ยุทธศาสตร์ อบต. จุดเปลี่ยนประเทศไทย ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี


...การศึกษาที่รวมศูนย์โดยส่วนกลางให้เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ทำให้เราสร้างคนที่ไม่เข้าใจชุมชนท้องถิ่นของตัวเอง...

E10 

พี่น้องอีสานทิ้งถิ่น  เข้าไปหากินเมืองไกล

นั่งรถสองชั้นกันไป  ขอให้ปลอดภัยและโชคดี

Dsc00317  
ส่วนลูกและหลาน  ทางบ้านเรานี้

ก็ขอให้สุขขี  พัฒนาการดีสมวัย

27 

"...การศึกษาที่รวมศูนย์โดยส่วนกลางให้เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ทำให้เราสร้างคนที่ไม่เข้าใจชุมชนท้องถิ่นของตัวเอง..."

และ

"...ชุมชนเข้มแข็งเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำจะหยุดยั้งความชั่วต่างๆ  และเป็นปัจจัยของความสำเร็จ เช่น การแก้ไขความยากจนและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม  ชุมชนที่มีการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำและแก้ความยากจนได้  จะมีศักดิ์ศรีและแข็งแรง  ขนาดที่หัวคะแนนซื้อไม่ได้.."

ข้อความที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้

เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดและแนวทางการพัฒนาประเทศ

ที่ปรากฏเป็นหนังสือชื่อว่า ยุทธศาสตร์อบต.จุดเปลี่ยนประเทศไทย ของท่านราษฎรอาวุโส

"ศ.นพ.ประเวศ วะสี"

เป็นแนวคิดและแนวทางหนึ่งเดียว

ที่ครูวุฒิเชื่อว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุด ในสภาวการณปัจจุบัน

เป็นความหวังที่จะนำพาบ้านเมืองก้าวไปสู่ความเจริญวัฒนาได้อย่างถาวรจริง

จุดนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญเป็นโอกาสที่ดียิ่ง

เพราะทุกองคาพายพล้วนมีปัจจัย มีเหตุผล ที่สอดคล้องและสามารถสอดรับกันได้อย่างลงตัว

แต่จุดเริ่มสำคัญที่จะสามารถเอื้อให้ยุทธศาสตร์นี้ดำเนินไปได้

ก็ยังอยู่ที่ "คุณภาพของคนในตำบลนั้น" เป็นสำคัญ

ดังนั้น  ในการนี้

ครูวุฒิจึงประสงค์ให้ทุกท่านได้อ่านด้วย

และเมื่อได้อ่านแล้ว

หากจะกรุณานำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันผ่านบันทึกนี้

ก็จักเป็นพระคุณยิ่ง

ซึ่งไม่ว่าท่านจะเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยอย่างไร

หรือมีความเห็นแย้ง-ความเห็นเพิ่มเติมในส่วนไหน

ครูวุฒิจะขอน้อมรับมาเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์เพิ่มเติม

และนำเข้าสู่ที่ประชุมเสวนา "ยุทธศาสตร์การศึกษาก้าวแรกกับการพัฒนาชุมชน"

ในงาน "11 พฤษภา วันการศึกษาพอเพียงโคกเพชร ครั้งที่ 3"

ระหว่างวันที่ 11-12  พฤษภาคม 2551 นี้

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

(ชมภาพบรรยากาศกิจกรรม 11 พฤษภา วันการศึกษาพอเพียงโคกเพชร ครั้งที่ 1 ที่นี่ ครับ)

************

Cool Kids Toys
ซื้อขายที่ดิน

หมายเลขบันทึก: 177668เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2008 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • ยังไม่ได้อ่านเล่มนี้ครับ
  • เห็นใน internet แล้ว
  • ว่าจะไปหามาอ่านครับพี่
  • สบายดีไหมครับ
  • น้องขจิตต้องรีบหาอ่านแล้วล่ะครับ
  • อ่านแล้วพี่ครูวุฒิขอความคิดเห็นด้วยนะ
  • 11 - 12 พค. เชิญที่โคกเพชรด้วยนะครับ
  • เป็นกำลังใจให้คนคิดใหญ่ทำงานใหญ่ให้สำเร็จด้วยดีครับครู
  • คำว่า โง่ จน เจ็บ จะได้ลดลงจากความรู้สึกบ้าง

P  ท่าน เกษตร(อยู่)จังหวัด

  • ขอบคุณมากครับ  สำหรับกำลังใจ
  • ไม่ทราบว่าตอนนี้  แม่บ้านของท่านหายดีแล้วหรือยัง  ต้องขอโทษท่านด้วย ช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ถามข่าวคราวเลย
  • เรื่องกิจกรรม 11 พฤษภาฯ พอดีมีองค์ประกอบและปัจจัยหลายอย่างจูนคลื่นมาตรงกัน
  • ประกอบกับตัวเร่งปฏิกิริยาปัญหาสังคม มาเร็วเกินกว่าจะจัดการศึกษาในรูปแบบเดิมๆได้
  • ก็เลยจำเป็นต้องลองลุยดูสักตั้ง  เผื่อความ โง่ จน เจ็บ  จะเบาบางลงบ้างอย่างที่ท่านว่า
  • ผลจะหมู่หรือจ่าก็ค่อยว่ากันอีกที..เน้าะ...
  • ที่จริงตั้งใจไว้อย่างแน่วแน่ว่า  จะรบกวนท่านด้วย
  • แต่เกรงใจที่แม่บ้านท่านกำลังอยู่ระหว่างพักฟื้น
  • ก็เลยจะเอาไว้รบกวนท่านคราวต่อๆไปดีกว่า
  • แต่ถ้าแม่บ้านของท่านสบายดีแล้ว จนท่านวางใจได้  และท่านพอมีเวลาให้ในช่วงดังกล่าว  ก็อยากรบกวนท่านอยู่เหมือนกันครับ
  • วันสองวันนี้  จะนำกำหนดการขึ้นบันทึกครับ
  • สวัสดีครับ

 

  • ขอบพระคุณมากครับครูวุฒิที่แนะนำหนังสือดี ๆ และชี้ทางสว่างให้ครับ
  • ตอนนี้ได้ Download มาอ่านถึงตอนที่ 7 แล้วครับ
  • อ่านจบเมื่อไหร่จะมา ลปรร อีกครั้งหนึ่งครับ
  • ตอนนี้ผมเองก็กำลังจะจัดทำ  แผนพัฒนาหมู่บ้านดีเด่น อยู่พอดีครับ รบกวนช่วยชี้แนะด้วยครับ

ท่าน อ.นิโรธ

  • ด้วยความยินดีครับ
  • ขอเป็นกำลังใจสำหรับงานชุมชนที่ท่านกำลังดำเนินการอยู่  นะครับ
  • 32 แนวทางที่ท่านกำหนดไว้  ยอดเยี่ยมมากครับ
  • ยิ่งเห็นงานที่ท่านทำอยู่  ก็ยิ่งอยากได้ความเห็นและมุมมองของท่านมาก เพราะเชื่อว่าคนที่มีแนวคิดในลักษณะนี้ ย่อมมีหลักการและรูปแบบอยู่ในใจอยู่แล้ว
  • หากท่านอ่านจบแล้ว ลองเข้ามาคุยกันดูสักนิดว่าแนวทางที่ท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสีเสนอแนะไว้นี้  จะสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่? อย่างไร?
  • หรือหากท่านจะพอมีเวลา 11-12 พ.ค.  อยากรบกวนท่านด้วย 
  • แต่เกรงใจที่ไม่มีงบค่าเดินทางครับ
  • สวัสดีครับ

สรุปได้คร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ

  1. การพัฒนาของไทยเป็นการพัฒนาที่ทิ้งชุมชนท้องถิ่นหรือทำลายให้ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ เป็นการพัฒนาที่ทิ้งฐาน
  2. ระบบเศรษฐกิจที่ผ่านมาก็คือ การไปเอาทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นมาเปลี่ยนเป็นเงินของคนส่วนน้อยข้างบน
  3. ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องหมุนกลับ มาสร้างพระเจดีย์จากฐาน คือส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
  4. ชุมชนเข้มแข็งเกิดจากการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ การรวมตัวร่วมคิดร่วมทำจะหยุดยั้งความชั่วต่าง ๆ และเป็นปัจจัยของความสำเร็จ
  5. ทางการไม่ควรมาสั่งให้ชุมชนทำแผนอะไรอีกแล้ว แต่มาสนับสนุนให้ชุมชนทำแผนเองขับเคลื่อนเอง
  6. เครื่องมือแก้ความยากจนที่สำคัญที่สุด คือ การเรียนรู้
  7. นักเรียนควรจะเรียนจากการเป็นอาสาสมัคร ไม่ใช่เรียนจากการท่องหนังสือเท่านั้น เพราะการเป็นอาสาสมัครทำให้มีหัวใจของความเป็นมนุษย์
  8. สังคมดีมีศีลธรรมเกิดจากการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่
  9. ...ไม่มีทางขจัดโจรโดยสั่งกองทัพไปปราบ แต่ต้องทำนุบำรุงให้ราษฎรทั้งนั้นมีอาชีพมีรายได้ แล้วบ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุข
  10. สัมมาชีพคืออาชีพที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้
  11. ชุมชนควรจะรวมตัวกันทำธุรกิจชุมชน มีตลาดชุมชนที่ชาวไร่ชาวนาสามารถนำผลิตผลออกมาขายได้โดยตรง ขายอาหาร ขายขนม ขายสินค้า หัตถกรรมและศิลปะที่ชุมชนสามารถทำขึ้น การท่องเที่ยวชุมชนถ้าทำได้ดีนอกจากทำรายได้ให้ชุมชนแล้วยังให้ประโยชน์กับทุกฝ่าย
  12. สังคมควรเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทุกชุมชนควรเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
  13. สังคมสมัยใหม่เป็นสังคมซับซ้อน การจะเข้าใจการซับซ้อนต้องมีนิสัยรักการอ่าน เพราะการดูหรือฟังเท่านั้นจะไม่เข้าใจความซับซ้อน สังคมไทยจำเป็นต้องพัฒนานิสัยรักการอ่าน ทุกหมุ่บ้านควรมีชมรมรักการอ่านและมีห้องสมุดหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการอ่าน
  14. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนประกอบด้วย ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปะ ศูนย์กีฬา และศูนย๋การเรียนรู้พิเศษ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันและรอบ ๆ มีตลาดชุมชนเกิดขึ้น
  15. ที่แล้วมา มหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ พยายามสร้างพระเจดีย์จากยอด โดยไม่สนใจฐานของสังคม การพัฒนาทุกด้านจึงล้มเหลว
  16. การจะทำให้มหาวิทยาลัยมีความหมายต่อการพัฒนาประเทศที่สำคัญอย่างมาก คือ มหาวิทยาลัยหันไปหาฐานของสังคม คือ ชุมชนท้องถิ่น
  17. มหาวิทยาลัยสามารถใช้การวิจัยและพัฒนาสนับสนุนให้จังหวัดทั้งจังหวัดหายจนโดยไม่ยาก โดยมหาวิทยาลัยอาจไปร่วมเรียนรู้ในกระบวนการทำแผนแม่บทชุมชน นอกจากมหาวิทยาลัยจะได้เรียนรู้จากชุมชนแล้ว มหาวิทยาลัยจะมีความรู้บางอย่างที่ชุมชนไม่มี ช่วยให้การทำแผนแม่บทชุมชนทำได้ดีขึ้น

ขอขอบคุณครูวุฒิมากที่เชิญไปงาน 11-12 พ.ค. ต้องขออภัยที่ไปไม่ได้จริง ๆ ครับ แต่ในปีต่อ ๆ ไปจะพยายามไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้ ขอบคุณอีกครั้งครับ

P ขอบคุณครับท่าน อ. นิโรธ

  • ท่านสรุปได้ชัดเจนมากครับ
  • และในมุมมองของท่านแล้ว  ท่านคิดว่ามีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติจริงหรือเปล่า?  สิ่งใดคือปัจจุยเอื้อ?  สิ่งใดคือปัจจัยต้าน?  และเราควรเริ่มอย่างไร? เมื่อไหร่? ใครควรเป็นผู้เริ่ม? ฯลฯ .....
  • ถ้าโรงเรียนหรือสถานศึกษาจะเป็นผู้เริ่ม  น่าจะทำอย่างไรก่อนดี?
  • หวังว่าท่านคงเข้ามาเยี่ยมพร้อมข้อเสนอแนะอีกในโอกาสอันไกล้นี้ ขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงอีกครั้งครับ
  • สวัสดีครับ
  • ผมมองว่า ตามแนวคิดที่ท่านผู้เขียนได้นำเสนอนั้นเป็นแนวความคิดที่ดีมากทั้งหมด ตามข้อมูลที่ท่านมี ที่ท่านรู้และที่ท่านเข้าใจ
  • ...คืนวันที่ 13 เม.ย. ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้พาเจ้าลูกชายไปเรียนรู้วัฒนธรรมบ้านเกิดของผม โดยพาไปดูหมอลำ ความพิเศษของหมอลำคณะนี้คือ เป็นหมอลำของหมู่บ้านเอง (ผลักดันและจัดตั้งโดย ครู) นักนักดนตรีหลายคนคือคุณครูในระแวกนั้น
  • ...สิ่งที่ผมได้พบเห็น คือ วัฒนธรรมใหม่รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ที่ผมเองก็ไม่คุ้นชิน คล้าย ๆ กับหลายบันทึกที่ครูวุฒิได้นำมาเสนอเอาไว้เกี่ยวกับ วัยรุ่น ... คล้าย ๆ กับผับกลางลานวัด คนดูหมอลำเป็นวัยรุ่น ไม่ใช่ผู้เฒ่าผู้แก่ แต่ละกลุ่มที่นั่งจะมีเครื่องดื่มกินกันแบบในผับ ...
  • วันต่อมาพาเจ้าลูกชายไปเล่นน้ำคลอง (เรียนว่ายน้ำ) วัยรุ่นที่มาเล่นน้ำกัน ก็มาจากหลายหมู่บ้าน ดูหน้าตา โหง่วเฮ้ง และการกระทำแล้ว หน้าตาออกไปทางดาราญี่ปุ่น เกาหลี (ค่อนข้างจะทันสมัย) ไม่เหมือนเด็กบ้านนอกสมัยที่ผมเป็นเด็ก ๆ จะขี้อายกว่านี้
  • ...ผมเริ่มมาถึงบางอ้อ..เมื่อได้คุยกับผู้นำชุมชน เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน ... ผมเกิดความรู้สึกว่า...มันเกิดช่องว่างขึ้นแล้ว...ผมไม่เข้าใจในบริบท ความเป็นอยู่ ปัญหาของชุมชนเหมือนเช่นเดิมอีกแล้ว ... ข้อมูลที่ผมมีที่ผมใช้ในการคิดวิเคราะห์มันเป็นข้อมูลเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ผสมผสานกับข้อมูลที่ผมอ่านเพิ่มเติม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในชุมชนบ้างบางโอกาส...มันไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเป็นจริงทั้งหมดของชุมชน... 
  • ยังไม่ตอบคำถามเลย จะแวะกลับมาใหม่นะครับ
  • คุ้น ๆ ว่า ท่านอาจารย์แสวง ได้นำเสนอในประเด็นที่น่าจะเกี่ยวข้องกันไว้ที่ บทสรุปปัญหาและทางออกที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย
  • ผมว่า น่าจะเป็นข้อมูลประกอบที่จะทำให้เราเข้าใจปัญหามากขึ้น และนำไปสู่ทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มากขึ้นนะครับ

หลังจากได้รับโจทย์จากครูวุฒิ ก็ทำพยายามทำการบ้านอย่างหนัก ได้ไปพบ 2 บันทึกที่น่าสนใจนี้ ครับ อาจจะเป็นกุญแจไปสู่คำตอบของคำถามได้หรือไม่ก็ไม่รู้ครับ

ครับ  ขอบคุณท่าน อ.นิโรธ มากครับที่ให้ความสนใจ เกาะติดตลอด และทำการบ้านอย่างหนักเป็นพิเศษ

  • ผมเลยได้ทบทวนบันทึกต่างๆที่ท่านสืบค้นกลับมาให้โดยอัตโนมัติ
  • และประมวลมาประกอบกันได้อย่างเป็นรูปธรรม เตรียมนำมาใช้ประโยชน์ในวันที่ 11-12 พ.ค. นี้
  • ส่วนจะได้ลงลุยในลักษณะไหน  วันนั้นน่าจะได้คำตอบบ้าง  เพราะเจ้าของบันทึกตัวจริงเสียงจริงมานำเสนอด้วยตัวเองด้วยครับ
  • ขอบคุณเป็นอย่างสูงอีกครั้งสำหรับข้อมูลที่มอบมาให้ครับ
  • สวัสดีครับ
  • แวะมาอีกครังครับครู
  • แม่บ้านกำลังพักฟื้นครับ ขอบคุณที่เป็นห่วง
  • ผลการตรวจก้อนเนื้อก็ปลอดภัย(รู้วันอังคาร)
  • มีโอกาสคงได้ร่วมงานกับครูคนเก่งครับ

Pเกษตร(อยู่)จังหวัด

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
  • ผมแวะไปเยี่ยมที่บล๊อกแล้วอ่ะนะ
  • ตราบเท่าที่ข้าวขึ้นราคาก็มีปัญหา ราคาถูกก็มีปัญหา โอกาสที่เราจะได้เจอกัน  ก็ไม่น่าจะไกลจนเกินไปนะครับ
  • สวัสดีครับ
  • งานวันที่ 11-12 ถ้าเชิญหลวงพ่อชา http://www.watnongpahpong.org/mp3playl.php มามาโปรด มาเทศนาด้วย คงดีไม่น้อยนะครับ

Pนิโรธ
เมื่อ ส. 26 เม.ย. 2551 @ 12:43

  • ขอบคุณครับท่าน อ.นิโรธ ที่แนะนำ
  • นิมนต์หลวงพ่อชาแบบ MP3 ผ่านทาง G2K เข้าท่าดีนะ
  • จะลองเอาไปเปิดช่วงพักท่านข้าว หรือพักเบรคครับ
  • ขอบคุณจริงๆ
  • สวัสดีครับ
  • ตามมาดูค่ะเพราะนายกเพิ่งกดปุ่มปล่อยเงินพัฒนาหมู่บ้านไปหลายพันล้าน
  • วันก่อนที่กลับบ้านได้ยินผู้ใหญ่บ้านประกาศเรียกประชุมเยาวชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปมาประชุมช่วยกันเสนอโครงการเห็นว่ามีงบแสนห้า
  • การพัฒนาชนบทหากทำแบบยั่งยืนคือไม่เปลี่ยนไปมาตามรัฐบาล
  • ประเทสเราคงเจริญไปกว่านี้แน่ๆนะคะ

ตอนนี้อยู่สา'สุข อ่านหนังสือนี้แล้ว อยากโอนไปทำงาน อบต. รู้สึกว่าถ้าไปแล้วน่าจะได้ทำงานที่ตั้งใจ เพื่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

จัดงานแล้วได้ความว่าอย่างไรบ้างคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท