ผู้นำการเปลี่ยนแปลง


โรงเรียนผู้นำการเปลียนแปลง เป็นหนทางสู่ความสำเร็จ

  เมื่อมี  Road Map ก็ต้องมี   CAR ”

 

                ผลกระทบจากการอบรมครูกับผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยใช้สถานที่โรงเรียนสมุทรพิทยาคม เมื่อวันเสาร์ อาทิตย์ที่  14  - 15 มิถุนายน  2551  ในช่วงที่  ศน. โชคชัย

สิรินพมณี บรรยายในหัวข้อ    CAR   เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง    ได้ให้คำถามเชิงพัฒนาแก่เพื่อนครูที่น่าสนใจว่า  ...ใน  1 เทอม ครูควรทำวิจัยกี่เรื่อง  อะไรบ้าง   

 

                CAR  เป็นคำย่อมาจากคำว่า    Classroom   Action   Research     แต่เพราะเราเป็นครูไทยที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ( ประเภทยิ้มไม่ออก )  CAR ของ ศน. โชคชัย  จึงกลายเป็น  คาที่   ค่าใจ  ค่าราคาซัง  หรือคาหนังคาเขา   ประมาณนั้น  แต่เมื่อมีเวลาทบทวนจะเห็นว่า... “  CAR   เพื่อนำการเปลี่ยนแปลง  มีขั้นตอนการปฏิบัติที่น่าสนใจ และเราๆ ท่านๆ ก็ทำกันอยู่มาโดยตลอด  เพียงแต่ไม่ได้จัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล  อาจเป็นเพราะ ... ไม่รู้  ไม่เข้าใจ  หรือไม่มีเวลา  ก็อาจเป็นได้  แต่ไม่ใช่ไม่อยากทำ   เพราะหลังจากอบรมเสร็จในแต่ละช่วงพัก  เพื่อนครูจะมาคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่า ...เราจะทำอย่างไรกันต่อไป

 

                ขั้นที่  1  CAR 1   เริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล  หรือ วิเคราะห์ผู้เรียน  ครูควรใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ( เมื่อเปิดภาคเรียน  ) ทำความรู้จักผู้เรียน  อาจนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน   และระบบการเรียนรู้มาประยุกต์หรือบูรณาการ   ซึ่งครูผู้สอนในแต่ละรายวิชา หรือครูที่ปรึกษาควรมีข้อมูลที่ชัดเจน เรียกว่า  ข้อมูลเชิงประจักษ์   ได้แก่  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในภาคเรียน หรือปีการศึกษาที่ผ่านมา  พฤติกรรมหรือความสามารถที่เป็นจุดเด่น  ตลอดจนพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  และสิ่งที่ผู้เรียนควรได้รับความช่วยเหลือ  ครูมีอิสระที่จะใช้เทคนิควิธีการ  และเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ  เพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว   หากเพื่อนๆยังไม่ได้ลงมือทำก็ทำได้แล้ว ดีกว่าอยู่เปล่าๆ ทำไปเรื่อยๆเพลินๆ  แล้วจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าขึ้น

 

                ขั้นที่  2  CAR 2  เข้าสู่การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้   ซึ่ง ศน.วิฑูรย์  ชั่งโต ก็ได้มาอธิบายถึงวิธีการจัดทำหลักสูตรอิงมาตรฐาน  การทำหน่วยการเรียนรู้  ตลอดจนการออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน  ในช่วงบ่ายๆ ไว้อย่างน่าฟัง เป็นการทบทวนบทบาทภาระหน้าที่ของครู ตาม พ.ร.บ  การศึกษา  หมวด  4  การจัดการศึกษา  มาตรา  22 – 30   ในขั้นตอนนี้ครูจะได้แสดงความเป็นมืออาชีพในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ... เชื่อเถอะว่า...

                ไม่มีวิธีการสอนใดดีที่สุด  ไม่มีสื่อชนิดใดที่ล้าสมัย หรือทันสมัย ครูเพียงเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็งของวิธีการสอน  และสื่ออย่างชัดเจน ก็จะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตามที่ต้องการ  

                ครูจึงต้องตอบคำถามให้ได้ว่า 

                                1.ความสำเร็จของการสอนมีอะไรบ้าง   มีสาเหตุ  และปัจจัยมาจากอะไร  

                                2.ตลอดจนปัญหาของการสอน   มีอะไรบ้าง   มีสาเหตุ  และปัจจัยมาจากอะไร 

                                3.จะได้ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้  และสื่อประกอบการสอน อย่างไร

                 ขั้นนี้...ซุนวู บอกในตำราพิชัยยุทธ์ว่า  รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง

 

                ขั้นที่  3  CAR 3  เรียกว่า กรณีศึกษานักเรียน   เป็นผลพวงมาจากขั้นที่   1 คือรู้จักนักเรียน จากนั้นก็มาออกแบบการเรียนรู้  ซึ่งจะพบว่า นักเรียนหรือผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างหลากหลาย  และมีรูปแบบวิธีการเรียนที่ต่างกัน บางคนชอบพูด ถาม และโต้ตอบ    ในขณะที่บางคนชอบอ่านหนังสือ หรือชอบฟังมากกว่า   บางคนต้องลงมือทำจึงจะเกิดการเรียนรู้  และบางคนเป็นประเภทชีวิตนี้...ใครอย่ามายุ่งกับฉัน ... กลุมนี้แหละที่น่าทำวิจัยที่สุด เพราะนอกจากครูจะต้องแม่นยำในเนื้อหาสาระที่สอนแล้ว  ยังต้องรู้จักใช้จิตวิทยา และการบริหารจัดการชั้นเรียน  ตลอดจนมีความเมตตา  เข้าใจและช่วยเหลือผู้เรียนในเรื่องของความแตกต่างนั้นๆ  ในเวลาเดียวกันก็บันทึกผลของการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาไว้   เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับเพื่อนครู เรียกว่า KM  :  Knowledge  Management    ( การจัดการเรียนรู้  )  เป้าหมายสำคัญของขั้นนี้คือ การแก้ปัญหานักเรียน   ไม่ใช่สร้างปัญหาให้นักเรียน คิดเสียว่า ... ที่ใดไม่มีปัญหา..ที่นั่นไม่พัฒนา    

 

                ขั้นที่  4  CAR 4  เป็นขั้นการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้   ความจริงการวิจัยครูผู้สอนสามารถทำได้ตั้งแต่  CAR 1  ถึง  CAR 4       เพียงแต่ขั้นนี้เป็นขั้นที่ใช้สำหรับเรียกความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในตัวครูผู้สอนว่า วิธีการสอน  สื่อนวัตกรรมที่ใช้มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่   สามารถนำไปประยุกต์ในสถานการณ์ต่างๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด  ครูผู้สอนอาจเขียนเป็นรายงานวิจัยแผ่นเดียว  หรือ 5 บทแล้วแต่ปัจจัยที่เอื้ออำนวย ในบางครั้งวิจัยแผ่นเดียวเขียนยากกว่า วิจัย  5  บทด้วยซ้ำ  สำหรับครู

ลัดดา เห็นว่าเรื่องที่ยากที่สุด ไม่ได้อยู่ที่รายงานการวิจัย แต่อยู่ที่  ....  การเริ่มลงมือทำวิจัยมากกว่า  

 

                สรุป CAR 1 – 4  ก็คือ งานวิจัย ตั้งแต่  4  เรื่องขึ้นไป  ที่ครูควรทำในเวลา  4  เดือน สู้ๆ น่ะเพื่อน ขอแนะนำให้เริ่มจากทำ ID Plan   

กิจกรรม

มิ,ย.

ก.ค

ส.ค

ก.ย

output

Outcome

ImPact

CAR1

 

 

 

 

ผลของปัจจัย

ในแต่ละ

CAR

สิ่งที่ได้รับ

ในแต่ละ

CAR

ผลกระทบ

ในแต่ละ

CAR

CAR2

 

 

 

 

CAR3

 

 

 

 

CAR4

 

 

 

 

 

   กล้วยไม้ออกดอกช้าฉันใด ...การศึกษาย่อเป็นไปฉันนั้น     มาคุยกันที่  E-mail : laddasp@ hotmail.com

 

หมายเลขบันทึก: 190635เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท