ระบบสารสนเทศความรู้ (Knowledge Work System : KWS)


ระบบสารสนเทศความรู้ (Knowledge Work System : KWS)

ระบบสารสนเทศความรู้  (Knowledge  Work  System  :  KWS)

      กลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือถูกกำหนดความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานภายในองค์กร

       ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร เป็นระบบที่รวม (Integrate) ผู้ใช้และระบบคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการจัดหาสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน

       การจัดการ และการตัดสินใจขององค์กร โดยที่ระบบสารสนเทศจะใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ การวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ ตลอดจนการทำฐานข้อมูล

เป้าหมายของระบบสารสนเทศ (Objective of information system)

            -  เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน   -  เพิ่มผลผลิต

            -  เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า   -  ผลิตสินค้าใหม่ และขยายผลิตภัณฑ์

            -  สร้างทางเลือกในการแข่งขัน      -  สร้างโอกาสทางธุรกิจ

            -  ครองใจลูกค้า และปกป้องจากคู่แข่ง

คุณลักษณะของสารสนเทศ

     1.  มีความถูกต้อง  (Accurate)             2. มีความสมบูรณ์  (Complete)

     3.  มีความคุ้มค่า (Economical)            4. มีความยืดหยุ่น (Flexible)

     5.  มีความเชื่อถือได้ (Reliable)            6. มีความง่าย (Simple)

     7. ตรงประเด็น (Relevant)                  8. ทันเวลา (Timely)

     9. สามารถตรวจสอบได้ (Verifiable)

ข้อดีของการจัดการฐานข้อมูล

     ลดความยุ่งยาก  ลดความซ้ำซ้อน  ลดความสับสน   ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา

มีความยืดหยุ่นในการขยายฐานข้อมูล   มีการเข้าถึงฐานข้อมูลเเละความสะดวก

ในการใช้ฐานข้อมูลมากขึ้น

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร

1.  International Standards Organization (ISO)

     กำหนดมาตรฐานการสื่อสาร Open System Interconnection (OSI)

2.  Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE)

     กำหนดมาตรฐานการสื่อสารเครือข่าย LAN (IEEE802.3, IEEE802.5,IEEE802.11)

3.  International Telecommunication Union (ITU)

     กำหนดมาตรฐานให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมด้านต่างๆรวมถึงด้านโครงข่ายและการจัดสรรคลื่น ความถี่ และการกำหนดมาตรฐานของบริการไร้สายต่างๆด้วยสมาชิก

ภาครัฐจำนวน 189 ประเทศ กับ 650 องค์กร จากประเทศสมาชิกทั่วโลก

4.  Communication Satellite Corporation (COMSAT)

กำหนดการใช้งานดาวเทียม

5.  International Telecommunications Satellite Organization

     (INTELSAT) กำหนดตำแหน่งของดาวเทียม

      OSI – Open Systems Interconnection Model

      เป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐาน ใช้ในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์

 บริการเครือข่ายการสื่อสาร

1.  ISDN (Integrated Services Digital Network)

     เป็นบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล เพื่อการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ ในคู่  ISDN ด้วยความเร็วต่อวงจรสูง 64 Kbps 

2.   DSL Service

      DSL คือ เทคโนโลยีทีใช้ความถี่พิเศษของสายโทรศัพท์ (สายทองแดง) ในการับส่งข้อมูลจำนวนมาก ด้วยอัตราความเร็วสูง ผู้ใช้งาน DSL สามารถที่จะใช้งานเสียงและส่งข้อมูลความเร็วสูง พร้อมกันบนสายเดียวกัน DSL แบ่งเป็น ADSL และ SDSL ADSL - Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นบริการสื่อสารความเร็วสูงบน หมายเลขโทรศัพท์ โดยเพิ่มความสามารถของการรับส่งข้อมูลผ่านคู่สายโทรศัพท์ให้มีความเร็วสูง  กว่าเดิมถึง 30 เท่า ใช้กับงาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่าย LAN การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ ทำงานกับที่บ้าน (Telecommuting) ผู้ให้บริการ ADSL เช่น TOT TRUE Qnet Samart TT&T

3.  CDMA – Code Division Multiplex Access

     CDMA เป็นการสื่อสารแบบไร้สาย เป็นเทคโนโลยีที่รองรับการสื่อสารแบบ 2G และ 3G

     1G – Analog – Voice

     2G CDMA –  Text Messaging and Audio Streaming

     3G CDMA – Video Streaming and High-speed Internet

บทบาทหน้าที่ของการจัดการในองค์กร

     Henry Fayol   :  Planning, Organizing,      Leading, Controlling

Six Major types of systems ประเภทของระบบสารสนเทศ

     1. ระบบประมวลผลรายการ ( Transaction Processing Systems : TPS )

หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลดิบจากการปฏิบัติงานให้อยู่ในรูปที่สามารถประมวลผลและสั่งพิมพ์รายละเอียดรายการออกมาได้ เพื่อใช้ประโยชน์ดังนี้

         ตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยบันทึกรายการข้อมูลที่เกิดขึ้นในการทำงานประจำวันและการปฏิบัติงานอื่น  ๆ  ที่เกี่ยวข้อง

         ผู้บริหารต้องการ TPS เพื่อตรวจสอบการบวนการทำงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และความ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก

         TPS เป็นส่วนสำคัญในการป้อนข้อมูลให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆ 

            TPS แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ คือ

               1. ระบบการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing System)

2. ระบบการประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing System)

            2.1  การประมวลผลเชิงรายการ (Transactional Processing)

            2.2  การประมวลผลแบบทันที (Real-time Processing)  

2. ฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ ( Knowledge Work System  : KWS )ใช้สนับสนุนการทำงานของพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูง (Knowledge Workers) เช่น วิศวกร แพทย์ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์ เป็นพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ระบบนี้ ใช้รับผิดชอบการสร้างข่าวสารให้เป็นประโยชน์ หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ

ขั้นตอนการพัฒนาฐานความรู้เพื่อการจัดการ  (Knowledge Management Systems: KMS) มี 4 ขั้น

Creation         - สร้าง                          Storage          - จัดเก็บ

Distribution    - เผยแพร่                       Application     - จัดการ

            กระบวนการในการสร้าง KMS ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ

1.  Infrastructural Evaluation ขั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้

2.  KM System Analysis, Design and Development ขั้นการประเมินระบบ การจัดการความรู้ การออกแบบ และการพัฒนา

3.  System Development ขั้นตอนการพัฒนาระบบที่ได้มีการประเมินแล้ว

4.  Evaluation ชั้นตอนการประเมินระบบการจัดการความรู้ที่ได้สร้าง

 Knowledge Work System  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. ฐานข้อมูลการจัดการลูกค้า และการตลาด

2 สารบัญฐานข้อมูลความรู้พื้นฐานและวิธีการจัดการลูกค้าขององค์กร

3. การเชื่อมต่อองค์ประกอบด้านบัญชี

4. การจัดการคลังสินค้า และการหมุนเวียนอุปกรณ์

5. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสิทธิลูกค้า (Authentication service management)

6. ระบบการจัดการผู้ใช้งานของ KWS

3.  ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS )

     เป็นระบบสำหรับเชื่อมโยงการทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล การจัดตารางนัดหมาย การประชุมทางไกล

     สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น พนักงานป้อนข้อมูล (Data Entry Worker)

      เป็นกลุ่มพนักงานที่มีความรู้ในระดับต่ำกว่าผู้ชำนาญการ (Knowledge Workers)

      OAS เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างกัน

4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS )

     MIS เป็นระบบที่นำสารสนเทศมาช่วยในการจัดทำรายงานเพื่อการวางแผน การควบคุมการดำเนินการขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ฐานข้อมูลร่วมสนับสนุนจัดเตรียมสารสนเทศให้กับผู้บริหารงานทุกระดับ อย่างถูกต้อง รวดเร็ว

5.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ( Decision Support System : DSS )

     DSS เป็นระบบปฏิสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ที่ช่วยผู้บริหารในเรื่องตัดสินใจ ในเหตุการณ์แบบไม่มีโครงสร้างหรือแบบกึ่งโครงสร้าง

DSS เป็น Software ที่ช่วยในการตัดสินใจจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ Software เดียวกันเป็นระบบปฏิสัมพันธ์ โดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่ายสะดวกและรวดเร็ว

 ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

       สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

       สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับชั้น

       สนับสนุนการตัดสินใจแบบบุคคลและแบบกลุ่ม

       สนับสนุนการตัดสินใจในปัญหาที่ต่อเนื่อง

       สนับสนุนทุกขั้นตอนในกระบวนการตัดสินใจ

       สนับสนุนการตัดสินใจที่มีหลายรูปแบบ

       สามารถดัดแปลงและมีความยืดหยุ่น

       ง่ายต่อการใช้งานและโต้ตอบกับผู้ใช้ได้

       เน้นประสิทธิผลไม่ใช่ประสิทธิภาพ

      ผู้ควบคุมระบบคือผู้ตัดสินใจ

      ผู้ใช้สามารถสร้าง หรือแก้ไขระบบได้ง่าย

      สามารถใช้แบบจำลองและวิเคราะห์เพื่อทดลองได้

      เข้าถึงแหล่งเก็บข้อมูลได้หลากหลาย

6.  ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร  ( Executive Information System  : EIS )

      เป็นระบบข่าวสารเพื่อการบริหารขั้นสูง มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กรในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ขององค์กรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ  EIS นั้น ต่างจากทุกระบบที่ผ่านมา คือ ต้องการสารสนเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คู่แข่งและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกมากกว่า

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต
หมายเลขบันทึก: 356635เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2010 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท