บันทึกความทรงจำจิตอาสาเบาหวาน รพ.สมุทรสาคร


กิจกรรมเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติของโรงพยาบาลสมุทรสาคร

ผ่านไปแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง

เพื่อให้จิตอาสาผู้ป่วยเบาหวาน

ได้มีการทบทวนการทำงานมิตรภาพบำบัด

หลังจากได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

มีกิจกรรมการแบ่งกลุ่มสีด้วยใช้ผ้าพันคอ

แต่ก่อนแบ่งกลุ่มสีนั้นน้องพัธได้ให้ผู้ป่วยจิตอาสาร้องเพลงลมเพลมพัด

ซึ่งก็ทำให้ผู้ป่วยสูงวัยสนุกสนาน

ยิ่งมาถึงตอนร้องเพลงพายเรือแล้วรู้สึกเสียงหัวเราะจะดังมากขึ้น

เป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้ป่วยจิตอาสาด้วยกัน

มองดูแล้วหลายท่านอาจสงสัยว่าเขาเล่นอะไรกัน

 ภาพนี้ น้องอ.ขจิตให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมDeep Listening 

ให้จับกลุ่ม 3 คน ค่ะ คนที่หนึ่งให้เป็นดอกไม้ คนที่สองเป็นผึ้ง และคนที่สามเป็นผีเสื้อ

เมื่อครบกำหนดเวลาพูด ผีเสื้อจะบินไปหาดอกไม้ดอกอื่น

เพื่อเล่าเรื่องที่ตนเองประทับใจให้ดอกไม้กับฝึ้งตัวใหม่ฟัง

ทำสลับกันกับผึ้ง และสุดท้ายให้ดอกไม้ลุกขึ้นไปหาผึ้ง

และแมลงตัวใหม่ที่ยังไม่ได้เจอกัน 

วิธีการคล้ายๆกระรอกเปลี่ยนรังเลยค่ะ

เมื่อครบแล้วน้องขจิตให้ฉันเปลี่ยนโจทย์โดยให้ผู้ป่วยพูดเรื่องที่ทำให้เขารู้สึกแย่

จากโจทย์นี้เองได้ทำให้ผู้ป่วย ที่เคยไม่สมหวังเมื่อมาพบจนท.

ก็เกิดความเห็นอกเห็นใจจนท.

เจ้าหน้าที่เองก็ได้รับรู้ความทุกข์ของผู้ป่วยต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่เป็นอันว่า

กิจกรรมนี้นอกจากจะได้ฝึกเทคนิคการฟังที่ดีล้วทั้งผู้ป่วยและจนท.พากันเห็นอกเห็นใจ

ซึ่งกันและกันผู้ป่วยบอกว่าดีใจที่ทำกิจกรรมนี้ ชอบมากค่ะ ต่อจากนี้ไปจะช่วยกัน

ประชาสัมพันธ์ ให้โรงพยาบาล และเข้าใจแล้วว่าเพราะผู้ป่วยแต่ละวันนั้นเยอะมากๆ

หมอเองก็พยายามให้เวลากับผู้ป่วยแล้ว แต่ ความที่ผู้ป่วยแต่ละวันเป็นพันคน

การบริการให้ทั่วถึงนั้นทำได้ยากมาก งานนี้ผู้ป่วยเห็นใจจนท.กันทุกคนกิจกรรมนี้

น้องอ.ขจิต จัดได้เหมาะสมกับผู้ป่วยสูงวัย

ที่มีความแตกต่างกันในหลายๆได้อย่างดีเยี่ยมค่ะ

 

ข้างล่างเป็นกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้ทำกิจกรรมกายใจสัมพันธ์กัน และฝึกการฟัง

ให้มีสมาธิกับการฟัง ดูเหมือนผู้ป่วยจะตั้งใจมาก พากันจิ๋มจับๆ กันเฮฮาเลย ..

น่าจะเรียกกิจกรรมจิ๋มเพลินๆนะคะ

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จแล้วจะให้ผู้ป่วยบอกข้อคิดว่าได้อะไรจากการจัดกิจกรรมนี้บ้าง

ซึ่งสรุปได้ดังนี้ค่ะ

1. ความตั้งใจฟังจะช่วยให้รับรู้เรื่องราวต่างๆได้ชัดเจนและมีสติ ไม่คิดแทนคนพูด

และจะจับประเด็นได้ง่าย สามารถเอาเทคนิคนี้ไปใช้กับเพื่อนผู้ป่วยได้

เวลาไปเยี่ยมบ้านก็จะใช้ประโยชน์จากการ ฟังได้มากขึ้น

2.ต้องฝึกฟังบ่อยๆ ห้ามถามขึ้นมาขณะที่ผู้เล่ายังเล่าไม่จบ

เพราะอาจทำให้ประเด็นที่เล่านั้นเปลี่ยนไป

3.ขณะฟังไม่ควรแสดงความคิดเห็นใดๆ จนกว่าผู้เล่าจะเล่าจบ ให้มีสติตามเรื่องที่ฟัง

4.แสดงสีหน้าเรียบเฉยและฟังอย่างตั้งใจ ไม่ส่งเสียงอือ ออ ออกมา

และถ้าจดบันทึกทันที เพราะจะช่วยให้ไม่ลืม

5.วิเคราะห์เรื่องที่ได้ฟัง และหากพบปัญหาเกินความสามารถของตนที่จะช่วยเหลือ

ให้นำปัญหานั้นเพื่อส่งต่อมายังศูนย์เบาหวาน

 

(ในวันนั้นดูเหมือนประเด็น หลังนี้ยังไม่ชัดเจน

จะได้นำเข้าที่ประชุมในวันที่ 11 ตุลาคมอีกครั้ง) 

 

หมายเลขบันทึก: 401306เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขำพี่ทหารเรือ กับ คุณยายที่นอนเรียน น่ารักมาก รอมาเฉลย ฮ่าๆๆ

Ico32

น้องอ.ขจิต

พี่วิ่งตามเวลาไม่ทันแล้ว

ปิดเทอมชีพจรยังลงเท้าเหมือนเดิม

พรุ่งนี้ไปวังน้ำเขียว

กลับมาจะเร่งบันทึกกิจกรรมไล่หลัง

รวมทั้งของน้องดร.ป๊อบด้วย

คงต้องเอาเข้าไปเสนอคนสนับสนุนด้วย

กลับมาเสนอรายงานรพ.วันที่ 11

15 ประชุมเตรียมงานเบาหวานโลก

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเรียนรู้เรื่องราวดี ๆ
  • เห็นภาพ เห็นบรรยากาศ ดูสนุกสนานทั้งผู้ให้และผู้รับ
    เห็นแล้วก็พลอยสุขใจไปด้วยค่ะ
  • ขอบพระคุณที่ไปทักทายค่ะ

ขอบคุณค่ะ ผู้ป่วยจิตอาสา ทำกิจกรรมถอดบทเรียนค่ะ

ทีมโรงพยาบาลจดทุกคำพูด เพื่อนำไปวิเคราะห์ร่วมกันค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท