่อนที่จะสายเกินไป

ขอบคุณน้องศิลา และ ทุกๆคนใน G2K ด้วยค่ะ

อาจารย์ครับ ผมงดน้ำอาหารตั้งแต่เมื่อคืนนี้ เพราะตอนเช้าต้องไปตรวจสุขภาพประจำปี(ซึ่งทุกคนต้องตรวจเป็นคำสั่ง)วัดความดัน เจาะเลือด เอ๊กเรยปอด ขั้นต้นความดันปกติ น้ำหนักปกติ ยังเหลือผลการเจาะเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ แต่ผลปีที่แล้วทั้งหมดปกติ

ที่หน่วยงานผมมีเบาหวานหลายท่าน ขอบคุณที่นำเรื่องราวเบาหวานมาย้ำให้มีความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตประจำวันให้มากขึ้น ครับ

         พาเจ้าหลานตัวน้อยมาจ๊ะเอ๋ครูต้อยด้วยความคิดถึงเจ้าค่ะ ^_^

P

-ขณะนี้คงทราบผลการตรวจแล้ว

-ไม่มีอะไรมากใช่ไหมคะ

-ครูต้อยเป็นกำลังใจให้ค่ะ

-ลองอ่านเรื่vงนี้ดูนะคะ จากคุณหมอที่ดูแลเบาหวานให้ครูต้อยค่ะ

-คุณหมอเขียนในg2k เหมือนกันค่ะ  ขอบคุณค่ะ

http://gotoknow.org/blog/cholesterol/174858

P

เห็นแว๊บ...แรกตกใจ หลานตัวโตจังเลย อิอิ

หลานข้างๆน่ารักกกกก มากค่ะ

รับรองว่าหลานคนนี้โตขึ้นอาจเป็นนักพูดแน่เลย
ก็อยู่ใกล้ชิดน้องครูปูขนาดนั้น5+

สบายดีนะคะ

รออ่านบันทึกใหม่ เมื่อไหร่จะได้ฤกษ์ค่ะ คุณน้อง

ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกเข็มสีชมพูอมม่วง ชอบมากค่ะ อยากได้ เห็นผลที่ใช้นามแฝงนี้ ก็คือ ดอกเข็มเป็นสัญลักษณ์ของความหลักแหลมค่ะ เป็นกำลังใจในการฝ่าฟันอุปสรรคของคุณพี่นะคะ

ไม่มีรูป

เป็นเข็มที่สวยมากๆ ออกเต็มต้นค่ะ พี่ว่ามันเหมาะกับน้องนะคะ ยกให้เลยค่ะ ขอบคุณกำลังใจค่ะ เขียนอีกนะคะ รออออออ่าน

อยากเห็นรูปค่ะ

  • เคยไปทำค่าย
  • EP ที่นี่
  • แต่พี่ทำไมเปลี่ยนชื่อจังหวัดน้องเสียแล้ว
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ
  • ดอกหงอนไก่บานเต็มที่ที่ เดอะเลกาซี ริเวอร์แคว กาญจรบุรึ

  • ค่ายเบาหวานที่กาญจณบุรี 

สวัสดีครับผม

ผมอ่านแล้วผมอยากถามว่าจากในค่าย

มีวิธีการรักษาเบาหวานที่ดีๆไหมครับ

ผมจะลองให้คุณยายผมรักษาดูบ้างครับ

 

พี่ครูต้อยขา

  • น้องครูปูสนใจกิจกรรมปลูกป่ามากค่ะ
  • แฮ่ะ ๆ โทรหาพี่ครูต้อย บ่ รับ
  • อีกเบอร์หนึ่งไม่ติด
  • เบอร์ สนง. ไม่มีคนรับค่ะ
  • ได้เมล์เบอร์โทรไปแล้วนะคะ หากสะดวกเมื่อไร รบกวนหน่อยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • (^__^)

สวัสดีคะพี่ครูต้อย

มาติดตามอ่านตอนต่อไป

น่าอ่านมาก ๆ

ประกาศๆๆๆ พี่ครูปูโทรหา แต่ครูต้อยไม่รับ งานเข้าๆๆๆๆๆๆๆๆ

P

เสียดายไม่ได้EP ด้วย ไม่งั้นพี่ครูต้อยเก่งไปแล้ววววว.

พี่แก้แล้ว กาญจนบุรึค่า แต่ของน้องดร.ยังไม่ได้แก้อิอิ..

ค่ายเบาหวานที่กาญจณบุรี 

ขอบคุณค่ะ ส่งสัยแป้นพิมพ์มีปัญหาเน้อะ

P

น้องโกสินทร์ พูลสวัสดิ์

ดีใจจังเลย นามสกุลเหมือนเพื่อนครูต้อยเลย

น้องน่ารักมากเลยอะ

ห่วงใยผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ครูต้อยชื่นชมมากค่ะ

คุณยายเป็นเบาหวานเหรอคะ ครูต้อยก็อยากให้คุณยายอยู่ใกล้ๆ ครูต้อยนะ จะได้ช่วยดูแลเป็นเพื่อนกันชวนกันออกำลังกาย ทานอาหารพื้นเมืองเน้นผักสะอาด ว่างๆก็ปลูกผักทานเอง ไปคุยกับคุณหมอบ้างขอคำแนะนำ หากมีอะไรผิดปกติ เช่นปวดข้อเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้าชาก็คุยให้คุณหมอท่านฟังนะคะ คุณหมอจะให้คำแนะนำได้ดีทีเดียว

ทำตามคำแนะนำที่คุณหมอบอก เพราะคุณหมอที่อยู่ในโรงพยาบาลใกล้บ้านนั่นแหละค่ะ

ส่วนคุณหมอที่ดูแลครูต้อย ท่านรักษาโดยการให้ครูต้อยควบคุมการกินอาหารในแต่ละวัน ว่าควรท่านอาหารครบ 5 หมู่ และทานแต่พอเพียง ตามที่ร่างกายแต่ละคนต้องการ โดยท่านได้ให้นักโภขนาการมาให้ความรู้ และกำหนดว่าวันหนึ่งจะต้องทานอะไรบ้างอย่างไร

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ไม่ควรขาด สัปดาห์ละ 150 นาที ทำ 5 วันๆละ 30 นาที ร่างกายก็ดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น อาการปวดเมื่อยลดน้อยลง จนเป็นปกติ

เบาหวานแม้ไม่หายขาด แต่เราเรียนรู้การมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยจากโรคแทรกซ้อนได้ และการดูแลตัวเองได้ สามารถมีความสุขได้

ที่สำคัญคุณยายต้องมีวินัยตนเอง ต้องไม่ตามใจปาก ตั้งปณิธานว่า ฉันจะอยู่อย่างมีความสุข ไม่มีอะไรที่มนุษย์ทำไม่ได้นอกจากไม่ทำนะคะ ไม่ต้องกังวลเลยนะคะ ส่วนความรูเกี่ยวกับเบาหวานน้องหาอ่านจากเน็ตนี่เยอะแยะเลย ในg2k นี่ก็หลายท่าน  ลองค้นดูนะคะ ความรู้ทำให้เราสบายใจ เข้าใจปัญหา และช่วยเหลือคุณยายได้ค่ะ

ปล.ครูต้อยดื่มน้ำธรรมดา บางครั้งเอาใบเตย ใบมะรุม ใบกระเพรา ต้นตะไคร้มาต้มทานแก้เซ็งบ้าง มันหอมชื่นใจ ถ้าคุณยายอยากทานหวานนิดๆ ก็ใส่น้ำตาลทรายแดง ไม่ใส่เลยได้ยิ่งดี

 

P

น้องครูปู

ขอโทษนะคะ พอดีเปลี่ยนเครื่องใหม่ เนื่องจากของเก่าป่วย เอาไปหาหมอแก้ไขอยู่ แต่สุดท้ายหมอรักษาไม่หาย เลยไม่กล้ารับเบอร์แปลกๆ กลัวคนจีบ 555+

เดี๋ยวจะไปเก็บเข้ากรุ..เอ๋ย เก็บเข้าเครื่องนะคะ

จะมาเมื่อไหร่ละคะ ตอนนี้พี่กำลังเพาะต้นกล้าอยู่ค่ะ

หากมาเร็วต้องไประดมพลบ้านช่วยกันเพาะ จะได้ทันกับกองทัพของน้องครูปูไงคะ

 

P

ตอนต่อไป ได้ขำค่ะ มันสนุกอย่างมีสาระ ไปรอดูได้เลยค่ะ ..

พี่ครูต้อยขา

  • น้องครูปูได้ประสานกับพี่กรรณิกาแล้วค่ะ
  • น่าจะเป็นวันจันทร์ที่จะถึงนี้เลยค่ะ (26 ม.ค.)
  • นศ.ประมาณ 400 คน น่าจะไปถึงประมาณ 9 โมงเช้า เที่ยงน่าจะเสร็จมังคะ
  • พรุ่งนี้จะโทรไปยืนยันรายละเอียดอีกครั้งค่ะ
  • ว่าแต่จะได้เจอพี่ครูต้อยหรือเปล่าคะ
  • (^___^)

P

แฮะๆ ทราบแล้วเปลี่ยน ๆ

พรุ่งนี้จะไปตามชายผู้ปลูกป่า อีกคนที่ศูนย์ป่าชายเลนให้อีกคน ไม่รู้จะอยู๋ให้เจอหรือเปล่า เพราะวันๆดำผุดดำว่ายปลูกป่า และบรรยาย

น้องครูปูขา 400 คนจะมายึดป่าชายเลนแล้วนะคะ

แล้วปูแสมจะไปอยู่ตรงไหนค้า..คุณน้อง

มาเยอะๆ ครูต้อยต้องระดมเด็กๆ เสริมเร่งช่วยเพาะ

หาพันธุ์กล้า ให้ทันการ

แหมมาแบบสาย ฟ้าแลบเลยนะจ๊ะ เปรี๊ยงปร่างลั่นท้องทะเลเลย

งานนี้มีลุ้น แต่เอ...พี่ครูต้อยลืมถามว่าน้องครูปู

ไปหลอกเอานักฉึกฉา 555+.. ที่ไหนมาทำกิจกรรมปลูกป่าได้เยอะขนาดนี้

พี่ครูต้อยขา

  • เด็ก  ๆ พวกนี้เป็นนักเรียนระดับ ปวช.3 ทั้งหมดค่ะ
  • เผอิญสื่อสารกันผิดพลาดนิดนึงจึงทำให้โครงการล่าช้ามาจนป่านนี้
  • เด็ก  ๆ เค้าอยากไปกันอยู่แล้วค่ะ รวมทั้งครูด้วยหล่ะ
  • คงได้เจอกันนะคะ ถ้าน้องครูปูเคลียร์งานได้ทันค่ะ
  • ^_^
  • อ่านแล้วเห็นการทำงานที่เข้มแข็งของสาธารณสุข (สธ.)
  • เขาบอกว่าถ้าคุมอาหารได้ โรคเบาหวานก็ไม่น่ากลัวจริงไหม?

พี่ต้อยคะ.....โรคเบาหวานนี่น่ากลัวนะคะ  กลัวจะมาเกิดกับคุณผู้ชายที่บ้านค่ะ  ก็เธอทานอาหารไม่ตรงเวลา  และถ้ามื้อไหนได้( มีเวลา )ทาน  เธอจะทานจุ  ทะเลาะกันทุกทีเลยค่ะเพราะเตือนแล้วไม่ฟัง  งานเธอเยอะ  นอนดึก  มีดื่มด้วย  และมักทานข้าวดึก  หนูเครียดเรื่องเขาเรื่องเดียว  อยากให้หมอเตือนเขา  เขาจะได้ยอมเชื่อค่ะ  กลุ้มใจจัง

P

บางครั้งมันเหมือนอะไรมาบังนะคะ น้อง

อย่ากลัวไปเลยนะคะ จูงมือันไปให้คุณหมอตรวจสุขภาพนะคะ จะได้สบายใจค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะคะ Sheทำได้ค่ะ

Pอ.คะ เบาหวานไม่น่ากลัว

มันน่ากลัวที่ใจเราที่ต้องควบคุมอาหาร

หากควบคุมได้ก็ชนะแล้ว

เป็นความจริง 

แต่ก็ต้องระวังโรคแทรกซ้อน หลายรายเสียชีวิตก่อน

เพราะโรคแทรกซ้อน

หลายคนถูกตัดขา ตัดนิ้ว ก็มีมาก

เพราะขาดความรู้เรื่องการดูแลตนเอง

หากปล่อยไว้นาน กลายเป็นความเคยชิน

สุดท้ายแก้ไขอะไรไม่ได้ค่ะ

ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร คุณหมอบอกว่า

 ตัดขาเบาหวานเกือบทุกวัน เฉลี่ยวันละ 1 คน

ฟังแล้วน่าเป็นห่วง

ทางที่ดีพบแพทย์ เรียนรู้ ดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย ที่น่าเป็นห่วงมากๆ ก็คือ เด็กๆลูกๆของครูเรา ที่ยังขาดความรู้ เรื่องโภชนาการ และขาดความรู้เรื่องเบาหวาน เลือกทานอาหารที่นำพาไปสู่การเผชิญกับเบาหวานอย่างเงียบๆ โรคอ้วนก็น่าเป็นห่วงมากสำหรับเด็กที่มีอันจะกิน

ขอบคุณค่ะ สุขภาพของครูเป็นสิ่งที่ควรเอาใจใส่  ให้เป็นตัวอย่างแก่นักเรียนเช่นกันค่ะ

ครูต้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท