การออกแบบบรรจุภัณฑ์


บรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ

     บรรจุภัณฑ์มีบทบาทชี้ขาดการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เลยพบว่าสินค้าบางอย่างขายไม่ได้ ขณะที่สินค้าไม่น้อยขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ทั้งที่คุณภาพสินค้าอาจไม่แตกต่างกันนัก หรือสินค้าเดิมแต่เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้น่าหยิบจับก็เพิ่มมูลค่าสินค้าได้หลายเท่าตัว นั่นเป็นเพราะหลักในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ดี

     บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องทำหน้าที่ปกป้องสินค้าให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัย ขณะที่ต้องรักษาคุณภาพสินค้า ยืดอายุการเก็บสินค้าเช่น อาหารสด ต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้รักษาความสดได้นาน สินค้าเสียหายง่าย บรรจุภัณฑ์ต้องสามารถกันกระแทก ขนมขบเคี้ยวที่ต้องรักษาความกรอบ บรรจุภัณฑ์ควรมีคุณสมบัติช่วยดูดความชื้น-กันความชื้น ส่วนสินค้าส่งออกต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะระยะทางขนส่งไกล ระยะเวลาในการเก็บสินค้านาน เป็นต้น ดังนั้นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าแต่ละประเภท ต้องคำนึงถึงการปกป้องสินค้าให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์จนกว่าถึงมือผู้บริโภคด้วย

     รูปทรงแปลกใหม่ สวยงาม ของบรรจุภัณฑ์ เป็นประเด็นทางการตลาดที่วัดปริมาณการขายสินค้า บรรจุภัณฑ์ดึงดูดความสนใจ มีรายละเอียดสินค้าครบถ้วน ถือเป็นพนักงานขายไร้เสียง (Silent Salesman) ที่สามารถแนะนำตัวเองได้เสร็จสรรพในตัว รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องสำอางที่เห็นได้ชัดว่าบรรจุภัณฑ์ดูดี ตรายี่ห้อเป็นที่ยอมรับในตลาด มักมีราคาสูง ทั้งที่พื้นฐานคุณภาพภายในแต่ละยี่ห้ออาจไม่แตกต่างกันนัก 

"ปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ มูลค่าเพิ่มของสินค้า".[ออนไลน์].  เข้าถึงได้

จาก:http://www.logisticsdigest.com/index.php?option=com_content&task=view&id=135

     เปิดตัวนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารจากชานอ้อย เพื่อสิ่งแวดล้อม รองรับความต้องการผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพ จากความเสี่ยงในการใช้โฟมและพลาสติก ที่อาจปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งกลายเป็นขยะย่อยสลายยาก 2 หมื่นล้านชิ้นต่อปี อีกทั้งมีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง เมื่อบรรจุอาหารที่มีความร้อนสูง จึงมองหางานวิจัยบรรจุภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อทดแทนโฟมและพลาสติก โดยใช้ชานอ้อยจากกากเหลือใช้ของโรงงานน้ำตาล จนเชื่อมต่อไปสู่การลงทุนของผู้ประกอบการ จึงส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารจากชานอ้อย ซึ่งสามารถส่งออกตามความต้องการของผู้บริโภคต่างประเทศ ที่ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

"เปิดตัวนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารจากชานอ้อยเพื่อสิ่งแวดล้อม" .[ออนไลน์].  เข้าถึงได้

จาก:http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1784&contents=8919

     ผักและผลไม้สดที่ปลูกในประเทศไทยมักเสื่อมสภาพได้ง่ายกว่าประเทศในเขตหนาว การเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วนี้ สร้างความสูญเสียแก่เกษตรกร และผู้จำหน่ายผักและผลไม้ทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ทำให้มีความพยายามที่จะจัดการผลิตผลหลังเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสมและการเลือกใ ช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรักษาคุณภาพของผักและผลไม้สด หลังเก็บเกี่ยวให้คงความสดนานขึ้นตามที่ต้องการ
     จากความรู้พื้นฐานด้านสรีรวิทยาของผลิตผลทางการเกษตรพบว่า พืชผักผลไม้แต่ละชนิดมีอัตราการหายใจที่แตกต่างกัน โดยผลิตผลที่มีอัตราการหายใจสูงจะมีอายุการเก็บรักษาสั้น ประกอบกับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ รวมกับหลักการสำคัญของด้านคุณสมบัติวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์พบว่า ฟิล์มพลาสติกที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติยอมให้ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเอทิลีน และความชื้นแพร่ผ่านด้วยอัตราที่เหมาะสม ดังนั้นการทำให้ฟิล์มสามารถแปลงสภาพบรรยากาศภายในภาชนะบรรจุให้เป็นสภาวะสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere: EMA) จะส่งผลให้พืชผักผลไม้ที่ใส่ไว้ภายในบรรจุภัณฑ์เกิดการชะลอการหายใจ การคายน้ำและลดการเสื่อมสภาพลงได้ ซึ่งกลไกบรรจุภัณฑ์ EMA นี้เป็นหลักการหนึ่งของบรรจุภัณฑ์แบบแอคทีฟที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีการรักษาความสดและการถนอมอาหารแห่งศตวรรษที่ 21 
"บรรจุภัณฑ์ยืดอายุผลิตผลสด".[ออนไลน์].  เข้าถึงได้

จาก:http://www.foodsciencetoday.com/viewContent.php?content=research&id=13

หมายเลขบันทึก: 193599เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2008 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท