ผู้บริหารที่ดี ต้องมีคุณสมบัติ(แบบนี้)


ผู้บริหารที่ดี

เรียน  ท่านผู้อ่าน ผู้(กำลังจะ)บริหารทุกท่าน

        

             วิกฤติการณ์ ในสังคมไทยตอนนี้  อยู่ในช่วงที่แห้งแล้งมากมาย แผ่นดินแตกเป็นเสี่ยงๆ  คนเราก็แตกกันเป็นก๊ก เป็นเหล่า ไร้ซึ่งความสามัคคี ทำให้เกิดผลกระทบต่อประเทศชาติมากมาย  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ผู้คนที่ตกงาน สินค้าภาคการเกษตรก็ตกต่ำ  แต่ราคาสินค้าอุปโภค บริโภคไม่เคยตกต่ำเลย ค่าครองชีพสังคมก็สูงขึ้นไปตามกลไกของตลาด(แม่กิมเฮง) นักลงทุน นักธุรกิจขาดความเชื่อมั่น ยิ่งต่างชาติมองว่าประเทศไทยไม่ปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวต่างๆซบเซา ซึ่งในความเป็นจริง ประเทศไทยเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และสถานที่ทางวัฒนธรรมมากมาย คุ้มกับเงินที่เสียไปแน่นอน  

จากภาวะประเทศที่มีแต่ปัญหาต่างๆเหล่านี้  เราในฐานะประชาชนคนไทย ก็สามารถช่วยประเทศชาติของเราได้ (ไม่ใช่เดินตามเสื้อต่างๆ) โดยการทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด(ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน)และการพัฒนาตนเองให้สมกับการเป็นคนไทย อยู่ในประเทศไทยโดยมีพระมหากษัตริย์ที่มีพระคุณอันที่จะเปรียบมิได้  เท่านี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีและทุกคนควรจะทำ  

กับสาระแรกที่ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้  ก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งของกาพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ที่(กำลังคิด) เป็นผู้บริหาร และผู้จะพัฒนาตนเอง โดยมีสาระดังนี้

ลักษณะผู้บริหารที่ดี

1.  มีภาวะผู้นำ ไม่หูเบา มีเหตุผล

2.  มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ โปร่งใส

3.  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทันเหตุการณ์ รอบรู้

4.  กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ แบบมีเหตุผล ไม่เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ หรือ คนข้างเคียง

5.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส วาจาสุภาพ มีสมบัติผู้ดี

6. ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก

7.  ต้องรักษาคำพูด และมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง

8.  เป็นตัวอย่างที่ดี

9.  ใช้บุคลากรในโรงเรียนให้ตรงกับความรู้และความสามารถ

10. ใช้ระบบคุณธรรม นำระบบอุปถัมภ์

11.  มีความริเริ่มสร้างสรรค์

12.  มีทักษะในการวิเคราะห์แก้ปัญหาและตัดสินใจ

13.  มีความรู้ทางวิชาชี

“หัวใจ" ของการบริหาร อยู่ที่ "จงทำงานให้สำเร็จ โดยอาศัยสิ่งอื่น" ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน

1. การวางแผน (Planning) คือ การร่วมมือกับเจ้านายในการจัดวางโครงการและวางแผนปฏิบัติงานต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า ว่าจะต้องทำอะไรบ้างและทำอย่างไร (เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้)

2. การจัดองค์การ (Organizing) คือ การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาว่าใครจะต้องทำงานใด ขึ้นตรงกับใคร และรายงานผลการปฏิบัติงานกับใคร (เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง)

3. การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) คือ การจัดอัตรากำลัง การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร การสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี การประเมินผล และให้พ้นจากงาน (เพื่อการสร้างคนเก่ง)

4. การอำนวยการ (Directing) คือ การตัดสินใจ การสั่งการ การจูงใจ การสร้างขวัญการทำงาน การประสานงาน และการสื่อสาร (เพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในทางที่ดี)

5. การควบคุม (Controlling) คือ การตรวจสอบการทำงาน ตรวจสอบมาตรฐานในการทำงาน และการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ (เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็น)

6. การประสานงาน (Coordinating) คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานและในหน่วยงาน ให้มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไปในทิศทางเดียวกัน (เพื่อการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ)

7. การเสนอรายงาน (Reporting) คือ การรายงานผลการปฏิบัติของหน่วยงานให้แก่ผู้บริหารและสมาชิกได้ทราบความเคลื่อนไหว (เพื่อขอการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชาอย่างเต็มที่)

8. การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) คือ จัดสรรการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนวณการใช้งบประมาณไว้ล่วงหน้า เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ เช่น จัดทำตารางรายรับ รายจ่าย หรือกำไร เอาไว้ให้ชัดเจนในอนาคต (เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้ต่ำสุด)

การปกครองคนนั้นมิใช่ง่าย

เพราะคนหมายเสรีเป็นที่ตั้ง

ใช้อำนาจบาดใหญ่ให้เชื่อฟัง

คนอาจชังฟังแล้วทำด้วยจำใจ

มนุษย์สัมพันธ์ของหัวหน้าค่าเป็นหนึ่ง

ต้องลึกซึ้ง ลูกน้องคือเรื่องใหญ่

อย่าปล่อยปละละเลยเฉยเมยไป

ปกครองใครให้อบอุ่นมีคุณธรรม

วาทศิลป์ของหัวหน้าใช่เรื่องเล็ก

เป็นมนต์เสกหัวใจให้ชื่นฉ่ำ

ยินแล้วปลื้มลืมทุกข์สุขลึกล้ำ

เกิดกำลังสร้างสรรค์ขยันงาน

เป็นหัวหน้าทั้งทีเป็นดีไว้

เป็นหลักใจให้ลูกน้องครองสมาน

ประกอบกิจใดก้าวหน้าอ่าโอฬาร

ทั้งเบิกบานรับใช้องค์กรด้วยเต็มใจ

เป็นหัวหน้าบ้าอำนาจขาดคนรัก

คนไม่ปักใจหลงอย่าสงสัย

หัวหน้าดีมิได้นั่งบนหัวใคร

แต่ควรนั่งอยู่ใน "หัวใจคน"

                                       จากหัวอกครู(น้อย)แบงค์  

                              นิสิตปริญญาโท(บริหารการศึกษา  รุ่น12)  นครราชสีมา

คำสำคัญ (Tags): #โคราช12
หมายเลขบันทึก: 350174เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2010 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผู้บริหารหลายคนรู้แต่ทฤษฎีแต่ปฏิบัติไม่ได้ เศร้าใจนะคะ :-o

<h4 style="text-align: center;"><span style="color: #cc99ff;">หัวหน้าดีมิได้นั่งบนหัวใคร</span></h4>

<h4 style="text-align: center;"><span style="color: #cc99ff;">แต่ควรนั่งอยู่ใน "หัวใจคน"</span></h4>

<h4 style="text-align: center;"><span style="color: #cc99ff;">ครับสุดยอดนักบริหารมืออาชีพครับ</span></h4>

<h4 style="text-align: center;"><span style="color: #cc99ff;">"<span style="background-color: #00ffff;">ข้าพเจ้าไม่ต้องการนั่งอยู่บนหัวของใคร เพราะมันตกง่าย</span></span></h4>

<h4 style="text-align: center;"><span style="color: #cc99ff;"><span style="background-color: #00ffff;">แต่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะนั่งอยู่ในหัวใจของเขา เพราะนั่งได้นานกว่า"</span></span></h4>

<h4 style="text-align: center;"><span style="color: #cc99ff;">ขงจื้อ</span></h4>

ท่านแบ้งค์ระเบิดขวด เพื่อนกูจะเป็นผู้บริหารแล้วหรือนี่ "อุดมการณ์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางสารอาหารน้อยจึงทำให้ผู้ที่บริโภคเข้าไปในปริมาณมากเจริญเติบโตได้ช้า" ดีวะถ้าจะเป็นผู้บริหาร กูฝากไว้คำหนึ่ง "ทำในสิ่งที่ควรทำ การใดไม่ควร อย่าทำ"ปรัชญาพื้นๆในวงเหล้า เอาไปใช้ในวงการศึกษาไทย ที่ส่วนใหญ่มีแต่คำพูดและราคาคุย ด้วยนะ ฯพณฯหัวเจ้าท่านแบงค์ คุณสมบัติอย่างกูคงไม่เหมาะเป็นผู้บริหารว่ะเพราะที่มึงบอกมาส่วนใหญ่หายไปตอนได้นั่งเก้าอี้ทั้งนั้น

ขอบคุณทุกท่าน ที่ได้สะท้อนมุมมอง กับบทความที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้นี้ กับมุมมองอีกนัยหนึ่งที่ปฏิเสธกันไม่ได้คือ ผู้บริหารหรือผู้กำลังจะเป็นผู้บริหาร มีความเข้าใจถึงทฤษฎี( ดั่งผู้ตอบกระทู้ที่1 กล่าวมา) แต่ก็ไม่สามารถนำความรู้ อุดมการณ์ตรงนั้นไปใช้ได้ (อย่างมีประสิทธิภาพเลย) ทั้งๆที่บางท่านมีทั้งความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ด้วยก็ตาม อาจจะเป็นเพราะปัจจัยหลายๆด้าน เช่น สิ่งแวดล้อมไม่เอื้อกับการบริหาร(ของตน) พฤติกรรมที่ชอบเอาแต่(ใจ)ได้ แสวงหาในสิ่งต่างๆ เพื่อต้องการแค่สนองตอบต่อสิ่งเร้าของตนเอง โดยทั้งหมดก็เลยทำให้ ไม่สามารถเข้าไปนั่งในจิตใจของเพื่อนผู้ร่วมงานได้เลย ทำให้เป็นความที่ไม่เข้าใจ คับข้องใจ นานวันก็เกิดสนิมในจิตใจ ยากที่จะเกาะ เชื่อมกันได้ ก็ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาต่างๆในองค์กร หน่วยงาน ได้ในที่สุด ส่วนวิธีการปรับปรุง แก้ไข ในการที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีได้นั้น ก็ต้องปฏิบัติ ดังเช่นที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และต้องมีการปฏิบัติอย่างเข้าใจถึงธรรมชาติมนุษย์ (การยอมรับ ให้เกียรติ เข้าใจ เป็นธรรมชาติมนุษย์ต้องการ ถ้าเราทำได้ ก็จะทำให้เราสามารถปฏิบัติตามแนวทางการเป็นผู้บริหารที่ดี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมดีแล้ว

ถึงเพื่อน(เก่า) ที่ยังไม่ลืมเสมอ

เราว่านายมีอะไรหลายๆอย่างที่ดี ที่ไม่มีใครจะก๊อฟปี้ได้เลย ซึ่งในตรงนั้น เราว่าเหมาะสมกับการเป็นผู้บริหารพันธ์ใหม่นะ ( อำนาจ ชื่อเสียง และทอง ไม่สนใจ รู้แค่ว่า คุยกันรู้เรื่อง เข้าใจในทิศทางเดียวกันได้ ถึงแม้ว่า กระบวนการนายจะเปลืองทั้งเงิน และเวลาก็ตาม แต่ก็คุ้มค่าและมีของแถมคือความสนุก และความเมา บ้างก็ตาม ..... นั้นละคือนายดิ่ง ใบตองกรุง สู้ไว้เพื่อน ไหนๆก็เกิดมาแล้ว(เป็นมนุษย์ด้วย) สู้ เพื่อความหวัง(ของครอบครัว) เอาหัว(ใจ)อกสู้ๆของเรา ช่วยนะเพื่อน จากเพื่อน แบงค์...ป่าบุ้ง

ปล. ผมยังรอเพื่อนๆ พี่ น้อง เข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ อยู่เสมอนะครับ

ครูแบงค์ นิสิตปริญญาโท(บริหารการศึกษา รุ่น12) นครราชสีมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท