อีกหนึ่งประกายวิจัยสู่ R2R


สัปดาห์นี้ผู้เขียนทำงานใน "จุดของการตรวจการทดสอบพิเศษ"  การทำงานส่วนใหญ่ก็ต้องวางแผนเอง + กับดวงใครดวงมัน ใครดวงดี (มีรางวัล เอ๊ย! ก็มีงานทำเยอะหน่อย  อย่างวันก่อน พี่โอ ๋คิวทดสอบ 17-KGS ซึ่งไม่เคยโผล่มาเป็นปี  ก็ถือว่าดวงดีเอามาก ๆ  )

วันนี้มีการส่งตรวจ Lactic acid มา ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้เขียนที่ต้องรับผิดชอบ การทดสอบง่ายมาก ไม่ได้ยุ่งยาก แต่มาฉุกใจเอาตรงที่ว่า แพทย์สั่งตรวจ Lactic acid ซึ่งใช้สิ่งส่งตรวจเป็น NaF blood (เท่านั้น แช่น้ำแข็งห้องส่ง Lab.ในทันที) พร้อม ๆ กับสั่งตรวจ Ketone ซึ่งเจาะเป็น Clotted blood มาอีก 1 หลอด....

อันที่จริงตรวจ Lactic acid ใช้ พลาสมาที่ปั่นแยกเพียง 50 ไมโครลิตร ซึ่งน้อยมาก จึงมีปริมาณ พลาสมาเหลือเฟือ  ครั้นพอตรวจ Ketone (ซึ่งทำการทดสอบโดยหยดลงบน Strip เหมือนปัสสาวะนั่นแหละ) ก็ใช้ปริมาณเลือดจากหลอด Clotted blood แค่หยด - 2 หยด รวมๆ  แล้วใช้เลือดแค่ 1 CC ยังพอเลยน๊ะเนี่ย!!

เฮ้อ !!! เจาะมาตั้ง 2 หลอด แน่ะ เสียดายเลือดจัง นี่ขนาดไม่ใช่เลือดของผู้เขียนน๊ะเนี่ย ยังเสียดายขนาดนี้ เหมาะสมแล้วที่ตัวเราควรจะอยู่ห้องเค็ม เอ๊ย! ห้องเคมี

แต่นึกไปนึกมา ถ้าไม่เจาะเลือดมา 2 หลอด ผู้ป่วยก็ต้องเจาะเลือดใหม่อยู่ดี เพราะวันก่อนก็เคยมีกรณี แพทย์สั่งตรวจ Ketone แต่ส่งมาแต่ NaF blood เพื่อตรวจ Glucose และ Ketone แต่ไม่มีใครกล้าฟันธงว่าใน NaF blood จะตรวจ Ketone ได้ หลังจากปรึกษา พี่ดา พี่นุช พี่วรรณี และพี่โอ๋  แล้ว ผู้ป่วยรายนั้นเลยต้องถูกเจาะเลือดใหม่โดยปริยาย

ผู้เขียนจึงมีความสงสัยเกิดขึ้นในใจ ตรวจ Ketone ใน NaF blood ได้หรือไม่?  อย่างน้อยก็ไม่ต้องเจาะเลือดมาก อีกทั้งไม่ต้องเจาะเลือดใหม่เหมือนผู้ป่วยรายนั้นอีก แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นนับว่าเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่เจาะเลือดยาก หรือเลือดของเด็ก  ๆ ก็นับว่าเป็นประโยชน์ทีเดียว

ได้มีโอกาสคุยกับคุณเื่้อื้อ วันนี้ ผู้เขียนได้เล่าถึงครั้งที่มีโอกาสเข้าอบรมโครงการวิจัยที่ภาคจัดขึ้น ซึ่งได้จุดประกาย "การทำงานวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบหลอดเก็บเลือดล้างพิเศษ และหลอดเก็บเลือดธรรมดาสำหรับการตรวจ SI & TIBC" โดยแพทย์พรพรต ซึ่งได้เปรียบเทียบเสมือนว่า "หากเรานั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล แล้วผลแอปเปิ้ลตกลงมา ถ้าเป็นคนที่ไม่คิดอะไร ก็หยิบกิน (อร่อยไป) แต่ถ้าเกิดความสงสัยผลแอปเปิ้ลตกมาด้วยความเร็วเท่าไร? และเป็นที่มาของสูตรหาแีีรงโน้มถ่วงไง"

คุณเื้อื้อยังบอกว่าจริง  ๆแล้ว R2R ก็น่าจะเริ่มจากนำ "ปัญหา" ที่เกิดขึ้นมาทำ เพราะถ้าหากมีปัญหา หรือเกิดความสงสัยขึ้น แต่ไม่ทำอะไร วิจัยหรือ R2R ก็คงไม่เกิดขึ้น

และนี่ก็จะ็เป็นอีกหนึ่ง"ประกาย" วิจัยที่ถูกจุดขึ้น กับ "ปัญหา" ที่ผู้เขียน พบและรอคอย "คำตอบ"


 

หมายเลขบันทึก: 48492เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2006 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

โห....คุณศิริสุดยอดไปเลยคะ...

กะปุ๋มอ่านอย่างตั้งใจมากเลยเพราะตนเองไม่มีความรู้เรื่องนี้...แต่ทราบไหมคะว่า...กะปุ๋มได้อะไรจากบันทึกนี้...

กระบวนการคิดของคุณศิริไงคะ...ยอดเยี่ยมมาก...และที่สำคัญนี่แหละตัวอย่าง R2R ของคนปฏิบัติจริง ทำไม ทำไม ทำไม และทำไม....ๆๆๆ....แสวงหาความเจริญงอกงามทางปัญญา...เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบแห่งความสงสัยนั้น...

....

บันทึกแรกที่กะปุ๋มมาอ่านของคุณศิริน่ะ...ตอนนั้นเล่าถึงความท้อใจในการทำ R2R อะไรประมาณนี้แหละคะ....และก็ตามอ่านเรื่อยมา...โดยไม่ทิ้งรอยเพราะคิดว่าเราอยู่นอกวงการ...แต่หลังจากไป ลปรร. CoP R2R กะปุ๋มก็เลยคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรมาขวางกั้นการเรียนรู้นี้ได้...หากเรามี "ใจ"..รักในสิ่งที่อยากจะทำเช่นเดียวกัน....

กะปุ๋มขออนุญาตนำเรื่องเล่าของคุณศิริไปเป็นตัวแบบของการทำ R2R เล่าสู่ท่านอื่นๆ ฟังนะคะ

ขอบคุณคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

อ่านอย่างละเอียดเช่นกัน อ่านแล้วคิดถึงโครงการพัฒนางานของตัวเอง ที่กำลังจะสรุปผลโครงการ"ปัญหาการใช้งานในระบบ mis dss ในรายการข้อมูลพัฒนาบุคลากร...." เอามาทำเป็น R2R ได้เหมือนกัน....ไชโย...เชียร์คุณศิริ....ด้วยคนค่ะ
บันทึกนึกโจทย์ออกแบบนี้มีค่ามากครับ    การตั้งโจทย์วิจัยที่ดีเป็นส่วนที่ยากที่สุด     และมีค่าที่สุดด้วย      การเล่าความรู้สึก  และปิ๊งแว้บ ตอนทำงานแบบนี้มีค่าที่สุด     ฝาก อ. หมอปารมีให้รางวัลคุณศิริด้วยนะครับ
คุณศิริเนี่ย "สงสัย...ใคร่รู้" จนเป็นวัฒนธรรมของตนเองเลยนะ
เขียนเล่าเรื่องแบบนี้ โดนใจพี่เม่ยจังค่ะ

คุณ Ka-poom ค๊ะ ผู้เขียนถ่ายทอดมาจาก "ใจ" ค่ะ อีกทั้งยังติดตาม R2R ในสายงานอื่น ๆ ค่ะ อยากรู้ค่ะว่าเป็นอย่างไร? เอามาใช้กับสายงานเราได้หรือไม่? และจะมีแนวทางอย่างไร? ฯ อยากรู้ไปหมดเลยค่ะ......

เชียร์!! คุณเมตตา เหมือนกันค่ะ ยินดีร่วม ลปรร ปัญหาการใช้งานะระบบ mis dss เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ๆ ค่ะ

ขอบคุณท่านอ.วิจารณ์ ค่ะ ผู้เขียนประทับใจกับบทความที่เขียนเรื่องชีวิตพอเพียง มาก ๆ ค่ะ เพราะฉะนั้นรางวัล คงไม่ต้องน๊ะค่ะ เพราะตอนนี้ชีวิตพอเพียงและเพียงพอแล้วค่ะ

 

 

พี่เม่ยค๊ะ สงสัย ว่าเจ้าความ "สงสัย" จะมาจากการติดตามบันทึก"เคล็ดลับคุณกิจ" ของพี่ตอน "สงสัย...ใคร่รู้" กระมังค๊ะ อืมม์!!! สงสัย ...สงสัย....สงสัย.....เน๊าะ

อ.วิจารณ์คะ   รางวัลเป็นอาหารเที่ยงมื้ออร่อยวันศุกร์นี้ค่ะ

 

สคส. จะส่งรางวัลมาให้ด้วยครับ

ยอดเยี่ยมเลยคะ...

คนจริงทำจริง..ที่ทำด้วยใจรัก...หาหวังในรางวัลใดใดไม่...

...

ชื่นชมจากใจจริงๆ..คะ...คุณศิริ...กะปุ๋มนับถือๆๆ...

งานนั้นเราร่วมเดินเส้นทางแห่งความมุ่งมั่นกันต่อนะคะ

เป็นกำลังใจให้เสมอคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท